Healthy City จำลองเมืองสุขภาพดีให้คนสุขภาพดีตามแบบฉบับ WHO

‘เมืองสุขภาพดี’ คือเมืองที่เอื้อให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการพื้นฐาน และเปิดโอกาสให้คนมีปฏิสัมพันธ์จากการทำกิจกรรมร่วมกัน แต่ปัจจุบันเมืองใหญ่จำนวนไม่น้อยมีสุขภาพย่ำแย่ลงเรื่อยๆ เนื่องจากคนจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่อื่นๆ ย้ายเข้ามาอยู่มากขึ้น ด้วยความหวังว่าจะมีชีวิตดีและก้าวหน้ามากกว่าเดิม  เมื่อคนส่วนใหญ่มารวมตัวกันอยู่ในเมือง ปัญหาที่ตามมาก็คือประชากรมีมากเกินไป ทำให้โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้อยู่อาศัยทุกคนได้ ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ที่อยู่อาศัยคับแคบ ความเหลื่อมล้ำด้านสาธารณสุข ระบบขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุม พื้นที่สาธารณะมีจำกัด มลพิษทางอากาศ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนสร้างผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของชาวเมืองได้ทั้งสิ้น ดังนั้น คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาจำลองเมืองสุขภาพดีตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพของทั้งเมืองและผู้คนอย่างถ้วนหน้า ไปติดตามพร้อมกันได้เลย  1. ดูแลสุขภาพจิตของผู้คน ปัญหาที่คนเมืองต้องพบเจอในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นความกดดันในการใช้ชีวิตและการทำงาน ความยากจน มลภาวะ โครงสร้างพื้นฐานที่ย่ำแย่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการป่วยทางจิตได้ ดังนั้น ผู้คนควรมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตมากขึ้น เช่น การเข้าถึงการปรึกษาหรือการรักษาผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะช่วยให้คนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่พวกเขาเจอในแต่ละวันและระบายความเครียดได้ 2. เพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียว การสร้างตึกและอาคารคือการเจริญเติบโตของเมืองที่ทำให้เมืองแออัด และทำให้มีพื้นที่ในการใช้ชีวิตน้อยลงเรื่อยๆ ไม่เพียงเท่านั้น เมืองที่หนาแน่นจนรู้สึกอึดอัดยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย เพราะฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวจึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและกิจกรรมทางกายของผู้คน รวมถึงเปิดโอกาสให้คนที่ใช้ชีวิตคนเดียวได้พบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด […]

สิทธิประกันสังคมของคนวัยทำงาน จ่ายเงินไปแล้วได้อะไรกลับมาบ้าง

คนทำงานส่วนใหญ่อาจคุ้นเคยกับคำว่า ‘ประกันสังคม’ กันอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้อย่างเราๆ ต้องจ่ายทุกเดือนเพื่อสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และรับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่พึงจะได้ ซึ่งสมาชิกที่มีรายได้อาจต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมสูงสุดถึง 750 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า การจ่ายเงินในแต่ละเดือนไม่ใช่แค่การรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย เช่น ค่ารักษาพยาบาลทั่วไปและสิทธิทำฟัน 900 บาทต่อปีเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคมยังครอบคลุมถึงกรณีอื่นๆ เช่น คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร หรือว่างงานด้วย วันนี้คอลัมน์ Curiocity จึงอยากอาสาพาทุกคนไปไขข้อข้องใจว่า ‘ประกันสังคม’ ที่เราถูกหักเงินไปทุกๆ เดือนคืออะไร จ่ายไปแล้วจะได้สิทธิประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง และในปี 2023 สิทธิประกันสังคมมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง จะได้วางแผนและเตรียมใช้สิทธิ์กันได้ทัน  ประกันสังคมคืออะไร ใครจำเป็นต้องจ่ายบ้าง ‘ประกันสังคม’ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานประกันสังคม (Social Security Office) ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เพื่อรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, […]

7 กลุ่มโรคร้ายที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด

เดือนแห่งการเริ่มต้นใหม่เวียนกลับมาอีกครั้ง เชื่อว่าหลายคนคงตั้ง New Year’s Resolution หรือเป้าหมายชีวิตที่อยากทำให้สำเร็จในปีกระต่ายเอาไว้บ้างแล้ว ทั้งเรื่องการงาน การเงิน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาพ  ‘สุขภาพ’ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่หลายคนอยากปฏิวัติให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะหากละเลยหรือปล่อยให้สุขภาพย่ำแย่ วันใดวันหนึ่งอาจล้มป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล แย่ที่สุดคือการเป็นโรคร้ายที่รุนแรงถึงชีวิต ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีปลอดโรคกันทั้งนั้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คอลัมน์ City By Numbers จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจว่า โรคใดบ้างที่คร่าชีวิตคนไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา และต้นตอสาเหตุของโรคต่างๆ มาจากอะไร เผื่อใครลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตให้รอบคอบมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคร้ายเหล่านี้ ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NESDB) ปี 2564 เปิดเผยว่า หากจำแนกตามอัตราเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน สามารถแบ่งสาเหตุการเสียชีวิตได้เป็น 7 กลุ่มโรคร้ายดังต่อไปนี้ 1) มะเร็งและเนื้องอกทุกชนิด 128.50 คน2) หลอดเลือดในสมอง 55.50 คน3) ปอดบวม 49.70 คน4) หัวใจขาดเลือด 33.50 […]

City Checkup ตรวจสุขภาพเมือง ประจำปี 2566

ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีใหม่ เราเชื่อว่าทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตไม่ต่างจากเดิมเท่าไรนัก แต่หนึ่งสิ่งที่ทุกคนมักแอดเข้าลิสต์ของ New Year’s Resolution คือเรื่องการดูแลตัวเอง ยิ่งหลังจากที่อยู่กับโรคระบาดมาเป็นเวลานาน สุขภาพร่างกายและจิตใจก็กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหันมาใส่ใจกันอย่างจริงจังมากขึ้น ว่าแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เราไม่ได้แค่อยากเตือนให้ทุกคนหาเวลาดูแลตัวเองอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังอยากชวนมาตรวจเช็กสุขภาพเมืองของเราไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะถ้าหากเมืองเจ็บป่วยแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ย่อมเกิดผลกระทบต่อเนื่องแน่นอน ซึ่งผู้ได้รับความเดือดร้อนก็หนีไม่พ้นชาวเมืองอย่างพวกเรานี่แหละ Urban Creature ขอรับบทเป็นคุณหมอมาตรวจสุขภาพโดยรวมของเมืองกัน ตอนนี้อวัยวะสำคัญยังใช้งานได้ดีหรือถึงเวลาแล้วที่ต้องเยียวยารักษา ต่อแถวเข้าคิวเช็กอัปใน คอลัมน์ Overview ประจำซีรีส์เดือนนี้ได้เลย เมืองอาจเป็นโรคหัวใจ เพราะพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หากพูดถึง ‘หัวใจของเมือง’ ก็คงหนีไม่พ้น ‘ผู้คน’ ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนให้เมืองดำเนินชีวิตต่อไปได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมืองอย่างการทำงานหนักจนแทบไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รวมถึงปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดบ่อยขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่โควิด-19 ที่ยังคงระบาดอยู่ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของผู้คน และอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเมือง รายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเผยว่า ในไตรมาสที่สามของปี 2565 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ถึง 275.4 เปอร์เซ็นต์ โดยโรคที่คนเป็นเยอะที่สุดคือโรคมือเท้าปาก ซึ่งมีผู้ป่วยมากถึง 77,349 ราย สูงกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 56 เท่า รองลงมาคือโรคไข้หวัดใหญ่ […]

ทัวร์ย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ แบบอินไซด์ทั้งสายกินสายเก๋าฉบับชาวสุนาเนี่ยน

ไม่กี่ปีมานี้ ‘สุขุมวิท-บางนา’ ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สุขุมวิทเป็นย่านธุรกิจ CBD (Central Business District) ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตทันสมัย และแหล่งรวมคาเฟ่ทุกสไตล์ตามซอกซอยต่างๆ หรือเมื่อขยับออกไปอีกนิดแถบชานเมืองอย่างบางนา ก็เต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนเก่า รวมทั้งศูนย์รวมงานอีเวนต์ที่ไบเทค บางนา ที่คึกคักอยู่ตลอดปี เพราะสุขุมวิท-บางนา มีขนาดที่ใหญ่มาก ไหนจะยังมีย่านรองอย่างเช่น ลาซาล พระโขนง อุดมสุข ปุณณวิถี ฯลฯ ที่ล้วนอัดแน่นไปด้วยสถานที่และเรื่องราวต่างๆ อีกเพียบ  สบโอกาสเปิดศักราชใหม่ คอลัมน์ Neighboroot ได้เจ้าบ้านย่านนี้อย่าง SUNAneighbormove แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ที่ตั้งใจสร้างคอมมูนิตี้ย่าน ‘สุนา’ (สุขุมวิท+บางนา) ให้เป็นที่รู้จักและขับเคลื่อนชุมชนให้สนุกกว่าเดิม มาเป็นผู้พาออกสำรวจและทำความรู้จักความพิเศษของย่านนี้มากขึ้น ผ่านสถานที่ต่างๆ แบบพอเรียกน้ำย่อย เพื่อช่วยปรับมุมมองที่มีต่อย่านนี้ใหม่ เพราะโซนสุนายังมีอะไรมากมายที่ชวนให้ค้นหา ทั้งเรื่องราววัฒนธรรมย่อย ร้านรวงอาหารรสเด็ด และธุรกิจของคนในย่านที่กำลังโตวันโตคืน เป็นมูฟเมนต์ใหม่ๆ ที่กำลังเติมชีวิตชีวาให้ย่านนี้มีสีสันยิ่งขึ้นกว่าที่เคย เริ่มต้นวันดีๆ ที่ ‘Roots’ ร้านกาแฟเมล็ดไทยที่ใส่ใจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ก่อนจะเริ่มต้นสำรวจย่านสุนา หากได้เครื่องดื่มเย็นๆ ปลุกความสดชื่นสักแก้วคงจะดีไม่น้อย พอดีกับที่ทางเพจ SUNA พาเรามาเริ่มต้นทริปที่ Roots […]

The Hope of Us สวมบทเป็นผู้รอดชีวิตใน The Last of Us และช่วยให้ผู้คนพ้นวิกฤตเชื้อรากลายพันธุ์

“มนุษย์นั้นทำสงครามกับเชื้อไวรัสมาทุกยุคสมัย แม้จะมีผู้คนที่ต้องสูญเสียชีวิตมากมาย แต่มนุษย์ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ”  แต่ในปี 2003 คือจุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง เพราะเชื้อราคอร์ไดเซป (Cordyceps) ได้ปนเปื้อนไปกับพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก เมื่อผู้คนบริโภคเข้าไปเชื้อราก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเสียการควบคุมและมีพฤติกรรมดุร้าย วิ่งเข้าโจมตีกัดกินคนอื่นๆ เพื่อหวังแพร่เชื้ออย่างไม่เลือกหน้า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจากร้อยคนเป็นอีกหลายล้านล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่นาน เกิดเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บ้านเมืองพังพินาศ มีเหตุการณ์นองเลือด มีเหตุจลาจล มีอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม รวมถึงการแย่งชิงอำนาจ ฯลฯ สงครามระหว่างเชื้อรากับมนุษย์ได้ทำให้ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนคืน บางอย่างดับสูญ บางคนก็สูญเสียคนรักและครอบครัว ทุกคนต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดท่ามกลางความโกลาหล กว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ก็ผ่านเวลาไป 20 ปี  คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้เราจึงขอสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิตในปี 2023 ที่อาศัยอยู่ใน Boston Quarantine Zone หรือพื้นที่กักกันผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อจากโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่มวลมนุษยชาติในโลกต้องพบเจอในเกมยอดนิยมที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อย่าง ‘The Last of Us’ ในเวลาที่ทุกฝ่ายกำลังหาทางออกของวิกฤตการณ์สำคัญครั้งนี้ เราในฐานะผู้รอดชีวิต จึงมองเห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปได้ จึงทำการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้ สร้างระบบคัดกรองที่เป็นมิตรกับทุกคน ‘Boston Quarantine Zone’ หรือ ‘Boston QZ’ […]

‘สถานีกลางบางซื่อ’ จากชุมทางสู่จุดเชื่อมขนส่งมวลชนที่มีชื่อใหม่ ‘กรุงเทพอภิวัฒน์’

ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยเดินทางไปมาเลเซียครั้งแรกช่วงปี 2559 รู้สึกประทับใจกับความเป็นระบบระเบียบของระบบขนส่งมวลชนในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระบบขนส่งมวลชนที่ว่าคือรถไฟฟ้าบนดินที่แผนผังและกระบวนการซื้อตั๋วนั้นเข้าใจง่าย และยิ่งประทับใจมากขึ้นเมื่อเดินทางไปต่อรถที่ KL Sentral หรือศูนย์กลางของระบบทั้งหลายทั้งปวง ใครจะเปลี่ยนสายรถไฟ ต่อรถไปสนามบิน หรือหารถบัสไปรัฐอื่นต้องมาลงที่นี่ บรรยากาศภายใน KL Sentral จึงไม่เคยว่างเว้นจากผู้คนที่เดินขวักไขว่กันไปมาราวกับมดงาน ภายในมีร้านอาหาร ร้านค้าให้ช้อปปิงรอเวลาพอประมาณ รวมถึงใครจะนัดเจอเพื่อนหรือนัดรับญาติที่มาจากต่างเมืองก็มากันที่นี่ หลังจากทริปนั้นผู้เขียนมีโอกาสได้กลับไปมาเลเซียอีก 2 ครั้งในช่วง 2 ปี และทุกครั้งก็ต้องมาเยือน KL Sentral เพื่อต่อรถรา  ที่เล่าเรื่องของ KL Sentral เพราะในตอนนี้กรุงเทพฯ ก็มีสถานที่แบบนั้นแล้วในชื่อของ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ หรือ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’ สถานีรถไฟหลักของกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อปี 2564 แทนสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่กำลังถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นยังพ่วงเป็นจุดเปลี่ยนสายของรถไฟฟ้าไปด้วย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งที่ค่อนไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ สถานีกลางบางซื่อเป็นประตูเปิดขึ้นไปยังจังหวัดปทุมธานี เส้นทางที่เปิดใช้งานแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้มที่มุ่งตรงไปยังหลักสี่ ดอนเมือง และแถวรังสิต ซึ่งในอนาคตทางการมีแผนจะขยายต่อไปให้ถึงอยุธยา  ส่วนทิศอื่นๆ เช่น ตะวันออก บางซื่อก็ขยายต่อไปถึงฉะเชิงเทราได้ ในขณะที่ตะวันตกไปต่อได้ถึงนนทบุรีและนครปฐม เรียกได้ว่าด้วยตำแหน่งที่ตั้งของสถานีกลางบางซื่อ […]

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

เปิดช่องโทรทัศน์ไทย รายการเด็กหายไปไหนหมด

เมื่อนึกถึงวันวานเก่าๆ บรรยากาศชวนให้นึกถึงช่วงเวลาตอนเด็กที่คุณแม่ถักเปียให้ในตอนเช้าระหว่างที่เรากำลังนั่งดูรายการเจ้าขุนทองก่อนไปโรงเรียน ส่วนตอนเย็นหลังเลิกเรียน เมื่อกลับบ้านมาเปิดโทรทัศน์ก็จะมีรายการเด็กสลับสับเปลี่ยนให้ดูทุกวัน หรือแม้แต่วันเสาร์อาทิตย์ที่ยอมตื่นมาดูรายการสนุกๆ แต่เช้า  พอนึกย้อนกลับไปแล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่า เด็กยุคนี้จะเคยดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์เหมือนที่เราเคยดูในวัยเด็กบ้างไหมนะ แต่เมื่อลองเปิดโทรทัศน์และเปลี่ยนช่องไปเรื่อยๆ กลับพบว่า รายการเด็กที่เคยมีอยู่เกือบทุกช่องหายไปแทบจะหมดแล้ว ไม่ใช่แค่รายการเก่าๆ เท่านั้นที่หายไป แต่รายการใหม่ก็แทบจะไม่มีให้เห็นเลย  คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมีน้อยลงเรื่อยๆ และในอนาคตรายการประเภทนี้ยังจำเป็นสำหรับประเทศไทยหรือไม่ เนื้อหารายการเด็กที่ไม่เหมือนเดิม หากพูดถึงรายการสำหรับเด็ก หลายคนอาจมองว่าช่องโทรทัศน์ของไทยมีการ์ตูนให้ดูเยอะอยู่แล้ว ทว่ารายการเด็กที่เรากำลังพูดถึงไม่ใช่แค่สื่อเพื่อความสนุกหรือความบันเทิงเท่านั้น แต่หมายถึงรายการที่แฝงไปด้วยความรู้รอบตัวมากมายที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่เด็ก  ตัดภาพมาที่รายการเด็กในตอนนี้ ถ้าไม่นับช่องการ์ตูนจากต่างประเทศ รายการอื่นๆ มักเน้นไปที่การแข่งขันโดยมีเด็กเป็นตัวหลักของรายการ เช่น การแข่งขันชิงรางวัลด้วยการร้องเพลงหรือเล่นเกม กลายเป็นว่ากลุ่มคนที่ดูรายการเหล่านี้กลับไม่ใช่เด็ก แต่เป็นผู้ใหญ่ที่อยากติดตามความน่ารักของเด็กๆ ที่ร่วมรายการแทน รายการเด็กทำกำไรได้ไม่ดี ในปี 2556 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีข้อกำหนดว่า ช่องโทรทัศน์ทุกช่องจะต้องมีรายการสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อการพัฒนาทั้งสติปัญญา อารมณ์ และสังคมของเด็กและเยาวชนอย่างน้อย 60 นาที ในช่วง 16.00 – 18.00 น. ของทุกวัน และ […]

Introvert’s City ถ้าเมืองนี้เป็นเมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองของเราออกแบบให้เข้ากับมนุษย์ ‘Introvert’ มากขึ้น เพื่อให้การท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ไม่สูบพลังชีวิต ต้องกลับมานอนติดห้องไปอีกหลายวัน จนหลายคนรู้สึกว่า เรานี่ช่างไม่เหมาะกับการออกไปข้างนอกซะเลย ทั้งที่ความจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้การออกจากบ้านของประชากร Introvert สูญเสียพลังงานมากกว่าชาว Extrovert นั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะเมืองของเราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้คำนึงถึงคนกลุ่มนี้เท่าไหร่นัก ทั้งที่ผลสำรวจของ The Myers-Briggs Company พบว่ามีผู้คนทั่วโลกมากถึง 56.8 เปอร์เซ็นต์เป็น Introvert ด้วยซ้ำ เพื่อให้การใช้ชีวิตในเมืองเป็นของทุกคน คอลัมน์ Urban Sketch ขออาสาออกแบบ ‘เมืองของมนุษย์อินโทรเวิร์ต’ ในรูปแบบของตัวเอง ที่ทำให้การออกจากบ้านของผู้คนกลุ่มนี้ไม่เป็นเรื่องยากจนเกินไป โดยเน้นที่การออกแบบพื้นที่ให้คำนึงถึงชาว Introvert มากขึ้น 01 | Private Zone in Public Space โดยปกติแล้ว พื้นที่สาธารณะหลายแห่งมักสร้างขึ้นเพื่อนำพาให้ผู้คนในสังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์กัน แต่ถ้าหากเราอยากใช้พื้นที่สาธารณะไปพร้อมๆ กับความเป็นส่วนตัวและไม่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นมากจนเกินไปล่ะ สิ่งนี้อาจเป็นเรื่องยากไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงขอหยิบเอาแนวคิด ‘Private Zone in Public Space’ ที่เป็นเหมือนหลุมหลบภัยเล็กๆ ในพื้นที่ใหญ่ๆ มาตอบโจทย์ชาว Introvert […]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

1 7 8 9 10 11 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.