KBank เปิดแผนดำเนินงานธุรกิจควบคู่ความยั่งยืน พร้อมสู่การเป็นผู้นำด้าน ESG ใน SEA

ความยั่งยืนและความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจยุคปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจหากความสำคัญของ ESG (Environment Society และ Governance) จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการธุรกิจมากขึ้น  ขณะเดียวกัน ธุรกิจธนาคารเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ในฐานะต้นน้ำของระบบเศรษฐกิจ จึงถือเป็นภารกิจที่จะต้องทำเรื่องนี้ต่อไปให้มากขึ้น ธนาคารเจ้าใหญ่อย่าง KBank ก็ได้มีการดำเนินการพัฒนาองค์กรเพื่อสร้างความเติบโตให้สอดคล้องกับยุคสมัย บนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน (Bank of Sustainability) ที่นำมาเป็นยุทธศาสตร์ของธนาคารและอยู่ในกระบวนการขับเคลื่อนธุรกิจ โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผล รวมถึงเป้าหมายสำหรับอนาคตที่ท้าทาย กับภารกิจที่ต้องชวนทุกคนลงมือทำไปด้วยกัน สำหรับใครที่สงสัยว่าธุรกิจธนาคารจะเติบโตไปพร้อมกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร KBank ก็อธิบายถึงคำตอบไว้ในงานแถลงข่าว KBank ESG Strategy 2023 โดยมี ‘กฤษณ์ จิตต์แจ้ง’ กรรมการผู้จัดการ KBank มาเล่าถึงการดำเนินงานที่ผ่านมาและเป้าหมายในอนาคตเพื่อให้การทำงานบนหลัก ESG บรรลุผลที่เป็นรูปธรรม ทั้งในมิติการลดผลกระทบเชิงลบ และการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อโลก ด้วยบริบทการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้นักลงทุน ลูกค้า และคู่ค้าประเทศต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น ขณะเดียวกัน KBank เองก็พัฒนาปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กลุ่มลูกค้าว่า KBank จะเป็นธนาคารที่ตามทันโลกและให้ความสำคัญกับ ESG […]

ทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองคอนเสิร์ต ที่สนุก หลากหลาย และทุกคนเข้าถึงได้

ช่วงนี้บรรยากาศในกรุงเทพฯ กลับมาคึกคักสุดๆ เห็นได้จากผู้คนที่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติ บวกกับกิจกรรมและความบันเทิงต่างๆ ที่จัดอย่างเต็มรูปแบบได้แล้ว โดยเฉพาะ ‘คอนเสิร์ต’ ที่มีการแสดงทั้งจากศิลปินไทยและต่างประเทศให้แฟนเพลงเลือกซื้อตั๋วไปดูกันแทบทุกสัปดาห์ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์กลางของคอนเสิร์ตแทบทุกแนว ตั้งแต่การแสดงดนตรีสดขนาดเล็ก จนถึงงานใหญ่ระดับมิวสิกเฟสติวัล แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่า ทุกครั้งที่มีคอนเสิร์ตจัดขึ้น มักตามมาด้วยข้อถกเถียงถึงปัญหาและ Pain Point ที่แก้ไม่ได้สักที เช่น พื้นที่จัดคอนเสิร์ตที่มีอยู่อย่างจำกัด โลเคชันที่อยู่ไกลจากระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้คนเดินทางลำบาก รวมถึงค่าใช้จ่ายการจัดคอนเสิร์ตที่มีต้นทุนสูง จึงมีเฉพาะวงดนตรีดังๆ เท่านั้นที่เปิดการแสดงได้ กลายเป็นการปิดโอกาสศิลปินตัวเล็กๆ ไปโดยปริยาย คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเอาข้อจำกัดเหล่านี้มาปรับปรุงใหม่ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ตที่ดีกว่าเดิม ผ่านการใช้ไอเดียสนุกๆ เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะให้เป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ต ตั้งแต่บริเวณใต้ทางด่วน ชั้นดาดฟ้า จนถึงกลางแม่น้ำเจ้าพระยา คอนเสิร์ตเหล่านี้จะมีหน้าตาแบบไหน ขอเชิญทุกคนไปโยกหัวฟังเพลงพร้อมกัน เพิ่มสเตจคอนเสิร์ตในตัวเมืองด้วยการปรับพื้นที่ใต้ทางด่วน ปัญหาหลักของการจัดคอนเสิร์ตในกรุงเทพฯ คือ ‘พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด’ เพราะส่วนใหญ่การแสดงมักจัดขึ้นที่สเตเดียม ศูนย์จัดแสดงสินค้า และฮอลล์ในศูนย์การค้า ที่นอกจากจะตั้งอยู่ในโลเคชันที่การจราจรติดขัด ผู้คนเดินทางไปลำบากแล้ว สถานที่เหล่านี้ยังเป็นพื้นที่ขนาดกลางถึงใหญ่ที่ต้องเป็นวงดนตรีแมสๆ หรือมีต้นทุนสูงเท่านั้น ถึงจะจัดการแสดงได้ เราจึงไม่ค่อยได้เห็นวงดนตรีอินดี้หรือศิลปินตัวเล็กๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในสถานที่เหล่านี้เท่าไหร่นัก […]

The Town of Music เมื่อกรุงเทพฯ อยากเป็นเมืองคอนเสิร์ต แต่…

ใครๆ ก็บอกว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองแห่งคอนเสิร์ต ไม่ว่าศิลปินจะมาจากไหน เมื่อเจอแฟนคลับชาวไทยที่ร้องตามทุกคำ แอดลิปได้ทุกโน้ตเข้าไป ก็ติดใจวนกลับมาเล่นคอนเสิร์ตที่ไทยเกือบทุกปี ยิ่งหลังจากปิดประเทศไป 2 ปี คอนเสิร์ตทั้งไทยและเทศต่างพากันจ่อคิวยาวล้นไปถึงต้นปีหน้า เราจึงไม่แปลกใจที่กรุงเทพฯ จะมีอีกฉายาว่า ‘กรุงเทพฯ เมืองคอนเสิร์ต’ แต่พอมาขบคิดดูดีๆ แล้วเมืองกรุงเทพฯ เหมาะสำหรับจัดคอนเสิร์ตจริงหรือ เพราะเมื่อมองย้อนกลับไปดูการจัดคอนเสิร์ตแต่ละครั้ง เราต่างพบหลากหลายปัญหาที่มักถูกพูดถึง แต่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือสนับสนุนอย่างถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็นสถานที่จัดคอนเสิร์ตที่เดินทางลำบาก ค่าบัตรที่ค่อนข้างสูง ไหนจะระบบการศึกษาที่ไม่ค่อยเอื้อให้คนที่อยากทำงานในอุตสาหกรรมดนตรีสักเท่าไหร่ จะดีกว่าไหมถ้าเมืองนี้จะไม่ใช่แค่สถานที่จัดคอนเสิร์ต แต่สนับสนุนและส่งเสริมระบบนิเวศทางดนตรีให้ยั่งยืน 01 | Concert Live in Bangkok (แค่ในนาม)สถานที่จัดไกล การเดินทางไม่ครอบคลุม ปัจจุบันมีหลายคอนเสิร์ตที่จัดในประเทศไทยแล้วใช้ชื่อต่อท้ายว่า ‘Live in Bangkok’ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นแค่กรุงเทพฯ เฉพาะในนาม เพราะไม่ว่าจะเป็นอิมแพ็ค อารีน่า และ ธันเดอร์โดม ที่เมืองทองธานี, แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ ที่เซ็นทรัลแจ้งวัฒนะ หรือเอ็มซีซี ฮอลล์ ที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ต่างตั้งอยู่ที่จังหวัด ‘นนทบุรี’ ด้วยกันทั้งนั้น […]

Urban Eyes 12/50 เขตบางรัก

บางรักเป็นเขตหนึ่งที่เราสนิทคุ้นเคยตั้งแต่เด็กๆ เพราะเคยเรียนอยู่แถวนี้ แต่ตอนนั้นไม่ค่อยได้ไปเดินตามตรอกซอกซอยเท่าไหร่ เพิ่งจะมาเดินสำรวจบางรักเยอะๆ ก็ช่วงที่เริ่มถ่ายรูปจริงจังเมื่อ 5 – 6 ปีที่ผ่านมาเท่านั้นเอง ถ้าให้พูดถึงภาพจำของเขตบางรัก สิ่งแรกที่เข้ามาในหัวเราเลยคือรถติด หลักฐานคือย่านสาทรที่ถ้าใครมีธุระต้องขับผ่านแถวนี้อาจต้องทำใจมาก่อน เพราะรอบๆ บริเวณมีทั้งโรงเรียนใหญ่และเป็นย่านธุรกิจ ยิ่งช่วงเช้า-เย็นหลังเลิกงานนะ นั่งรอบนรถจนเบื่อกันไปข้าง แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังดีที่มีสถานที่พักผ่อนออกกำลังกายอยู่ใกล้ๆ อย่างสวนลุมฯ (แม้ว่าจริงๆ แล้วที่นี่จะอยู่ในเขตปทุมวันก็ตาม) อีกจุดที่อยากชวนไปแวะเวียนเยี่ยมชมคือ Skywalk สาทร-นราธิวาส หรือสะพานช่องนนทรี เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรีกับสถานีรถสายด่วน BRT สาทร ทั้งยังมีดีไซน์ที่สวยงามคลาสสิก งานอีเวนต์จึงมักเวียนมาจัดกันเป็นประจำ แถมฉากหลังที่เป็น Empire Tower ตึกกระจกใหญ่ๆ ก็นับว่าเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของย่านนี้  อีกจุดที่คนผ่านไปผ่านมาเยอะๆ คือแถวบริเวณ Robinson บางรัก เนื่องจากตรงนั้นมีครบครันทั้งร้านอาหาร ตลาดนัด ตลาดสด และห้างฯ แถมอยู่ติดกับสถานีรถไฟฟ้า BTS และท่าเรือ ไม่แปลกใจที่ใครๆ จะใช้ตรงนั้นเป็นจุดนัดพบคุยงานหรือกระทั่งเป็นที่เดต ส่วนความพิเศษที่เกิดขึ้นในวันที่ผมไปถ่ายภาพคือฝนตกอีกแล้วครับ! แต่โชคดีที่ไม่ต้องลุยน้ำสู้ชีวิตเหมือนตอนเขตห้วยขวาง  บรรยากาศวันนั้นออกมาค่อนข้างเหมือนอยู่ในหนังของหว่อง กาไวมาก ได้แสงไฟจากร้านสะดวกซื้อช่วยเยอะ แนะนำว่าอยากให้ทุกคนลองมาตลาดนัดข้างๆ โรบินสันที่ตั้งกันช่วงเที่ยงๆ บ่ายๆ […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

Nympheart ผู้เปลี่ยนเถ้าถ่านแห่งความทรงจำให้เป็นงานคราฟต์ที่มีชิ้นเดียวในโลก | The Professional

Nympheart คือสตูดิโอแฮนด์คราฟต์อายุ 9 ปีที่เริ่มต้นทำเครื่องประดับด้วยการใช้วัสดุหลักเป็น ‘ไม้’ และ ‘Epoxy’ เรซินที่ใช้ราดปูพื้น ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เคยมีใครในเอเชียทำมาก่อน นอกจากความแปลกใหม่ โดดเด่นไม่ซ้ำใครของวัสดุและลวดลายโปรดักต์ที่ได้ขยายไปสู่ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว Nympheart ยังมีอีกเอกลักษณ์สำคัญคือ งานคราฟต์ที่ผนึกอัฐิของผู้เป็นที่รัก ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ระลึกความทรงจำถึงคนที่จากไป ในรูปแบบที่สวยงาม ร่วมสมัย และจับต้องง่าย เหมือนมีเขาเคียงข้างอยู่ตลอดเวลา Urban Creature ชวนไปเรียนรู้วิธีการสร้างงานศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ที่เริ่มต้นการออกแบบด้วยความเข้าใจ และมีส่วนประกอบหลักเป็นหลักฐานของความทรงจำกัน

‘ปิดถนน ห้ามเดิน ขอผ่านทาง’ 3 ประเทศเจ้าภาพกับมาตรการการเดินทางสำหรับการประชุมนานาชาติ

ตั้งแต่สัปดาห์ก่อนลากยาวจนมาถึงสัปดาห์นี้ ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาแห่งการประชุมระดับนานาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มกันที่ ASEAN Summit ประเทศกัมพูชา ตามมาด้วย G20 ประเทศอินโดนีเซีย และล่าสุดคือ APEC ที่ประเทศไทยได้กลับมาเป็นเจ้าภาพต้อนรับบรรดาผู้นำโลกอีกครั้ง เมื่อมีบุคคลสำคัญจากหลายประเทศมาร่วมงาน การเดินทางจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ละเลยไม่ได้เด็ดขาด ทางเจ้าบ้านต้องหาวิธีจัดการดูแลเรื่องนี้ให้ปลอดภัยและสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือนมากที่สุด สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีการเตรียมตัวเพื่อต้อนรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยเช่นเดียวกัน แต่หลังจากที่มีการแจ้งแผนจำกัดการใช้งานถนนและเส้นทางโดยรอบศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ก่อนวันงานเพียงหนึ่งสัปดาห์ ไหนจะการประกาศปิดถนนกับข้อห้ามมากมายที่ออกมาระหว่างช่วงที่จัดการประชุม ก็ยิ่งทำให้เกิดการตั้งคำถามมากมายถึงความเดือดร้อนต่อการเดินทางของคนทำงานและผู้พักอาศัยในบริเวณนั้น ที่ต้องแบกรับผลกระทบเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ คอลัมน์ Curiocity ชวนไปติดตามกันว่า ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันที่มีการประชุมทั้งในกัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย สามประเทศเจ้าภาพนี้มีมาตรการการจัดการจราจรเพื่อต้อนรับแขกสำหรับการประชุมครั้งใหญ่นี้อย่างไร แล้วใครที่ได้รับผลกระทบบ้าง ASEAN Summit กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา การประชุม ‘ASEAN Summit’ หรือ ‘การประชุมสุดยอดอาเซียน’ เป็นการประชุมประจำปี ภายใต้หัวข้อ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปีนี้ถือเป็นการประชุมครั้งที่ 40 และ 41 จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ตั้งแต่วันที่ 10 – 13 พฤศจิกายน […]

ใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนไปสำรวจเมือง ‘Wakanda’ กับการใช้ไวเบรเนียมพัฒนาชาติ

ในตำนานเล่าว่า เมื่อประมาณสองล้านกว่าปีก่อน มีอุกกาบาตขนาดยักษ์ตกลงตรงใจกลางทวีปแอฟริกาในปัจจุบัน อุกกาบาตลูกนั้นอัดแน่นด้วยโลหะจากนอกโลก โดยได้รับการตั้งชื่อว่า ‘ไวเบรเนียม’ ต่อมาได้มีมนุษย์จากห้าชนเผ่าเดินทางมายังดินแดนดังกล่าวเพื่อทำสงครามแย่งชิงแร่ไวเบรเนียมเป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งนักรบคนหนึ่งได้นิมิตเห็นร่างเสือดำ ซึ่งนำพาให้เขาได้พบกับสมุนไพรรูปหัวใจ หลังจากกินเข้าไป เขาได้รับพลังเหนือมนุษย์จนสามารถยุติสงคราม แย่งชิงไวเบรเนียมแล้วรวบรวมชนเผ่าโดยรอบให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของราชวงศ์ ‘วากานด้า’ โดยประชาชนได้อยู่ร่วมกันภายใต้กษัตริย์เสือดำหรือแบล็กแพนเตอร์ (Black Panther) ผู้ทำหน้าที่คอยปกปักรักษาอาณาจักรแห่งนี้ไว้โดยไม่เปิดเผยการมีอยู่ให้โลกได้รับรู้ เพราะเกรงว่าเทคโนโลยีสุดล้ำจากการใช้แร่ไวเบรเนียมจะแพร่งพรายออกไป จนทำให้วากานด้าอาจถูกศัตรูเข้ามารุกราน เพื่อแย่งชิงทรัพยากรล้ำค่าที่ดินแดนมีไว้ในครอบครอง  แม้วากานด้าจะปิดประเทศแต่ก็มีการส่งประชาชนบางส่วนไปยังประเทศต่างๆ เพื่อศึกษาดูงานและนำองค์ความรู้จากทั่วโลกกลับมาพัฒนาประเทศ จนมาถึงยุคของ กษัตริย์ทีชาลา (T’Challa) บุตรชายของทีชากา ที่ตัดสินใจประกาศเปิดประเทศ เพื่อกระจายแร่ไวเบรเนียมให้นานาประเทศนำไปใช้พัฒนาบ้านเมืองให้มีความยั่งยืนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้เวลาที่วากานด้าเปิดประเทศแล้ว เราเลยขอใช้ชีวิตเป็นชาววากานเดี้ยนสักหนึ่งวัน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงานว่าในดินแดนแห่งนี้ใช้ไวเบรเนียมทำอะไรบ้าง และมีนโยบายใดที่น่าสนใจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเมืองของเรา  Eco Futurism Urban Core ศูนย์กลางเมืองที่ผสมผสานธรรมชาติและเทคโนโลยี ดินแดนของวากานด้ามีภูเขาลูกใหญ่ที่ลดหลั่นระดับล้อมรอบอาณาจักร ที่ตั้งของเมืองหลวงอยู่ตรงกลางคล้ายแอ่งกระทะ มีช่องลมที่แบ่งโดยระยะห่างของภูเขา วากานด้ามีตึกที่กระจายตัวออกจากเมืองหลวงอยู่หนาตา แต่ไม่ได้หนาแน่นแออัดแข่งกันสูง ทำให้เกิดการระบายอากาศได้ดี  อาคารของวากานด้ามีองค์ประกอบแบบแอฟริกันดั้งเดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นหลังคามุงจากและปลูกสวนไว้ด้านบน เมืองแห่งนี้มีพื้นที่สีเขียวที่ช่วยให้เมืองกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังไม่มีพื้นที่ชานเมืองที่ต้องตัดถนนยิบย่อยให้เสียระบบนิเวศใดๆ แถมรอบตัวเมืองยังมีทางเดินให้สายน้ำไหลผ่าน เป็นเมืองที่ติดชายฝั่งทะเล มีท่าเทียบเรือสำหรับธุรกิจประมง ชาวเมืองสามารถใช้ประโยชน์จากผืนดินของธรรมชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำเกษตรและการเลี้ยงปศุสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  Futurist Transit […]

PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน

แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า  แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

Citizen Activist การพัฒนาเมืองด้วยประชากร กับอุ้ม Mayday | Unlock the City EP.14

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่คนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมืองและสนใจประเด็นทางสังคมกันอย่างเข้มข้น เกิดเป็นปรากฏการณ์ Citizen Activist ที่ผู้คนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนและทำงานในแนวทางที่ตนเชื่อ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เมือง จากกระแสสังคมนี้ก่อให้เกิด Advocacy Planner ผู้ทำหน้าที่ตรงกลาง เชื่อมต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชนและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นสนับสนุนประชาชนในมิติต่างๆ เพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมกับการพัฒนาเมือง คนทำงานส่วนนี้ถือว่าเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเมืองไม่น้อย เพราะหากรัฐมีหน้าที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การมีคนที่ช่วยเป็นปากเสียง ให้ความรู้ และลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อส่วนรวม เมืองก็จะไปต่อได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ต่อให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วก็ล้วนแล้วแต่มีกลุ่มคนที่ทำงานด้านนี้กันทั้งนั้น เพื่อไขข้อสงสัยต่อบทบาทหน้าที่ของ Advocacy Planner ว่าพวกเขาทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร เอารายได้มาจากไหน และการที่ประชาชนลุกขึ้นมาพัฒนาเมืองเอง ถือว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐหรือไม่ ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City จึงชวนสมาชิกกลุ่ม Mayday ที่ทำงานเรื่องขนส่งสาธารณะอย่าง ‘อุ้ม-วิภาวี กิตติเธียร’ มาให้คำตอบในเอพิโสดนี้

ทางด่วน วิวัฒนาการจากสนามแข่งรถ สิ่งก่อสร้างแก้รถติด สู่ยุครื้อทิ้งเพราะทำให้เมืองพัง

หากคุณอยากขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปเที่ยวทะเลที่ภูเก็ต ต้องใช้เส้นทางไหน หรือในช่วงเวลาสุดเร่งรีบบนท้องถนน ถ้าต้องการทางลัดที่จะให้ถึงที่หมายเร็วที่สุด ต้องทำอย่างไร เมื่อเจอคำถามแบบนี้ หลายคนคงนึกถึง ‘ทางด่วน’ เพื่อนแท้ยามคับขันของคนขับรถที่อยาก (รีบ) ให้ถึงจุดหมายนั่นเอง ปัจจุบันหน้าที่หลักของทางด่วนคือ ร่นระยะการเดินทางให้สั้นลงและประหยัดเวลาของผู้ขับมากยิ่งขึ้น หากอธิบายให้เห็นภาพ เช่น การขับรถยนต์จากกรุงเทพฯ ไปต่างจังหวัด หรือการเดินทางจากพื้นที่ในตัวเมืองไปชานเมือง ถ้าใช้ทางพิเศษนี้ การเดินทางก็จะราบรื่นและง่ายกว่าครั้งไหนๆ  ยิ่งไปกว่านั้น ทางด่วนยังเป็นทางเลือกหนึ่งในการหลีกเลี่ยงรถติด สำหรับคนที่เดินทางไกล ต้องการความเร่งด่วน แค่ยอมจ่ายค่าผ่านทาง ใครๆ ก็เข้าถึงความรวดเร็วและความสะดวกสบายบนท้องถนนได้ทันที ‘สนามแข่งรถ’ แรงบันดาลใจที่ทำให้เกิด ‘ทางด่วน’ ในอดีตกว่าร้อยปีที่แล้ว จุดเริ่มต้นของ ‘ทางด่วน’ ได้รับแรงบันดาลใจจาก ‘ความเร็ว’ ของการแข่งรถยนต์ในปี 1904 โดย William Kissam Vanderbilt นักธุรกิจสัญชาติอเมริกัน ผู้คลั่งไคล้การแข่งรถเป็นชีวิตจิตใจ คือตัวตั้งตัวตีในการจัดกิจกรรมแข่งรถชิงถ้วยรางวัล Vanderbilt Cup ในมณฑล Nassau County ประเทศสหรัฐอเมริกา การแข่งรถยนต์สมัยนั้นค่อนข้างอันตรายชวนหวาดเสียว เพราะพวกเขาขับรถแข่งกันบนถนนในตัวเมืองที่ไม่ได้ออกแบบรองรับความเร็วของรถแข่งหรือทางโค้งเวลารถเลี้ยว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงชีวิต เมื่อเริ่มมีข่าวคราวคนเสียชีวิตจากการแข่งขันบ่อยขึ้น […]

1 53 54 55 56 57 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.