EAT

‘ขนไก่’ ขยะเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมอาหาร สู่ของกินทางเลือกใหม่ให้มนุษย์ในอนาคต

เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนเราได้มีโอกาสดูหนังต่างประเทศเรื่องหนึ่งที่เล่าถึงโลกอนาคตที่กำลังเผชิญวิกฤตประชากรล้นโลก และด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทำให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายและบังคับให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้เพียงแค่คนเดียว

Supha Bee Farm ฟาร์มผึ้งแห่งแรกๆ ของไทยจากงานอดิเรกขำๆ ของคู่สามีภรรยาในเชียงใหม่

เคยคิดกันบ้างไหมว่างานอดิเรกที่เราลองทำเล่นๆ ในวันเสาร์-อาทิตย์จะกลายเป็นอาชีพหลักที่สามารถเลี้ยงปากท้องของคนในครอบครัว เลี้ยงปากท้องของคนในชุมชน และยังช่วยกระตุ้นให้ระบบนิเวศดียิ่งขึ้น

Give.me.museums ฝีแปรงสีฉูดฉาดบนสารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากสร้างพื้นที่ศิลปะให้ทุกคน

ยินดีต้อนรับสู่ ‘Give.me.museums’ พิพิธภัณฑ์สารพัดของกุ๊กกิ๊กที่อยากขาย ‘ศิลปะ’ บนของ ‘กระจุกกระจิก’ ไม่ว่าจะเป็นเคสโทรศัพท์ กระเป๋าสะพาย กระจกส่องหน้า หรือโปสต์การ์ดที่ระลึก โดยมี ‘ออย-คนธรัตน์ เตชะไตร’ เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ ที่พกความตั้งใจมาอย่างเอ่อล้นว่า อยากเป็นฟันเฟืองเล็กๆ ที่ช่วยขับเคลื่อนวงการศิลป์ด้วยสารพัดของกุ๊กกิ๊ก เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงศิลปะให้เหลือ ‘กระจึ๋ง’ เดียว

‘เสียงจากลำน้ำโขง’ ชีวิตเหือดหายบนสายน้ำที่ไม่อาจหวนคืน

“ผืนดินแตกระแหง ดินแดนแห่งความแห้งแล้ง” คือวาทกรรมที่สร้างภาพจำให้แดนอีสาน ในความจริงอีสานเคยอุดมสมบูรณ์กว่านี้ ชาวบ้านสามารถทำประมงน้ำจืด ทำเกษตรริมสองฝั่งแม่น้ำ แต่ 20 ปีให้หลัง ‘แม่น้ำโขง’ เส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต กลับเผชิญชะตากรรมจากผลกระทบของการสร้างเขื่อน ระดับน้ำที่ผันผวนและปัญหาอื่นๆ นับไม่ถ้วน ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องและนับวันยิ่งวิกฤต ส่งผลต่อระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของคนริมโขงที่เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

‘CHVA’ แบรนด์ที่พลิกวัชพืชอันตรายเป็นวัสดุกันกระแทกแก้ปัญหาขยะพลาสติกจากช้อปปิง Online

ชวนคุณไปจัดการกองผักตบชวาที่ลอยค้างในลำคลอง มาแปรรูปเป็นโปรดักต์เพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยทดแทนการใช้พลาสติกกันกระแทกให้น้อยลงแล้ว แถมยังสร้างความหมายให้กับชุมชนอีกด้วย

FYI

เปลี่ยนขยะให้เป็นคอยน์ ใน #EVOอารีย์ by Noble x Ari Around กิจกรรมที่อยากเปลี่ยนย่านอารีย์ให้ไม่มีขยะ

ได้ยินคำว่า ‘เปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน’ หลายคนอาจนึกถึงการขายของเก่าให้ซาเล้ง แต่ถ้าเราบอกว่าขยะเปียกที่เกิดขึ้นจากอาหารที่เรากินทุกวันก็ขายได้ คุณจะเชื่อไหม? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะใน Bangkok Design Week ปีนี้ มีกิจกรรม ‘#EVOอารีย์’ ที่โนเบิลฯ จับมือกับ Ari Around สร้างสรรค์บูทเฉพาะกิจที่เปิดให้ทุกคนนำขยะมาแลกเหรียญ AriCoin เพื่อนำไปจับจ่ายใช้สอยกับร้านค้าภายในย่านอารีย์กว่า 20 ร้าน เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนใส่ใจกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน นอกจากจะนำขยะมาแลกเป็นเหรียญได้แล้ว ทุกคนที่นำขยะเปียกมาให้ยังจะได้รับถุงดินจากการหมักเศษอาหารไปปลูกต้นไม้กันฟรีๆ หรือถ้าใครอยากรับน้องต้นไม้ไปดูแลเพิ่มสักต้น ก็สามารถแลกรับที่บูทได้ในราคา 100 AriCoin กิจกรรม #EVOอารีย์ จัดขึ้นที่ร้าน Feast Bangkok ซอยพหลโยธิน 5 (ก่อนถึงแยกอารีย์ 1) ตั้งแต่วันนี้ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11:00 – 17:00 น. งานนี้ยังมี Mini Workshop การจัดการขยะจาก GEBB Bangkok และ Bangkok […]

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

Xinzhongshan Linear Park ลานเดินขนาดจำกัด 500 ม. ที่เพิ่มความสุขให้ชาวไทเปไม่จำกัด

‘Xinzhongshan Linear Park’ พื้นที่สาธารณะซึ่งเพิ่งปรับปรุงใหม่กลางเมืองไทเปที่น่าสนใจและเป็นตัวอย่างที่เข้าใจผู้คน ทั้งยังเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับเมืองนั้นน่าอยู่มากขึ้น

เลาะชายแดนสวีเดน-นอร์เวย์ พบเผ่าต้นกำเนิด Elsa ฟังอดีตของวันที่ยังไม่มีเส้นแบ่งประเทศ

ย้อนกลับไปในช่วงเวลานี้ของปีที่แล้วพอดี ก่อนที่พายุโควิด-19 จะเคลื่อนตัวเข้าถล่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เรายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทด้านการจัดการเพื่อความยั่งยืนอยู่ในมหาวิทยาลัยประจำเมืองมัลเม่อ (Malmö) ที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เมืองที่เรากับเพื่อนๆ คนไทยตั้งชื่อเล่นให้ว่า ‘หาดใหญ่สวีเดน’ เพราะมันเป็นเมืองใหญ่ที่มีทุกอย่างเหมือนเมืองหลวง แม้จะมีอย่างละนิดละหน่อย แต่เราไม่เคยรู้สึกว่าการใช้ชีวิตในมัลเม่อเหมือนขาดอะไรไป เว้นแค่อย่างเดียว… หิมะ จากบ้านที่เมืองไทยไปเรียนไกลถึงสวีเดน เราอดหวังไม่ได้หรอกว่าจะได้ใช้ชีวิตท่ามกลาง White Winter ได้เดินทางไปเรียนท่ามกลางหิมะฟูๆ นุ่มๆ ดูสักครั้ง แต่เอาเข้าจริงหาดใหญ่สวีเดนนั้นไม่ได้มีหิมะเยอะอย่างที่คิด ตามสถิติแล้วหิมะตกแค่ปีละไม่ถึง 10 วัน ซ้ำร้ายปี 2018 – 2019 ยังเป็นปีที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างหนักในภูมิภาค ในฤดูร้อนเกิดไฟป่าครั้งใหญ่ แล้วจะเอาอะไรมาหวังว่าจะมีหิมะนุ่มๆ ในฤดูหนาว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เรากับเพื่อนสาวชาวเบลเยียมวางแผนมุ่งหน้าขึ้นเหนือเพื่อหวังไปนอนกอดหิมะให้สาแก่ใจ ปลายทางของทริปสองสาวนักศึกษาครั้งนี้อยู่ที่เมืองคีรูน่า (Kiruna) เมืองขนาดเล็กที่อยู่เหนือสุดของประเทศสวีเดน ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาปกคลุมด้วยหิมะและป่าสน และเป็นเมืองชายแดนติดเมืองนาร์วิก (Narvik) ประเทศนอร์เวย์ นอกจากนี้ บริเวณที่ตั้งของเมืองคีรูน่ามีชื่อเรียกในหมู่นักเดินทางว่า Swedish Lapland ซึ่งเป็นบริเวณที่มีโอกาสมองเห็นแสงเหนือในตำนานอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่ช่วงเวลาที่เราเดินทางไม่ใช่ฤดูกาลล่าแสงเหนือ จึงอดไปตามระเบียบ เราตั้งใจใช้สิทธิ์ความเป็นนักศึกษาให้เต็มที่ จึงจองทริปราคาประหยัดกับเอเจนซี่ที่ให้บริการทริปสำหรับนักเรียนโดยเฉพาะ ทำให้ได้ทริปที่มีหมุดหมายสมใจอยากในราคาน่ารักน่าเอ็นดู ทั้งการเล่นเลื่อนหิมะกับเหล่าน้องหมาฮัสกี้ เยี่ยมชมฟาร์มเรนเดียร์ของชนพื้นเมือง เดินชมเขตเหมืองเหล็กเก่าตั้งแต่สมัยสงครามโลก ข้ามชายแดนไปแช่ทะเลสาบที่ไม่มีวันเป็นน้ำแข็ง […]

หลายชีวิต หลากความคิดที่ ‘อิสรภาพ’ ถนนสายเก่าย่านฝั่งธนฯ

‘อิสรภาพ’ ที่แท้จริงคืออะไร ใครเป็นผู้กำหนด นี่เป็นคำถามที่มนุษย์หลายคนพยายามหาคำตอบ เกือบทั้งชีวิตในการหาคำจำกัดความให้คำนี้อยู่เสมอ และหลายครั้งคนเราก็นำไปนิยามสิ่งต่างๆ ในหลายบริบท ไม่ว่าจะวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งชื่อของ ‘ถนน’

สรุปภาพรวมและความรู้สึกจากงาน Better Living Room ห้องว่างให้เล่า ตอน ความรู้รอดตัว

Better Living Room ห้องว่างให้เล่า คือห้องว่างสีขาวที่เปิดโอกาสให้คนมาเล่าประสบการณ์ความรู้ พร้อมเปิดพื้นที่ให้ทุกคนสามารถตั้งคําถาม เพื่อนําไปสู่พื้นฐานความคิดที่จะทําให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างยั่งยืน ตลอดช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา Better Living Room ห้องว่างให้เล่า ตอน ‘ความรู้รอดตัว’ เปิดพื้นที่ให้เด็กยุคใหม่ได้มาแลกเปลี่ยนแนวคิดแบบไม่มีถูกผิดกับเหล่ากูรูหลายศาสตร์หลายแขนง ภายใต้ประเด็นสุดเข้มข้นเพื่อเฟ้นหาทางรอดในยุคที่ทุกอย่างถูก Disruption ผ่าน 5 หัวข้อ เช่น ทำ Content อย่างไรให้รอด, พื้นที่สาธารณะและความเหลื่อมล้ำ, ทางรอดของ Start-up, ความเข้าใจสิทธิพลเมือง รวมไปถึงงานประจำหรืองานฟรีแลนซ์ และนี่คือความประทับใจและความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในงาน

5 หนังสะท้อนชีวิตผู้หญิงในศตวรรษที่ 19

“เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลําบาก” “มีลูกสาวเหมือนมีส้วมอยู่หน้าบ้าน” สำนวนสุดล้าหลังที่กล่าวโทษเพศกำเนิดเพียงแค่เกิดมาเป็นหญิง ค่านิยมที่ตีกรอบความเป็นสตรีเพศและบรรทัดฐานที่ขีดเส้นขึ้นโดยชาย

1 250 251 252 253 254 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.