
CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
คนพิการไม่ได้ชอบอยู่บ้าน แต่มันไม่มีทางเลือก | เปิดมุมมองจากเพจ ThisAble.me
เราจึงชวนไปทำความเข้าใจมุมมองของคนพิการ หากพูดถึงเรื่องการใช้ชีวิตและการเดินทางในกรุงเทพฯ ที่ขนาดคนปกติยังมีปาดเหงื่อ แล้วสำหรับคนพิการที่มีอุปสรรคทางร่างกาย มันจะลำบากขนาดไหนผ่านการพูดคุยกับ ‘คุณนลัทพร ไกรฤกษ์’ บรรณาธิการเพจ thisable.me สื่อออนไลน์ที่เป็นเหมือนกระบอกเสียงเกี่ยวกับคนพิการให้คนเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น
รอคิวทำ ‘ใบขับขี่’ ปีนี้ไม่ไหว ปีหน้าแล้วกัน
จองได้ทุกที่สะดวกทุกเวลา จริงเหรอ ? เมื่อต้องรอคิวทำใบขับขี่ใหม่นานถึง 4 เดือน สำหรับคนที่จะทำใบขับขี่ใหม่ รู้กันหรือเปล่าว่าคิวการสอบขออนุญาตใบขับขี่ของปีนี้เต็มยาวเหยียดไปถึงปลายเดือนมีนาคม 2564 กันแล้ว เรียกได้ว่าจองกันจนลืมไปเลย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอบใบขับขี่ ต้นเหตุการรอคิวอันแสนนานมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาครัฐจึงออกมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมเลย ทำให้ต้องกำหนดจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละวันของกรมขนส่ง ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำใบขับขี่ใหม่ที่ใช้ระบบออนไลน์เกือบทั้งหมด โดยต้องทำการจองคิวล่วงหน้าเพื่อรับบริการจากกรมขนส่งผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์เท่านั้น และไม่สามารถทำการ walk-in เข้าไปต่อคิวตั้งแต่เช้าตรู่ เหมือนแต่ก่อนแล้ว ซึ่งระบบจองคิวมีข้อดีในด้านการจำกัดจำนวนคนเข้าใช้งานให้สอดคล้องกับขนาดพื้นที่ในแต่ละวันได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้งานให้สะดวกสบายและน่าใช้งานมากขึ้น เมื่อเราลองใช้งาน DLT Smart Queue เราได้ทดลองใช้แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อสำรวจดูว่าถ้าสมมุติเราจะจองคิวเพื่อขอรับใบอณุญาตขับขี่ใหม่ต้องรอนานแค่ไหน ว่าพบว่าสำนักงานขนส่งทั้ง 5 เขตของกรุงเทพมหานคร อย่างบางขุนเทียน ตลิ่งชัน พระโขนง หนองจอก จตุจักร ทั้งหมดล้วนเต็มยาวไปถึงปลายเดือนมีนาคม 2564 โดยวันที่สามารถจองได้คือหลังวันที่ 22 เป็นต้นไป (สำรวจ ณ วันที่ 21 พศจิกายน 2563) การจองคิวรูปแบบใหม่ลดจำนวนผู้เข้าสอบในแต่ละวัน รวมถึงการลดจำนวนวันอบรมให้เหลือเพียง 3 […]
ทำไมสร้างเมืองต้องฝัง ‘เสาหลักเมือง’
ตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยดูละครเรื่อง “เจ้ากรรมนายเวร” แล้วมีตอนหนึ่งที่เขาโยนคนลงในหลุมแล้วตอกเสาเข็มประตูชัยเมืองทับลงไป เพื่อฆ่าเอาดวงวิญญาณมาดูแลมืองถือเป็นฉากที่น่ากลัวและเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในสมัยนั้น เราจึงพาย้อนเวลาไปตามหาที่มาของ ‘เสาหลักเมือง’ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ทำไมเมือง ‘เอดินบะระ’ ถึงเป็นมิตรสำหรับเด็ก
ว่ากันว่า “เด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” นั่นหมายความว่าในอนาคตพวกเขาเหล่านี้จะเติบโตไปผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ดังนั้นในหลายประเทศเด็กและเยาวชนจึงถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนสำคัญในสังคม ดังเช่นสกอตแลนด์ที่สร้าง “เมืองเอดินบะระ” ให้เป็นมิตรกับเด็กทุกคน
คุณรู้จักถนนไทยดีแค่ไหน
ภาพถนนเป็นหลุมเป็นบ่อกลายเป็นภาพชินตาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร จากปัญหาเพียงเล็กน้อยกลายเป็นตอใหญ่ของปัญหาถนนไทยที่หยั่งรากลึกมานานแสนนาน
ส่องซีรีส์เกาหลี ‘Start Up’ คัดแยกขยะอย่างไร ให้เป็นต้นแบบเมืองรีไซเคิล
ประเทศเกาหลีใต้นั้นขึ้นชื่อเรื่องการคัดแยกขยะสุดเฮี๊ยบ อย่างที่เราเห็นในซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start Up ฉากที่ห้วหน้าทีมฮันทิ้งต้นไม้ของซอดัลมีลงถังขยะประเภทรีไซเคิล เรื่องเหมือนจะจบด้วยดี แต่สุดท้ายโดนเจ้าหน้าที่เรียกมาตักเตือน เพราะคัดแยกขยะไม่ถูกต้องและคืนต้นไม้ให้ไปจัดการทิ้งเสียใหม่ด้วย
ส่องมาตรการดัน ‘รถยนต์ไฟฟ้า’
ปริมาณรถบนท้องถนนกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหา PM2.5 สืบเนื่องไปถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าอย่างสภาวะโลกร้อน เพราะ 14% ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากการคมนาคมขนส่ง การส่งเสริมให้ผู้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว
‘ลดเวลา ลดต้นทุน ลดทรัพยากร’ แนวคิดก่อสร้างอย่างยั่งยืนจาก ‘ประภากร A49’ ในเวที SD Symposium 2020 โดย SCG
หัวเมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง สิ่งปลูกสร้างหลากหลายรูปแบบก่อตัวขึ้นทุกหัวระแหง ในบางครั้งแม้อาคารสวยงามจะเสร็จสิ้น แต่กลับมีขยะกองโตทิ้งไว้ ซึ่งหมายถึงทรัพยากรไม่ได้ถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าเท่าที่ควร หากเราสามารถบริหารจัดการร่วมกัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ลดการเกิดขยะจากวัสดุเหล่านี้ ก็จะสร้างเมืองที่สวยงามควบคู่ไปกับโลกที่ยั่งยืนได้
กระดูกเทียมจาก ‘3D Printing’ นวัตกรรมแพทย์ที่ช่วยผู้ป่วยให้มีชีวิตใหม่อีกครั้ง
เปิดห้องทดลองสิ่งประดิษฐ์จาก ‘3D Printing’ นำมาใช้ในวงการแพทย์ ที่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการรักษาผู้ป่วยให้รอดชีวิตมากกว่าเคย ผ่านการคุยกับ ‘รศ.นพ.ม.ล. ชาครีย์ กิติยากร’ หัวหน้าศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (Mind Center) ของโรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ริเริ่มนำ 3D Printing มาทดลองรักษาผู้ป่วย และอยากพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างแพร่หลาย มาดูกันว่าสิ่งประดิษฐ์จากเครื่อง 3D Printing จะมีอะไรบ้าง ต้องติดตามกัน !
เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’
เมื่อวันนี้จุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’ ด้วยตัวเอง ร่วมพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองต้นแบบอัจฉริยะ
‘เอสโตเนีย’ สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก
เพื่อขจัดความยากจน เอสโตเนียจึงใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและยกระดับประเทศ จนล่าสุดเอสโตเนียกลายเป็น “สังคมดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก” และเมืองหลวงอย่าง ‘ทาลลินน์’ ยังได้รับเลือกให้เป็น “ชุมชนอัจฉริยะแห่งปี 2020” ด้วย
8 ต้นแบบลานกีฬาวัฒนธรรมชุมชน ที่บ่งบอกอัตลักษณ์และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง
‘พื้นที่สาธารณะ’ เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ของเมืองที่มาเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น เพราะคนในเมืองควรมีพื้นที่อิสระในการใช้ชีวิต และจะดีขึ้นไปอีกหากพื้นที่เหล่านี้มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง และคนทุกเพศทุกวัยสามารถเข้าถึงได้