บ้านเอาถ่าน! Char Co- ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ดำแต่เท่ ดูดกลิ่น ไม่เลอะมือ

จับถ่านทีมือดำปี๋ ไม่ระวังให้ดีหล่นนิดเดียวก็แตก ทำเอาหลายคนไม่อยากสัมผัสถ่าน จะหยิบก็ต้องควานหาถุงมือมาใส่กันเลอะ ความไม่อยากจับถ่านที่ใครๆ รู้สึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Char Co- แบรนด์ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ของสามนักออกแบบเอาถ่านอย่าง ปอนด์-ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล น็อต-นภดล สังวาลเพ็ชร และ แนค-วรภัทร์ เมืองรวมญาติ ที่ฉีกกฎความเป็นถ่านว่าต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น สู่การเพิ่มคุณค่าเป็นของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง “Char Co- มาจากคำว่าถ่าน แต่ตัด al ออกจากคำว่า Coal แล้วเติม – เพื่อสื่อว่า จะเอาถ่านมาสร้างความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ ผ่านการใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ ไปจนถึงการนำถ่านไปร่วมงานกับแบรนด์อื่นๆ” ซึ่งของแต่งบ้านแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ที่รองแก้ว นาฬิกา แผ่นแต่งผนัง ไปจนถึงท็อปโต๊ะนั้นไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถึงชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตามหาถ่านไม้โกงกาง ก่อนนำมาผสมเรซิน กลึง หั่น เพาะ เชื่อม แล้วขึ้นรูปเป็นของแต่งบ้านจากถ่านที่มีคุณสมบัติดูดกลิ่น ซับความชื้น กรองความสกปรก และหากวันหนึ่งเกิดแตกหักก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง หรือกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง คนเอาถ่าน  เปลี่ยนมุมมองถ่านที่ประโยชน์เยอะ แต่ไม่มีใครอยากสัมผัส […]

ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ

Vivin Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่รวมวัตถุดิบ Local มาตรฐาน Global จากทั่วไทยไว้ที่เอกมัย

VIVIN Grocery ร้านชำของคนฝรั่งเศสที่อยากขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นไทยคุณภาพให้คนไทยชิม และรู้ว่าของไทยก็มีดี

ตามสั่ง-ตามส่ง Delivery ของชุมชนลาดพร้าว 101 ที่คิดค่าส่งเท่านั่งวินฯ ค่าอาหารเท่ากินที่ร้าน

คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่  แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]

BIBI ศิลปินเกาหลีที่เขียนบ่นชีวิตใน EP. ใหม่ “ชีวิตมันเหี้ย แต่นี่แหละคือชีวิต”

BIBI ศิลปินเดี่ยวจากเกาหลีใต้ ปล่อยผลงานเพลงป็อปใน EP ใหม่ ชื่อว่า Life is a Bi… เพื่อบอกทุกคนว่า “ชีวิตมันห่วยแตก แต่นี่แหละคือชีวิต”

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

flowerhub.space ช้อปดอกไม้ออนไลน์จากปากคลองตลาด

แคมเปญชวนมาซื้อดอกไม้จากปากคลองตลาดแบบออนไลน์จากเว็บไซต์ flowerhub.space โปรเจกต์จาก ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรืออาจารย์หน่องซึ่งคลุกคลีใกล้ชิดทำโปรเจกต์กับชาวปากคลองตลาดมานาน

FYI

คลาส ‘มัสมั่นแกะ’ เมนูปราบเซียนสูตร Blue Elephant ฉบับคนทำอาหารไม่เป็นก็ทำอร่อยได้

หากใครผ่านไปมาแถวสาทร จะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโรเนียลอายุกว่า 119 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน กว่าจะมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนทำอาหารและร้านอาหารไทย ‘Blue Elephant’ ของ ‘เชฟนูรอ-โช๊ะมณี สเต็ปเป้’ เชฟหญิงไทยที่มัดใจชาวต่างชาตินับไม่ถ้วนมากว่า 40 ปี แต่วันนี้เอ็กซ์คลูซีฟกว่าใคร เพราะเราได้กระทบไหล่เชฟนูรอตัวเป็นๆ มาสอนทำเวิร์กช็อป ‘แกงมัสมั่นแกะ’ อาหารที่ขึ้นชื่อว่าปราบเซียน เพราะวิธีการที่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบจำนวนนับไม่ถ้วน มัสมั่นแกงแก้วตา                 หอมยี่หร่ารสร้อนแรงชายใดได้กลืนแกง               แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่คุ้นเคย บอกเล่าถึงแกงมัสมั่น ทั้งกลิ่นหอมของเครื่องแกง และรสชาติอันเผ็ดร้อนที่เมื่อเวลาผ่านมาจนปัจจุบัน คนนิยมกินคู่กับโรตีทอดกรอบ ใครบ้างจะไม่คิดถึงรสชาตินี้ แต่ให้คนยุคใหม่มาโขลกเครื่องแกง คอยบรรจงทำมัสมั่นอย่างประณีตคงใช้เวลามากไปเสียหน่อย เวิร์กช็อปกับเชฟนูรอครั้งนี้ เธอจึงทำให้แกงมัสมั่นกลายเป็นเมนูทำง่ายที่คนทำอาหารไม่เป็นก็ทำอร่อยได้! ถึงเวลาทำแกงปราบเซียน เชฟหญิงไทยที่อยู่ตรงหน้าบอกกับฉันว่า แกงมัสมั่นเป็นอาหารไทยที่เธอถนัดที่สุด ไม่ว่าจะทำขายในร้านอาหาร หรือเสิร์ฟให้กับแขกมาเยี่ยมบ้าน ซึ่งเนื้อแกะเป็นวัตถุดิบพรีเมียม […]

#saveตูดคอร์กี้ หนังสั้น 15 นาทีที่ชวนตั้งคำถามขอบเขตของ Political Correctness

Spoiler Alert : บทความนี้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของภาพยนตร์สามารถรับชมเรื่อง #saveตูดคอร์กี้ เต็มๆ ก่อนอ่านได้ที่ (https://tv.line.me/v/20392024) ฉากจบของภาพยนตร์สั้น #saveตูดคอร์กี้ ดึงดูดความสนใจของผู้เขียนไม่น้อย เพราะลุ้นใจจดใจจ่อว่าตัวละครหลักอย่าง ‘โบล่า’ (ก้อย-อรัชพร โภคินภากร) ที่กำลังเก้ๆ กังๆ จะเลือกโพสต์หวีดศิลปินที่ชื่นชอบอย่างไรดี แม้โบล่าสรรหาคำสารพัดมาบรรยายความรู้สึกกรี๊ดกร๊าดข้างในใจ แต่คำที่ใช้กลับเอนเอียงไปทาง ‘Sexual Harassment’ ถึงเจตนาข้างในแค่อยากตะโกนบอกความน่ารักของศิลปินให้คนทั้งโลกฟัง ซึ่งเหตุการณ์นั้น ทำให้โบล่าคิดไม่ตก กดลบกดพิมพ์ข้อความอยู่นานสองนาน ก่อนภาพยนตร์จะตัดจบไป สถานการณ์ที่โบล่าเจอ ทำให้ผู้เขียนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะที่คลั่งรักศิลปินหลายสิบคน และอยากโพสต์หวีดความน่ารักของเขา แต่ก็ต้องลบข้อความทิ้งอยู่เป็นประจำ แล้วแชร์โพสต์เปล่า เพราะกลัวว่าข้อความของเราอาจเผลอ Political Incorrectness (ความไม่ถูกต้องทางการเมือง) ต่อเพื่อนสักคนบนโลกออนไลน์ และทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ #saveตูดคอร์กี้ ภายในระยะเวลา 15 นาที หนังพาเราไปตามชีวิตของโบล่า หญิงสาวผู้ยึดมั่นในหลักความเท่าเทียมกันของทุกสิ่งบนโลกมนุษย์ เวลาเห็นใครโพสต์ข้อความที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมลงโซเชียล โบล่าจะเข้าไปตักเตือนและให้ความรู้กับคนนั้นทันที ซึ่งบางฉากทำให้เราเห็นความลังเลของโบล่า และการฉุกคิดกับตัวเองว่าคนโพสต์เขากำลังมีเจตนาแบบไหนอยู่ ซึ่ง ‘แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน’ ผู้กำกับและคนเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง #saveตูดคอร์กี้ หยิบเหตุการณ์จริงของตัวเอง โดยเฉพาะฉากจบ […]

‘กรวยจราจร’ เหตุเกิดจาก พนง. ทาสีถนน จนได้เครื่องหมายจราจรที่คนทั่วโลกต้องหลีกทาง

กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ  ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม  […]

London Design Biennale 2021 ธีม Design in An Age of Crisis รวมศิลปะยุคโควิด-19 จากทั่วโลก

ข้ามโพ้นทวีปเดินเสพงานศิลป์ที่นิทรรศการ London Design Biennale 2021 จุดรวมพลของนักออกแบบ ภัณฑารักษ์ และสถาบันการออกแบบจากทั่วทุกมุมโลก ที่นำเสนองานในธีม ‘Design in An Age of Crisis’ เพื่อใช้ศิลปะและการออกแบบแก้ปัญหาความยากจน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และจัดการวิกฤตสภาพภูมิอากาศในยุคที่ทุกคนต่างเผชิญหน้ากับวิกฤตระดับโลก  London Design Biennale 2021 รับผิดชอบโดย Es Devlin ศิลปินและนักออกแบบฉากชื่อดังจากลอนดอน โดยนำผลงานทั้งหมด 500 ชิ้น จาก 50 ประเทศมาตั้งโชว์ในนิทรรศการ ซึ่งเธอได้จำแนกงานศิลปะทั้งหมดออกเป็น 4 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม : เราจะออกแบบสถานที่ให้ดีขึ้นได้อย่างไร สุขภาพ : งานดีไซน์จะช่วยให้คนมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายขึ้นอย่างไร สังคม : การออกแบบจะช่วยเราทุกคนได้อย่างไร ผลงาน : เราจะออกแบบผลงานให้มีความหมายได้อย่างไร ซึ่ง Sir John Sorrell CBE ผู้ก่อตั้งนิทรรศการ London […]

จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน

ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้

1 75 76 77 78 79 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.