‘Documentary Club’ ตัดสินใจเปิดโรงหนังอิสระขึ้นใหม่! รับไม้ต่อหลัง Bangkok Screening Room ปิดตัว

ต่อชีวิตคนรักหนังให้หัวใจพองโตขึ้นอีกครั้ง! เมื่อ Documentary Club ตัดสินใจเปิดพื้นที่ฉายหนังของตัวเอง โดยรับช่วงต่อจาก Bangkok Screening Room

Bangkok Design Week 2021 ชวนออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว ชิงเงินรางวัลกว่า 200,000 บาท

กลับมาอีกครั้งกับเทศกาลที่หลายคนรอคอย สำหรับเทศกาลการออกแบบกรุงเทพฯ 2564 หรือ Bangkok Design Week 2021 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้แนวคิด “Resurgence of Possibilities : ก้าวต่อไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่” เพื่อเป็นพื้นที่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย ในปีนี้ Bangkok Design Week 2021 ร่วมกับ YIMSAMER และ Epson Thailand ขอเชิญชวนนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ส่งผลงานการออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหวภายใต้หัวข้อ “Wish” (คำอธิษฐานและความหวัง) เข้าร่วมกิจกรรม “Bangkok Projection Mapping Competition 2021 (BPMC2021)” ชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 200,000 บาท ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะถูกนำไปจัดแสดงบริเวณซอยเจริญกรุง 40 และท่าเรือโรงแรมโอเรียนเต็ล ในเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 16 พฤษภาคม 2564 นี้ด้วย  […]

อแมนด้า ออบดัม สาวภูเก็ตผู้เคยรับบทผู้ป่วยโรคคลั่งผอม และนางงามผู้รับบทนักฟัง

10 นาทีก่อนเปิดเครื่องบันทึกเสียง อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม ผู้ครองตำแหน่งนางงามเวที Miss Universe Thailand ปี 2020 วางแก้วกาแฟราคา 25 บาทของเธอลงบนโต๊ะ พร้อมบอกว่านี่คือสิ่งที่กินแทบทุกเช้าให้ตาตื่น สักพักสาวภูเก็ตลูกครึ่งไทย-แคนาดาวัย 27 ก็เริ่มจัดระเบียบผมของเธอหลังนั่งวินมอเตอร์ไซค์มาสถานที่นัดหมาย อีกทั้งยังพูดปนขำกับฉันว่า ตั้งใจแต่งหน้ามาเป็นพิเศษเพื่อวันนี้! ก่อนเม้ากันถึงสารคดี 3 เรื่องใน Netflix ที่เธออยากแนะนำให้ดู ได้แก่ Crime Scene: The Vanishing at the Cecil Hotel, Evil Genius และ I Am A Killer ซึ่งล้วนเป็นสารคดีแนวสืบสวนที่ชวนสำรวจพฤติกรรมตัวละครว่าใครโกหก ใครร้าย ใครเห็นอกเห็นใจ ทำไมตัวละครถึงทำแบบนั้น มีปมอะไรอยู่เบื้องหลังจิตใจกันแน่ “สารคดีทำมาจากเรื่องจริง และชี้ให้เห็นว่าคนน่ากลัวกว่าผีซะอีก” ฉันพยักหน้าตามคำพูดเล่นๆ แต่จริงจังของอแมนด้า บางคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครฟัง บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วย้อนกลับมาพูดเรื่องตัวเอง หรือบางคนฟังปัญหาแล้วตอบกลับมาว่า “คนอื่นเขาเจอเรื่องแย่กว่าเธออีก” […]

Koganeyu เซนโต 88 ปีที่รีโนเวตตัวเองให้มีบาร์คราฟต์เบียร์ บูท DJ และภาพวาดศิลปินให้แช่ ชน ชิล

หลายคนที่รู้จัก ‘อนเซ็น’ อาจจะยังไม่รู้จัก ‘เซนโต’ หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ อธิบายง่ายๆ อนเซ็นใช้น้ำแร่ เซนโตใช้น้ำร้อน เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ใช้การแช่ช่วยคลายความเหนื่อยล้าและเสริมสุขภาพให้คนญี่ปุ่นมานาน สมัยก่อนในโตเกียวมีเซนโตเยอะพอๆ กับร้านสะดวกซื้อ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนสะดวกอาบน้ำที่บ้านมากกว่า จำนวนเซนโตจึงค่อยๆ ลดลงอย่างน่าใจหาย จากปี 1975 ที่เคยมี 2,500 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 473 แห่ง โชคดีที่ Koganeyu เป็นหนึ่งในนั้น ฃเซนโตแห่งย่านคินชิโจนี้เป็นเซนโตเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนมานาน ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพิ่งรีโนเวตเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2020 Koganeyu กลับมาในดีไซน์สุดเท่ที่ได้ดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนมาช่วยออกแบบ พร้อมคราฟต์เบียร์บาร์และบูทดีเจ แจ่มไม่แจ่มก็ได้ลง Monocle และนิตยสารอีกเพียบ รวมไปถึงได้รางวัล Suanachelin (รางวัลสำหรับซาวน่ากรุบกริบ) ประจำปี 2020 ด้วย กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหมือนชินคันเซ็น วัฒนธรรมชวนแช่อันเวรี่เจแปนนีสนี้จะอยู่รอดได้อย่างไร วันนี้เราได้สองสามีภรรยา Shinbo เจ้าของ Koganeyu มาเล่าให้ฟังถึงเสน่ห์ของการอาบน้ำนอกบ้านและการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างน่าทึ่ง Glocal Sento ภารกิจเผยแพร่วัฒนธรรมการแช่ Koganeyu […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยใน Progenitor Exhibition ดูงานชิ้นเอกจากคลังนักสะสมที่ไม่เคยโชว์ที่ไหนมาก่อน!

คงไม่มีประโยคไหนอธิบายคุณค่าของงานศิลปะได้ดีไปกว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” สุภาษิตละตินที่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ใช้สอนลูกศิษย์อยู่เสมอ เพื่อที่จะบอกว่าชีวิตของคนเรานั้นแสนสั้น แต่การศึกษาหาความรู้ไม่มีวันจบสิ้น Progenitor Exhibition คือนิทรรศการที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาคมนักสะสมงานศิลปะไทย ให้นำผลงานศิลปะชิ้นเอกที่ไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน มาให้ทุกคนศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยในไทย ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างตั้งแต่ปี 2466 ที่ อ.ศิลป์ เข้ามาทำงานในไทยจนถึงปัจจุบัน ร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าผ่านผลงานทุกชิ้นที่นำมาจัดแสดง เพราะฉะนั้น งานนี้คงไม่ได้มาโชว์งานศิลปะสวยๆ เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการทำให้ผู้ที่มาชมงานได้ซึมซับกับศิลปะที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ก็ยังคงมีคุณค่า ตราตรึงอยู่ไม่เคยจางหาย Progenitor Exhibition จัดขึ้นวันที่ 7 มีนาคม 2564 – 28 มีนาคม 2564 ที่ 333Anywhere Art Gallery โดยมีค่าเข้าชมคนละ 100 บาท Source : https://bit.ly/3ccXv8M 

‘กิ่งหว้า’ สัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารของชาวพม่า

ภาพของประชาชนชาวเมียนมาถือยอดอ่อน ‘ต้นหว้า’ โบกสะบัดไปมาในการประท้วงเผด็จการทหารที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงจากสังคมภายนอกอย่างเป็นวงกว้าง ดังนั้น คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้จะพาผู้อ่านไปหาคำตอบว่า ‘ต้นหว้า’ กับ ‘การเรียกร้องของชาวเมียนมา’ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ธรรมชาติกำลังฟื้นตัว! หลังทีมสำรวจ พบแนวปะการังใหม่ที่เกาะไหง จ.กระบี่ เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 ตร.ม.

เรียกได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย หลังความพยายามพัฒนาการสำรวจแนวปะการังบริเวณเกาะไหงกว่า 4 ปีของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา เป็นผล เพราะต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีแนวปะการังใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 3,000 ตร.ม. ทีมงานใช้โดรนบินสำรวจบริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะไหง ที่มีความยาวหาดกว่า 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะใช้คนว่ายสำรวจ ก่อนจะพบว่าพื้นทรายโล่งที่เคยมาสำรวจเมื่อปี 2557 มีหย่อมปะการังกิ่งสั้นคล้ายกับเกาะยูงขึ้นอยู่มากกว่า 10 หย่อมหรือคิดเป็นพื้นที่กว่า 3,000 ตร.ม. ทางทีมสำรวจคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันสั้น แนวปะการังบนพื้นที่นี้จะขยายตัวเพิ่มเป็น 10,000 ตร.ม. เหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าธรรมชาติกำลังจะฟื้นตัวและเราจะมีที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเพิ่มเป็นจำนวนมาก Source : Thon Thamrongnawasawat

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

คืนชีวิตให้ ‘โรงหนังมหาราช’ กลางเมืองกระบี่ให้เป็นศูนย์การประชุม ที่จุคนได้ 1,000 คน

กระบี่เป็นเมืองที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่โควิด-19 ทำให้เมืองท่องเที่ยวนี้เงียบเหงาลงในชั่วพริบตา จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด กระบี่จึงมีแผนฟื้นฟูย่านกลางเมือง เพื่อมารับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ โดยการเปลี่ยนโรงหนังมหาราชเป็นศูนย์การประชุมที่จุคนได้ประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นโรงละครเมืองกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้กระบี่ หรือ Krabi Learning Center ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสร้างในปี 2565 และเปิดให้บริการในปี 2567 – 2568 แม้ว่าการลงทุนในครั้งนี้จะขาดทุน แต่ในระยะยาว มันอาจมาช่วยเสริมการท่องเที่ยวในช่วง Low Season ได้ นอกจากนี้ยังมีแผนฟื้นฟูถนนมหาราช ระยะทาง 300 เมตร ให้กลายเป็นถนนคนเดิน แบ่งทางเท้าชั้นในประมาณ 2.5 เมตร เป็น Street Food และที่เหลืออีก 3.5 เมตร เป็นทางเท้าและที่นั่งริมทาง  โควิด-19 คงไม่มีทางหายไปในเร็ววัน แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับและปรับตัวไปพร้อมๆ กับมัน แล้ววันหนึ่งเราจะอยู่ร่วมกับมันได้อย่างแน่นอน Source : https://bit.ly/3c8XZMZ 

ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

EAT

Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกของไทยกับหัวใจที่ยกให้เบียร์คราฟต์ | Heart EP.2

จะทำเบียร์ต้องมีฮอปส์ มีฮอปส์ก็มีเบียร์ ประโยคข้างต้นเป็นประโยคที่ไม่เกินจริงจนเกินไป เพราะฮอปส์เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญต่อการทำเบียร์ แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคมาตลอดต่อการผลิตเบียร์ไทยคือ ฮอปส์มีภาพจำว่าปลูกที่ไทยไม่ขึ้น จนการมาของ Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกในไทยที่ปลูกฮอปส์ไว้ใช้เชิงพาณิชย์ ด้วยความมุ่งมั่น สร้างสรรค์ และการนำเอาระบบสมาร์ตฟาร์มมาปรับใช้ Heart ในตอนนี้นำเสนอหัวใจของนักสร้างสรรค์ฟาร์ม ลบความเป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้นจริง ใน “Devanom Farm ฟาร์มฮอปส์แรกของไทยกับหัวใจที่ยกให้เบียร์คราฟต์”

‘Uncommon Life’ ความสุขเรียบง่ายจากสิ่งไม่ธรรมดา

‘เอกมัย’ ย่านที่เต็มไปด้วยไลฟ์สไตล์มากมาย เปิดโอกาสให้ทดลองทำกิจกรรมหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการได้ตีสนิทกับเพื่อนใหม่ นั่งดื่มกาแฟสุดชิล ลิ้มรสอาหารต้นตำรับสไตล์ญี่ปุ่น หรือรีแลกซ์กับพื้นที่พักผ่อนที่ทำให้เราสามารถใช้ชีวิตทั้งวัน หากได้ลองสัมผัสกับตัวเองแล้วจะรู้ว่า ทุกที่ต่างมีความพิเศษซ่อนอยู่ภายในให้เราได้ทำความรู้จัก จนอยากนำมาแชร์ต่อให้ชาวเมืองมาเยี่ยมเยียน จะมีที่ไหนบ้างตามไปดูกัน!

1 258 259 260 261 262 370

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.