5 ดีไซน์เล้าไก่ คนสุขใจ ไก่อารมณ์ดี

“บ้าน” คงเป็นที่ซุกตัวและชาร์ตพลังได้ดี เวลาที่ชีวิตในเมืองทำเอาเราแบตหมดง่ายไปดื้อๆ และหากได้เลี้ยงสัตว์คู่ใจคงจะดีไม่ใช่น้อย บางบ้านคงเลี้ยงสุนัข แมว หรือปลา แต่บางบ้านหากมีพื้นที่เหลือลองเลี้ยงไก่ดูไหม ? เพราะมีไข่ให้กินอยู่ตลอดแน่นอน เราจึงหอบงานดีไซน์เล้าไก่กว่า 5 แบบมาให้เลือกสรร ที่จะเนรมิตเล้าไก่ธรรมดาที่เป็นภาพติดตามาโดยตลอด ให้ดูมีสไตล์ที่เรามองทีไร ก็สุขใจ และไก่คงจะแฮปปี้ไม่แพ้กัน | เล้าไก่ไม้โอ๊ค แบ่งเป็นสัดส่วน บ้านเดี่ยวสำหรับไก่ที่อยู่รวมกันได้ถึง 800 ตัว ออกแบบโดย SO สตูดิโอ โดยมี Kutluğ Ataman เป็นศิลปินที่ช่วยออกแบบ ซึ่งเล้าไก่นี้อยู่ที่ฟาร์มในประเทศตุรกี ซึ่งถูกสร้างด้วยวัสดุเรียบง่าย ซุ้มของเล้าทำจากไม้โอ๊คอัด แผงโลหะออกซิไดซ์ และหลังคาโลหะลูกฟูก หากวันข้างหน้ามีจำนวนไก่ที่เยอะขึ้น ก็จะมีพื้นที่สำหรับต่อเติมโครงสร้างเพื่อขยายเล้าได้ ส่วนตัวหลังคาจะลาดเอียง เพื่อทำให้เกิดร่มเงาภายใต้อาคาร สำหรับไก่ที่ต้องการพักผ่อนจะรู้สึกสบายตัว แม้วันนั้นอากาศจะร้อนแค่ไหนก็ตาม วัสดุที่เลือกจะเป็นไม้ซะส่วนใหญ่ เนื่องจากง่ายต่อการรักษา ไม้จึงเป็นทางเลือกที่เป็นวัสดุธรรมชาติ สำหรับที่พักอาศัยของสัตว์ ส่วนถึงเวลาเก็บไข่ คนเลี้ยงก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไป เพราะในเล้าจะมีช่องสำหรับให้คนเก็บไข่ และส่วนด้านในจะมีช่องไม้ทอดยาว แบ่งโซนชัดเจนเพื่อเป็นที่ให้ไก่เตรียมฟักไข่ ซึ่งเล้าไก่หลังนี้ยังใส่ใจในรายละเอียดเล็กน้อย อย่างการสำรวจพฤติกรรมของไก่ และคนในท้องถิ่นที่เคยดูแลไก่มาแล้ว จึงรู้ว่า “ถ้าไก่ไม่ชอบบ้านของตัวเอง […]

พาแฟนบอลทัวร์ 8 สเตเดียมไอเดียบรรเจิดที่เป็นได้มากกว่าสนามกีฬา

หลายๆ คนคงคิดถึงบรรยากาศการเชียร์กีฬาในสนาม หรือการอยู่ท่ามกลางเสียงโห่ร้องที่กึกก้องไปทั้งสเตเดียม คอลัมน์ Re-desire จึงจะพาทุกคนไปทัวร์ 8 สเตเดียมจากทั่วโลกที่บอกเลยว่าไม่ใช่สนามแข่งกีฬาธรรมดาๆ แต่เป็นสเตเดียมที่มีดีไซน์บรรเจิด ฟังก์ชันสุดล้ำ และเรื่องราวเบื้องหลังมากมายที่ทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่สถานที่แข่งกีฬา 01丨 Pancho Aréna 一 สนามโบสถ์ สเตเดียมแรกที่เราจะพาทัวร์นั้นตั้งอยู่ที่เมือง Felcsut ประเทศฮังการี หากได้เข้าไปแล้วจะต้องตะลึงกับสถาปัตยกรรมภายในที่สวยงามของ ‘Pancho Aréna’ ที่ตั้งชื่อตามชื่อเล่นของนักฟุตบอลผู้เป็นตำนานของฮังการี ‘Ferenc Puskás’ โครงสร้างภายในทำจากคอนกรีตและไม้โค้งเป็นโดม ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในโบสถ์มากกว่าชมฟุตบอลเสียอีก การออกแบบลักษณะนี้คือ ‘สถาปัตยกรรมออร์แกนิก’ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในฮังการีช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ในฐานะเครื่องมือต่อต้านการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นที่ชื่นชอบสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์เป็นพิเศษ  Pancho Aréna นี้ไม่ได้สร้างขึ้นจากที่ดินโล่งๆ แต่สร้างใหม่จากโครงสร้างเดิมของสถาบันฝึกฝนนักกีฬาที่ออกแบบโดย Imre Makovecz สถาปนิกผู้โดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมออร์แกนิกคนหนึ่งของฮังการี ถือว่านอกจากเป็นสนามกีฬาแล้ว สเตเดียมแห่งนี้ก็เป็นสถานที่ที่บันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ไว้อีกที่หนึ่ง 02丨 Sapporo Dome 一 สนาม Multitasking  หากพูดถึงการใช้งานแล้ว สถานที่ที่ต้องติดโพลสเตเดียมสุดล้ำเลยคือ ‘Sapporo Dome’ จากเมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น สเตเดียมนี้ออกแบบโดย Hiroshi […]

คนขายพวงมาลัย : อดีตมาม่าซัง และการเติบโตเป็นดอกรักในโลกใบใหญ่

คุยกับคนขายพวงมาลัย ผู้ที่เป็นอดีตมาม่าซัง ก่อนเปลี่ยนสู่คนขายพวงมาลัยที่มองว่าตัวเองเป็นดอกรักในเมืองใหญ่

ทำไมกรุงเทพฯ น้ำท่วมไม่เลิก?

‘น้ำท่วม’ ก็เหมือนเป็นข้าศึกที่บุกเข้ากรุงเทพฯ ตลอดเวลา ดังนั้นการรู้จักข้าศึกจึงเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เราเข้าใจ ‘น้ำท่วม’ ครั้งต่อไปมากขึ้น

เสียงสะท้อนของนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ผ่านเลนส์ช่างภาพสารคดีในซีรีส์ภาพถ่าย ‘แด่นักสู้ผู้จากไป’

ผ่านมา 1 เดือนเต็มที่สังคมทวงถามข้อเท็จจริงผ่าน #Saveวันเฉลิม จากวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2563 ‘นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์’ ผู้ลี้ภัยการเมืองชาวไทยที่อยู่ในกัมพูชาถูกอุ้มหาย นี่ไม่ใช่เคสแรกและอาจไม่ใช่เคสสุดท้าย ที่นักกิจกรรมผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน รวมถึงนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย ถูกบังคับให้สูญหาย หรือพบกับจุดจบอันไม่เป็นธรรม

สูดกลิ่นอวกาศผ่าน NASA’s Eau de Space น้ำหอมในโลกจากนาซ่าที่มีกลิ่นเหมือนนอกโลก

NASA’s Eau de Space น้ำหอมจากนาซ่าที่นำกลิ่นนอกโลกจากนักบินอวกาศมาสร้างความฝันในการทะยานสู่ชั้นอวกาศของเด็กๆ เป็นจริง

การออกแบบที่ให้มากกว่าบ้าน (เพื่อ)ให้คนอยากอยู่บ้าน

บทเรียนช่วงไวรัสแพร่ระบาดที่ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญของ ‘บ้าน’ กันมากขึ้น จึงทำให้คนเริ่มโฟกัสกับการออกแบบที่ให้มากกว่าบ้าน รวมถึงพื้นที่รอบบ้านมากกว่าเคย ทั้งในแง่การใช้สอยและสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตของตนเองเเละครอบครัว ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

9 เรื่องปัง ปัง

ปัง ปัง ปัง เดือนนี้มีแต่ขนมปัง ! ขนมปังเป็นศาสตร์ที่รวมทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ใส่ลงไปให้ขนมปังชิ้นนั้นสมบูรณ์แบบ จนทำให้ขนมปังถูกแตกแขนงออกไปเป็นหลายประเภท หรือกลายเป็นตัวบ่งบอกถึงวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ได้เลย เราจึงขอทยอยเสิร์ฟเรื่องขนมปังอุ่นๆ ร้อนๆ ให้ทุกคนได้ลิ้มรสตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม แต่ตอนนี้อยากปูพื้นฐานไปพร้อมๆ กันก่อน กับความจริง 9 เรื่องปังปัง ของเหล่าขนมปังหอมกรุ่น  | ขนมปังเกิดจากความไม่ตั้งใจของคนในอดีต ? เพราะความไม่ได้ตั้งใจนี่แหละ เลยทำให้มนุษย์เกือบทั่วโลกมีขนมปังกิน ! ย้อนกลับไปเล่าให้ฟัง ขนมปังมีให้มนุษย์ได้ลิ้มลองมากว่า 30,000 ปีมาแล้วหรือมากกว่านั้น ซึ่งมีชาวเมโสโปเตเมียและชาวอียิปต์ ได้ลองนำเมล็ดข้าวสาลีมาตำในครกหิน จากนั้นนำไปผสมกับน้ำ และเทลงในบนแผ่นหินร้อนๆ ให้แป้งสุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ แถมยังมาพร้อมกับรสชาติที่อร่อยอีกด้วย กลายเป็นขนมปังโบราณที่มีชื่อว่า ‘Flatbread’ ซึ่งเป็นขนมปังที่มีส่วนประกอบอยู่แค่ไม่กี่อย่าง แถมยังไม่ใช้ผงฟูและยีสต์อีกด้วย ในตอนนั้นมีหลักฐานสำคัญเป็นภาพวาดจิตรกรรมคนถือขนมปังบูชาเทพพระเจ้าในสุสานหลายแห่ง ทั้งยังค้นพบหินโม่แป้งและเตาอบขนมปังที่ทำมาจากดินอีกต่างหาก การทำขนมปังถือว่าต้องใช้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามารวมกัน หลังจากนั้นเริ่มมีการใช้ยีสต์กันเกิดขึ้น ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ขนมปังฟู และเริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้  | ครัวซองไม่ใช่ขนมปัง ? บางคนไปร้านเบเกอรี่มักจะเหมารวมว่าหลายๆ อย่างนั้นคือขนมปัง […]

‘ทะเลสาบอินเล’ วิถีแปลงเกษตรลอยน้ำฉบับเมียนมาร์

เกษตรกรที่ ‘อินเล’ ทะเลสาบในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ‘เมียนมาร์’ ใช้ชีวิตด้วย ‘วิถีแปลงเกษตรลอยน้ำ’ ซึ่งนับเป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาร์เลยทีเดียว ทั้งยังมี ‘ชนเผ่าอินตา’ ที่ใช้ชีวิตอยู่คู่สายน้ำมากว่าพันปี ที่ขึ้นชื่อเรื่อง “มือไม่พาย เอาเท้า ‘พาย’ น้ำ” อย่างแท้จริง !

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้

เกี่ยวข้าวไม่ทิ้งฟาง เปลี่ยนเป็น ‘จาน’ สร้างรายได้ เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว ช้ะช้ะ… ห่างช่วงไหนใกล้เวลาที่ข้าวจะอุ้มท้องทุ่งนาส่องแสงสีเหลืองอร่ามมาแต่ไกล ซึ่งหลังเกี่ยวข้าวมักเหลือฟาง บ้างก็อัดก้อนขาย บ้างก็มักเผาทิ้ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเผาซะมากกว่าเพราะต้นทุนไม่มากนัก แน่นอนล่ะ ว่าต้องเกิดควันโขมงที่ชั้นบรรยากาศอาจได้รับผลกระทบ เมื่อเป็นแบบนี้ ลองเปลี่ยนกันดีไหม ‘เปลี่ยนจากฟางที่ไร้ค่า มาเป็น “จาน” สร้างรายได้ให้ชุมชนกัน’ ‘ครูเต้ย-ดาธิณี ตามเติ้ง’ และ ‘พี่ออ-นาถลดา เข็มทอง’ คือสองหญิงหัวเรือหลักผู้ริเริ่มและเป็นประธานของศูนย์ฝึกมีชีวิตกศน. อ.ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รวบรวมสิ่งรอบตัวของชาวบ้านที่มีอยู่ในมือแต่มักมองข้ามไป ไม่ว่าจะเป็นผักตบชวา ฟางข้าว หรือเปลือกสับปะรด มาทำเป็นภาชนะใส่อาหารทั้งแห้งและน้ำ อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ | ฟางข้าวที่ไม่ไร้ค่า ‘ถ้าเริ่มต้นดี ขั้นตอนต่อไปจะไม่เหนื่อย’ พี่ออพูดก่อนเริ่มต้นทำจานข้าวฟาง ฟางหนึ่งก้อนราคาอยู่ที่ 25 บาท ขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ หากบ้านใครมีฟางอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อเลย นำฟางมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะใช้กรรไกร มีดอีโต้ หรือมีดพร้าก็ได้ เพื่อความรวดเร็วขึ้น โดยขั้นตอนนี้มีความสำคัญเสมือนย่อยให้ฟางเล็กลง เพื่อช่วยร่นระยะเวลาตอนนำไปต้ม | ต้มจนยุ่ย 12 ชั่วโมง เจ้าขั้นตอนนี้แหละที่จะช่วยร่นระยะเวลามากขึ้น […]

เที่ยวนอกโลกจะเกิดขึ้นจริง ! ท่องอวกาศในราคา 4 ล้านบาท/ที่นั่ง คาดทดลองใช้ปี พ.ศ. 2566

เที่ยวนอกโลกจะเกิดขึ้นจริง ! ท่องอวกาศในราคา 4 ล้านบาท/ที่นั่ง คาดทดลองใช้ปี พ.ศ. 2566

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัยที่ห่วงใยแมวเลี้ยง แมวจร ไปจนถึงนักโทษในเรือนจำ

Purrcraft แบรนด์ปลอกคอแมวนิรภัย ที่ใส่ใจแมวตั้งแต่เลือกวัสดุธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อผิวแมวเลี้ยง และนำยอดขายไปบริจาคให้แมวจร ทั้งยังช่วยให้นักโทษในเรือนจำได้มีรายได้จากการเย็บปลอกคอแมว

1 256 257 258 259 260 329

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.