Urban Tales
ย้อนเวลากลับสู่เรื่องราวในอดีต ตามไปดูต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งที่คุณควรรู้และเราอยากเล่า
ย้อนดูวิวัฒนาการ 139 ปี ‘ศาลยุติธรรม’ ส่อง ‘ดัชนีนิติรัฐ’ ไทยอยู่อันดับเท่าไรของโลก
การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกฎที่ทุกคนใช้ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง แต่กว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายที่มีมากมายหลายมาตราอย่างทุกวันนี้ เราจะพาไปย้อนดูประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ไล่เรียงมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการให้ทันกับยุคสมัยและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม จนกระทั่งกลายมาเป็นศาลยุติธรรมซึ่งครบรอบ 139 ปี ‘วันก่อตั้งศาลยุติธรรม’ ในวันที่ 21 เมษายนนี้เอง เราขอย้อนจอภาพสีซีเปียกลับไปในสมัยกรุงสุโขทัย เชื่อว่าหลายคนคงจินตนาการภาพไม่ออกว่า ในยุคที่ศาลยุติธรรมยังไม่เกิด แน่นอนยังไม่มีใครรู้จักคำว่าผู้พิพากษา ดังนั้นใครกันจะเป็นผู้ตัดสินคดีความ หากจำได้ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ยุคนั้นกษัตริย์เป็นผู้ทรงพระราชอำนาจชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎร โดยยึดหลัก ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ ของอินเดียอันเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมที่นับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธ ในยุคนั้นไทยเราเป็นเมืองพุทธ การใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์จึงอยู่ภายใต้หลักธรรมของการปกครองแบบพุทธศาสนา กฎหมายมีลักษณะเป็นจารีตประเพณี มีความคาบเกี่ยวกับศาสนา จึงไม่เน้นการลงโทษที่รุนแรงแต่จะเน้นการสั่งสอนให้กลับตัวเป็นคนดีดำรงตนอยู่ในศีลในธรรม ต่อมาในสมัยอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ยุคนั้นพราหมณ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งมีความขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ ตามมาด้วยแนวคิดว่ากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ในระบบกฎหมายเองก็มีการปรับปรุงให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการออกกฎเกณฑ์เพิ่มเติม เรียกว่า ‘ราชศาสตร์’ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่า ‘พระราชกำหนดบทพระอัยการ’ หรือ ‘พระราชกำหนดกฎหมาย’ ถึงอย่างนั้นกษัตริย์ก็ยังต้องออกกฎหมายที่สอดคล้องกับ ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ โดยมีหลัก ‘จตุรธรรม’ 4 ข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมะหรือศีลธรรม จุดมุ่งหมายของกฎหมายคือประโยชน์ของประชาชน และกษัตริย์ต้องใช้อำนาจทางกฎหมายบนพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม นอกจากนี้ หากใครได้ดูละครไทยรีเมกเรื่อง ‘วันทอง’ […]
กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว
ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน
Park พื้นที่พักผ่อน (เฉพาะชนชั้นสูง) ที่มีมานาน แต่ต้องประท้วงถึงจะได้เป็นสวนของสาธารณะ
รู้หรือไม่ ‘Park’ อาจไม่ใช่พื้นที่สาธารณะตั้งแต่แรก เมื่อความแตกต่างของชนชั้นกลายเป็นเส้นแบ่งความอิสระของการใช้พื้นที่
‘คลองสุเอซ’ คลองขุดเชื่อมทะเลกับทะเลฝีมือมนุษย์ที่ไม่ใช่สายแรกของโลก
ท่ามกลางเส้นทางการเดินเรือที่ปรากฏทั่วโลก ณ ปัจจุบัน รู้กันหรือไม่ว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งหมด แต่ยังมีเส้นทางการเดินเรือที่เกิดจากผลงานการรังสรรค์ของมนุษย์ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางธรรมชาติ มนุษย์ได้ทำการขุดคลองเพื่อเชื่อมโยงโลกของเราให้ใกล้ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในความยิ่งใหญ่นั้นคือเหตุการณ์ขุด ‘คลองสุเอซ’ ต้นคลอง หากนับความยิ่งใหญ่ของการสร้างเส้นทางเดินเรือแล้ว การขุดคลองสุเอซคือหนึ่งในเหตุการณ์ที่แสดงให้เราเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ในฐานะคลองขุดขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่อียิปต์ เพื่อเชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ ฝั่งทะเลแดง เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดช่องทางในการเดินทางข้ามทวีประหว่างยุโรปและเอเชีย แต่คลองสุเอซไม่ใช่คลองสายแรกที่เชื่อมทะเลเข้าด้วยกัน มีบันทึกว่าในปี 1804 นโปเลียนที่ 1 ของฝรั่งเศสมีความคิดที่จะขุดคลองเพื่อเชื่อมเส้นทางดังกล่าว เพราะค้นพบร่องรอยการสัญจรทางน้ำในยุคอียิปต์โบราณ เส้นทางดังกล่าวทอดจากอ่าวสุเอซบริเวณทะเลแดงสู่ทะเลสาบน้ำเค็มทางตอนเหนือ และเบี่ยงไปยังบริเวณปากแม่น้ำไนล์ เส้นทางดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ราว 1850 ปีก่อนคริสตกาล และมีชื่อว่า Canal of the Pharaohs หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Ancient Suez Canel ทว่าโครงการขุดคลองของนโปเลียนก็ต้องยกเลิกไปเมื่อมีการคำนวณว่าน้ำทะเลทั้งสองฝั่งต่างระดับกัน จนทีมผู้สร้างต้องพับโครงการลง เพราะคิดว่าจะไม่คุ้มทุนการลงทุน จนกระทั่ง แฟร์ดีน็อง เดอ เลสเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการขุดคลองสุเอซ หยิบโครงการดังกล่าวมาปัดฝุ่นอีกครั้ง โดยใช้คนงานชาวอียิปต์กว่า […]
‘กิ่งหว้า’ สัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารของชาวพม่า
ภาพของประชาชนชาวเมียนมาถือยอดอ่อน ‘ต้นหว้า’ โบกสะบัดไปมาในการประท้วงเผด็จการทหารที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงจากสังคมภายนอกอย่างเป็นวงกว้าง ดังนั้น คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้จะพาผู้อ่านไปหาคำตอบว่า ‘ต้นหว้า’ กับ ‘การเรียกร้องของชาวเมียนมา’ เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม
ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]
วิ่งวนที่ ‘วงเวียน’ การจราจรบนท้องถนนที่ปลอดภัยที่สุด
หากลองนึกภาพท้องถนนเมืองไทย เราอาจพบเห็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจราจรหลายรูปแบบ คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้ เลยพาไปทำความรู้จัก ‘วงเวียน’ ซึ่งในอดีตใช้สำหรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจร แต่ปัจจุบันถูกปรับมาเป็นสี่แยกที่เห็นกันอย่างแพร่หลาย ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1790 นั่นคือยุคแรกที่แนวคิดการสัญจรรถเป็นวงกลมถือกำเนิด โดย ‘Pierre L’Enfant’ สถาปนิกพ่วงตำแหน่งวิศวกร เขาเริ่มจากการสร้างต้นแบบในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา จนในปี 1905 ก็ได้ฟื้นฟูรูปแบบและพัฒนาจนกลายเป็นสี่แยกวงกลมแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ‘Columbus Circle’ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่า ณ มหานครนิวยอร์ก ก่อนจะถูกเรียกว่า ‘วงเวียน’ เต็มรูปแบบอย่างทุกวันนี้ หลักการพื้นฐานของวงเวียนคือการช่วยให้การจราจรที่อยู่ภายในหมุนเวียนได้อย่างลื่นไหล โดยไม่ต้องใช้สัญญาณไฟจราจร ซึ่งในวงเวียนอาจมีเลนภายในด้วย ยกตัวอย่างการใช้งานที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าระบบการจราจรที่นั่นส่วนใหญ่ แม้แต่จุดเปลี่ยนเส้นทางเล็กๆ ในเมือง มักจะใช้วงเวียนมากกว่าการใช้สัญญาณไฟจราจร หรือประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างจีน ก็มีสถานที่ชื่อดังอย่าง ‘วงเวียนหมิงจู่ (Mingzhu)’ ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ครบวงจรมากกว่าการให้รถยนต์สัญจรไปมา แต่ยังสามารถเดินบนสกายวอร์กเชื่อมไปยังศูนย์การค้าหรือตึกต่างๆ ของย่านการค้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องข้ามถนน ข้อมูลทางสถิติจากการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความปลอดภัยของวงเวียนและการควบคุมทางแยกแบบดั้งเดิม โดยสถาบันวิศวกรการขนส่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า วงเวียนที่ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จะปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนมากกว่าสัญลักษณ์ในการจราจรรูปแบบอื่นๆ เพราะอัตราการเร่งรถจะลดลงเหลือ 25 – 40 กม. เท่านั้น […]
ไขรหัสลับภาษามือ ‘I LOVE YOU’ จากจดหมายหนึ่งฉบับ ที่เป็นจุดเริ่มต้นทุกอย่าง
วันวาเลนไทน์นี้หากคุณอยากบอกรักใครสักคน แต่ไม่กล้าแสดงออก ขอให้ลองส่งอิโมจิ ‘🤟🏻’ ไปให้คนคนนั้นดูสิ! เพราะที่มาของมันไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ที่แปลว่ารัก แต่ยังเป็นการส่งความรู้สึกดีๆ ถึงกันอีกด้วย
‘หมอบรัดเลย์’ ผู้สร้างวัคซีนเข็มแรกของไทย
‘หมอบรัดเลย์’ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) หนึ่งในตัวละครบนหน้าประวัติศาสตร์ที่ออกมาโลดแล่นให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในหนังสือหรือบทละครโทรทัศน์ในฐานะบิดาแห่งวงการพิมพ์ไทยผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก แต่รู้หรือไม่ในฐานะแพทย์รักษาคนไข้เขาก็โดดเด่นไม่แพ้กัน
‘รถรางบางกอก’ อดีตเคยมี…ตอนนี้หายไปไหน
เรื่องราวของรถรางไฟฟ้าในอดีต ที่ครั้งนึงประเทศไทยเคยมีรางรถางไฟฟ้าขบวนแรกของเอเชีย
ย้อนรอยเรื่องราว ‘การพนัน’ ในสังคมไทย
หลังจากบ่อนที่ระยองและชลบุรีถูกพบว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโควิด-19 ตั้งแต่นั้นมาบนหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีแต่ข่าวจับบ่อนการพนันไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าคนไทยมีใจผูกพันกับกิจกรรมนันทนาการชนิดนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว
‘สะพานลอย’ แก้ปัญหาจราจรและความปลอดภัยจริงหรือไม่
สะพานสูงทรงแคบๆ ที่สร้างคร่อมขวางถนนให้คนเดินข้ามไปข้ามมา สิ่งก่อสร้างนี้เราเรียกว่า ‘สะพานลอย’ UrbanTales ครั้งนี้จะพาผู้อ่านนั่งไทม์แมชชีนไปดูว่า สะพานลอยเครื่องมือแก้ปัญหาจราจรและความปลอดภัยของไทยเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อไหร่กัน