จัดงานสเกลใหญ่ ควรมีมาตรการอย่างไร เพื่อป้องกันเหตุการณ์ Crowd Crush

จากเหตุการณ์ ‘ฝูงชนเบียดกันตาย (Crowd Crush)’ จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 154 ราย บริเวณย่านอิแทวอน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ทั่วโลกหันกลับมาสนใจเกี่ยวกับวิธีรับมือหากพบเจอสถานการณ์ดังกล่าว รวมไปถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับสถานที่หรืองานเทศกาลที่ต้องรองรับคนจำนวนมาก หากย้อนกลับไปในอดีต ก็มีหลายเทศกาลที่เกิดการรวมตัวของฝูงชนจนเกิดการ Crowd Crush ขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลดนตรี พิธีกรรมทางศาสนา หรือการชมกีฬานัดสำคัญ แต่ครั้นจะยกเลิกทุกกิจกรรมในอนาคตเพื่อตัดปัญหาตั้งแต่ต้นลมก็คงไม่ใช่วิธีที่ถูกนัก  วันนี้ Urban Creature จึงขอหยิบเอามาตรการความปลอดภัยเบื้องต้นสำหรับการจัดงานที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนมากมาฝากกัน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับทั้งผู้จัดสำหรับการวางแผนงาน และผู้เข้าร่วมที่ต้องการประเมินความเสี่ยงสำหรับตัวเอง แค่ไหนถึงเรียกว่า Crowd Crush? แม้ส่วนใหญ่สื่อไทยจะใช้คำว่า ‘Crowd Crush’ หรือที่แปลเป็นไทยว่า ‘ฝูงชนเบียดกันตาย’ ในการรายงานข่าว แต่ความจริงแล้วสถานการณ์ดังกล่าวยังสามารถอธิบายด้วยคำว่า ‘Crowd Surge’ ได้เช่นเดียวกัน โดย G. Keith Still ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของฝูงชนและศาสตราจารย์รับเชิญด้านวิทยาศาสตร์ฝูงชนที่มหาวิทยาลัย Suffolk ประเทศอังกฤษ ได้อธิบายว่า Crowd Crush […]

Climate Anxiety เมื่อภาวะโลกร้อนทำให้คน ‘เครียดไม่ไหว’ จนต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องด้วยตัวเอง

สภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนหนักและคาดเดายาก อาจทำให้คนเครียดและวิตกกังวลจากปรากฏการณ์นี้มากขึ้น จนถึงขั้นเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง ย้อนไปเมื่อปี 2018 ฝรั่งเศสเคยประกาศเป้าหมายที่จะปิดโรงงานถ่านหินทั้งหมดในประเทศภายในปี 2022 เพื่อต่อสู้กับ ‘การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก’ หรือ ‘Climate Change’ ซึ่งอีกราวสองเดือนก็ถึงเส้นตายแล้ว แต่ดูเหมือนว่าฝรั่งเศสจะทำตามแผนการไม่สำเร็จแน่ๆ เพราะอาจจำเป็นต้องกลับมาเปิดใช้โรงงานเหล่านี้ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่กำลังเลวร้ายลงเรื่อยๆ ด้านเมืองที่ท็อปฟอร์มเรื่องความยั่งยืนของโลกอย่าง โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ก็อาจรักษาสัญญาที่จะเป็นเมืองปราศจากคาร์บอนฯ แห่งแรกของโลกภายในปี 2025 ไม่ได้ เนื่องจากปัญหาเรื่องเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาล นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวตัวอย่างแผนการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนที่ล้มเหลวของนานาชาติ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยากอย่างการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ แต่ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นว่าหลายประเทศยังไม่เอาจริงเอาจังเรื่องโลกร้อนเสียที และมองว่าวิกฤตนี้คือเรื่องที่รอได้ เป้าหมายที่ถูกผัดวันประกันพรุ่ง นโยบายสิ่งแวดล้อมที่ถูกปัดตก และคำมั่นสัญญาของบรรดาผู้นำที่เป็นเพียงลมปาก ทำให้เราเริ่มรู้สึกกังวลและท้อมากขึ้นทุกที นึกภาพไม่ออกว่าทั่วโลกจะควบคุมอุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ยังไง และเป้าหมายของนานาประเทศที่ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 จะเป็นเพียงแค่ความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงหรือเปล่า Urban Creature ชวนทุกคนไปทำความรู้จัก ‘Climate Anxiety’ อาการวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตโลกรวน ที่พบมากขึ้นเรื่อยๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ จนพวกเขาไม่ขอนิ่งเฉย ลุกขึ้นมาเรียกร้องถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเอง หายนะโลกร้อน คงหน้าตาประมาณนี้สินะ ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา หลายคนคงเห็นข่าวภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก […]

มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?

เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา  ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช  ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ เวิร์กจริงไหม

ในแต่ละสัปดาห์ กว่าหลายคนจะผ่านพ้น 5 วันทำงานไปได้ก็แทบจะไม่เหลือเรี่ยวแรง ร่างกายเหนื่อยล้าแบบสุดๆ จนอดใจรอวันหยุดสุดสัปดาห์แทบจะไม่ไหว แต่ช่วงวันหยุด 2 วันก็ผ่านไปไวเหลือเกิน ยังไม่ทันจะเคลียร์งานบ้าน พักผ่อนให้หายเหนื่อย ก็ต้องกลับไปสู่วงจรการทำงานอีกแล้ว หากสัปดาห์ไหนมีวันหยุดพิเศษเพิ่มมาให้อย่างน้อย 1 วัน ก็รู้สึกเหมือนโชคหล่นทับ เพราะรู้สึกว่าร่างกายและจิตใจได้ชาร์จพลังจนเต็ม พร้อมสู้งานในสัปดาห์ต่อไปอย่างไม่น่าเชื่อแล้ว แล้วถ้าได้ทำงาน 4 วัน หยุด 3 วัน ทุกสัปดาห์ และยังได้รับเงินเดือนเท่าเดิม จะช่วยให้เราพร้อมสู้งานกว่านี้ไหมนะ เชื่อว่าในปัจจุบันหลายคนคงจะเริ่มตระหนักถึง Work-life Balance หรือการใช้ชีวิตที่ไม่ได้โฟกัสเรื่องงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับสุขภาพและชีวิตส่วนตัวมากขึ้นด้วย จึงไม่แปลกใจที่คนยุคใหม่จะมองว่า การทำงานโดยมีวันหยุดเพียง 2 วัน/สัปดาห์นั้นไม่ตอบโจทย์และไม่เพียงพอสำหรับการพักผ่อนหรือลองทำกิจกรรมใหม่ๆ เลย หลายคนและหลายองค์กรคงเคยนึกถึงการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์กันอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเมื่อวันทำงานลดน้อยลงแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานจะยังมีเท่าเดิมไหม หรือหากจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์ลดลงจะมีผลต่อรายได้หรือเปล่า แนวคิดการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์นี้จึงยังเป็นข้อถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า สรุปแล้วมันเวิร์กสำหรับสังคมการทำงานจริงๆ หรือไม่ หลายประเทศทั่วโลกทดลองลดวันทำงาน ประเด็นการทำงาน 4 วัน/สัปดาห์เป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงมานานแล้ว ยิ่งมีเหตุการณ์โควิด-19 หลายองค์กรก็ต้องปรับตัวและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรักษาพนักงานเอาไว้ […]

กรุงเทพฯ ติดอันดับ 5 เมือง ‘Work ไร้ Balance’ ของโลก

คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96  สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]

Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]

30 ปีผ่านไปไวเหมือนโกหก ‘รถไฟความเร็วสูง’ ของไทย ต้องรออีกนานแค่ไหนกว่าจะได้ออกเดินทาง

หลังจากเริ่มสร้างในปี 2559 รถไฟสายลาว-จีน ก็สามารถเปิดให้บริการได้ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รถไฟสายนี้เชื่อมต่อระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว-คุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีระยะทางกว่า 1,035 กม. ใช้งบก่อสร้างราว 2 แสนล้านบาท วิ่งด้วยอัตราเร็ว 160 – 200 กม./ชม.  การเกิดขึ้นจริงของรถไฟสายนี้ทำให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโต รวมถึงการส่งสินค้าต่างๆ ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทยก็จะได้ใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายลาว-จีนนี้ร่วมกัน  ที่อินโดนีเซีย ในปี 2559 ก็เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางจาการ์ตา-บันดุง ระยะทาง 142 กม. เพื่อหวังใช้ประโยชน์กระตุ้นพัฒนาเศรษฐกิจ ข่าวคราวล่าสุด ทางจีนได้ส่งรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งได้ 350 กม./ชม. ถึงอินโดฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา โครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดฯ จึงน่าจะเปิดบริการได้ราวสิ้นปี 2566  ส่วนประเทศไทย เริ่มก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศในปี 2560 เพื่อพัฒนา ‘ระบบคมนาคมขนส่งทางราง’ ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนสำคัญที่อยู่ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 […]

ฟังเรื่องเล่าจากชาว ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าเมดอินฝั่งธนบุรี

ในวันที่สะพานพระราม 8 พัฒนาพื้นที่จนกลายเป็นพับบลิกสเปซอีกแห่งของชาวฝั่งธนฯ รวมถึงนักเรียน-นักศึกษาในละแวกใกล้เคียง ที่หากแดดร่มลมตกเมื่อไร ก็มักพากันมานั่งทอดสายตาที่สวนริมแม่น้ำ ยืดแข้งขาออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ เล่นฟุตซอลในสนามใกล้ๆ หรือลานกว้างใต้สะพานที่แปรเปลี่ยนเป็นลานสเก็ตบอร์ดให้เด็กๆ ได้ออกมาวาดลวดลายโชว์ลีลากันสนุกสนานทุกค่ำคืน ทว่าหากไม่ใช่คนที่คลุกคลีอยู่แถบนี้อาจไม่รู้เลยว่า พื้นที่ติดกันนี้มีชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ที่โดดเด่นเรื่องงานหัตถกรรมต่างๆ และของกินของใช้นานาชนิดตั้งอยู่ในชื่อ ‘บ้านปูน’ ขณะที่น้ำเหนือกำลังไหลลงมา สมทบกับน้ำทะเลหนุนสูง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มปริ่มขอบกระสอบทรายใต้สะพานพระราม 8 เราเริ่มต้นทริปวันนี้ที่ด้านหน้าแนวกำแพงเก่า ปูนที่เคยฉาบหลุดล่อนออกมาจนเห็นแนวอิฐก่อ ค่อยๆ ผุพังทลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเรื่องราวความเป็นมาที่แทบจะเลือนหาย ติดอยู่บนป้ายสีซีดจาง ‘กำแพงวังเจ้าอนุวงศ์’ หรือที่เรียกกันภาษาปากว่าวังเจ้าลาว เป็นหลักฐานของการเข้ามาอยู่อาศัยของเจ้านายจากกรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว ที่มาปลูกบ้านเรือนประทับยามที่ต้องเดินทางเข้ามาทำธุระยังกรุงเทพฯ ในช่วงรัชกาลที่ 3 ถือเป็นแลนด์มาร์กสำคัญหนึ่งที่อยู่คู่บ้านย่านนี้ จากกำแพงวังในวันนั้น กลายเป็นเส้นแบ่งอาณาเขตของชุมชนบ้านปูนกับพื้นที่สะพานพระราม 8 ในวันนี้ ทอดตัวเลียบไปกับที่พักอาศัย โดยมีทางเข้า-ออกเล็กๆ ด้านบนเป็นป้ายสีเขียวเขียนชื่อระบุชัดว่า ‘ชุมชนบ้านปูน แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร’ อยู่ที่ปลายกำแพงริมแม่น้ำ เยี่ยม ‘บ้านปูน’ แหล่งผลิตสรรพสินค้าย่านฝั่งธนฯ ชื่อเสียงเรียงนามของบ้านปูนไม่ได้มีที่มาซับซ้อน ว่ากันง่ายๆ คือมาจากการที่มีโรงทำปูน วัตถุดิบสำคัญกินคู่กับหมาก ตั้งอยู่ด้านในชุมชนมาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงฯ ขณะที่อีกกระแสหนึ่งบอกว่าเพิ่งมาตั้งในช่วงรัชกาลที่ 4 […]

ปีศาจความยากจนและมือปราบปีศาจรัฐสวัสดิการที่เกิดจากความกลัวของคนไทย ใน Chainsaw Man

“รู้ไหมว่าอสูรน่ะ เกิดมาพร้อมกับ ‘ชื่อ’ ยิ่ง ‘ชื่อ’ น่ากลัวเท่าไรก็ยิ่งมีพิษสงมากขึ้นเท่านั้น “แต่ถ้าเป็น ‘อสูรรถ’ มีแนวโน้มว่ามันจะแข็งแกร่งพอสมควร เพราะอย่างน้อยๆ ภาพตอนถูกชนตาย ใครๆ ก็นึกออก หรือถ้ามี ‘อสูรกาแฟ’ มันจะต้องอ่อนแออย่างแน่นอนเพราะกาแฟไม่สามารถสร้างภาพแห่งความน่ากลัวได้” จากคำอธิบายถึงคอนเซปต์การเกิด ‘ปีศาจ’ โดยมือปราบปีศาจ ‘คุณมาคิมะ’ ใน Chainsaw Man มังงะสุดดาร์กที่กลายเป็นแอนิเมชันและลงจอฉายใน Amazon Prime ไปเมื่อต้นเดือนนี้ น่าจะพอทำให้ทุกคนรู้ว่าถ้าใครกลัวอะไรในโลกที่มนุษย์และปีศาจใช้ชีวิตด้วยกันนั้น ความกลัวนั้นจะสร้างปีศาจขึ้นมา และมันจะยิ่งมีอำนาจพลังมากขึ้น แปรผันตามจำนวนคนที่หวาดกลัว คอลัมน์ Urban Isekai ขอตามกระแสความไฮป์ปีศาจเลื่อยยนต์ ไปกระทำการอิเซไกในโลก Chainsaw Man ว่าถ้าความกลัวของผู้คนสร้างปีศาจขึ้นมาได้ ในประเทศไทย ปีศาจตนใดที่จะแข็งแกร่งที่สุด พร้อมๆ กับจะมีมือปราบปีศาจตนใดมาต่อกรกับอสูรร้ายในบ้านเมืองของเราได้ ‘ปีศาจความยากจน’ ปีศาจที่คนไทยกลัวที่สุด อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าคอนเซปต์การเกิดปีศาจของ Chainsaw Man มาจากความกลัวของมนุษย์ นั่นแปลว่าต่อให้เรากลัวอะไรเล็กน้อยหรือมากมายแค่ไหน ความกลัวนั้นก็สามารถให้กำเนิดปีศาจได้ทั้งนั้น ทว่าหากเป็นความกลัวเล็กๆ หรือเรากลัวสิ่งนั้นแค่คนเดียว ปีศาจตนนั้นก็จะมีพลังไม่มากและถูกมือปราบปีศาจกำจัดได้ไม่ยาก แต่ในทางกลับกัน […]

คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

ประเทศไทยมีเหตุกราดยิงบ่อยครั้ง เพราะกฎหมายหละหลวมหรือปืนเข้าถึงง่าย?

เป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ประชาชนชาวไทยอยู่ในความเศร้าจากเหตุการณ์ #กราดยิงหนองบัวลำภู โศกนาฏกรรมที่เกิดจากการบุกเข้าไปกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 ราย และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 10 ราย เป็นหนึ่งในเหตุกราดยิงที่น่าสลดใจที่สุดของโลก เนื่องจากเหยื่อส่วนใหญ่คือเด็กเล็กอายุ 2 – 5 ปีเท่านั้น  ผู้ก่อเหตุคืออดีตข้าราชการตำรวจที่ถูกไล่ออกจากราชการ เพราะมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ทำไมอดีตข้าราชการที่พ้นจากตำแหน่งแล้วจึงไม่โดนยึดอาวุธ และยังสามารถครอบครองปืนได้อยู่ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้เรายังเห็นข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธปืนอยู่เรื่อยๆ จนอดสงสัยไม่ได้ว่า สังคมของเราวนเวียนอยู่กับความรุนแรงจากการใช้ปืน เพราะคนไทยเข้าถึงอาวุธประเภทนี้ได้ง่ายเกินไปหรือเปล่า ไทยครอบครองปืนมากเป็นอันดับ 13 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าอาวุธปืนจะดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่เมื่อ Small Arms Survey (SAS) หรือ องค์กรที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธเบาของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนทั่วโลกกลับพบว่า สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่มี ‘จำนวนปืน’ ในครอบครองมากที่สุดในโลก หรือมากถึง 393.9 ล้านกระบอก ขณะที่ประเทศไทยติดอันดับที่ 13 ของโลก โดยจำนวนดังกล่าวอยู่ที่ 10.3 […]

1 10 11 12 13 14 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.