เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’

ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]

2023 Chinese Opera บันทึกเรื่องงิ้วปี 2566

เสียงการแสดงงิ้วจากเทปคาสเซ็ตที่ถูกเปิดโดยอากงของผมดังมาจากชั้นสองของบ้านในทุกๆ เช้าจนเป็นกิจวัตร ภาพของการปิดถนนเส้นเยาวราชจนถึงสำเพ็งเพื่อจัดงานฉลองเทศกาลตรุษจีน ขนมสาคูที่ต้มด้วยน้ำตาลกรวดและเปลือกส้มของเหล่าบรรดาแม่ยกที่ทำมาจากบ้าน เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับคนที่มาร่วมงานศาลเจ้า ทั้งหมดนี้คือความทรงจำของผมที่มี ‘งิ้ว’ เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ตั้งแต่ที่ผมย้ายออกจากบ้านที่สำเพ็งไปในช่วงวัยสิบสามปีก็ไม่เคยได้มีประสบการณ์ร่วมกับงิ้วอีกเลย จนกระทั่งปี 2563 ที่ทาง Documentary Club นำภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ที่แสดงนำโดยเลสลี จาง มาฉาย ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าชมในตอนนั้น หลังออกมาจากโรงภาพยนตร์ก็เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองมากมาย หนึ่งในคำถามนั้นคือ การแสดงงิ้วในไทยที่เราเคยเห็นเมื่อ 15 ปีก่อนตอนยังเป็นเด็ก ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่ไหม เวลาผ่านไปสามปี ประจวบเหมาะกับแผนการทำโปรเจกต์พิเศษ Lost & Found ผมจึงถือโอกาสนี้มาหาคำตอบคลายความสงสัยของตัวเองที่ติดค้างมานาน ก่อนอื่นเลยผมต้องขอบคุณ ‘ท็อบ’ โปรดิวเซอร์หน้ามนคนรามคำแหงของ Urban Creature ที่คอยช่วยผมหาคณะงิ้วที่ยังอยู่และเป็นธุระติดต่อให้ และ ‘พี่พงษ์’ จากเพจใจรักงิ้วที่คอยแนะนำหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับงิ้วให้ผม ในช่วงเย็นวันหนึ่ง ผมนั่งมอเตอร์ไซค์จากคอนโดฯ ไปที่ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ย่านสี่พระยา เพื่อไปดูการแสดงงิ้วของคณะซิงอี่ไล้เฮง เมื่อผมมาถึง คนแรกที่ได้เจอคือพี่พงษ์จากเพจใจรักงิ้วที่กำลังง่วนกับการประกอบโทรศัพท์เข้ากับขาตั้ง เพื่อเตรียมบันทึกการแสดงสดของวันนั้น ผมพูดคุยกับพี่พงษ์ได้ไม่นานเท่าไร ‘เจ๊กี’ เจ้าของคณะงิ้ว […]

ครบรอบ 30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของคนทำงาน ที่รัฐไม่เคยเหลียวแล

‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในเขตราชเทวี ตั้งอยู่บนถนนนิคมมักกะสัน ด้านหน้าของอาคารชั้นเดียวแห่งนี้จะมองเห็น ‘อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน’ เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ สร้างขึ้นเพื่อยืนยันความมีศักดิ์ศรีของ ‘ชนผู้ใช้แรงงานไทย’ และถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันของเหล่าคนทำงาน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ด้านแรงงาน ฯลฯ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเรื่องสิทธิแรงงานและประเด็นทางสังคมต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนลงมติร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดทำการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2536 ผ่านร้อนฝนมาจนเวลาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังจะมีอายุครบรอบ 30 ปี คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปเดินเล่นท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น เด็กช่าง คนดนตรี นักเคลื่อนไหว ผู้อุทิศตนเป็นปากเสียงของแรงงาน เราได้พบกับผู้จัดการพิพิธภัณฑ์และเขาจะมาเป็นไกด์นำทัวร์วันนี้ ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้อุทิศตนให้กับการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันในวัย 67 ปี พี่วิชัยเล่าว่า เขาเรียนจบช่างยนต์ที่เทคนิคกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานโรงงานแถวรังสิต ผ่านหนึ่งปีไปนิดหน่อยก็ถูกเลิกจ้าง และออกไปเล่นดนตรีหาเลี้ยงชีพ ผลิตผลงานเพลงออกขาย เขาเติบโตมากับเรื่องสิทธิแรงงาน เมื่อมีงานประท้วงหรือการจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเมื่อไหร่ จะได้พบกับวิชัยและผองเพื่อนนักดนตรีไปเล่นให้กำลังใจอยู่เสมอ (หาฟังเพลงของพี่วิชัยได้ที่ วงภราดร หรือวงอินโดจีน เป็นต้น) ส่วนงานด้านวิชาการเขาก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจ […]

ส่อง 6 สนามกีฬาในเมืองหางโจว ที่ทั้งสวย โดดเด่น และดีต่อสิ่งแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19

ใกล้เข้ามาแล้วกับการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอย่าง ‘เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19’ หรือ ‘Hangzhou 2022 Asian Games’ ที่ปีนี้ได้เมืองหางโจว ประเทศจีน เป็นเจ้าภาพอย่างยิ่งใหญ่จนมีประเทศเข้าร่วมกว่า 45 ประเทศ ชิง 482 เหรียญทองใน 40 ประเภทกีฬา โดยระหว่างการจัดการแข่งขันที่เข้มข้น หางโจวยังมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม และพยายามลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ หรือเปลี่ยนพิธีงานแบบเดิมๆ ที่ใช้พลุมาเป็นการแสดงด้วยโดรนบนท้องฟ้าแทน นอกจากนี้ หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการที่หางโจวเลือกใช้ ‘สนามกีฬา’ หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มีอยู่เดิมและออกแบบใหม่เพื่อส่งเสริมให้การแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองหางโจวไว้ในสเตเดียมเหล่านี้ได้อย่างลงตัว ก่อนการแข่งขันเอเชียนเกมส์จะเริ่มต้นขึ้น คอลัมน์ Re-Desire ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 6 สนามกีฬาดีไซน์สวย ตอบโจทย์การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เหล่านักกีฬานานาประเทศจะใช้เป็นสถานที่แข่งขันในวันที่ 23 กันยายน – 8 ตุลาคมที่จะถึงนี้ China Hangzhou E-sports Centerศูนย์กีฬาอีสปอร์ตที่รวมกีฬาและสวนสีเขียวไว้ด้วยกัน เริ่มกันที่ศูนย์กีฬามาตรฐานแห่งแรกสำหรับการแข่งขัน E-sports อย่าง ‘China Hangzhou […]

Public Convenience ดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะที่รับจบทุกการชำระล้าง สะดวกและสะอาดครบในที่เดียว

‘ห้องน้ำสาธารณะ’ ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในบริการสาธารณะที่จะช่วยอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้กับประชาชน ซึ่งห้องน้ำสาธารณะทั่วไปที่เราเห็นและเคยใช้งานกันมักมีบริการแค่ห้องน้ำอย่างเดียว แต่ในหลายๆ ครั้ง คนเราอาจต้องการบริการด้านความสะอาดและสุขอนามัยอื่นๆ ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้วยเหมือนกัน อย่างการอาบน้ำหลังออกกำลังกาย การซักเสื้อผ้าที่ต้องรีบทำความสะอาดทันที หรือแม้แต่พื้นที่ในการเปลี่ยนเสื้อผ้า แต่งหน้า ทำผมแบบเร่งด่วนก็ตาม คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอดีไซน์ห้องน้ำสาธารณะ 24 ชั่วโมงแบบครบวงจรที่มีให้มากกว่าแค่พื้นที่ปลดทุกข์ปล่อยเบา เพราะยังมีบริการอื่นๆ ที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตในเมืองมีคุณภาพด้านความสะอาดและสะดวกสบายมากขึ้น โซนห้องน้ำ : ทำธุระหนัก-เบา และชำระล้างร่างกายได้ตลอดเวลา โซนแรกของพื้นที่สาธารณะแห่งนี้ แน่นอนว่าต้องเป็นโซนห้องน้ำสำหรับให้บริการใครที่ต้องการปล่อยหนัก-เบา โดยโซนนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ส่วนห้องน้ำ ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป คนแก่ หรือคนพิการ อีกส่วนหนึ่งคือ ส่วนห้องอาบน้ำ สำหรับให้บริการผู้ที่เพิ่งออกกำลังกายเสร็จ มีธุระสำคัญต่อ หรือแม้แต่บ้านไหนที่น้ำไม่ไหลแต่จำเป็นต้องอาบน้ำก็เข้ามาใช้บริการที่นี่ได้ โดยห้องอาบน้ำของเรามีการแบ่งโซนเปียกและโซนแห้งไว้อย่างชัดเจน เพื่อที่ทุกคนจะได้มีพื้นที่ในการอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีสบู่หรือแชมพูกระเด็นไปเลอะเทอะหรือไม่ โซนแต่งตัว : จัดชุด แต่งหน้า เตรียมความพร้อมก่อนออกไปงานสำคัญ อาบน้ำแต่งตัวเรียบร้อยแล้ว แต่จะให้ออกไปทั้งที่ผมเปียกก็ยังไงอยู่ หรือถ้าใครมีงานสำคัญที่ต้องไปต่อก็ควรต้องเสริมสวยเพิ่มหล่อก่อนหรือเปล่า ดังนั้นเราจึงมีโต๊ะเครื่องแป้งพร้อมกระจกบานใหญ่ให้สำรวจความพร้อมได้อย่างเต็มที่ พร้อมมุมเป่าผมให้บริการในโซนแต่งตัว เพื่อจัดการความเรียบร้อยให้เสร็จสิ้นก่อนออกไปข้างนอก ภายในโซนนี้ยังมีตู้จำหน่ายอุปกรณ์อาบน้ำราคาย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็นสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า […]

‘เฮ็ดหยังอยู่’ โปรเจกต์จดหมายเหตุกรุงเทพฯ ในหัวข้อฉูดฉาด ‘สวัสดี ข้นE-3’

มีใครสงสัยเหมือนเราบ้างว่า ทำไมในกรุงเทพฯ ถึงมีร้านส้มตำอยู่ทุกหัวมุมถนน ทุกหนแห่ง แค่นึกอยากจะกินก็มีให้เลือกอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากที่ที่เราอยู่เสมอ ทำไมเนื้อหาของละครทีวีช่วงค่ำยุคปัจจุบันถึงได้เปลี่ยนจากเซตติงที่เป็นคุณหญิงคุณชายในรั้ววัง มาเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคณะหมอลำซึ่งมีฉากหลังเป็นทุ่งนาต่างจังหวัดกันมากขึ้น มากไปกว่านั้นคือตัวละครทั้งหมดล้วนพูดภาษาถิ่นอีสานกันทั้งหมด ทั้งที่ฉายไปทั่วประเทศ ขยับเข้ามาในระดับที่แคบขึ้นอีกนิด ทำไมคนขับแท็กซี่มักเป็นคนร้อยเอ็ด ทำไมนางแจ๋วในละครถึงต้องเป็นคนอีสาน ทำไมถึงมีคำศัพท์ใหม่อย่าง ‘v้นE-3’ แพร่หลายเป็นมุกตลกทั่วไปของเด็กรุ่นใหม่บางกลุ่ม จนกลายเป็นชนวนของการทะเลาะใหญ่โตบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วันเวลาผ่านไป ตั้งแต่ยุคที่คนกุลายังร้องไห้ จนมีลูกหลานเป็นสาวน้อยหัวใจติดดิน สวมกางเกงยีนส์เก่าๆ ใส่เสื้อตัว 199 มุ่งหน้าไปสู่การเป็นนางเอกละครเย็นในช่วงเรตติงดีที่สุด ประดับซับไตเติลเป็นภาษาไทยกลาง เพราะเว้าภาษาอีสานกันทั้งเรื่อง เกิดอะไรขึ้นกับคนอีสานอพยพใน ค.ศ. 2022 ตามมาเบิ่งปรากฏการณ์นี้ในหนังสือ ‘เฮ็ดหยังอยู่’ ธีสิสจบการศึกษาของ ‘ข้าวตัง-ศศิตา มณีวงษ์’ นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กันแหน่เด้อ เฮ็ดหยังอยู่ ก่อนจะพูดถึงโปรเจกต์ที่ช่วยไขสารพัดข้อสงสัยเรื่องคนอีสานอพยพ เราขอย้อนความก่อนว่า ศศิตาหรือผู้เขียนบทความนี้เป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่มีตาเป็นคนอำนาจเจริญ และยายเป็นคนสุรินทร์ เติบโตมากับเรื่องเล่าของการถูกปลิงกัดเมื่อดำนา การซักผ้าด้วยขี้เถ้า และการเดินเท้าเกือบสิบกิโลเพื่อไป-กลับโรงเรียน ตายายหยิบเอาเรื่องราวการดำรงชีวิตอยู่ในอำเภอห่างไกลความเจริญเมื่อห้าสิบปีก่อนมาใช้แทนนิทานเรื่องเจ้าหญิงต่างๆ ก่อนจะเข้านอนทุกคืน ในวัยนั้นเราต้องยอมรับว่าเรื่องที่ทั้งคู่เล่าสนุกกว่านิทานพวกนั้นมาก แล้วจะมีเหตุผลอะไรที่เราจะไม่บันทึกมันไว้เมื่อยังมีโอกาส ไม่มีใครทราบได้ว่าโอกาสนั้นกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของการศึกษาศิลปะ […]

Song from the Past เสียงเพลงจากวันวาน

เสียงขับร้องเพลงลูกกรุงที่ผมได้ยินอย่างไม่ตั้งใจ ทำให้ขาของผมก้าวตามไปอย่างอดใจไม่ได้ อาจเพราะความทรงจำในวัยเยาว์ที่ทำให้ผมหวนรำลึกถึงท่วงทำนองและ เสียงเพลงอันคุ้นเคย ร้านคาราโอเกะเป็นแหล่งรวมตัวของผู้สูงอายุที่ล้วนมีความชอบในสิ่งเดียวกัน บางคนมาเพื่อร้องเพลง บางคนมาเพื่อนั่งฟัง และบางคนมาเพื่อคลายเหงา มาบ่อยจนสถานที่แห่งนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและความทรงจำ น่าเสียดายอยู่ไม่น้อยถ้าสิ่งเหล่านี้กำลังจะสูญหายไปตามกาลเวลา เพราะสำหรับผม สิ่งเหล่านี้เปรียบได้ว่าเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่ผมผ่านมาเพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งไว้เท่านั้น ทั้งหมดเกิดจากความบังเอิญอย่างไม่ตั้งใจ ในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งเหมาะแก่การออกไปข้างนอก วันนั้นผมมีธุระที่ไม่ค่อยสำคัญเท่าไรนักที่ต้องออกไปทำ ผมโบกมือเรียกรถแท็กซี่จากหน้าคอนโดฯ แห่งหนึ่งย่านเตาปูน จุดหมายปลายทางคือวังบูรพา โชเฟอร์เลือกใช้เส้นทางผ่านหน้ารัฐสภา ซึ่งในเวลานั้นเองถนนเส้นนั้นมีการขุดถนนเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าอยู่พอดี ฝุ่นตลบอบอวลไปทั้งสองข้างทาง บดบังทัศนียภาพอันแสนสดใสของวันนั้นไป เวลาล่วงเลยมาเกือบชั่วโมงเศษๆ กับการที่ผมนั่งอยู่ในรถที่การสัญจรบนถนนเป็นไปอย่างยากลำบาก พร้อมกับสภาวะท้องไส้ปั่นป่วนของตัวเองที่ส่งสัญญาณให้รับรู้ว่าต้องการห้องน้ำที่ใกล้ที่สุด ผมตัดสินใจบอกกับลุงโชเฟอร์ว่าขอลงรถตรงตลาดศรีย่าน ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวกับท่านผู้อ่าน เพื่อที่จะไม่ให้เกิดความสงสัยกันไปมากกว่านี้ว่าตัวผมเองนั้นคือใคร มาจากไหน ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน เติบโตมาในย่านสำเพ็งเยาวราช พออายุสิบสามปีก็ย้ายที่อยู่มาอยู่แถวสี่แยกพิชัย (แถวๆ ตลาดศรีย่านนั่นแหละ) นั่นทำให้ผมมีความชำนาญพื้นที่ละแวกนั้นอยู่พอสมควร ผมรีบเดินปรี่เข้าไปหาห้องน้ำที่ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่แห่งหนึ่งในย่านนั้น ภาพในหัวของผมเมื่อเข้าไปที่ห้างฯ แห่งนั้น ทำให้นึกย้อนถึงวันวานสมัยยังเด็กที่ได้แวะเวียนมาใช้บริการและซื้อของเล่นเป็นบางครั้งบางคราว แต่นั่นเป็นเพียงภาพในความทรงจำเท่านั้น เพราะสิ่งที่เห็นอยู่ตรงหน้าคือภาพห้างฯ ที่เปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมอยู่เลย ศูนย์อาหารที่แทบจะร้าง ประตูมู่ลี่ของร้านค้าต่างๆ ปิดลง หลงเหลือไว้แต่ร่องรอยของป้ายที่บอกว่าร้านค้าเหล่านั้นเคยเป็นร้านเครื่องเสียงมาก่อน ในขณะเดียวกัน ผมได้ยินเสียงเพลงที่ไม่สามารถห้ามไม่ให้ตัวเองเดินตามเสียงเหล่านั้นไป “แม้นใจเอื้อเชื่อคำน้ำใจ จะไม่เปลี่ยนกลาย คล้ายน้ำตกหลั่งไหลไม่วาย รักคงไม่หน่ายแนบเคียงทุกครา ขอรักจนกว่าชีวาสลายลาญ” เนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงวิมานรักห้วยแก้ว โดย […]

‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซใจกลางเอกมัย ที่อยากให้คนเมืองได้สัมผัสธรรมชาติ และกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

“เราอยากให้คนที่มารู้สึกว่าทุกช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่คือ Kind Moment ทั้งกับตัวเอง ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม” ‘แพม-เปรมมิกา ศรีชวาลา’ ผู้ก่อตั้ง ‘EKM6’ แพลนต์เบสด์คอมมูนิตี้สเปซสีเขียวเล็กๆ ภายในซอยเอกมัย 6 บอกกับเราถึงสิ่งที่อยากส่งต่อไปยังผู้เข้าใช้บริการ หลายคนอาจไม่รู้ว่า ภายในใจกลางย่านเอกมัยยังมีสถานที่หนึ่งที่เป็นเหมือนโอเอซิสสำหรับคนรักสุขภาพให้ได้มาใช้เวลาร่วมกับธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน โดยชื่อของ EKM6 ถูกตั้งขึ้นให้ล้อไปกับสถานที่ตั้งของตัวโครงการอย่าง ‘ซอยเอกมัย 6’ และคำว่า ‘E(very) K(ind) M(oment)’ ยังเป็นการย้ำเตือนว่าที่นี่จะทำให้คุณได้ดื่มด่ำไปกับธรรมชาติรอบตัว รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ในรูปแบบ Plant-based จากผู้ประกอบการรายเล็กในประเทศไทย จนทุกช่วงเวลากลายเป็น Every Kind Moment E(verything) has a beginning. “เราไม่ได้คิดเรื่องธุรกิจตั้งแต่ต้น แต่มันเริ่มมาจากลูกแพ้นมและไข่ แล้วเขาอยากกินไอศกรีม เราเลยลองหาสูตรจากอินเทอร์เน็ตมาทำ จนกลายเป็นไอเดียเล็กๆ ที่ผุดมาจากลูกชายว่าทำไมไม่ลองทำขายดู” แพมเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเข้าสู่วงการแพลนต์เบสด์อย่างเป็นทางการ ก่อนเริ่มขยับขยายมาเป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ออกอีเวนต์ขายไอศกรีมแพลนต์เบสด์ในชื่อ Beyond Pops และได้พบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นที่มีความสนใจในเรื่องสุขภาพเหมือนกัน แต่ด้วยความที่เมืองไทยไม่ค่อยมีคอมมูนิตี้ของคนชื่นชอบอาหารแพลนต์เบสด์ให้รวมตัวกัน บวกกับแพมเองก็เห็นช่องว่างว่าบ้านเรายังไม่มีพื้นที่ที่รวมธุรกิจเหล่านี้ไว้และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่ต้องรองานอีเวนต์ นั่นจึงทำให้เธอตัดสินใจสร้างสถานที่แบบนั้นขึ้นมาด้วยตนเอง “เรารู้สึกว่าคนที่มาอีเวนต์เกี่ยวกับแพลนต์เบสด์ มันมีตั้งแต่คนที่ให้ความสนใจแพลนต์เบสด์อยู่แล้วไปจนถึงคนทั่วไปที่เขาสงสัยว่าอาหารประเภทนี้คืออะไร เราเลยคิดเล่นๆ […]

‘หางโจว’ เมืองโบราณที่พัฒนาเป็นฮับเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน

หากพูดถึงประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงสุด ชื่อของ ‘ประเทศจีน’ ต้องติดอยู่ในลิสต์ด้วยแน่นอน หากต้องเจาะไปที่ตัวเมือง หลายคนอาจนึกถึงเซี่ยงไฮ้ เมืองหลวงที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีแบบครบวงจร ทว่าจีนไม่ได้มีแค่เซี่ยงไฮ้เท่านั้นที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสุดล้ำ แต่ยังมีอีกหลายเมืองทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หนึ่งในเมืองสำคัญคือ ‘หางโจว’ เมืองทางภาคตะวันออกของจีนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุด จนกลายเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่แพ้เมืองหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หางโจวเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเจ้อเจียง ที่ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในระดับมณฑลเท่านั้น แต่หางโจวยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในระดับประเทศ และยังเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้รับฉายาว่าเป็น ‘Silicon Valley’ ของจีนเลยทีเดียว เชื่อว่าหลายคนก็คงจะคุ้นหูกับชื่อเมืองนี้เป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้จักหางโจวมากเท่าไรนัก Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนผ่านบทความนี้กัน เมืองเศรษฐกิจสำคัญของประเทศจีน หางโจวเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเป็นเส้นทางการคมนาคมทางน้ำที่ใช้ขนส่งสินค้า และเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย แต่ในยุคปัจจุบัน ประเทศจีนเปิดรับการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น ทำให้ทั่วประเทศรวมถึงเมืองหางโจวเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ภาครัฐจึงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละด้านของหางโจวให้แข็งแกร่งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเดิมของเมือง ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขตที่สำคัญต่อการพัฒนาหางโจว ได้แก่ – เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งหางโจว (Hangzhou Economic & Technological Development Zone : HETDZ) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน – เขตพัฒนาการส่งออกแห่งหางโจว (Hangzhou Export Processing […]

‘เบียร์เป็นมากกว่าความมึนเมา’ อ่าน Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์

ย้อนกลับไปในวัยของนักดื่มผู้ไร้เดียงสา วันนั้นเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนจะจับกลุ่มรวมกันเพื่อสังสรรค์และกระทำการรื่นเริง อาหารและกับแกล้มคือสิ่งที่ต้องมี ส่วนที่ขาดไปไม่ได้เลยในปาร์ตี้ก็คือ ‘เบียร์’ (จำนวนหลายลัง) และวันนั้นไม่ว่าจะดื่มไปเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดสิ้น ยิ่งกินยิ่งสนุก บางคนเสียงดังขึ้น บ้างเริ่มหยอกล้อเพื่อนด้วยการตบหัว กระแทกไหล่ หรือบางคนก็เริ่มพูดความจริงในใจออกมา ส่วนใครบางคนเช่นเรา เมื่อดื่มด้วย กินด้วย เวลาผ่านไปทุกอย่างก็พวยพุ่งออกมาเป็นเศษซากเนื้อย่างจำนวนมหาศาล ทุกครั้งที่ร่างกระตุกเกร็งเพื่อขย้อนของที่กินออก การนอนเล่นอ้วกแบบนั้นเป็นความรู้สึกที่แสนทรมาน และเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาความแฮงก็ตามมาราวีจวบจนครึ่งค่อนวันก็ยังไม่หายดี  เมื่อเติบโตมีการงานและทำเงินได้มากขึ้น เราจึงได้รู้ว่าเบียร์ที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำในหมู่บ้านที่เคยดื่มด่ำเมื่อวันวานเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของประเภทเบียร์บนดาวดวงนี้ และคำกล่าวที่บอกว่า ‘กินอะไรก็เมาเหมือนกัน’ เป็นความจริงแบบหนึ่ง ทว่าเราสามารถออกแบบความเมาและรับรู้ความเมาได้ เมื่อเราพบประเภทและรสชาติเบียร์ที่ต่างออกไปจากสองสามยี่ห้อที่พบเจอเป็นปกติของระบบทุนผูกขาด ปัจจุบันเสรีภาพในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขยายขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น มีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่ม มีการต่อสู้เรียกร้อง มีเทศกาลงานเบียร์และสุราให้เลือกดื่มด่ำกับรสชาติแปลกใหม่ รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้ชื่นชอบการดื่มได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป  คอลัมน์ อ่านอะไร ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนังสือ ‘Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์’ ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในรอบสิบปีของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ นักเขียนผู้ลุ่มหลงในรสชาติเบียร์ที่ตระเวนชิมไปทุกสารทิศทั่วโลก ซึ่งเราคิดว่านี่คือคัมภีร์หรือคู่มือที่เหมาะยิ่งแก่การเปิดอ่านประกอบการดื่มด่ำนานารสชาติ  “ทุกครั้งที่ดมกลิ่น จิบรส และดื่ม เราเอาวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์ของเบียร์เข้าไปในกระแสเลือดด้วย” คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดและเราเองก็คิดเห็นเช่นนั้นไม่ต่างกัน ขอชวนพลิกหน้ากระดาษพร้อมจิบเบาๆ ท่องไปในความสุนทรีย์แห่งเบียร์กับหนังสือเล่มนี้กัน Writer’s Tasteดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ […]

Urban Eyes 50/50 เขตสาทร

ในที่สุดโปรเจกต์ Bangkok Eyes ก็เดินทางมาถึงเขตที่ 50 ซึ่งเป็นเขตสุดท้ายแล้ว หลายคนอาจคุ้นเคยกันดีกับถนนสาทร ย่านธุรกิจชื่อดัง มีตึกสูงใหญ่ติดถนน และการจราจรที่หนาแน่นโดยเฉพาะช่วงเย็นวันศุกร์ แต่สิ่งหนึ่งที่บางคนอาจยังไม่ทราบคือ ถนนสาทรอยู่ติดกับ 2 เขต โดยมีคลองสาทรเป็นเส้นแบ่งเขต ทางสาทรเหนือจะอยู่ในเขตพื้นที่บางรัก ส่วนถนนสาทรใต้อยู่ในเขตพื้นที่สาทร เขตนี้กินพื้นที่จากถนนสาทรใต้ไปถึงถนนจันทน์ และมีอะไรให้ไปสำรวจมากกว่าการเป็นย่านเศรษฐกิจเท่านั้น ลองตามไปดูพร้อมๆ กัน ท่าเรือสาทร ━ ที่ท่าเรือใต้สะพานตากสินมีคนสัญจรไปมาตลอดเวลา ซีนช่วงเวลาเย็นแสงสวยเป็นพิเศษ เพราะมีแหล่งกำเนิดแสงทั้งหลอดนีออน หลอดไฟธรรมดาสีส้ม และแสงของท้องฟ้ายามเย็น ที่ผสมออกมาทำให้เกิดซีนแห่งแสง แถมจุดนี้คนก็ขึ้น-ลงเรืออยู่เป็นระยะ ฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีซับเจกต์อยู่ในภาพเลย วัดยานนาวา ━ วัดนี้มีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัดคือพระเจดีย์บนเรือสำเภาสีขาวที่ตั้งอยู่กลางวัด แถมตัววัดยังอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีลานอยู่เลียบแม่น้ำ ที่จริงแล้ววัดนี้เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อก่อนชื่อ ‘วัดคอกควาย’ ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีก็ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวง และมีชื่อใหม่ว่า ‘วัดคอกกระบือ’ จากนั้นในรัชกาลที่ 3 ท่านโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาเจดีย์ ขึ้นทีหลัง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดยานนาวา’ จนถึงปัจจุบัน สุสานวัดดอน (สุสานแต้จิ๋ว) ━ สุสานสาธารณะจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ชั้นใน […]

‘ออสโล’ กับแผนการสร้างเมืองให้ผู้คนสูงวัยได้อย่างแข็งแรงและมีความสุข

โลกของเรามีประชากรสูงอายุเยอะขึ้นทุกปี และตัวเลขนี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้คนมีอายุขัยยาวนานกว่าเดิม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2025 โลกจะมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 2 พันล้านคน หรือราว 20 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกทั้งหมด เพราะเหตุนี้หลายประเทศทั่วโลกจึงเริ่มทยอยก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ รวมถึงพัฒนาแผนการรับมือที่จะทำให้เมืองของตัวเองรองรับประชากรวัยชราได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งเมืองที่ตื่นตัวรับมือกับความท้าทายนี้ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลกคือ ‘ออสโล’ ประเทศนอร์เวย์ เมืองหลวงแห่งนี้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และส่งเสริมให้ทุกคนเติบโตอย่างมีความสุขได้อย่างไร คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปหาคำตอบกัน การเปลี่ยนเมืองให้เป็นมิตรกับประชากรสูงวัย “เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยคือ เมืองที่มีสภาพแวดล้อมครอบคลุมและเข้าถึงได้ ซึ่งส่งเสริมให้ประชากรมีอายุมากขึ้นได้อย่างแข็งแรงและมีสุขภาพดี” นี่คือคำนิยามของ ‘เมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย’ หรือ ‘Age-friendly City’ ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน ‘Action Plan for an Age-friendly City’ และ ‘Plan for Safe and Diversified Care of Older People’ […]

1 21 22 23 24 25 90

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.