PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
ขีดจำกัดของ ‘เพลง’ ยังมีอยู่ไหม ? – ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม
ว่ากันว่า ‘ดนตรีคือโลกไร้พรมแดน’ จนบางครั้งขีดจำกัดของเพลงอาจไม่มี ชวนเจาะลึกวงการดนตรีกับตัวพ่อแห่งยุค ‘ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม’ ผู้ที่คลุกคลีกับเสียงเพลง จนมองเห็นการเปลี่ยนผ่านของศิลปินไปจนถึงคนฟัง “เพราะคนฟังเพลงง่ายขึ้น ถ้าคุณจะทําเพลง คู่แข่งของคุณก็คือคนทั้งโลก” ป๋าเต็ดยังมองเห็นการเติบโตของอุตสาหกรรมดนตรีที่ตอนนี้คล้ายกับว่าเส้นแบ่งแนวเพลงเริ่มไม่มีอยู่ ไม่เพียงแค่ป๋าที่เห็น แต่เชื่อว่าหลายคนรวมถึงเราก็รู้สึกได้ การพูดคุยครั้งนี้จึงมีครบรสตั้งแต่ยุคแรกแย้มของเสียงเพลง ก้าวใหม่ของวงการดนตรี ไปจนถึงคำถามที่ว่า “จริงๆ แล้วตอนนี้ ดนตรียังมีขีดจำกัดเหลืออยู่หรือเปล่า ?”
‘AI’ จะกลายเป็นเพื่อนคนใหม่ของมนุษย์หลังเกิด ‘COVID-19’ ได้ไหม ?
ลองจินตนาการดูว่าในอนาคต AI อาจจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเราขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ AI อาจจะกลายเป็นเพื่อนสนิทคนใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มความโดดเดี่ยวก็ได้นะ
DR.CAS กราฟิตี้หนีกรุงผู้ฟื้นเสน่ห์ ‘ชุมชนควรค่าม้า’ ของเมืองเชียงใหม่ด้วยศิลปะ
เพราะหลงเสน่ห์ของความเป็นต่างจังหวัด ทำให้ ‘Dr. Cas’ กราฟฟิตี้อาร์ทติสต์ผู้ไม่เปิดเผยตัวตน ตัดสินใจย้ายจากกรุงเทพฯ มาลงหลักปักฐานที่ชุมชนควรค่าม้า หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะหลงเสน่ห์ของความเป็นต่างจังหวัด ทำให้ ‘Dr. Cas’ กราฟฟิตี้อาร์ทติสต์ผู้ไม่เปิดเผยตัวตน ตัดสินใจย้ายจากกรุงเทพฯ มาลงหลักปักฐานที่ชุมชนควรค่าม้า หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ เปลี่ยนบ้านเรือนทั่วๆ ไปให้สะดุดตาด้วยงานกราฟฟิตี้ ที่เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนและศิลปินมากหน้าหลายตา พร้อมความตั้งใจที่จะใช้ศิลปะเข้ามาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ควบคู่ไปกับการยึดโยงความสัมพันธ์ของคนเข้าด้วยกัน เพื่อรักษาความน่ารัก ความมีน้ำใจ และกลิ่นอายชนบทให้คงไว้ได้นานที่สุด
‘วันทรงจำ’ ในห้วงเวลาชีวิตของ ‘เล็ก’ Greasy Cafe
“เธอเคยเชื่อไหม เราต่างเกิดมาเพื่อใครคนหนึ่ง ทุกคืนวันจะมีชีวิตเพื่อกันและกัน” ‘สิ่งเหล่านี้’ เพลงที่ผ่านมากว่า 10 ปี แต่เราเชื่อว่า ท่วงทำนองยังคงฝังอยู่ในความทรงจำใครหลายคน ‘อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร’ หรือ ‘พี่เล็ก Greasy Cafe’ ถ่ายทอดมุมมองความสัมพันธ์ ผ่านกีตาร์โปร่งและน้ำเสียงทุ้มลึกแต่อบอุ่น คอยปลอบประโลมคนฟังเสมอ แม้เนื้อหาของเพลงจะหม่นเศร้าหรือเหงาจนกัดกินใจ
ระยะห่างเปลี่ยนดนตรี ‘ป๋าเต็ด’ ยุทธนา บุญอ้อม
ไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบไปทั่วทุกวงการ ไม่พ้น ‘วงการดนตรี’ ที่ตอนนี้ศิลปินหลายคนหันมาไลฟ์สดให้เราสนุกได้แม้อยู่บ้าน เพราะคอนเสิร์ตที่เป็นงานหลักต้องหยุดชะงัก รวมถึงคนทำงานส่วนอื่นต่างต้องพักงานไปตามๆ กัน เราชวน ‘ป๋าเต็ด-ยุทธนา บุญอ้อม’ เจ้าพ่อ music festival และเจ้าของบริษัทแก่น 555 จำกัด มาคุยถึงความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเพลงในช่วงโควิด-19 ที่ป๋าเต็ดบอกกับเราว่า ‘ฉิบหาย’ และอนาคตหลังหมดไวรัสซึ่งอาจเกิดขึ้นเหมือนในหนังเรื่องเดอะ เมทริกซ์ ที่คุณอาจดูคอนเสิร์ตที่บ้านแต่จับมือศิลปินที่ชอบได้
ในวันที่ต้องกักตัวจากโลกภายนอก จะเก็บความรักไว้ได้อย่างไร?
ช่วงนี้ใครๆ ก็แสนเหงา ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ต้องห่างกันสักพัก อะไรที่นัดไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิก รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ก็น้อยลง ความเหงา เบื่อหน่าย ผิดหวัง หรือวิตกกังวล จึงส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ การให้กำลังใจกันและกันน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความรู้สึกเหล่านี้ได้
ศิลปะ Pop Surrealism ลายเส้นโหดของสาว ERTH
“ความสุขในการวาดรูป คือ การที่เราได้เป็นตัวเอง และแสดงออกในสิ่งที่เป็นเรา”
MILK ! แพลตฟอร์มสำหรับศิลปินอิสระที่เปิดให้เรียนรู้วงการเพลงโดยไม่ต้องมีสังกัด
แพสชั่น คำที่ผลักดันให้คนทำงานดนตรียังคงก้าวเดินในเส้นทางแห่งตัวโน้ตอย่างไม่ย่อท้อ แต่หากจะดีถ้ามีแพสชั่นพร้อมกับ โอกาส ที่เปิดลู่ทางให้พวกเขาได้เติบโต “MILK ! เกิดขึ้นมาเพื่อหล่อเลี้ยงแพสชั่นของคนที่หลงใหลในเสียงเพลงไม่ว่าจะแนวเพลงแบบไหนก็ตาม” มอย – สามขวัญ ตันสมพงษ์, บอล – ต่อพงศ์ จันทบุบผา จากวง Scrubb และออน –ชิชญาสุ์ กรรณสูต สามผู้บริหารค่ายเพลง What The Duck จึงขอเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่หยิบยื่นให้ ‘คนทำเพลงรุ่นใหม่’ ได้มีพื้นที่โชว์ของภายใต้ ‘ความอิสระ’ ผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า MILK ! ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อศิลปินเท่านั้นแต่ยังขยายออกไปยังคนฟังที่จะได้สัมผัสแนวดนตรีแปลกใหม่ ได้เห็นความสร้างสรรค์และพัฒนาคอมมูนิตี้วงการดนตรีไทยให้ดียิ่งขึ้น วันนี้เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับ ‘พี่มอย’ และ ‘พี่บอล’ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของแพลตฟอร์ม MILK ! ที่พยายามเข้าใจ และเข้าถึงศิลปินรุ่นใหม่ให้มากที่สุด โดยไม่วางตัวเองว่าเป็น ‘ค่าย’ เพื่อนำเสนอผลงาน พัฒนา สนับสนุนศิลปินให้เติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ภายใต้ความอิสระที่ยังคงเอกลักษณ์และตัวตนของตัวเองให้ได้มากที่สุด | MILK ! ที่ไม่ใช่นม แต่คือความอิสระเพื่อศิลปินรุ่นใหม่ “มีศิลปินอิสระรุ่นใหม่ที่ไม่ได้มีสังกัดค่ายเพลงจำนวนมากอยู่บนโลกโซเชียลแล้วจะทำอย่างไรให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาให้คอมมูนิตี้ของวงการดนตรีดีขึ้น” […]
ต้นตระกูล คนดนตรีอีสานเลือดใหม่
คนดนตรีเลือดใหม่ ‘ต้น-ต้นตระกูล แก้วหย่อง’ ผู้ถ่ายทอดมนต์เสน่ห์ของดนตรีอีสาน ผสมผสานดนตรีสมัยใหม่จนครบรสอร่อยลงตัว
ช่างดำ – วิบุล เผ่าภคะ ช่างซ่อมกล้องฟิล์ม
| The Professional 15 “เงินก็แค่นั้น คำชมเอาเงินไปจ้างไม่ได้ ไม่มีอะไรที่มันสุขใจเท่ากับลูกค้าพอใจ” Urban Creature ชวนมาสัมผัสพลังของความมุ่งมั่น เต็มเปี่ยมไปด้วยแรงกายแรงใจผ่านกาลเวลากว่า 46 ปีของ ‘ช่างดำ – วิบุล เผ่าภคะ’ ช่างซ่อมกล้องฟิล์มมือฉมังผู้เป็นเจ้าของ ‘ร้านคาเมร่าเซอร์วิส’ ที่ยกเอาความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพที่เขารักเป็นที่ตั้ง และขับเคลื่อนการบริการลูกค้าด้วยจิตวิญญาณ
หนูดี – วนิษาชวนกินอย่างเข้าใจโลกและรักตัวเอง
ตอนนี้หลายคนตื่นตัวกับสิ่งแวดล้อมและสภาวะที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นทุกที บ้างก็คิดว่าเกิดจากการเผาป่า ทิ้งพลาสติก แต่รู้หรือเปล่าว่า อาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์นั้น ก็มีเปอร์เซ็นต์สูงที่กระทบกับสิ่งแวดล้อมเช่นกัน เราชวน ‘คุณหนูดี – วนิษา เรซ’ มาคุยเรื่องการกินอย่างเข้าใจโลกและรักตัวเองไป
ภายนอกเหมือน แต่ในใจไม่ใช่ เมื่อ ‘การเหมารวม’ สร้างบาดแผลให้ผู้บริสุทธิ์
การเหมารวม (stereotype) คือทัศนคติจากประสบการณ์ที่เคยเจอ ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งมีต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา การเมือง เพศ ไปจนถึงกลุ่มการชอบที่เป็น sub-culture ของสังคม จนกลายเป็นมาตรฐานในการตัดสิน