ป่าคอนกรีตในเมืองกรุง ใครว่าไม่สวย

กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ที่ผู้อาศัยอยู่ส่วนใหญ่ ต่างบอกว่าเป็นเมืองที่วุ่นวายและแออัด การเปลี่ยนแปลงไปของบ้านเมืองเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อโลกวิวัฒนาเดินหน้าต่อไป สรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง …..จากวิถีชีวิตของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในแนวราบ เริ่มเปลี่ยนไปเป็นแนวดิ่ง จากที่อยู่กันเป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดียว กลายเป็นตึกสูงลิ่วเสียดฟ้า ใช้ชีวิตอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากขึ้น มีผนังกั้นเป็นห้องๆ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ลดน้อยลงไปทุกที ความเหนื่อยล้าและอ่อนแรงทำให้เราเกียจคร้านที่จะพาตัวเองออกไปที่ไหนไกลๆ บางครั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาโรคกลัวการเข้าสังคม หรือโรคซึมเศร้ามากขึ้น …..เราต่างเรียกร้องหาความสุข หลายคนเรียกร้องให้มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นเพื่อพักผ่อนหย่อนกายา ต้องรอวันหยุดหรือเวลาว่างเพื่อออกไปชมวิวสวยๆข้างนอกเมืองนั่น แต่หารู้ไม่ ว่าป่าคอนกรีตที่เต็มไปด้วยตึกสูงเนี่ย ก็เป็นวิวที่ใช้พักผ่อนหย่อนหัวใจได้เหมือนกัน ยังไงหนะเหรอ คุณเคยเหม่อมองฟ้าในเมืองบ้างหรือเปล่าหละ ปล่อยให้สมองได้พักผ่อนจากสิ่งต่างๆรอบกาย ด้วยการเก็บสมาร์ทโฟนไว้ในกระเป๋า เปิดเพลย์ลิสต์เพลงโปรดของตัวเองคลอไว้ เสมือนว่าโลกทั้งใบนี้ มีแค่ตัวเราเองเท่านั้น เอาหละ ถ้าพร้อมแล้ว ปล่อยหัวใจ ให้ได้ไปชมวิวเมืองกรุงเทพด้วยกันเลย . แค่เปลี่ยนมุมมอง …..เราชอบขึ้นไปบนดาดฟ้าสักที่ แล้วชมวิวและทิวตึกจากมุมนั้น จ้องมองอยู่นานพอควร ไม่ได้มองจริงๆหรอก อาจค่อนไปทางเหม่อซะมากกว่า บนตึกสูงๆอากาศดีมากเลยนะ แตกต่างไปจากทุกวันที่เคยใช้ชีวิตข้างล่างนั่น กรุงเทพฯยิ่งถ้าเป็นตอนเช้าบรรยากาศดีมาก มีทั้งเสียงนกร้อง เสียงเพลงจากตึกข้างๆ เสียงเคาะเหล็กและตอกเสาดังอึกทึกมาจากระแวกนั้นบริเวณที่เป็นเขตก่อสร้าง เสียงเด็กน้อยเจื้อยแจ้วดังมาจากโรงเรียนอนุบาลแถวๆนั้น หรือจะเป็นคุณลุงที่นั่งจิบกาแฟอยู่ บางคนกำลังมุ่งหน้าไปทำงานในตอนเช้า บางคนก็ออกมารดน้ำต้นไม้ เรายืนนิ่งๆและซึมซับบรรยากาศ ทุกชีวิตดำเนินไปอย่างเนิบช้า ความไม่เร่งรีบท่ามกลางความเร่งรีบ […]

Singing in the Rain : ภาพคนเมืองกับการใช้ชีวิตอยู่กับฝน

ฤดูกาลมักเปลี่ยนผันตามกาลเวลาอยู่เสมอ ในขณะที่เรารู้สึกคุ้นเคยกับวัฏจักรนี้ ในขณะที่ใครหลายคนมีฤดูกาลที่รักที่ชอบแตกต่างกันไป และในขณะที่ตอนนี้เอง เป็นช่วงเวลาของฤดูฝน หากการเปียกฝนบ้าง ทั้งที่เต็มใจหรือไม่ก็ตาม อาจทำให้รู้สึกสนุกไปกับมันในบางทีก็เป็นได้

ฤาประชากรจะล้นโลกจริง?

เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งได้มีโอกาสเห็นตัวอย่างหนังเรื่องใหม่ของพ่อหนุ่มดาวอังคาร อย่าง Matt Demon แต่คราวนี้เขาไม่ได้ไปดาวอังคารแต่อย่างใด อย่างกลับกลายเป็น พ่อหนุ่มตัวจิ๋ว แห่งโลกอนาคต ตามท้องเรื่องหนังแนววิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นด้วยการโปรยประเด็นเอาไว้เป็นโจทย์ของหนังว่าจะเป็นอย่างไร ในโลกอนาคตที่ประชากรล้นโลก ในภาพยนตร์เรื่อง Downsizing เมื่อคนมันล้น ก็ย่อส่วนมันซะเลย พอเห็นแล้วก็รู้สึกว่า อืม น่าสนใจ เรื่องการย่อส่วนมนุษย์ในหนังไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร อย่างเช่น Inner Space ในปี 1987, Ant man, Honey! I shrunk the kids หรือแม้แต่ โดราเอมอน ก็มีไฟฉายย่อส่วนเช่นกัน ดังนั้นความน่าสนใจไม่ได้อยู่ที่การขยายหรือย่อส่วนมนุษย์ แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกสะดุดใจ และเกิดความสนใจขึ้นมา คือ ที่มาของปัญหาซึ่งไปพ้องกับภาพยนตร์ฟอร์มไม่ได้ยักษ์ใหญ่อะไรเรื่องหนึ่ง แต่ก็เรียกความสนใจได้ไม่น้อยในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ ใช่ เรากำลังพูดถึง What happened to Monday แม้ว่าหนังจะไม่ได้เป็นที่ประทับใจอะไรมากนัก แต่ก็เรียกความบันเทิงจากกลุ่มคนดูบางส่วนได้ไม่น้อย แต่ที่ต้องยอมรับอย่างหนึ่ง คือ พล็อตของหนังน่าสนใจดี โดยการหยิบยกเอาประเด็นแห่งโลกอนาคตที่มีประชากรล้นโลกจนรัฐบาลต้องออกนโยบายให้มีลูกได้เพียงครอบครัวละหนึ่งคนเท่านั้น แต่เมื่อครอบครัวหนึ่งได้ให้กำเนิดเด็กแฝดหญิงถึง 7 คน การซ่อนสาวทั้ง […]

รออีกร้อยปี หรือ พรุ่งนี้ก็มา ? จากล้ำสมัยเป็นร่วมสมัย เมื่อพล็อตหนัง sci-fi กลายมาเป็นชีวิตประจำวัน

ครั้งหนึ่งในอดีต สมัยที่เรายังใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำหรือในกระท่อมที่สร้างขึ้นง่าย ๆ จากไม้และใบฟาง เมื่อเราหิว ทางเลือกเดียวที่เรามีก็คือการเสี่ยงชีวิตออกจากบ้านเพื่อไปหาอาหารในป่า อาจเป็นการล่าสัตว์หรือขุดหาพืชผักกินประทังชีวิต เมื่อมีกิน ก็ต้องกินจนอิ่มท้องที่สุด เพราะเราไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าเราจะสามารถหาอาหารได้ในการหิวครั้งต่อไป

ออฟฟิศสุดเจ๋งจากทั่วโลก ถ้าได้นั่งสักครั้งจะตั้งใจทำงาน

จากหลายงานวิจัยพบว่า บรรยากาศและสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในออฟฟิศ และความสุขของพนักงานก็เป็นสิ่งที่สำคัญต่อองค์กร หลายบริษัททั่วโลกโดยเฉพาะบริษัทที่ต้องการให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียดีๆ ก็ต่างพากันหันมาตกแต่งและทำให้ออฟฟิศเป็นมากกว่าออฟฟิศ ไปดูกันดีกว่าว่ามีออฟฟิศไหนบ้างที่ทำให้เราอยากไปนั่งทำงานจนตัวสั่น Airbnb – San Francisco, USA Airbnb เป็นบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับที่พัก คอนเซปท์หลักในการออกแบบออฟฟิศนี้ก็คือ อยากให้พนักงานได้มีบรรยากาศการทำงานที่สบายๆ เหมือนนั่งทำงานอยู่บ้าน พนักงานที่นี่จะเลือกนั่งทำงานตรงไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นห้องที่เป็นเหมือนห้องนั่งเล่นที่บ้าน หรือใครชอบความสงบ จะแอบไปนั่งเงียบๆ คนเดียวก็ไม่มีใครว่า ส่วนห้องประชุมของที่นี่จะถูกตกแต่งตามธีมบ้านพักที่อยู่บนเวบไซต์ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งคุยงานอยู่ที่บ้าน และที่สำคัญใครง่วงก็ไม่ต้องแอบงีบ เพราะที่นี่เขามีที่ให้พนักงานได้พักสายตากันด้วยนะ นอกจากนี้ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันตั้งแต่ห้องคุยโทรศัพท์ ห้องสมุด ไปจนถึงห้องครัวที่มีห้องอาหารขนาดใหญ่ที่พนักงานทุกคนสามารถไปใช้บริการกันได้ Lego – Billund, Denmark หัวใจในการออกแบบออฟฟิศของ Lego ก็คือ ‘ความสนุก จิตนาการ และความคิดสร้างสรรค์’ บริษัทนี้ไม่เพียงแต่สร้างสรรค์ผลงานเพื่อสร้างความสนุกให้กับผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ยังสร้างบรรยากาศภายในออฟฟิศที่เพิ่มความสนุกให้กับพนักงานของเขาอีกด้วย อย่างที่รู้ๆ กันว่า Lego เป็นบริษัทของเล่น สิ่งที่ออฟฟิศนี้ขาดไม่ได้นั่นก็คือ ของเล่น ที่ให้พนักงานได้ทำงานไปเล่นไป Work hard, play harder อะไรทำนองนั้น ทำให้พนักงานได้ผ่อนคลายจากการทำงานเครียดๆ ภายในตกแต่งด้วยสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ของ Lego […]

พระเอกในวันวานกับบทบาทที่เปลี่ยนไป Wow-space ในเมืองกรุงกับวิถีชีวิตที่ไม่เคยหยุดเปลี่ยน

หากย้อนถอยหลังกลับไปเมื่อ 20-30 ปีก่อน ศูนย์กลางมนุษย์วัยรุ่นเมืองกรุงคงจะหนีไม่พ้นกระจุกตัวอยู่ในย่านสยามสแควร์ ทั้งในเรื่องของการคมนาคม ตัวเลือกของสถานที่นัดพบ ศูนย์การค้ารูปแบบใหม่เอี่ยม ปัจจัยเรื่องของ trend และ fashion และปัจจัยอีกหลายอย่างที่ทำให้พื้นที่ตรงนี้เป็นที่รวมพลของคนมากมายในยุคนั้น

พฤติกรรมสุดยี้! เลี่ยงได้ เมืองน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ

“ฉันเบื่อชีวิตในเมือง” “อยากย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด” “อยากกลับบ้านนอก” เราเชื่ออย่างมากเลยว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เหล่าคนเมืองมีความคิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง “คนเมือง” ด้วยกันเองนี่แหละ การเดินทางในเมือง เราต้องเจอกับเรื่องราวที่ชวนให้หงุดหงิดใจอยู่ไม่น้อย และส่วนใหญ่ก็เกิดจากพฤติกรรมของคนที่มันทั้งน่าหงุดหงิดและสร้างปัญหาให้คนอื่น ลองมาดูกันว่าพฤติกรรมของคนเมืองที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองของเราไม่น่าอยู่มันมีอะไรบ้าง และตัวคุณเองเคยทำพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่ 1. เสานี้ของข้า เสาหน้าเลยน้อง พฤติกรรม : ยืนพิงเสา ยืนกอดเสา ถือเป็นปัญหาระดับชาติของคนที่ต้องใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน กับพฤติกรรมของคนเหล่านี้ที่เป็นพวกกระดูกสันหลังไม่แข็งแรง ทั้งๆ ที่เสาบนรถไฟฟ้าเขามีไว้ให้จับ ไม่ใช่ให้พิง ป้ายเตือนก็มี แต่คนเหล่านี้เขาสนใจกันที่ไหนล่ะ ทั้งพิง ทั้งกอด บางคนหนักมากๆ ก็ถึงขั้นพิงทับมือคนที่จับเสาอยู่ก็มี ถ้าคนบนรถโล่งๆ จะพิงก็พิงไปเถอะค่ะ ไม่ได้เป็นปัญหากับใครแน่นอน แต่ในชั่วโมงเร่งด่วนที่คนอัดกันแน่นเป็นปลากระป๋องเนี่ย แบ่งเสาให้เพื่อนร่วมทางเถอะนะคะ ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้าคุณพิงเสาคุณได้ประโยชน์คนเดียว แต่ถ้าให้คนอื่นจับเสามีคนได้ประโยชน์ 5 – 6 คนแน่นอน 2. ชิดในไม่เป็น เว้นที่ไว้เตะบอล พฤติกรรม : ยืนขวางอยู่หน้าประตู ไม่ยอมชิดใน อีกหนึ่งพฤติกรรมที่สร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ที่ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน ไม่แพ้เรื่องพิงเสา เพราะการกระทำแบบนี้มันส่งผลกระทบต่อผู้ร่วมทางคนอื่นเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาเร่งด่วนโดยเพาะตอนเช้าที่ใครๆ ก็แห่กันมาใช้บริการรถไฟฟ้า […]

กรุงเทพฯ เมืองรถติด? หลากหลายสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

รถติดสำหรับคนกรุงเทพฯ ไม่ได้เป็นเพียงปัญหา แต่มันคือวิถีชีวิต เท่าที่จำความกันได้ ตั้งแต่เมืองเริ่มพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ คนกรุงเทพฯ ไม่เคยต้องหยุดเผชิญกับปัญหาทางการจราจรเลย แม้ว่าเราจะมีทางเลือกในการเดินทางเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน ก็ยังดูเหมือนว่าเราจะไม่มีวันแก้ไขปัญหาอันเป็นอมตะนี้ได้ สำหรับปัญหารถติด หากมองดีๆ แล้ว พวกเราไม่สามารถยกเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งขึ้นมา และพิจารณาเพื่อแก้ปัญหากันตรงๆ เพราะที่มาของปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครนั้นมีมากมายและเกี่ยวพันกันอย่างซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นการวางผังเมืองที่ไม่เป็นไปตามความเหมาะสมและขาดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ดำเนินการตามแผนงานที่มีประสิทธิภาพ และสาเหตุย่อยๆ อย่างการบริหารเวลาของสัญญาณไฟจราจรที่ไม่สอดคล้องกับภาพรวมการจราจรของทั้งเมือง ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามมากมายในการแก้ปัญหาจราจรนี้บ้าง แต่หากจะให้พูดถึงวิธีที่ทรงประสิทธิภาพจริงๆ ก็คงจะนึกกันไม่ค่อยออก ไม่ใช่เพียงกรุงเทพมหานคร หลากหลายเมืองหลวงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกรุงเทพฯ แต่เขาก็สามารถลดทอนและแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดได้ เรามาดูกันว่านอกจากความพยายามของผู้ใช้ถนนด้วยกันแล้ว รัฐและผู้มีอำนาจจากหลายๆ ที่บนโลกที่เผชิญปัญหาด้านการจราจรแบบเรา พวกเขามีวิธีในการแก้ไขมันอย่างไร ไม่ใช่เพียงเพื่อลดปัญหารถติด แต่ยังเป็นการสร้างลักษณะของการคมนาคมที่ดีให้กับประชากรในเมืองนั้นๆ อีกด้วย 1. การเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ เป็นมาตรการที่ทรงประสิทธิภาพและเห็นผลชัดเจนมาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Congestion Charge Zone ปัจจุบันมหานครใหญ่ๆ อย่าง London หรือกรุง Stockholm ประเทศสวีเดน ก็ใช้วิธีนี้ในการแก้ปัญหาจราจร เป้าหมายก็คือลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลในเขตเมืองชั้นในที่มีการจราจรหนาแน่น และมีระบบขนส่งมวลชนคอยให้บริการอยู่แล้ว ซึ่งวิธีนี้เป็นการกึ่งบังคับให้ผู้ใช้รถยนต์หลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีรถติดในช่วงเวลาเร่งด่วนนั่นเอง โดยผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวที่เข้าเขตเมืองชั้นในไปในเวลาที่มีข้อห้าม ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งรัฐจะนำไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้ดียิ่งๆ ขึ้นควบคู่กันไป การเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์นี้ได้ผลดีมากกับช่วงเวลาเร่งด่วน […]

เงินเพียง 27 ดอลลาร์ฯ เปลี่ยนบังกลาเทศได้ทั้งประเทศ : Muhamad Yunus

ถ้ามองดูโลกใบนี้ให้กว้างขึ้น ยังมีอีกหลายคนที่สิ่งที่เค้าเหล่านั้นทำนั้นส่งผลดีอย่างมากกับโลกใบนี้ แต่คนส่วนมากไม่มีโอกาสได้รับรู้ถึงความพยายามและเจตนารมณ์ที่ดีไม่แพ้กัน คอลัมน์นี้จึงขออุทิศให้กับคนเหล่านี้ที่ทำตัวเหมือน “ปิดทองหลังพระ”

ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร? – EP.1

ถ้าเกิดคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ มหานครอันแสนวุ่นวายที่มีพร้อมทุกอย่าง ขาดบ้าง เกินบ้าง ใช้ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง คุณอยากจะเปลี่ยนอะไร? พอนึกถึงว่ามีอะไรที่อยากให้ปรับปรุง เน้นความอยากให้เป็น ไม่ต้องเน้นความเป็นไปได้ อันดับแรกๆ เราก็นึกถึง Infrastructure หรือสิ่งก่อสร้างพื้นฐานก่อนเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันเปรียบเสมือนสิ่ง Built-in ที่ก่อให้เป็นเมือง ไม่ว่าจะเป็นถนน ตึก สะพาน เสาไฟ สายไฟ ระบบสาธารณูประโภคต่างๆ เพราะถ้ามีโครงสร้างพื้นฐานที่เปรียบเหมือนวัตถุดิบที่ดีตั้งแต่ต้น เมืองก็น่าอยู่ไปแล้วครึ่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดและโตและใช้ชีวิตในเมืองกรุงแห่งนี้ เวลาไปไหนมาไหนย่อมเห็นข้อดีและปัญหาของสิ่งต่างๆ รอบตัว เลยเกิดเป็นซีรีส์ “ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนอะไรก็ได้ในกรุงเทพฯ คุณจะเปลี่ยนอะไร?” ขึ้นมา ประเดิมตอนแรกด้วย ฟุตพาท สิ่งก่อสร้างพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้ใช้ในทุกๆ วัน ฟุตพาทคือทางเท้าสำหรับคนเดิน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “foot = เท้า” “path = ทาง” แต่ทุกวันนี้น้อยฟุตพาทนักที่จะน่าเดิน หรือเอื้อกับการเดิน อุปสรรคในการเดินที่เราพบเจอนั้นมีมากมายหลากหลายรอบทิศทาง จากการสอบถามความเห็นประชากรชาวออฟฟิศใจกลางเมืองแห่งหนึ่งที่ต้องใช้ฟุตพาทเพื่อเดินมาทำงานและไปทานข้าวเที่ยงทุกวันจำนวน 4 คนถ้วน กับคำถามเดียวกันนี้ ก็ได้คำตอบว่า “อยากเปลี่ยนฟุตพาทไม่ให้เป็นกับระเบิดอะค่ะ” “ไม่เอาอิฐแผ่นๆ ค่ะ” […]

Art on Train : มาดูไอเดียดีๆ ในการเปลี่ยนรถไฟฟ้าให้กลายเป็นพื้นที่ศิลปะกัน

เช้าวันใหม่อันสดใสของคนกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยได้ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับเพียงเพราะการขึ้นโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะ สำหรับหลายๆ คน ระบบขนส่งมวลชนเป็นทางเลือกเดียวในการเดินทาง ซึ่งหากจะให้พูดว่าเป็นการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และราคาเหมาะสม ก็คงจะพูดกันได้อย่างไม่เต็มปาก นี่ยังไม่รวมไปถึงความยากลำบากในการพยายามใช้บริการระบบเหล่านั้นในชั่วโมงเร่งด่วน ที่ก่อนจะเดินทางไปถึงหน้าประตูออฟฟิศอันเป็นที่รัก พลังงานอันน้อยนิดของพวกเราก็ได้ถูกสูบสิ้นออกไปโดยขั้นตอนอันซับซ้อนของการโดยสารรถไฟฟ้าสาธารณะทั้งหลาย ตั้งแต่ยังไม่เข้าแถวซื้อบัตรด้วยซ้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็เป็นปัญหา Top Hit ของหลายประเทศบนโลกเช่นกัน ในยุคสมัยที่ชีวิตของมนุษย์รวมศูนย์เข้าสู่เมืองใหญ่ การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่ไม่ว่ายังไงก็เลี่ยงไม่ได้ และความแออัดก็เป็นข้อเสียตามธรรมชาติของระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภท โชคดีตรงที่ว่าเราสามารถใช้ประเทศเหล่านั้นเป็น Case Study ที่ดีในการแก้ปัญหาได้ หลากวิธีการสร้างสรรค์ที่เคยเกิดขึ้นอาจนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้โดยสารได้ แน่นอนว่าวิธีเหล่านี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวที่ดี แต่ก็เป็นการทำให้การใช้เวลาโดยสารไปกับระบบขนส่งมวลชนในปัจจุบันเป็นไปได้อย่างราบรื่น และน่าจะเป็นการเริ่มต้นวันที่ดีกว่าการเบียดเสียดไปกับคนทั้งเมืองในขบวนรถไฟที่เต็มไปด้วยโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารในร้านสะดวกซื้อแน่นอน 1. Art on Track The World’s Largest Mobile art Gallery Art on Track เป็นโปรเจกต์ศิลปะที่เริ่มต้นโดยนักศึกษาจาก School of Art Institute of Chicago เมื่อปี 2008 ด้วยไอเดียเริ่มต้นที่จะมองหาพื้นที่ใหม่ๆ ในการแสดงงานของศิลปินในพื้นที่และเหล่านักศึกษาศิลปะ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นก็คือภายในตัวโบกี้ของรถไฟใต้ดินที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดี Art […]

รถเมล์ที่ดีควรเป็นอย่างไร? ส่องรถเมล์ชาวบ้าน เขาไปกันไกลถึงไหนต่อไหน ทำไมเรายังย่ำอยู่ที่เดิม

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ชาวกรุงคงได้ลองนั่งรถเมล์สายใหม่กันไปแล้ว ซึ่งเป็นการทดลองวิ่งตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และแน่นอนว่าคนส่วนมากต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น

1 42 43 44 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.