LATEST
Navakitel โรงแรมที่บอกเล่าความเป็นนครศรีฯ ผ่านสถาปัตยกรรมและงานดีไซน์
หากพูดถึงนครศรีธรรมราช ภาพของธรรมชาติอันสวยงาม สถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อทั้งทะเลและภูเขา รวมไปถึงการท่องเที่ยวด้านความศรัทธาอย่างไอ้ไข่หรือจตุคามรามเทพคงขึ้นมาในใจใครๆ หลายคน จากเมืองรองที่เป็นเหมือนแค่ทางผ่านไปสู่จังหวัดอื่น ปัจจุบันนครศรีธรรมราชคึกคักไปด้วยธุรกิจน้อยใหญ่ของคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาพัฒนาเมือง Navakitel Design Hotel คือโรงแรมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่เพียงเห็นโอกาสของจังหวัด ทว่าสร้างขึ้นโดยใช้ดีไซน์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวในตัวจังหวัดมาเป็นหนึ่งในจุดขาย เป็นทางเลือกให้แขกบ้านแขกเมืองเข้าพัก ‘เฟิส-วาริชัย บุญประดิษฐ์’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ที่กลับบ้านมาดูแลโรงแรมซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว อยากใช้พื้นที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่จุดประกาย สร้างโอกาสทางการงานให้คนนครฯ ที่อยู่ไกลบ้านได้มีโอกาสกลับมาอยู่ในพื้นที่อีกครั้ง กลับบ้านเพราะเห็นโอกาสในจังหวัด เฟิสเล่าให้ฟังว่า นาวากีเทลเริ่มต้นจากความตั้งใจของครอบครัวที่อยากต่อยอดที่ดินผืนแรกของที่บ้านให้เกิดประโยชน์ โดยที่ตัวเขาเองเพิ่งกลับมาช่วยที่บ้านบริหารหลังจากโรงแรมสร้างเสร็จเมื่อ 3 ปีก่อน “ตอนที่ที่บ้านมีแพลนจะสร้างโรงแรม เรายังเรียนอยู่ที่กรุงเทพฯ ตอนนั้นเลยยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลอะไรมากนัก ไม่รู้หรอกว่าเขาจะทำอะไรยังไงบ้าง แต่โรงแรมมาสร้างเสร็จตอนเราเรียนจบพอดี ก็เลยตัดสินใจกลับมาทำ” ผู้บริหารหน้าใหม่อย่างเขาเปิดใจเล่าให้ฟังตรงๆ เขาบอกว่าสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจกลับบ้านมาดูแลธุรกิจของครอบครัวเป็นเพราะตัวเองย้ายออกจากนครฯ ไปใช้ชีวิต เรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่จบชั้นมัธยมต้น แต่ถึงจะใช้เวลานานขนาดนั้น เขาก็ยังรู้สึกว่ากรุงเทพฯ ไม่ใช่ที่ที่ใช่ของตัวเองอยู่ดี “เราไปเรียนที่กรุงเทพฯ เจ็ดถึงแปดปี แต่ไม่อินกับกรุงเทพฯ เลย ไปอยู่ที่นั่นแน่นอนว่าการปรับตัวก็ไม่ง่าย กว่าจะเดินทางไปนู่นมานี่เป็น กว่าจะเข้ากับเพื่อนได้ เราเลยตั้งคำถามระหว่างทางตลอดว่าทำไมต้องกรุงเทพฯ ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “พอมาฉุกคิดเลยเจอว่าเราเองก็เป็นเหมือนหนึ่งในผลผลิตของค่านิยมสังคมไทยที่ถูกบีบให้มาที่นี่ อยู่โรงเรียนประจำจังหวัด แล้วต้องไปโรงเรียนระดับประเทศให้ได้ ต้องอยู่มหา’ลัยระดับประเทศให้ได้ ทุกอย่างเต็มไปด้วยการแข่งขัน และโอกาสทุกอย่างมันก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ […]
รู้จัก Voice of Baceprot วงเมทัลสาวมุสลิมจากอินโดนีเซีย เตรียมมาแสดงที่ไทย 27 ส.ค.นี้
หากพูดถึงวงดนตรีเมทัลหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าจะมีวงหญิงล้วน สวมฮิญาบ ถือเบส จับกีตาร์ รัวกลอง และร้องเพลงหนักๆ บนเวทีเรียกเสียงเชียร์จากแฟนเพลง แต่ต้องบอกเลยว่า Voice of Baceprot จากประเทศอินโดนีเซียนั้นถือเป็นวงรุ่นใหม่ที่เหล่านักฟังเพลงเมทัลกำลังจับตามอง Voice of Baceprot เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยสมาชิก 3 คน คือ Marsya (ร้องนำและกีตาร์), Widi (เบส) และ Sitti (กลอง) โดยทั้ง 3 คนเรียนดนตรีด้วยกันและต่างก็หลงรักในดนตรีเมทัล จึงรวมตัวก่อตั้งวง Voice of Baceprot ขึ้นในปี 2014 ซึ่งคำว่า Baceprot นั้นมาจากภาษาซุนดา แปลว่า ‘เสียงดังโหวกเหวก’ ที่หมายถึงแนวเพลงของพวกเธอนั่นเอง เพลงของ Voice of Baceprot นั้นมักจะพูดถึงประเด็นสังคมเสียส่วนใหญ่ กลายเป็นวงที่ทำลายความเชื่อและการเหมารวมที่กดทับผู้หญิงมุสลิมเอาไว้ ทั้งการที่ผู้หญิงชาวมุสลิมไม่ควรจะมีสิทธิ์มีเสียง หรือผู้หญิงไม่เหมาะกับเพลงเมทัลที่เสียงดัง โดยวงเริ่มต้นจากการเล่นดนตรีในโรงเรียนและเปิดตัวอย่างเป็นทางการกับซิงเกิลเดบิวต์ ‘School Revolution’ ในปี 2018 เมื่อวงเป็นที่รู้จักมากขึ้น […]
ฟินแลนด์ผลิต ‘แบตเตอรี่ทราย’ ตัวแรกของโลก ที่กักเก็บความร้อนและพลังงานทดแทนได้นานหลายเดือน
หลังจากก่อนหน้านี้ สายน้ำ สายลม และแสงแดด ถูกนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน เพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงแบบเดิมๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ทราย’ เม็ดเล็กๆ จำนวนมหาศาลกันบ้าง ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานความร้อนหมุนเวียนสำหรับใช้งานในครัวเรือน กลายเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับพลังงานสีเขียวในอนาคต ล่าสุดนักวิจัยชาวฟินแลนด์จากบริษัทสตาร์ทอัปขนาดเล็กอย่าง ‘Polar Night Energy’ ได้คิดค้น ‘แบตเตอรี่ทราย (Sand Battery)’ เครื่องแรกของโลกที่สามารถจัดเก็บพลังงานหมุนเวียนความร้อนที่ก่อให้เกิดมลพิษน้อย ด้วยต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ออกมาสู่สายตาชาวโลกได้สำเร็จแล้ว โดยแบตเตอรี่ทรายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 เมตร สูง 7 เมตร และบรรจุทรายมากถึง 100 ตัน ตั้งอยู่ในโรงไฟฟ้าของบริษัทพลังงาน Vatajankoski ในเมือง Kankaanpää ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายพลังงานความร้อนในท้องถิ่นที่มีผู้ใช้บริการกว่า 10,000 คน การทำงานคือการดึงพลังงานความร้อนกว่า 500 องศาเซลเซียสที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์และกังหันลมมาเก็บไว้ในถังแบตเตอรี่ทรายก่อน พูดง่ายๆ ก็คือ แบตเตอรี่ทรายเป็นเหมือนพื้นที่กลางสำหรับกักเก็บพลังงานทดแทนอย่างความร้อน ก่อนจะถูกส่งต่อไปให้ชุมชนใช้งาน ประโยชน์ของการไม่ส่งพลังงานไปยังบ้านเรือนของประชาชนโดยตรงก็คือ เมื่อโซลาร์เซลล์หรือกันหังลงสร้าง ‘พลังงานมากเกินความต้องการ (Excess Renewable Energy)’ ความร้อนส่วนเกินเหล่านี้ก็จะถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่ทราย […]
‘พาใจกลับบ้าน’ กิจกรรมที่ชวนหยุดพักเพื่อเยียวยาผ่านหนัง เวิร์กช็อป และ Interactive Art
ทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวันจนตามไม่ทัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นก็ต้องแข่งขัน บางครั้งต้องแกล้งหัวเราะทั้งที่เครียด กดดัน บางครั้งทุกความรู้สึกประดังประเดเข้ามาพร้อมกันจนไม่รู้จะรู้สึกยังไงดี ถ้าคุณเคยผ่านอะไรแบบนี้ ‘พาใจกลับบ้าน’ อาจเป็นกิจกรรมที่คุณต้องการมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีกับการจัดฉายสารคดีเรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ ในงาน Bangkok Design Week ตอนต้นปี Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบประสบการณ์กลับมาอีกครั้งกับงาน ‘CONNE(X)T HOMECOMING : พาใจกลับบ้าน’ ที่อยากพาทุกคนเดินทางกลับไปสำรวจใจตัวเองซึ่งเป็นดั่งบ้านอีกครั้ง พวกเขาจำลองงานให้เป็นเหมือน Spiritual Village หรือหมู่บ้านทางจิตวิญญาณที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนมาตรวจเช็กสุขภาพใจ ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ และกระโจนเข้าหาความสนุกในกิจกรรมต่างๆ ที่มีทั้ง Interactive Art, การดูหนัง และเวิร์กช็อปเยียวยาใจ งานจัดที่ชั้น 2 ของ RIVER CITY BANGKOK ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 – 20.00 น. เช็กรายละเอียดของทุกกิจกรรมได้ทางเพจ Eyedropper […]
‘เมืองลิง’ ออกแบบเมืองเก่าลพบุรี สร้างเมืองใหม่ให้ลิง เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า
ปี 2499 อันธพาลครองเมือง ส่วนปี 2564 ลิงครองเมืองลพบุรี เหตุการณ์วันนั้นเกิดขึ้นที่สี่แยกไฟแดงกลางเมือง บริเวณถนนรอบพระปรางค์สามยอด-หน้าศาลพระกาฬ แลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดลพบุรี จ่าฝูงแก๊งลิงพระปรางค์สามยอดยกพวกจำนวนมากปีนรั้วลงถนน ทางด้านลิงจากฝั่งธนาคารออมสินและลิงถิ่นตลาด ก็ยกพวกทั้งหมดวิ่งกรูเข้ามาเตรียมเข้าปะทะกันท่ามกลางสายตาของชาวบ้านและนักท่องเที่ยว เสียงดังอื้ออึงมาจากเสียงกรีดร้องเจ็บปวด เสียงตะโกนสร้างความฮึกเหิม รวมถึงเสียงบีบแตร เบิ้ลเครื่องยนต์ของชาวเมือง สงครามวานรครั้งนั้นทำให้ ตาต้า-ชญตา ลีวงศ์เจริญ นิสิตปริญญาตรีภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเรื่องขำกลิ้งลิงกับเมืองที่มีความตลกร้ายแฝงอยู่บนปัญหาระดับวิกฤตที่ยังหาทางแก้ไม่ตก มาใช้เป็นสารตั้งต้นกำหนดหัวข้อธีสิสที่ชื่อว่า ‘โครงการบูรณะพื้นที่เมืองเก่าลพบุรี เพื่อการอยู่ร่วมกันของคนและสัตว์ป่า’ ในวันที่สงครามสงบลงแล้ว เราอยากพาไปดูหนึ่งในไอเดียการแก้ปัญหาลิงครองเมืองลพบุรี เพื่อที่อนาคตจะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก แถมคนกับสัตว์อาจอยู่ร่วมกันในเมืองได้อย่างสันติ เรื่องมันเริ่มมาจากลิง ปัญหาใหญ่และหนักสุดระดับวิกฤตของจังหวัดลพบุรีคือ ‘ลิง’ เพราะจำนวนของพวกมันที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปีเป็นเรื่องที่ควบคุมได้ยาก ปัจจัยหลักๆ คือการที่มนุษย์หยิบยื่นอาหารให้ลิงจนเป็นเรื่องปกติ ทำให้เดิมทีลิงที่หากินเองออกลูกได้ปีละตัว กลับออกลูกได้สองตัวต่อปี ปัญหาที่ตามมาจากการเพิ่มจำนวนดังกล่าวคือเจ้าหน้าที่จับลิงมาทำหมันได้ยากขึ้น ชาวบ้านบางคนถึงกับบอกว่า “ลิงมันสื่อสารกันรู้เรื่อง มันหนีทันตลอด” ปีนี้ผลสำรวจพบว่า ชุมชนลิงในเมืองลพบุรีมีจำนวนถึงห้าพันกว่าตัว และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าน่าจะขยายเผ่าพันธุ์เพิ่มอีกเป็นหมื่นๆ ตัว ตาต้าเล่าว่า ลิงเป็นสัตว์สังคมไม่ต่างจากมนุษย์ มีการจับกลุ่ม รวมแก๊ง แบ่งก๊กเป็น 7 พวกหลักๆ แบ่งเป็น 3 […]
บอกลาภาคใต้ไปแดนเหนือ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ เตรียมย้ายจากสงขลาไปเชียงใหม่ ต้นปี 66
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เราได้เสนอข่าวการโยกย้ายร้านของ ‘ร้านหนังสือเดินทาง’ บนถนนพระสุเมรุ มาเดือนนี้ก็เป็นคราวการโยกย้ายของ ‘ร้านหนังสือเล็กๆ’ ที่เคยอยู่ทำเลเดียวกันเมื่อครั้งประจำการบนถนนพระอาทิตย์ (ตอนนั้นร้านหนังสือเดินทางเช่าที่ร้านหนังสือเล็กๆ ต่อ) เป็นเวลากว่าหกปีที่ ‘เอ๋-อริยา ไพฑูรย์’ พาร้านหนังสือเล็กๆ มาลงหลักปักฐานบนถนนยะหริ่ง จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งนับเป็นร้านหนังสืออิสระแห่งเดียวของเมืองใหญ่สองทะเลก็ว่าได้ ที่ผ่านมา เอ๋เช่าอาคารเก่าแล้วปรับปรุงฟังก์ชันให้เป็นร้านหนังสือและพื้นที่ทำกิจกรรมของเด็กๆ ตามตัวตนของเธอที่เคยทำงานเป็นบรรณาธิการสำนักพิมพ์แพรวเยาวชน แต่ด้วยความไม่สะดวกที่ต้องเทียวไปเทียวมา บวกกับต้องทำงานอื่นๆ หารายได้ ทำให้เธอไม่สามารถเปิดร้านเป็นประจำสม่ำเสมอได้ทุกวัน เพราะมีแพลนจะย้ายไปเชียงใหม่มาตลอด บวกกับคิดว่าตนได้ทำร้านหนังสือที่นี่มานานพอจนถึงเวลาสมควรแล้ว เอ๋ก็ตัดสินใจย้ายร้านหนังสือเล็กๆ ไปแถวโรงเรียนสารภีพิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่ “ถ้าย้ายไปที่นั่นมันจะเป็นบ้านเรากับเพื่อน คือเป็นบ้านกับร้านหนังสือในที่เดียวกันไปเลย ตื่นมาก็เปิดร้าน มีหนังสือรายล้อม บรรยากาศดี ในสวนมีต้นไม้ดอกไม้ แถมขายได้หรือไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องยอดขายเท่าตอนเช่าร้าน เพราะยังไงก็เป็นบ้านเราเอง “ส่วนแนวหนังสือก็คงเหมือนเดิม เป็นแนวที่เราชอบและถนัด แต่จะเพิ่มโซนหนังสือเด็กขึ้นมา มีสนามหญ้า และห้องที่เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมให้เด็กๆ” เอ๋เล่า ระหว่างนี้ร้านหนังสือเล็กๆ กำลังทยอยเก็บหนังสือ ทำให้ต้องปิดหน้าร้านอยู่บ่อยๆ ใครที่อยากแวะไปเยี่ยมเยือนอาจต้องติดต่อหาเอ๋ก่อน ส่วนการสั่งซื้อหนังสือทางออนไลน์ยังพอทำได้บ้าง ขณะเดียวกัน แม้สงขลาจะไม่มีร้านหนังสือเล็กๆ แล้ว แต่ด้วยความร่วมมือกับคนรักหนังสือ บวกกับแรงผลักดันสนับสนุนจากเอ๋ ก็ทำให้เมืองยังมีร้านหนังสือต่อไป […]
ก้าวใหม่ของ OR จากสถานีบริการน้ำมันสู่ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม
เสียงคนคุยกันดังเซ็งแซ่ สลับกับเสียงเครื่องทำกาแฟ และเสียงผู้บรรยายบนเวทีที่ลอยเข้าหูเป็นระยะ เรารับแก้วเครื่องดื่มจากพนักงานเสิร์ฟ ชาอู่หลงหอมละมุน เติมความสดชื่นด้วยลิ้นจี่ มะนาวฝาน และส้มสไลซ์-ปกติแก้วนี้ไม่ได้ขายในไทย แต่ไปขายไกลถึงเวียดนาม โอกาสพิเศษจริง ๆ เรากำลังยืนอยู่ในงาน Inclusive Growth Days empowered by OR ที่จัดขึ้น บนชั้น 22 บางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เปล่าเลย นี่ไม่ใช่งานเครื่องดื่มนานาชาติ แต่คืองานที่ OR สร้างขึ้นเพื่อโชว์เคสธุรกิจในเครือของตัวเองและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตร่วมกันกับธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกขนาด และสตาร์ทอัป นอกจากในงานจะมี Café Amazon ที่เปิดขายเมนูพิเศษซึ่งปกติขายในต่างประเทศเท่านั้น ยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากพันธมิตรของ OR สินค้าไทยเด็ด SME และสตาร์ทอัป รวมกว่า 100 บูธ และไฮไลต์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเวทีเสวนาที่ระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วไทยมาพูดถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการและผู้ที่มีฝันอยากเปิดของตัวเองบ้าง และอาจเป็นโชคดีของเราที่วันนี้ เราได้พูดคุยกับ คุณสมยศ คงประเวศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OR […]
บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]
ต่อจากนี้ จะไม่มีขวดเขียวอีกต่อไป Sprite เปลี่ยนเป็นขวดใสอย่างถาวร หวังสนับสนุนแนวคิดความยั่งยืน
เมื่อช่วง 2 – 3 ปีที่แล้ว หลายคนคงเห็นการเปลี่ยนแปลงของเครื่องดื่มน้ำใสซ่า ‘สไปรท์’ (Sprite) ที่ออกบรรจุภัณฑ์แบบใหม่เป็นขวดใส ไม่มีสี จากเดิมที่ใช้ขวดสีเขียวมาตั้งแต่ปี 1961 จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของน้ำอัดลมแบรนด์นี้ไปแล้ว ในปีนี้ บริษัทผู้ผลิตอย่าง Coca-Cola ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นไป สไปรท์จะเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวที่ใช้มานานกว่า 60 ปีอย่างถาวร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ใสที่นำไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น การเปลี่ยนโฉมขวดใหม่นี้จะเริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกากับแคนาดา และภายในสิ้นปีนี้ ในตลาดกว่า 70 ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าขวดใสจะยังคงคาดด้วยฉลากสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของสไปรท์ ควบคู่กับข้อความ ‘Recycle My’ หรือ ‘รีไซเคิลฉันสิ’ ‘Julian Ochoa’ แห่ง R3cycle หนึ่งในบริษัทรีไซเคิลที่ทำงานร่วมกับ Coca-Cola บอกว่าการนำสีเขียวออกจากการผลิตขวดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คุณภาพวัสดุรีไซเคิลดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลของบรรจุภัณฑ์ให้สูงขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีกลุ่มนักสิ่งแวดล้อมมองว่าปัญหาของขวดสไปรท์ไม่ใช่เรื่องสี แต่เป็นวัสดุพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมากกว่า เนื่องจาก Coca-Cola ผลิตขวดพลาสติกมากกว่า 1 แสนล้านขวดต่อปี และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้เป็นการทำตามวิสัยทัศน์ World Without Waste […]
หลอดกระดาษไมโลปรับปรุงใหม่ แข็งแรงขึ้น ใส่ใจโลก!
ตอนเด็กๆ พอรู้ว่ารถไมโลโรงเรียนจะมา เรานี่ตื่นเต้นจนอยากจะรีบไปต่อแถวคนแรก โตขึ้นมาหน่อยก็จำความได้ว่ามีไมโลติดกระเป๋าตลอด แม้กระทั่งตอนนี้ คิดอะไรไม่ออกก็ให้ไมโลช่วยรองท้อง ไมโลแทบจะอยู่กับเราทุกช่วงวัย ผ่านไปกี่สิบปี ความอร่อยของเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์กล่องสีเขียวก็ยังคงเหมือนเดิม แม้รสชาติความผูกพันจะไม่เปลี่ยนไป แต่ไมโลก็ไม่หยุดเติบโตไปพร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลง กล่องนมยูเอชทีพร้อมดื่มคู่กับหลอดพลาสติกอาจจะเคยเป็นภาพในเมื่อก่อน แต่ตอนนี้มันได้เปลี่ยนไปแล้ว ไมโลเปลี่ยนสิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่อย่างหลอดพลาสติกเป็น ‘หลอดกระดาษ’ ที่ครั้งนี้มาพร้อมกับความแข็งแรงยิ่งขึ้น ทนทานขึ้น เจาะง่ายขึ้น และดื่มได้เพลินยิ่งขึ้น ผ่านความตั้งใจที่อยากให้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลโลกใบนี้ไปด้วยกัน ไมโลขอบ๊ายบายพลาสติก เพื่อโลกที่ดีกว่า เมื่อเราไม่ได้ใช้ประโยชน์จากพลาสติกอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่กลับทิ้งให้กลายเป็นขยะที่เข้าไปปะปนอยู่ในธรรมชาติและท้องทะเล กว่าจะย่อยสลายก็ใช้เวลากว่า 450 – 500 ปีเลยทีเดียว ขณะเดียวกัน การลดใช้-ใช้ซ้ำ-นำกลับมาใช้ใหม่ ก็เป็นสิ่งที่หลายคนพยายามร่วมด้วยช่วยกันเพื่อดูแลโลกของเรา และไมโลคือหนึ่งในนั้น นี่คือแบรนด์ที่ทำให้เรื่องรักษ์โลกนั้นง่ายขึ้นเป็นกอง เพราะแทนที่จะใช้หลอดพลาสติกแบบเดิมๆ ไมโลก็หันมาใช้หลอดกระดาษเพื่อจุดมุ่งหมายในการลดขยะพลาสติก แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำไปรีไซเคิลได้สบายๆ นอกจากเรื่องของการย่อยสลายได้ง่าย อีกเหตุผลว่าทำไมต้องใช้หลอดกระดาษ ก็เพราะไมโลไม่อยากจะรักษ์โลกแค่ผิวเผิน แต่ต้องการส่งมอบความตั้งใจในระยะยาว ลองคิดดูว่า ขณะเด็กๆ กำลังดื่มนมด้วยหลอดกระดาษ ครอบครัวเองก็สามารถสร้างบทสนทนาสนุกๆ ด้วยการชวนลูกๆ พูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน เต่าทะเล ไปจนถึงธรรมชาติที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของประเด็นนี้ เหมือนเป็นการปลูกฝัง Mindset เรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ยังเล็ก […]
ชวนเดิน บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022 หาไอเดียกับคอนเซปต์ Garden Exploration 5 – 14 ส.ค. ที่ ไบเทค บางนา
กลับมาอีกครั้งกับงานแฟร์สำหรับคนรักบ้านและสวน หลังจากใช้เวลาครึ่งปีแรกหมดไปแล้ว หลายบ้านก็อาจจะอยากปรับเปลี่ยน ตกแต่ง หรือเพิ่มเติมบ้านให้ดูมีความพิเศษขึ้นกว่าเดิม เราเลยอยากชวนทุกคนไปหาไอเดียใหม่ๆ ที่งาน ‘บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022’ กัน โดยงานครั้งนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘Garden Exploration’ ที่เกิดจากความสนใจในต้นไม้และการเรียนรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการปลูก ขยายพันธุ์ ดูแลรักษา และการออกแบบ เพื่อช่วยให้การจัดสวนด้วยตัวเองนั้นง่ายและสนุกมากกว่าเดิม ถึงแม้คอนเซปต์หลักจะเน้นไปที่ต้นไม้ แต่ภายในงานก็มีสินค้าเกี่ยวกับบ้านกว่า 2,500 บูท รวมถึงยังมีหลากหลายโซนให้เดินหาไอเดียสำหรับการแต่งบ้านและจัดสวน ไม่ว่าจะเป็น Garden Village โซนสำหรับคนรักต้นไม้ที่รวมผู้เชี่ยวชาญด้านพืชพรรณและการเกษตรสมัยใหม่ไว้หลายแขนง, บ้านและสวน PETS โซนของเจ้าของและสัตว์เลี้ยงที่พร้อมให้ความรู้เรื่องสัตว์เลี้ยงทั้งหลาย, My Home โซนของคนรักบ้านกับเทคนิคจัดบ้านให้น่าอยู่กว่าเดิม, Garden of Ideas โซนสำหรับนักจัดสวน ค้นหาสวนที่เป็นตัวตน, Explorers Zone โซนสำหรับสายกาแฟ แคมป์ปิง และเดินป่า ในบรรยากาศแคมป์ปิงริมหาดทราย พร้อมกลิ่นหอมๆ ของกาแฟ และอีกหลายโซนที่รอให้ทุกคนไปเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ และหาไอเดียที่ถูกใจกลับไปปรับเปลี่ยนบ้านให้กลายเป็นบ้านในฝันกัน บ้านและสวนแฟร์ Midyear 2022 จะจัดขึ้นในวันที่ 5 […]
“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ
หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]