New Year, Hit a New High เปิดโพยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 2023

ตั้งแต่ต้นปี 2022 อะไรๆ ก็ดูราคาแพงขึ้นไปหมด ตั้งแต่ราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด ทำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ผักสด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ค่าโดยสารสาธารณะ ไปถึงค่าไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 24 ปี สูงถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์  แค่ปีนี้ค่าครองชีพยังเพิ่มสูงขนาดนี้ ไม่อยากคิดเลยว่าปีหน้าจะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะขนาดยังไม่ทันก้าวขาขึ้นวันที่ 1 มกราคมอย่างเป็นทางการ ก็มีประกาศปรับราคาสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคและคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ากันบ้างแล้ว คอลัมน์ City by Numbers จึงขอ Spoiler Alert เปิดโพยค่าครองชีพในปี 2023 ที่ Urban Creature คัดเลือกและเรียงเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากมาให้ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางตั้งรับและวางแผนการเงินสำหรับปีหน้า เราจะได้ก้าวเข้าปีใหม่กันแบบสวยๆ ไม่ต้องมาหมุนเงินรัวๆ เพราะตั้งตัวกันไม่ทัน 📈 ดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปอาจรู้จักคำว่า ‘ดอกเบี้ย’ กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘ดอกเบี้ยนโยบาย’ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินคงเกิดคำถามในใจขึ้นว่า มันคืออะไรกันแน่ และการปรับเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง ดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ […]

เส้นทางสู่ความมั่นคงทางอาหารของภาคใต้ ให้ผู้คนกินดี อยู่ดี ชีวิตเป็นสุขจังฮู้

เมื่อพูดถึง ‘ภาคใต้’ หลายคนคงนึกถึงดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูมิประเทศที่ขนาบสองฝั่งด้วยทะเลอ่าวไทยและอันดามัน ภาคการเกษตรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างยางพาราและปาล์มมากที่สุดในไทย รวมไปถึงบรรดาอาหารปักษ์ใต้ที่ใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ เพราะรสชาติทั้งเผ็ด กลมกล่อม และจัดจ้านเป็นเอกลักษณ์แบบสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า เบื้องหลังความอุดมสมบูรณ์ที่ทุกคนเห็น ภาคใต้เองก็มีปัญหาใต้พรมอย่าง ‘วิกฤตขาดแคลนอาหาร’ และ ‘อาหารไม่ปลอดภัย’ ซ่อนอยู่มานานหลายปี ซึ่งทำให้ชาวใต้จำนวนมากประสบปัญหาสุขภาพระยะยาว ส่วนเด็กๆ ในพื้นที่ก็ยังเผชิญภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันที่กระทบต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของพวกเขาด้วย เพราะอยากให้ชาวใต้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายหลักของภาคใต้ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานท้องถิ่น นักวิชาการ โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านทางสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงได้ทำงานเพื่อพัฒนาและผลักดันประเด็นเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร’ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการขับเคลื่อน 14 จังหวัดแห่งแดนใต้สู่ ‘ภาคใต้แห่งความสุข’ และยังได้นวัตกรรมจาก Thailand Policy Lab และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และกำหนดนโยบายที่ตอบโจทย์ประชาชน Urban Creature ขอพาไปหาคำตอบว่า ภาคใต้มีแนวคิดและแนวทางขับเคลื่อนเรื่องระบบอาหารอย่างไร เพื่อให้ประชาชนอยู่ดี กินดี มีความสุข และเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้อย่างยั่งยืน […]

Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป  สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น  ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]

Snowfall in Thailand ถ้าหิมะตกในไทย จะมีอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง

ช่วงเวลานับถอยหลังสู่วันคริสต์มาสและวันปีใหม่แบบนี้ ภาพบรรยากาศฤดูหนาวในต่างประเทศก็เริ่มวนกลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง ภาพผู้คนสวมชุดกันหนาวท่ามกลางสภาพอากาศเย็นจัด และพื้นที่ของเมืองต่างๆ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะขาวโพลน ชวนให้เราจินตนาการไปไกลว่า ถ้าได้สัมผัสอากาศหนาวพร้อมกับหิมะแบบนั้นบ้างจะเป็นอย่างไร อากาศเย็นกำลังพัดผ่านมาให้ชาวไทยได้สัมผัสถึงฤดูหนาวในระยะสั้นกันพอดิบพอดี คอลัมน์ Urban Sketch ขอชวนทุกคนมาห่มผ้าหนาๆ หรือคว้าเสื้อกันหนาวมาใส่ แล้วจินตนาการไปพร้อมกันว่า ถ้าหากหิมะตกในประเทศไทยขึ้นมาจริงๆ จะมีเรื่องราวอะไรดีๆ เกิดขึ้นบ้าง และบรรยากาศจะแตกต่างจากการเป็นประเทศเมืองร้อนขนาดไหนกันนะ เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว สายเลือดนักกีฬาของคนไทยไม่เคยหายไปไหน หากประเทศของเราหนาวจนมีหิมะตก ก็อาจจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ที่จัดขึ้นในภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งหรือหิมะ เมื่อบ้านเราอากาศหนาว นักกีฬาของเราก็จะคุ้นชินกับสภาพอากาศ และมีพื้นที่ฝึกซ้อมกีฬาสำหรับการแข่งขันได้ เพราะขนาดการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็งเรายังครองแชมป์โลกมาหลายสมัย แม้จะอยู่ในประเทศร้อนก็ตาม ถ้าประเทศหนาวจนมีหิมะจนได้เข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว ไม่แน่ว่าก็อาจจะคว้าแชมป์มาหลายรายการก็ได้ งานวัดในรูปแบบ Winter Festival ชาวไทยอย่างเราผูกพันกับงานรื่นเริงในรูปแบบต่างๆ แต่ถ้าพูดถึงงานที่ทุกคนเข้าถึงได้คงหนีไม่พ้นงานวัด ที่มักจัดขึ้นตามวันสำคัญทางศาสนาหรือโอกาสพิเศษ ซึ่งงานวัดที่เราต่างคุ้นเคยมักจะมาพร้อมกับความเหนียวเหนอะหนะจากสภาพอากาศที่ทั้งร้อนอบอ้าว รวมถึงยังต้องเบียดเสียดผู้คนในงานจำนวนมากอีกด้วย หากเปลี่ยนงานวัดที่คุ้นเคยให้กลายเป็น Winter Festival ในอากาศหนาวๆ เราก็จะใช้เวลากับงานวัดรูปแบบนี้ได้นานขึ้น สนุกกับเครื่องเล่นได้มากกว่าเดิม แถมพ่อค้าแม่ค้าในงานยังจะมีรายได้มากกว่าเดิมจากการใช้เวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย กระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ฤดูหนาวถือเป็นช่วงไฮซีซันของการท่องเที่ยวในหลายๆ ประเทศ นักท่องเที่ยวจากประเทศร้อนที่อยากสัมผัสกับอากาศหนาวเย็นก็มักจะรอช่วงนี้เพื่อไปเที่ยวและทำกิจกรรมที่ไม่เคยสัมผัสในประเทศตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้นค่อนข้างต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหนาวในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีหรือญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นถ้าเราหนาวจนมีหิมะ ก็สามารถดึงมาเป็นจุดเด่นในการจูงใจชาวต่างชาติเข้ามาพักผ่อนและท่องเที่ยวในประเทศได้ด้วย แฟชั่นฤดูหนาว สิ่งที่ทุกคนรอคอยเมื่อมีลมหนาวพัดผ่านมาคือ […]

ทำนายที่ดินกรุงเทพฯ สุดฮอตปี 2566 ย่านไหนตัวตึง ราคาจะพุ่งขึ้นในอนาคต

ในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ไม่เพียงแค่เรื่องค่าครองชีพที่พุ่งสูง แต่เรื่องที่อยู่อาศัยในเมืองไทยอย่างอสังหาริมทรัพย์ก็มีมูลค่าเติบโตไม่แพ้กัน โดยเฉพาะราคาที่ดินในเมืองหลวงที่นับวันมีแต่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ด้วยปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ ส่งผลให้ 5 ย่านในกรุงเทพฯ มีราคาที่ดินสูงขึ้นในอนาคต สำหรับย่านที่ได้รับรางวัลที่ 1 นั้น เป็นพื้นที่สุดฮอตมีแต่คนอยากลงทุน ได้แก่ โซนถนนสีลม ถนนเพลินจิต ถนนวิทยุ และถนนพระรามที่ 1 ตรงบริเวณหน้าสยามสแควร์ไปจนถนนเพลินจิต มีราคาสูงสุด 1,000,000 บาท/ตารางวา นับว่าเป็นราคาที่ดินแพงที่สุดในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ถนนสุขุมวิท ราคา 750,000 บาท/ตารางวา ถนนรัชดาภิเษก ราคา 450,000 บาท/ตารางวา ถนนเพชรบุรี ราคา 300,000 บาท/ตารางวา และถนนพหลโยธิน ราคา 250,000 บาท/ตารางวา ข้อมูลจากกองประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ เผยข้อมูลราคาที่ดินกรุงเทพฯ ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มเติบโตในปี 2566 มากไปกว่านั้น กรมธนารักษ์ยังรายงานอีกว่า ราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566 – 2569 ในภาพรวมทั่วประเทศปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์ […]

สัมผัสอีกมุมของ อโศก ซุกซ่อนความสงบในย่านที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว

พูดถึงชื่อย่าน ‘อโศก’ เดาว่าภาพในหัวของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นภาพเมืองและผู้คนที่พลุกพล่าน โดยเฉพาะถนนอโศกมนตรีซึ่งเป็นถนนสายหลัก ไปเมื่อไหร่จะได้เห็นภาพการจราจรที่คึกคักเสมอ อโศกถือเป็นย่านฮิตของคนทำงานและนักท่องเที่ยว มีบริษัทใหญ่ๆ และร้านรวงมากมายมาตั้งอาคารสำนักงานที่ย่านนี้และไม่เคยย้ายหนีไปไหน อาจเพราะช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ ย่านสุขุมวิทเคยเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ย่านที่อยู่ใกล้กันอย่างอโศกจึงได้รับอิทธิพลมาอย่างไม่อาจปฏิเสธ จนเกิดเป็นแหล่งรวมอาคารสำนักงาน ร้านอาหาร และสถานที่แฮงเอาต์ของคนกลางคืนมากมาย ย่านอโศกยังขึ้นชื่อเรื่องการเป็นย่านที่คอนโดมิเนียมเยอะ ด้วยอาคารสำนักงานของออฟฟิศหลายแห่งมากระจุกตัวอยู่ในย่าน ประกอบกับเป็นโลเคชั่น Interchange ของรถไฟฟ้า BTS สถานีอโศก และ รถไฟใต้ดิน MRT สถานีสุขุมวิท ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทาง ย่านอโศกจึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่ขยันมาปลูกคอนโดฯ ในย่านกันอย่างคึกคัก แต่สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ โลเคชั่นใจกลางเมืองอันพลุกพล่าน ย่านอโศกยังมีด้านสงบเงียบที่เหมาะจะใช้เวลาพักผ่อนในวันสบายๆ ได้อย่างมีคุณภาพ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ เราจึงอยากชวนลัดเลาะเข้าไปในย่านอโศก พาทุกคนไปสำรวจแหล่งเช็กอินที่เป็น Hidden Gems และวิถีชีวิตปกติธรรมดาของชาวอโศกที่อาจไม่เคยเห็น  จิบม็อกเทลยามเย็นในบาร์ลับสไตล์ฮาวาย Calm Kraam บนชั้นสองของโรงแรม Tints of Blue Residence ในซอยสุขุมวิท 27 มีบาร์ลับซ่อนอยู่ จะใช้คำว่าบาร์ลับก็ไม่ถูก เพราะ Calm Kraam […]

คนไทยหมดเงินไปเท่าไหร่ เพื่อแลกความมั่นใจกับคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’

บ้านหลังนั้นมีตุ่มสีดินแดงสี่ใบไว้เก็บน้ำฝนสำหรับดื่ม และในตู้เย็นมีขันเงินใส่น้ำฝนแช่ไว้ดื่มเย็นชื่นใจ มาถึงวันนี้น้ำฝนฟรีจากฟ้ามีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มขึ้น การดื่มเข้าไปมากๆ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย การซื้อน้ำดื่มจากขวดบรรจุภัณฑ์ย่อมให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้บ้านเรามีน้ำดื่มที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามร้านขายของชำ จำนวนหลายสิบยี่ห้อให้เลือกดื่มตามราคา และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มนุษย์ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนต้องดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences : NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine : IOM) ให้คำแนะนำสำหรับการดื่มน้ำไว้ว่า – ผู้หญิง ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร หรือประมาณ 11.5 แก้ว– ผู้ชาย ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15.5 แก้ว ในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเรื่องน้ำสะอาดและค่าครองชีพ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปดูกันว่า ในดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ คนไทยหมดเงินกันไปเท่าไหร่กับการแลกความมั่นใจในคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’ ราคาของการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สมมติว่าในหนึ่งวันคนเราต้องดื่มน้ำประมาณ […]

ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี Nevermore Academy ใน Wednesday เชื่อมสัมพันธ์ชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho

สวัสดีชาว Outcast และชาวเมือง Jericho ทั้งหลาย นับตั้งแต่ปี 1791 ที่ Nevermore Academy ของเราได้ก่อตั้งขึ้นในเมือง Jericho เพื่อให้การศึกษากับพวก Outcast คนพิลึก และสัตว์ประหลาด เวลาก็ผ่านล่วงเลยมากว่า 231 ปีแล้ว แต่ทำอย่างไรความสัมพันธ์ระหว่างชาว Outcast กับชาวเมือง Jericho ก็ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นสักที ด้วยเหตุนี้ Urban Creature เลยขอทำการอิเซไกในโลก Wednesday ซีรีส์จาก Netflix ที่ฮิตกันทั่วบ้านทั่วเมือง ด้วยการสวมบทบาทเป็นครูใหญ่แห่ง Nevermore Academy ออกแบบหลักสูตรวิชาเสรี 6 วิชา ที่เปิดให้ชาวเมืองและเด็กจากโรงเรียน Jericho School ได้มีโอกาสเลือกลงเรียนตามความสนใจ เปิดโอกาสให้ชาวเมืองได้ทำความรู้จักฝั่ง Outcast มากขึ้น เราหวังว่าหลักสูตรนี้จะทำให้ Jericho กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรกับทุกคนอย่างแท้จริง เพื่อให้ตรงกับวิสัยทัศน์ของครูใหญ่ ‘ลาริสซา วีมส์’ ที่ว่า “Nevermore is a […]

ผู้หญิงอิหร่านนำประท้วงใหญ่ในรอบ 40 ปี เรียกร้องสิทธิสตรี เสรีภาพ และขับไล่เผด็จการ

ศตวรรษที่ 21 ถือเป็นยุคที่โลกล้ำหน้าแบบสุดขีด ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เทคโนโลยี ไปจนถึงวงการอวกาศที่ไปไกลถึงขั้นค้นพบดาวดวงใหม่นอกระบบสุริยจักรวาล แต่ขณะเดียวกัน โลกของเราก็ยังมีปัญหาเดิมๆ ที่พัฒนาช้ามากๆ หรือไม่ถูกแก้ไขสักที โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้ทั่วโลกมีการประท้วงเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมออกมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ เหมือนเมื่อหลายร้อยปีก่อน หนึ่งในมูฟเมนต์ที่น่าจับตามองและได้รับการพูดถึงมากที่สุดในปีนี้คือ ‘การประท้วงในประเทศอิหร่าน’ ที่ประชาชนทั่วประเทศต่างลงถนนประท้วงเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้หญิง หลังเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาววัย 22 ปี ที่ถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมตัวเพียงเพราะเธอสวมฮิญาบคลุมศีรษะไม่มิดชิดมากพอ นอกจากจะเรียกร้องความยุติธรรม การประท้วงครั้งนี้ยังนำไปสู่การประท้วงเชิงสัญลักษณ์ของสตรีอิหร่าน ทั้งตัดผม เผาฮิญาบ ชูนิ้วกลางใส่รูปผู้นำสูงสุด เป็นการแสดงออกถึงความโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นให้เห็นมาก่อนในรัฐอิสลามแห่งนี้  มากไปกว่านั้น การใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐและกฎหมายที่กดขี่เอาเปรียบผู้หญิงมาอย่างยาวนาน ยังนำไปสู่การต่อต้านรัฐบาลเผด็จการที่อาจเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมในสังคมอิหร่านไปตลอดกาล ชนวนประท้วงครั้งใหญ่ในอิหร่าน เริ่มกันที่สาเหตุของการลุกฮือครั้งนี้ ด้วยการย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่ ‘มาห์ซา อามินี’ หญิงสาวชาวเคิร์ดวัย 22 ปี ถูกกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกว่า ‘ตำรวจศีลธรรม (Morality Police)’ จับกุมตัวในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

‘ทำไมบอลไทยไม่ได้ไปบอลโลก’ คำถามยอดฮิตที่ไม่ว่านานแค่ไหนก็ยังถามได้เสมอ

‘ฟุตบอล’ น่าจะเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เราเชื่อว่าช่วงวัยเด็กของใครๆ หลายคน น่าจะเคยมีโมเมนต์ที่วิ่งไปจองสนามฟุตบอลตอนกลางวันหรือเลิกเรียน แล้วเตะเจ้าลูกกลมๆ นี้จนเหงื่อโชกตัวมอมแมม หรือต่อให้ดูฟุตบอลไม่เป็น ไม่เข้าใจกติกา หรือไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับวงการลูกหนังเลย อย่างน้อยๆ ก็ต้องเคยได้ยินชื่อของสโมสรดังจากต่างประเทศหรือนักเตะในตำนานที่คนไทยหลายคนปวารณาตัวเป็นแฟนคลับเดนตายและติดตามการแข่งขันทุกแมตช์แน่นอน นอกจากนี้ การที่มีรายการแข่งขัน The Match Bangkok Century Cup 2022 ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล ที่ไทยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และปัญหาสารพัดของฟุตบอลโลก 2022 ที่เริ่มตั้งแต่ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่อีนุงตุงนังสุดๆ และอีกมากมายปัญหาที่ตามมา ทว่าสุดท้ายแล้วเสียงเฮที่ดังลั่นตามบ้านเรือน วงเหล้า และร้านรวงต่างๆ ในเวลาที่บอลโลกถ่ายทอดสด ก็เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคนไทยสนใจกีฬาประเภทนี้ขนาดไหน ทว่าในขณะเดียวกันเราก็อดสงสัยตามไม่ได้ว่า ในช่วงเวลาที่กีฬาประเภทอื่นของบ้านเราสามารถไปไกลถึงระดับโลก แต่กับฟุตบอลไทยที่แม้ว่าจะมีเพอร์ฟอร์แมนซ์เยี่ยมยอดในหลายการแข่งขันระดับอาเซียน กลับไม่เคยไปได้ไกลกว่านี้สักที ไม่ว่าจะผ่านพ้นไปกี่ปี คนไทยยังคงวนเวียนอยู่กับคำถามเดิมๆ ที่ว่า ‘ทำไมบอลไทยถึงไม่ได้ไปบอลโลก’ คอลัมน์ Curiocity ขออาศัยช่วงบอลโลกฟีเวอร์นี้ชวนไปหาคำตอบว่า ปัจจัยอะไรที่ทำให้ไทยยังไม่สามารถไปถึงการแข่งขันระดับโลกได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่แค่เหตุผลที่นักกีฬาเราไม่เก่งหรือไม่มีความสามารถแน่นอน เส้นทางไม่ชัดเจน โมเดลไม่ไกลพอ  ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน เยาวชนก็เป็นรากฐานสำคัญของการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาหลักๆ ที่เห็นอยู่บ่อยครั้งมักเป็นเรื่องของการสนับสนุนจากผู้ปกครอง เด็กไทยหลายคนชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลอยู่แล้ว เพียงแต่อาจไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถึงแม้ว่าเส้นทางอาชีพนักกีฬาในตอนนี้จะไม่ได้ลำบากเท่ากับเมื่อก่อน แต่ผู้ปกครองหลายคนยังมองไม่เห็นภาพว่าลูกๆ […]

จัดอันดับจุดเช็กอิน ‘รถติด’ ในกรุงเทพฯ

ถนนกรุงเทพฯ ครั้งหนึ่งเคยขึ้นชื่อเรื่องรถติดที่สุดในโลกมาแล้ว ไม่ว่าใครก็ปวดใจหากอยู่ในสถานการณ์ติดไฟแดงบนถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนถนนไปทั้งหมดเฉลี่ย 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเต็มเลยทีเดียว ถนนกรุงเทพฯ ทั้งจราจรติดขัดและเสียเวลารอนาน จึงไม่แปลกใจถ้าจะมีคนหัวร้อนกับรถติดบนถนน แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะระบายความอัดอั้นในใจก็คงมีแค่กดเช็กอินสถานที่และแชร์ความรู้สึกออกไปผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และแน่นอนว่า ถนนที่เป็นขวัญใจมหาชนที่เจอรถติด ได้แก่… ‘ถนนลาดพร้าว’ กับประโยคที่ว่า ‘รถติดนรกแตก แดงชาตินี้ เขียวชาติหน้า’ รวมจำนวนคนเช็กอิน ‘รถติดถนนลาดพร้าว’ จาก Facebook ทั้งหมดประมาณ 92,000 ครั้ง รองลงมาเป็นถนนพระราม 2 ทางด่วนพระราม 9 ถนนเพชรเกษม และถนนประชาอุทิศ 9 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พ.ย. 2565) ซึ่งสาเหตุที่ถนนเหล่านี้รถติดจนคนต้องพูดถึง เป็นเพราะอะไรตามไปหาคำตอบกัน  ถนนเส้นหลักเส้นเดียว เชื่อมหลายย่าน  สาเหตุที่ถนนดังกล่าวขึ้นชื่อเรื่องรถติดสุดเรื้อรัง ส่วนใหญ่มีลักษณะถนนเป็นเส้นวิ่งตรงยาวๆ ทำหน้าที่เป็นเส้นหลักเพียงเส้นเดียวที่เชื่อมต่อย่านอื่นๆ […]

1 8 9 10 11 12 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.