หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่

คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

บัตรคนจน ช่วยคนจนหรือสร้างความเหลื่อมล้ำ?

เมื่อไม่นานนี้เพิ่งมีการเปิดรับลงทะเบียน ‘บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ’ หรือ ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่ในปี 2565 โดยครั้งนี้คณะรัฐมนตรีวางเป้าหมายคนลงทะเบียนบัตรประเภทนี้ไว้ 20 ล้านคน เพื่อเยียวยาและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับคนที่มีรายได้น้อย เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้คนตกงานมากมาย และคนหันไปทำงานอิสระมากกว่าเคย จึงคาดการณ์ว่าจะมีคนจนมากกว่าแต่ก่อน รวมถึงคาดว่าจะมีคนรับสิทธิ์จริงประมาณ 17 ล้านคน ซึ่งตั้งงบประมาณเอาไว้ 5,337 ล้านบาท ว่าด้วยตัวเลข 20 ล้านคนที่คณะรัฐมนตรีตีกรอบเอาไว้สำหรับคนที่ลงทะเบียนบัตรคนจนปี 2565 เมื่อย้อนดูสถิติจำนวนคนถือบัตรคนจนตั้งแต่ปี 2560 – 2564 จากการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ปี 2560 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2561 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 11 ล้านคนปี 2562 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 15 ล้านคนปี 2563 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 14 ล้านคนปี 2564 มีคนถือบัตรคนจนประมาณ 13 ล้านคนปี 2565 ครม.ตั้งเป้าไว้ 20 ล้านคน (คาดว่ารับจริง […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

ทำไมคนไทยเชื่อหมอดูมากกว่าจิตแพทย์? เพราะงมงายหรือเข้าถึงง่ายกว่า

เวลาคุยกับหมอดู คุณถามว่าอะไรกันบ้าง?ช่วงนี้เครียดกับเพื่อนร่วมงานมาก งานนี้จะรอดไหม?ที่ทำงานบีบเงินเดือนสุดๆ ปีนี้จะรวยไหม?ทุ่มเทให้เขาขนาดนี้ เขาจะรักเราบ้างไหม? คำถามเหล่านี้ต่างเป็นปัญหาสุดกลุ้มใจของใครหลายคน หากให้เลือกปรึกษาระหว่างจิตแพทย์กับหมอดู เชื่อว่าส่วนใหญ่ขอพุ่งเข้าหาแม่หมอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันศาสตร์ทำนายอนาคตฮิตในบ้านเรา และทุกวันนี้มีธุรกิจสายดวงผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะบริการดูดวงออนไลน์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย เช่น YouTube, Facebook, Twitter หรือ TikTok จนทำให้บางคนที่ชอบดูดวงมองว่า หมอดูก็สามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจและรู้สึกมีความหวังในวันที่เขาหลงทาง รวมทั้งให้คำปรึกษาคล้ายกับจิตแพทย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ดูดวง ที่พึ่งยามยากที่เข้าถึงง่าย ความนิยมการดูดวงไม่ใช่เรื่องคิดไปเอง จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี และเป็นโสด สาเหตุที่เลือกดูดวงเนื่องจาก 1 ใน 3 พบว่ารู้สึกเครียดและต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ จึงต้องการรับรู้เรื่องอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจการตัดสินใจในปัจจุบัน เรื่องที่คนเมืองมักจะปรึกษาแม่หมอมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2) การเงินและการค้า และ 3) เรื่องโชคลาภ […]

Stray Cat in the Sick City รับบทเป็นแมวส้มในเกม Stray ผจญภัยและเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ล่มสลาย

ชีวิตในเมืองที่แสนเหนื่อยยากและโลกที่วุ่นวาย ทำให้เราเคยมีความคิดที่แวบขึ้นมาว่า อยากลองเกิดเป็นหมาแมวดูบ้างสักวัน  แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งเราได้อิเซไกมาเป็นเจ้าแมวส้มจาก Stray เกมที่ให้เราสวมบทบาทเป็นแมวหลง ที่มีคู่หูอย่างเจ้าโดรนจิ๋ว B-12 คอยช่วยเหลือและนำทาง พร้อมกับผจญภัยไปด้วยกันในโลกแห่งอนาคตที่ล่มสลายด้วยฝีมือของมนุษย์ เหลือเพียงหุ่นยนต์ที่วิวัฒนาการขึ้นมาให้มีความนึกคิดและจิตใจ ในเมืองที่ถูกทิ้งร้างไร้ผู้คน Stray เป็นเกมจากค่าย BlueTwelve Studio ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดให้เล่นทั้งในแพลตฟอร์ม Steam, PlayStation 4 และ PlayStation 5 พร้อมกับคะแนนวิจารณ์ที่ดีที่สุดในปีนี้จากผู้เล่นใน Steam หลังจากเปิดตัวไปได้เพียงไม่กี่วัน  สำหรับคนที่เคยเล่นเกมนี้มาแล้ว หรือคนที่ยังไม่เคยเล่นก็ตาม สิ่งที่จะทำให้ทุกคนตกหลุมรักเกมนี้ได้ง่ายๆ ก็คือความน่ารักของเจ้าแมวส้ม นอกจากนั้นก็คงจะเป็นความน่าสนใจของการเมืองผ่าน Perspective ของแมว และเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เราจะได้พบเจอตลอดการเดินทาง พร้อมกับดีเทลเล็กๆ เฉพาะคนรักแมวเท่านั้นที่จะรู้ ถ้าแมวส้มจากเกม Stray ตัวนี้ได้มาร่อนเร่ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ที่สุดแสนจะวุ่นวายและใกล้ล่มสลาย น้องจะได้พบเจอกับอะไรบ้าง และทางออกของปัญหาเหล่านั้นควรจะเป็นอะไร เรามาร่วมลุ้นและผจญภัยไปด้วยกัน Walk Through the Cityเมื่อเจ้าแมวออกเดินทาง การจะเป็นเมืองที่เดินได้ จะต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งบนทางเท้าและท้องถนน และควรมีความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย การมีทางเท้าที่ดี สะพานลอยหรือทางม้าลายที่ปลอดภัย ไฟข้างทางที่ส่องสว่าง […]

คนต่างจังหวัดก็อ่านหนังสือ แต่ทำไมงานหนังสือถึงจัดไม่บ่อยเท่าในกรุงเทพฯ

สำหรับชาวนักอ่านตัวยง คงจำได้ว่าเมื่อก่อนนี้เราแทบต้องนับวันรองานหนังสือแห่งชาติที่ในหนึ่งปีจะวนกลับมาให้เราออกกำลังกายขาและแขนในการเดินเลือกซื้อหนังสือและแบกกลับบ้านกัน 2 ครั้งต่อปี นั่นคืองานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ (จัดเดือนมีนาคม-เมษายน) และงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ (จัดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) แต่ดูเหมือนว่าปัจจุบันชาวกรุงเทพฯ ไม่ต้องรอนานเหมือนเดิมแล้ว เพราะช่วงหลังนี้มีงานหนังสือให้เราไปเดินกันบ่อยขึ้นกว่าเดิมทั้งงานขนาดเล็กและขนาดกลาง ไม่ว่าจะเป็นงานจากสำนักพิมพ์ ร้านหนังสือ หรือทีมผู้จัดงานหนังสือที่รวมตัวกันโดยเฉพาะเลยก็ตาม อย่างเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีงานหนังสือเกิดขึ้นถึง 5 งาน รวมถึงอีเวนต์อย่างงานหนังสือในสวน ที่แม้ไม่ได้ขายหนังสือเป็นหลัก แต่ก็เป็นอีเวนต์ที่เชิญชวนเหล่าคนรักการอ่านมาพบปะและทำกิจกรรมด้วยกัน กระทั่งเดือนสิงหาคมนี้ก็ยังมีงานหนังสือที่จัดอย่างต่อเนื่อง เช่น Bangkok Erotica Book Fest 2022 และงานหนังสือในสวน ครั้งที่ 2 เป็นต้น เมื่อมีงานหนังสือในกรุงเทพฯ เกิดบ่อยขึ้น ชาวต่างจังหวัดจำนวนไม่น้อยเลยเริ่มออกมาแสดงความคิดเห็นว่าอยากให้จังหวัดอื่นๆ มีงานหนังสือบ่อยๆ เหมือนที่เมืองหลวงบ้าง เราจึงเกิดความสงสัยว่าทำไมงานหนังสือถึงไม่แวะเวียนไปจัดที่จังหวัดอื่นๆ ให้บ่อยขึ้น หรือมันเป็นไปได้ไหมที่คนในพื้นที่จะลุกขึ้นมาจัดงานหนังสือในจังหวัดตัวเอง คิดหาคำตอบเองคงไม่ได้อะไร เราขอต่อสายถามความคิดเห็นเรื่องนี้จากเหล่าเจ้าของร้านหนังสือที่กระจายตัวเปิดร้านอยู่ตามต่างจังหวัดดีกว่า สาเหตุที่ต่างจังหวัด (แทบ) ไม่มีงานหนังสือ การจัดงานหนังสือแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายหลายส่วนที่สำนักพิมพ์หรือร้านที่เข้าร่วมงานต้องลงทุนเป็นจำนวนไม่น้อย ไหนจะค่าเช่าบูท ค่าเดินทาง ค่าแรงพนักงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะอีก ทว่าทั้งหมดนี้จะยิ่งทวีราคามากขึ้น หากเป็นงานหนังสือที่จัดในต่างจังหวัด นี่จึงอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่ค่อยได้เห็นงานหนังสือในจังหวัดอื่นๆ สักเท่าไหร่ กำลังซื้อส่วนใหญ่อยู่ในเมือง ‘ภาณุ […]

อสังหาฯ กรุงเทพฯ ชาติไหนครองมากที่สุดในปฐพี?

ใกล้จะถึงเดือนกันยายน ที่รัฐบาลเคาะผลบังคับใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีกำลังทรัพย์ (คนที่นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และลงทุนในธุรกิจไม่ น้อยกว่า 3 ปี) หรือคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบ้านเรา พร้อมทั้งมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติในไทยเป็น 1 ล้านคน คาดว่าจะสามารถเก็บภาษีมากกว่าเดิมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ปัจจุบันตัวเลขมูลค่าการถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดชาวต่างชาติปี 2564 ในกรุงเทพฯ มากที่สุดต้องยกให้ ‘ประเทศจีน’ มีมูลค่า 19,588 ล้านบาท และจำนวนห้องชุดทั้งหมด 3,526 หน่วย เรียกได้ว่าทั้งมูลค่าการถือครองเป็นเจ้าของและจำนวนห้องมากกว่าประเทศอื่นๆ หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับอันดับที่ 2 อย่าง ‘ประเทศวานูอาตู’ มีมูลค่า 1,111 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 58 หน่วย และอันดับที่ 3 คือ ‘ประเทศสิงคโปร์’ มีมูลค่า 786 ล้านบาท มีจำนวนห้องชุดทั้งหมด 117 หน่วย ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางตลาดอสังหาฯ ในไทยทุกวันนี้ยังเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาติยุโรปมีสัดส่วนถึง […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

ไทยอัตราการเกิดต่ำสุดใน 50 ปี จำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด จุดเริ่มต้นหลังรัฐประหาร 2557

สมัยนี้หากคุณมีครอบครัวจะอยากมีลูกไหม? หากคุณตอบว่า ‘ไม่’ เป็นคำตอบที่ไม่แปลกเลยสำหรับยุคนี้ ไม่ใช่แค่คนไทยแต่รวมถึงทั่วโลกต่างมีอัตราการเกิดลดลง เพราะคนไม่อยากมีลูกและอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ ที่ผ่านมาปี 2564 ทำลายสถิติอัตราการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 50 ปี หนักถึงขั้นมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิดเสียอีก สังเกตได้จากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลที่เผยว่า อัตราการเกิดปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 540,000 คน น้อยลงจากที่เคยเกิดเมื่อ 50 ปีที่แล้วประมาณ 1,200,000 คน และเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย (ประมาณ 560,000 คน) จากข้อมูลคนเกิดน้อยลง มองเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน หากคิดอีกมุมหนึ่ง ก็น่าตั้งคำถามไม่น้อยว่า ทำไมอัตราการเกิดในไทยถึงได้มีจำนวนดิ่งลงจนติดลบขนาดนี้ เศรษฐกิจไม่ดี ดูแลตัวเองให้ดีก่อน หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนไม่อยากมีลูกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเด็ก ครอบครัว และเลี้ยงดูตนเองที่ไม่เพียงพอ อ้างอิงจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง และค่าตอบแทนต่ำ หากต้องส่งลูกเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลถึงระดับปริญญาโทควรต้องมีเงินอย่างน้อย 1.3 ล้านบาท และระดับปานกลางประมาณ 6.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป) ปัจจัยค่าจ้างแรงงาน เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนจะตัดสินใจในการมีลูก […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม?

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

1 12 13 14 15 16 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.