รถเมล์ที่ดีควรเป็นอย่างไร - Urban Creature

………..เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา ชาวกรุงคงได้ลองนั่งรถเมล์สายใหม่กันไปแล้ว ซึ่งเป็นการทดลองวิ่งตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และแน่นอนว่าคนส่วนมากต่างก็บ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น ทำแบบนี้ยิ่งทำให้เกิดความสับสนและจำยากกว่าเดิม อย่าว่าแต่คนเฒ่าคนแก่เลย หนุ่มสาวอย่างเราก็คงจะงงเป็นไก่ตาแตกกันเป็นแถว

แล้วตัวอักษรกับตัวเลขเหล่านั้นมันสื่อถึงอะไรกันบ้างนะ

ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แสดงถึง เขตการเดินรถทั้ง 8 เขต
G (Green) : พื้นที่โซนสีเขียว คือ เขตการเดินรถที่ 1 และ 2
R (Red) : พื้นที่โซนสีแดง คือ เขตการเดินรถที่ 3 และ 4
Y (Yellow) : พื้นที่โซนสีเหลือง คือ เขตการเดินรถที่ 5 และ 6
B (Blue) : พื้นที่โซนสีน้ำเงิน คือ เขตการเดินรถที่ 7 และ 8

และยังมีตัวอักษรพิเศษอีกสองตัว
E (Expressway) : อยู่หลังตัวเลข ซึ่งหมายถึงรถเมล์ที่ขึ้นทางด่วน
A (Airport) : รถเมล์ที่วิ่งรับส่งสนามบิน

………..“หลายคนอาจจะมีคำถามว่าทำไปทำไม ทำเพื่ออะไร คิดดีแล้วใช่มั้ย ทำแล้วจะดีขึ้นจริงๆ เหรอ?”

………..ต้องขอบอกก่อนว่าเหตุผลที่เขาต้องการจะปฏิรูปก็เพื่อจัดรถเมล์ให้เป็นไปตามโซนพื้นที่ที่กำหนด ไม่มีการวิ่งเส้นทางที่ทับซ้อนกัน ซึ่งจะทำให้แต่ละคันวิ่งบนเส้นทางที่สั้นลง ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการแก้ปัญหารถติดนั่นเอง แต่จะแก้ได้จริงหรือไม่ก็รอดูกันต่อไปแล้วกัน

จะพัฒนาทั้งที ขอแบบนี้บ้างได้มั้ย?

หนึ่งในเครือข่ายรถเมล์ที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดในโลกคงต้องยกให้รถเมล์ของเมืองลอนดอน ที่มีรถเมล์ให้บริการมากกว่า 9,300 คัน หรือราวๆ 700 สาย

อย่างแรกเลยขอพูดถึงเรื่องสายรถเมล์ของลอนดอนกันก่อน ตั้งแต่ยุควิกตอเรียมาจนถึงปัจจุบัน เลขสายรถเมล์ลอนดอนก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้ง ตั้งแต่การใช้สีรถเพื่อแยกสาย จนมีการนำระบบตัวเลขเข้ามาใช้ เลขสายรถเมล์ในปัจจุบันนี้ ตัวเลขที่ใช้จะแบ่งตามประเภทง่ายๆ แต่มีหลักเกณฑ์ อย่างเช่น เลข 1-599 คือรถเมล์ที่วิ่งเส้นทางทั่วไป เลข 600-699 คือรถเมล์ที่วิ่งไปโรงเรียนและมหาวิทยาลัย

แต่รู้หรือไม่ว่าลอนดอนก็มีการใช้ตัวอักษรนำหน้าตัวเลขเหมือนกันนะ เหมือนที่บ้านเรากำลังจะทำนี่แหละ แต่ของลอนดอนตัวอักษรที่ใช้แต่ละตัวจะมีความหมายของมัน อย่างตัว C คือ รถเมล์ที่วิ่งละแวกกลางเมือง (Center), N เป็นรถที่วิ่งช่วงกลางคืน (Night), R เป็นรถที่วิ่งเลียบแม่น้ำ (River) และยังมีอีกแบบที่ตัวอักษรจะแทนชื่อเส้นทางของรถคันนั้นๆ เลย อย่างตัว K คือรถที่วิ่งใน Kingston เป็นต้น ซึ่งเมื่อคนเห็นตัวอักษรเหล่านี้ก็จะเข้าใจได้ทันที ซึ่งต่างจากสายรถเมล์แบบใหม่ของ กทม. ที่ใช้ตัวอักษรแทนการแบ่งโซนเป็นสีอย่างแน่นอน

รถเมล์ลอนดอนมีดีอย่างไร?

ข้อแรกเลย นโยบายที่ กทม.เราเคยจะทำแต่ก็เงียบหายไป คือรถเมล์ทุกคันในลอนดอนจะเชื่อมต่อกับ GPS ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ผู้โดยสารสามารถเช็กได้ว่ารถเมล์สายที่เรารอจะมาถึงในอีกกี่นาที ซึ่งจะเช็กได้ทั้งทางแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน และจากป้ายที่อยู่บริเวณป้ายรถเมล์ ทำให้คนไม่ต้องรออย่างไร้จุดหมาย

ไม่ต้องกลัวหลง หรือลงผิดป้าย เพราะป้ายรถเมล์ทุกป้ายจะมีชื่อ และบนรถจะมีประกาศตลอดว่าต่อไปคือป้ายไหน เหมือนกับ BTS และ MRT บ้านเรา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเอาวีลแชร์ขึ้นได้อีกด้วยนะ

ส่วนเรื่องการจ่ายค่าโดยสารก็มีตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ หรือเพื่อความสะดวกก็สามารถจ่ายด้วยบัตร Oyster Card บัตรเดินทางแบบเติมเงินที่คล้ายๆ กับบัตรแรบบิทบ้านเรา แต่ของเขาใช้ได้ทุกการขนส่งมวลชน ทั้งบนดิน ใต้ดิน สะดวกสุดๆ เลย

ไม่ใช่แค่ตัวรถเมล์ แต่ที่ป้ายรถเมล์เขาก็ใส่ใจ ป้ายบอกสายรถเมล์ และแผนที่เส้นทางแบบใยแมงมุม ที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวหรือคนที่ไม่ค่อยได้ขึ้นรถเมล์บ่อยๆ ซึ่งจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแต่ละสายวิ่งผ่านป้ายไหนบ้าง แถมยังมีสัญลักษณ์ต่างๆ อย่างถ้าป้ายไหนที่สามารถลงเพื่อต่อรถไฟใต้ดินได้ก็จะมีสัญลักษณ์ของรถไฟใต้ดินอยู่

ไม่ต้องกลัวหลง หรือลงผิดป้าย เพราะป้ายรถเมล์ทุกป้ายจะมีชื่อ และบนรถจะมีประกาศตลอดว่าต่อไปคือป้ายไหน เหมือนกับ BTS และ MRT บ้านเรา ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเอาวีลแชร์ขึ้นได้อีกด้วยนะ

ส่วนเรื่องการจ่ายค่าโดยสารก็มีตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ หรือเพื่อความสะดวกก็สามารถจ่ายด้วยบัตร Oyster Card บัตรเดินทางแบบเติมเงินที่คล้ายๆ กับบัตรแรบบิทบ้านเรา แต่ของเขาใช้ได้ทุกการขนส่งมวลชน ทั้งบนดิน ใต้ดิน สะดวกสุดๆ เลย

นอกจากรถเมล์ชั้นเดียวธรรมดาๆ แล้ว อย่างที่หลายๆ คนรู้กันว่าอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของเมืองลอนดอนก็คือรถเมล์สีแดงสองชั้นนั่นเอง ทำไมต้องทำสองชั้นน่ะเหรอ ขอบอกก่อนว่ารถเมล์สองชั้นจะวิ่งแต่ในเมืองที่การจราจรหนาแน่น พอเป็นสองชั้นก็แน่นอนว่าช่วยประหยัดพื้นที่ถนนไปได้มากเลยทีเดียว

รถเมล์ดีๆ ที่ไทยก็มีเหมือนกันนะ

ใช่ค่ะ ฟังไม่ผิดหรอก แต่ไม่ใช่ที่กรุงเทพฯ นะ เพราะที่จะพูดถึงคือ Khonkaen City Bus รถเมล์ในเมืองขอนแก่น ที่นำหน้ารถเมล์กรุงเทพฯ ไปหลายก้าวแล้ว เรียกได้ว่าเป็นน้องๆ ของรถเมล์ลอนดอนก็ว่าได้ ทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างการเชื่อมต่อกับ GPS ที่สามารถเช็กได้จากแอปฯ บนสมาร์ตโฟน ซึ่งจะเห็นตำแหน่งของรถเมล์ทุกคันเป็น Real time และจะรู้ได้ว่ารถจะมาถึงตอนไหน

การเก็บค่าโดยสารโดยใช้การหยอดเหรียญ และยังมีบัตรโดยสารแบบเติมเงินอีกด้วย รวมถึงบริการไวไฟฟรี และกล้อง CCTV บนรถเพื่อความปลอดภัย และที่สำคัญยังวิ่งให้บริการตลอด 24 ชม. นอกจากนี้ยังสามารถรองรับวีลแชร์ได้ด้วยนะ สะดวกครบครันจริงๆ

เห็นแบบนี้แล้วก็ได้แต่หวังเล็กๆ ในใจว่าสักวันหนึ่งเราคงได้มีโอกาสได้ใช้บริการรถเมล์ดีๆ แบบนี้ในกรุงเทพฯ กันบ้าง…

Photo Credits :
Khon Kaen City Bus
Matichon

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.