บอล ธิติกรณ์ 20 ปี ‘คนหาโลเคชัน’ ผู้พลิกเมืองกาญจน์เป็นอินเดีย เนปาล ใน The Serpent

‘ตื่นเต้นว่ะ’ คำถามในสมุดที่จดไว้ตั้งแต่เมื่อคืน แบตสำรองชาร์จเต็มเพื่อกันเครื่องดับระหว่างอัดเสียง และความอิน The Serpent ซีรีส์ฆาตกรรมจากเรื่องจริง ว่าด้วยฆาตกรต่อเนื่องยุค 70 อย่าง ชาร์ล โสภราช aka อาแลง (แสดงโดย Tahar Rahim) และแฟนสาว มารี อังเดร aka โมนิค (แสดงโดย Jenna Coleman) คู่รักที่ฉาบหน้าเป็นเศรษฐีขายอัญมณี ช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาหาอิสระใน ‘ไทย’ แต่เบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งลงมือฆ่าพร้อมชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น ทั้งหมด พาฉันมายืนอยู่ใน Kanit House หรือ บ้านคณิต อะพาร์ตเมนต์เลขที่ 77/5 สถานที่หลักที่ทั้งคู่หลอกเหยื่อมาสร้างเวทีฆาตกรรม ซึ่งดูได้ใน Netflix ถ้าอิงเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 บ้านคณิตตั้งอยู่แถวศาลาแดง แต่หากอิงจากสถานที่ถ่ายทำของซีรีส์ปี 2021 สองเท้าที่กำลังสัมผัสพื้นบ้านเบลล่าวิน อะพาร์ตเมนต์เล็กๆ เกือบท้ายซอยสุขุมวิท 4 คือคำตอบ สระว่ายน้ำคุ้นตากลางอะพาร์ตเมนต์ในซีรีส์ ตอนนี้ไม่มีน้ำสักหยด มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรอกนะ แค่กลับไปเป็นแบบเดิมก่อนถ่ายทำ เพราะสระนี้ร้างมานานแล้ว! […]

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

เป็นผู้ใหญ่ก็ขอโทษเด็กได้ เมื่อการยอมรับผิดไม่ได้วัดจากช่วงวัย

ตั้งแต่เล็ก ฉันและคุณอีกจำนวนไม่ถ้วนถูกพร่ำสอนให้รู้จักขอโทษเสมอเมื่อทำผิด แต่ยิ่งเติบโต ยิ่งได้มองเห็นโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพบพานกับคนหลายช่วงวัย ฉันกลับพบบางแง่มุมที่บอกเป็นนัยว่า เมื่อโตเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว การขอโทษกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องพูดกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะไม่เอ่ยคำนี้ออกไปเพียงเพราะความคิดว่า ‘ฉันอายุมากกว่าเธอ’ “การที่ผู้ใหญ่ขอโทษเด็ก มันเป็นเรื่องน่าอับอายมากเลยเหรอครับ” “เด็กต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอ ทั้งๆ ที่คนผิดไม่ใช่เด็กเหรอครับ”“ทำไมคนไทยที่แก่กว่า ขอโทษคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ ไม่เป็น” นี่เป็นเพียงกระทู้ส่วนหนึ่งจาก pantip.com ที่ตั้งคำถามถึงการขอโทษไม่เป็นของผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคำตอบไหลเข้ามาในหลากแง่มุม บ้างถกประเด็น บ้างเห็นด้วย และบ้างก็สงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ใหญ่ถึงขอโทษเด็กไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ขอโทษเด็กได้ไหม – ชวนฟังทัศนะของ แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนดับเบิลซีไรต์จากสองวรรณกรรมเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ตามด้วยหนังสือเรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก และ ทะเลสาบน้ำตา เธอยังเป็นคุณแม่แห่งยุคสมัยที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ของแม่-ลูกซึ่งเต็มไปด้วยความต่างของช่วงวัย ชนชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นเด็ก “ประเทศไทยก็เหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ คือให้ความสำคัญกับวัยวุฒิ เช่นเดียวกับการมีลำดับขั้นชนชั้น” คำตอบของคำถามถึงต้นตอของความคิดที่ว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำไมการขอโทษเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ต้องทำก็ได้จากแหม่ม ก่อนเธออธิบายต่อว่า เมื่อวัยวุฒิและลำดับขั้นรวมตัวกัน มันก่อให้เกิดชนชั้นผู้ใหญ่ และชนชั้นเด็กที่มีเส้นกั้นไม่ให้เด็กเทียบเท่าผู้ใหญ่ได้ “เมื่อมีชนชั้น เด็กก็ล่วงละเมิดผู้ใหญ่ไม่ได้ และเพื่อดำรงชนชั้นนั้นไว้ ผู้ใหญ่จะไม่ถูกสอนให้ขอโทษเด็ก เพราะการขอโทษคือการยอมรับว่าผิด และเมื่อผู้ใหญ่ทำผิดบ้าง […]

‘ต้า Paradox’ ร็อกสตาร์แห่งวงการพระเครื่อง ผู้กำลังเขียนหนังสือพระฉบับเยาวชน

ย้อนกลับไปเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว กองบรรณาธิการ Urban Creature ได้ให้กำเนิดคอลัมน์ Another Me เพื่อเล่าอีกมุมของคนดังในแบบที่เราไม่รู้จักมาก่อน และประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากระหว่างการประชุม คือการค้นพบว่าชีวิตล่างเวทีของ ต้า พาราด็อกซ์ หรือ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นิยมชมชอบการส่องพระอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าการส่องพระ เล่นพระ จะเป็นงานอดิเรกของใครก็ได้ แต่เวลาไปดูคอนเสิร์ตพาราด็อกซ์ สิ่งที่เราเห็นคือความบ้าคลั่งในการแสดง และใส่กันไม่ยั้งทั้งคณะ ปลุกอารมณ์แฟนเพลงให้พลุ่งพล่านมากว่า 20 ปี จนแทบนึกไม่ออกว่าฟรอนต์แมนผู้สับสายกีตาร์อย่างเมามัน นั้นอยู่ในโหมดไหนในวงการพระ จะเป็นแนวนักเลงเก๋าๆ ห้อยพระเต็มคอ หรือเป็นเซียนพระมืออาชีพด้านการแลกเปลี่ยนทำกำไร  สารภาพตรงนี้ว่าเดาไม่ถูกจริงๆ จนต้องต่อสายถึงพี่ต้าในวันที่โลกข้างนอกยังไม่อนุญาตให้เราออกมาเจอกัน และขออนุญาตชวนคุณผู้อ่านที่ไล่สายตาถึงตรงนี้มารู้ไปพร้อมกันว่า จากยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย พี่ต้าของเราหันมายืนส่องพระหน้าแผงได้ยังไง  เดบิวต์เข้าวงการ ผมไม่แน่ใจนักว่านักดนตรีที่เดินทางทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยจะได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน ถ้าเป็นกรณีทั่วไปเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมนึกถึงของฝากประเภทของกิน เช่น โรตีสายไหมของอยุธยา ไส้อั่ว แคบหมูจากเชียงใหม่ ขนมหม้อแกงของบรรดาแม่กิม แต่ลองได้ชื่อว่าเป็นร็อกสตาร์ อะไรแบบนั้นคงธรรมดาไป  “ตั้งแต่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไปไหว้พระ แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก อาศัยว่าเจอวัดไหนก็เข้าวัดนั้น พระเครื่องเป็นของฝากที่รู้สึกว่าแปลกดี เพราะต้องไปให้ถึงวัด ไม่ใช่จะไปเช่าที่ไหนก็ได้ […]

นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำคนแรกๆ ผู้ถ่ายความมหัศจรรย์ใต้ทะเลตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม

ขอชวนคนบนฝั่งทุกคนเรียนรู้โลกใต้ทะเลแบบไม่ต้องเปิดตำราเล่มหนา ผ่านบทสนทนากับ นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำไทย

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

บ้านที่เป็นมากกว่าบ้าน และความผูกพันระหว่างคุณกับคนในบ้าน

ช่วงที่ต้องอยู่บ้านติดต่อกันหลายวัน เพราะสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอยู่บนโลกนี้มาปีกว่าๆ (เมื่อไหร่แกจะไปสักที) ทำให้ความเหนื่อย ความท้อ ความเครียด พุ่งเข้ามาในหัวจนฟุ้งซ่าน บางทีก็รับบทนางจินตนาการล้ำเลิศ คิดเล่นๆ ว่า ร่างกายเรามีหัวปลั๊กชาร์จแบตเตอรี่ เหมือนพวกสายไฟซ่อนอยู่ไหมเนี่ย หรือบ้านมีระบบบลูทูธส่งพลังมาให้ร่างกายได้บ้างไหม ถ้ามีจะได้รีบควานหาแล้วเสียบชาร์จและกดปุ่มรับพลังใจทันที เพราะตอนนี้รู้สึกหมดไฟจังเลย…เฮ้อ Home is empowering you สโลแกนสั้นๆ จากแคมเปญ 30×30 Home is empowering you ของ เอพี ไทยแลนด์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เชื่อว่าบ้านเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัย แต่ช่วยเติมเต็มพลังชีวิตให้คุณได้ จึงทำให้ฉันตั้งคำถามกับทุกห้องในบ้านตั้งแต่ห้องน้ำ ครัว ห้องนอน สวน ห้องนั่งเล่น และระเบียง ว่ามันมีพลังอะไรช่วยให้รู้สึกดีขึ้นบ้างไหม  สรุป มีจริง! แถมเป็นกิจกรรมเบสิกที่ไม่คิดว่าพิเศษขนาดนี้ ทั้งร้องเพลงในห้องน้ำช่วยคลายกังวล ทำสวนช่วยกระชับความสัมพันธ์ รดน้ำต้นไม้ริมระเบียงลดความเครียด เม้ากันระหว่างกินข้าวเพิ่มความสนิทสนมและแชร์เรื่องราวดีๆ ให้คนที่รักฟังก่อนนอนทำให้หลับสนิท ไม่ฝันร้าย และกิจกรรมพิเศษที่เอพี ร่วมกับ 30 illustrators นั้นอบอุ่นและพิเศษอย่างไร เราจะพาคุณไปตามหาแรงบันดาลใจจาก 6 […]

เพลง Plastic Plastic ในมุมครูวิชา Natural Appreciation ใช้ศิลปะสอนเด็กอนุบาลให้รักธรรมชาติ

ชื่อ เพลง ต้องตา จิตดี อาชีพ คุณครู โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ “วันนี้ครูเพลงจะชวนเด็กๆ ชั้นอนุบาลสามห้องผักกาดมาวาดรูปกันค่ะ” การพบเจอ เพลง-ต้องตา จิตดี ครั้งนี้ ไม่มีชื่อวง Plastic Plastic ต่อท้าย ไม่มี ปกป้อง จิตดี พี่ชายข้างกาย ไม่มีเสียงร้องที่ชวนให้หยิบแฮมเป็นแผ่นที่หก ไม่มีท่วงทำนองสดใสพาฮัมเพลงหนึ่งเพลงซ้ำๆ มีเพียง ครูเพลง คุณครูประจำวิชา Natural Appreciation ของเด็กนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ ด้านหลังร้านอาหารก้ามปู คือพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ที่เด็กๆ กำลังทานอาหารกลางวันอยู่ ครูเพลง ต้องตาออกมาต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินนำไปยังบ้านสีขาวด้านในที่ปกป้องออกแบบให้เป็นโฮมสตูดิโอ พร้อมแบ่งพื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นห้องเรียนทำอาหาร  เธอชวนหย่อนตัวที่มุมรับแขก ซึ่งมองออกไปเห็นสนามเด็กเล่น และบ้านต้นไม้ที่ด้านหนึ่งเป็นสไลเดอร์ และอีกด้านเป็นหน้าผาจำลองแสนสนุก เพื่อเริ่มต้นคลาสเรียนวิชา ครูเพลง 101 ชีวิตเพลงในโรงเรียนอนุบาล เพลงไม่ได้เดินมาสมัครเป็นคุณครูที่โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ แต่เธอเติบโตภายในโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งคุณแม่เป็นผู้อำนวยการ ไปจนถึงเคยเป็นนักเรียนอนุบาลตัวน้อยผู้ได้เรียนหลักสูตรการเรียนการสอนแนวบูรณาการ (Integrated Learning) ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ทดลอง และทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงอนุบาล 3 “เพราะบ้านเราอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียน […]

หมอแดง พรศักดิ์ ผู้สร้างนิยามที่แท้ของ ‘ตายดี’ ไม่ให้ความหวัง แต่ให้คนไข้เลือกตายได้เอง

สวัสดีตัวฉันในเวอร์ชันที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกเช้าที่ลืมตาตื่น หญิงวัยรุ่นคนนี้บอกตัวเองเสมอว่า “ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี” เช่นเดียวกับวันที่กำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ให้ทันเดดไลน์ แม้ความจริงมันอาจจะไม่ดีตั้งแต่ Work from Home ที่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้านจนเครียดแล้วก็เถอะ ทว่าไม่รู้เมื่อไหร่จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต การประโลมใจตัวเองพร้อมทำในสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ อาจทำให้ไม่เสียดาย หรือเสียดายน้อยที่สุดตอนตายก็ได้มั้ง เพราะยอมรับอยู่เนืองๆ ว่าทุกคนต้องมีวันตายไม่ต่างจากวันเกิด เคยจินตนาการเล่นๆ เหมือนกันนะ ว่าถ้ารู้วันตายจะทำอะไรบ้าง กินเค้กร้านโปรด เปิดดูซีรีส์ที่ กงยู เล่น เพราะเป็นรักแรกตั้งแต่ประถมฯ เป็นไปได้ก็อยากไปคอนเสิร์ต EXO กับ NCT ศิลปินเกาหลีที่ติ่งจนบ้านมีแต่อัลบั้ม แท่งไฟ และโฟโต้บุ๊กของพวกเขา อะไรอีกดีล่ะ…บอกรักแม่ บอกรักพ่อ บอกรักแฟน บอกรักเพื่อน และบอกพวกเขาว่าช่วยใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุขทีด้วยละกัน แม้ตอนนี้ฉันยังเป็นมนุษย์ที่แข็งแรงดี แต่แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ หมอแดง-พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่ให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะตายและให้ทำสิ่งที่อยากทำก่อนตาย เช่น ดูซีรีส์เกาหลี หวีดอปป้า ฟังเพลงลูกทุ่ง ดูสารคดี หรืออยากฟังพระสวด กลับน่าสนใจ (โคตรๆ) จนต้องนัดสัมภาษณ์เพื่อคุยเรื่องความเป็นมืออาชีพของเขา นอกเหนือจากที่ว่า คนไข้แต่ละคนยังสามารถ […]

ภารกิจ #Saveยางนา กู้ชีพไม้หมายเมืองต้นสุดท้ายที่ผูกศรัทธาเวียงเชียงใหม่มา 220 ปี

นั่งรถ 15 นาทีจากสนามบินเชียงใหม่สู่คูเมือง มองบรรยากาศเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ พลางคิดถึงภารกิจ Save ยางนา ที่ทำให้เราเดินทางขึ้นเหนือ ภารกิจครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเห็นภาพโปสเตอร์ที่มีข้อความว่า “ฮอมฮักฮอมแฮง Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ชวนร่วมเก็บเศษอิฐ เศษปูนชิ้นเล็กๆ ออกจากเก๊ายางหลวง” พร้อมทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้สอบถามที่ถูกโพสต์ลงเพจ Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ก่อตั้งขึ้นโดยทีมเชียงใหม่มรดกโลก เพื่อโอบอุ้มรักษา ต้นยางนาหลวง ไม้หมายเมืองภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก  เราจึงต่อสายตรงหา อาจารย์ป้อง-วรงค์ วงศ์ลังกา อาจารย์สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเบอร์ในภาพนั้น เพื่อนัดหมายให้เขาพาเราไป Save ยางนา กันถึงถิ่น “เจอกันใต้เก๊า (โคน) ต้นยางนาหลวงครับ แล้วจะเห็นป้ายที่เขียนว่าฮอมฮักฮอมแฮง แต่งตัวทะมัดทะแมง แล้วก็เตรียมหมวกมาหน่อย”  ปื๊นเก๊ายางหลวง เรือนยอดเสียดฟ้าเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อเดินเข้าวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่แห่งที่ 2 ตั้งแต่ตั้งเวียงเชียงใหม่ เราเดินเข้าไปด้านใน เพื่อไปยังใต้เก๊าต้นยางนาหลวงตามนัดหมาย อาจารย์ป้องยืนอยู่ตรงนั้น เราเอ่ยทักทายกัน แล้วเริ่มพูดคุยถึงปื๊น (ตำนาน) ของยางนาหลวง เขาสร้างความเข้าใจว่า ไม้หมายเมือง คือต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเวียงเชียงใหม่ […]

‘สู้ๆ นะ เธอทำได้’ ปลอบใจอย่างไรให้คนฟังไม่ท้อและคนพูดดูไม่เฟก

หากเราอยากปลอบใจใครสักคน เมื่อคนพูดอยากจะแสดงความห่วงใยแต่จะทำอย่างไรให้คนฟังรู้สึกไม่ท้อ เราจึงขอคำปรึกษาจาก ‘แพทย์หญิงชัชชญา เพียรจงกล’ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจจาก ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะช่วยแนะนำวิธีปลอบใจที่คนฟังและคนพูดรู้สึกดี

คุยกับไรเดอร์หญิงจาก foodpanda ในวันที่เพศไม่ได้จำกัดการทำงานอีกต่อไป

ในยุคที่ความเท่าเทียมทางเพศถูกพูดถึงในวงกว้าง เรามองเห็นองค์กรหลายแห่งพยายามปรับตัวให้เข้ากับบริบทของสังคม จากโลกการทำงานที่ผู้ชายเคยปกครอง บางองค์กรนั้นเพิ่มสัดส่วนให้มีผู้หญิงและเพศหลากหลายได้เข้าไปเป็นระดับหัวหน้า บ้างมีการให้วันลากับพนักงานข้ามเพศที่ต้องเข้ากระบวนการทรานสิชัน หรืออย่างน้อยที่สุด คือการเปิดรับพนักงานหญิงและเพศหลากหลายให้เข้ามาแสดงศักยภาพในงานที่เคยถูกมองว่าเป็น ‘งานผู้ชาย’ หนึ่งในองค์กรนั้นที่เราพูดถึงคือ foodpanda แอปพลิเคชันหมีสีชมพูที่เราคุ้นตา โดยเฉพาะในช่วงเช้า เที่ยง หรือเย็นที่หลายคนกำลังมองหาเมนูอร่อยสักเมนู คอลัมน์ Rights Now คราวนี้ ขอเฉลิมฉลองเดือนสตรีสากล ด้วยบทสนทนากับ ‘หมิว’ ตัวแทนของไรเดอร์หญิงซึ่งหลายคนอาจเคยเห็นหน้ากันในคลิปวิดีโอจาก foodpanda พูดคุยถึงการฝ่าฟันกว่าจะมาเป็นไรเดอร์หญิงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของ foodpanda ผ่าน 3 เมนูที่สะท้อนให้เห็นชีวิต การทำงาน และความเท่าเทียมในสายตาของเธอ นี่คือถ้อยคำที่ทำให้เราเห็นความสำคัญของคำว่าโอกาส และการให้คุณค่ากับคำว่าศักยภาพ โดยไม่มีคำว่าเพศมาเป็นอุปสรรคอีกต่อไป เมนูที่ชอบตั้งแต่เด็ก : บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและซีเรียล “เป็นเมนูทานง่าย สะดวก รวดเร็ว บ่งบอกว่าเราเป็นคนง่ายๆ ไม่ยึดติดอะไรมาก เราชอบมาตั้งแต่เด็กๆ เล็กๆ เพราะคุณแม่ชอบซื้อมาตุนไว้ให้ ทุกวันนี้เราก็ยังทานอยู่ อาจจะไม่ใช่ทานตอนเช้าเหมือนเมื่อก่อนแต่เป็นช่วงหลังเลิกงาน “เราเป็นคนกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ครอบครัวมีลูกสามคน เราเป็นลูกคนกลาง อยู่กับแม่มาตลอดเพราะพ่อแม่แยกทางกัน ช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยเป็นคนเกเร แต่พอโตขึ้นถึงจุดหนึ่งก็รู้สึกว่าต้องทำงานได้แล้ว ก็เลยแยกออกมาจากที่บ้านแล้วมาใช้ชีวิตของตัวเอง” เมนูแรกในฐานะไรเดอร์ของ […]

1 13 14 15 16 17 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.