
CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ย้อนดูวิวัฒนาการ 139 ปี ‘ศาลยุติธรรม’ ส่อง ‘ดัชนีนิติรัฐ’ ไทยอยู่อันดับเท่าไรของโลก
การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกฎที่ทุกคนใช้ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง แต่กว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายที่มีมากมายหลายมาตราอย่างทุกวันนี้ เราจะพาไปย้อนดูประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ไล่เรียงมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการให้ทันกับยุคสมัยและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม จนกระทั่งกลายมาเป็นศาลยุติธรรมซึ่งครบรอบ 139 ปี ‘วันก่อตั้งศาลยุติธรรม’ ในวันที่ 21 เมษายนนี้เอง เราขอย้อนจอภาพสีซีเปียกลับไปในสมัยกรุงสุโขทัย เชื่อว่าหลายคนคงจินตนาการภาพไม่ออกว่า ในยุคที่ศาลยุติธรรมยังไม่เกิด แน่นอนยังไม่มีใครรู้จักคำว่าผู้พิพากษา ดังนั้นใครกันจะเป็นผู้ตัดสินคดีความ หากจำได้ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ยุคนั้นกษัตริย์เป็นผู้ทรงพระราชอำนาจชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎร โดยยึดหลัก ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ ของอินเดียอันเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมที่นับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธ ในยุคนั้นไทยเราเป็นเมืองพุทธ การใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์จึงอยู่ภายใต้หลักธรรมของการปกครองแบบพุทธศาสนา กฎหมายมีลักษณะเป็นจารีตประเพณี มีความคาบเกี่ยวกับศาสนา จึงไม่เน้นการลงโทษที่รุนแรงแต่จะเน้นการสั่งสอนให้กลับตัวเป็นคนดีดำรงตนอยู่ในศีลในธรรม ต่อมาในสมัยอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ยุคนั้นพราหมณ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งมีความขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ ตามมาด้วยแนวคิดว่ากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ในระบบกฎหมายเองก็มีการปรับปรุงให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการออกกฎเกณฑ์เพิ่มเติม เรียกว่า ‘ราชศาสตร์’ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่า ‘พระราชกำหนดบทพระอัยการ’ หรือ ‘พระราชกำหนดกฎหมาย’ ถึงอย่างนั้นกษัตริย์ก็ยังต้องออกกฎหมายที่สอดคล้องกับ ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ โดยมีหลัก ‘จตุรธรรม’ 4 ข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมะหรือศีลธรรม จุดมุ่งหมายของกฎหมายคือประโยชน์ของประชาชน และกษัตริย์ต้องใช้อำนาจทางกฎหมายบนพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม นอกจากนี้ หากใครได้ดูละครไทยรีเมกเรื่อง ‘วันทอง’ […]
เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้
นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]
ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’
เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]
กำเนิด ‘วินมอเตอร์ไซค์’ แรกของกรุงเทพฯ เส้นเลือดฝอยของคนเมืองที่ต้องพึ่งความแว้นไว
ย้อนรอยประวัติศาสตร์วินมอเตอร์ไซค์แห่งแรกของกรุงเทพฯ สู่อัศวินผู้ทำหน้าที่พาเราไปทุกแห่งหน
Park พื้นที่พักผ่อน (เฉพาะชนชั้นสูง) ที่มีมานาน แต่ต้องประท้วงถึงจะได้เป็นสวนของสาธารณะ
รู้หรือไม่ ‘Park’ อาจไม่ใช่พื้นที่สาธารณะตั้งแต่แรก เมื่อความแตกต่างของชนชั้นกลายเป็นเส้นแบ่งความอิสระของการใช้พื้นที่
หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด
ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]
หนีได้ต้องหนี! 6 ถนนรถติดกับช่วงเวลาสุดพีก
เคยเป็นไหม ชาวกรุงเทพฯ เวลาจะออกไปไหนแต่ละที ต้องวางแผนแล้ววางแผนอีกว่าจะเดินทางไปอย่างไร ขึ้นรถ ลงเรือ ต่อมอเตอร์ไซค์หรือเปล่า จะรอนานไหมนะ แถมยังต้องเผื่อเวลารถติดด้วย ทำให้เวลาออกจากบ้านแต่ละทีช่างเหนื่อยแสนเหนื่อย ประโยคที่บอกใครๆ ว่าออกไปแป๊บเดียวอาจไม่มีจริง จนหลายคนต่างพากันระบายความอัดอั้นตันใจพากันตั้งชื่อเช็กอินถนนด้วยชื่อสุดเดือดอย่าง ไฟแดง 18 ชั่วโคตร ไฟเขียวเท่าจิ๋มมด ฉายาของแยกสาทร-สุรศักดิ์ หรือแยกที่หอยทากคลานแซงเฟอรารี่ เจ้าของแยกแคราย ที่พีกเพราะจุดตัดระหว่างถนน 3 เส้น อย่าง ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ และงามวงศ์วาน ไปจนถึงแยกสุดฮอตตลอดกาลอย่าง แยกรัชดา-ลาดพร้าว ที่หลายคนพากันลงความเห็นไปในทางเดียวกันถึงปัญหาไฟแดงอันยาวนาน จนถูกขนานนามว่า ไฟแดง 5 ชาติ ไฟเขียว 5 วิฯ หลับ 5 ตื่น ฟื้นมายังแดง จากชื่อก็พอสัมผัสได้ถึงพลังงานความหัวร้อนบางอย่าง เราเลยลองไปตามหาข้อมูลว่า แท้จริงแล้วสถานการณ์รถติดบ้านเราอยู่ในขั้นไหนกันแน่ ซึ่งพอลองไปดูสถิติตัวเลขของ INRIX Global Traffic Scorecard บริษัทที่วัดผลและเก็บรวบรวมข้อมูลการจราจรจากทั่วโลก กรุงเทพฯ เคยครองแชมป์เมืองที่การจราจรหนาแน่นมากที่สุดมาแล้วในปี 2560 ที่ผ่านมา และเรายังเสียเวลาติดแหง็กอยู่บนท้องถนนมากถึง […]
‘คลองสุเอซ’ คลองขุดเชื่อมทะเลกับทะเลฝีมือมนุษย์ที่ไม่ใช่สายแรกของโลก
ท่ามกลางเส้นทางการเดินเรือที่ปรากฏทั่วโลก ณ ปัจจุบัน รู้กันหรือไม่ว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งหมด แต่ยังมีเส้นทางการเดินเรือที่เกิดจากผลงานการรังสรรค์ของมนุษย์ เพื่อเอาชนะข้อจำกัดทางธรรมชาติ มนุษย์ได้ทำการขุดคลองเพื่อเชื่อมโยงโลกของเราให้ใกล้ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหนึ่งในความยิ่งใหญ่นั้นคือเหตุการณ์ขุด ‘คลองสุเอซ’ ต้นคลอง หากนับความยิ่งใหญ่ของการสร้างเส้นทางเดินเรือแล้ว การขุดคลองสุเอซคือหนึ่งในเหตุการณ์ที่แสดงให้เราเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ในฐานะคลองขุดขนาดใหญ่ที่มนุษย์สร้างขึ้นที่อียิปต์ เพื่อเชื่อมระหว่างท่าเรือซาอิด ฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองสุเอซ ฝั่งทะเลแดง เข้าด้วยกัน เพื่อเปิดช่องทางในการเดินทางข้ามทวีประหว่างยุโรปและเอเชีย แต่คลองสุเอซไม่ใช่คลองสายแรกที่เชื่อมทะเลเข้าด้วยกัน มีบันทึกว่าในปี 1804 นโปเลียนที่ 1 ของฝรั่งเศสมีความคิดที่จะขุดคลองเพื่อเชื่อมเส้นทางดังกล่าว เพราะค้นพบร่องรอยการสัญจรทางน้ำในยุคอียิปต์โบราณ เส้นทางดังกล่าวทอดจากอ่าวสุเอซบริเวณทะเลแดงสู่ทะเลสาบน้ำเค็มทางตอนเหนือ และเบี่ยงไปยังบริเวณปากแม่น้ำไนล์ เส้นทางดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ราว 1850 ปีก่อนคริสตกาล และมีชื่อว่า Canal of the Pharaohs หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Ancient Suez Canel ทว่าโครงการขุดคลองของนโปเลียนก็ต้องยกเลิกไปเมื่อมีการคำนวณว่าน้ำทะเลทั้งสองฝั่งต่างระดับกัน จนทีมผู้สร้างต้องพับโครงการลง เพราะคิดว่าจะไม่คุ้มทุนการลงทุน จนกระทั่ง แฟร์ดีน็อง เดอ เลสเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการขุดคลองสุเอซ หยิบโครงการดังกล่าวมาปัดฝุ่นอีกครั้ง โดยใช้คนงานชาวอียิปต์กว่า […]
แปลงโฉม ‘ป่าช้า’ ให้คนอยู่ได้ใช้พื้นที่
‘ป่าช้า’ กับ ‘คนไทย’ อยู่คู่กันมาหลายร้อยปี โดยมีฟังก์ชันเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งศพ เผาศพ และฝังศพก็ตาม อีกทั้งบางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง บางแห่งเป็นถนนตัดผ่าน หรือสร้างเป็นอาคารสำหรับพักอาศัย
อย่าโดนเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 หลอก!
หากดูเผินๆ ‘เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ’ น่าจะเป็นสิ่งที่บอกว่าวัคซีนตัวไหนมีดีกว่ากัน และตัวเลข 95 เปอร์เซ็นต์ก็ดูน่าเชื่อมั่นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ เป็นไหนๆ แต่ที่จริงแล้ว ตัวเลขที่ห่างกันเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถระบุว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมตัวเลขที่สูงจึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีน มีที่มาจากอะไร ในการทดสอบว่าวัคซีนจะใช้งานได้จริง นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงๆ โดยจะปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างออกไปใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อติดตามผลว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีกี่รายที่จะติดเชื้อ หากเราสมมติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,000 คน สุดท้ายแล้วมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 100 รายจากกลุ่มที่ได้วัคซีนจริงและยาหลอกเป็นจำนวนเท่ากันที่ 50 คน เท่ากับว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้คือ 0 เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ก็มีโอกาสติดเท่ากัน แปลว่าวัคซีนนี้ไม่มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อแม้แต่น้อย แต่ถ้าผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 95 คน แต่ผู้ที่ได้วัคซีนมีคนติดเชื้อแค่ 5 คนเท่านั้น นั่นแปลว่าวัคซีนตัวนี้มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดใช้วิธีเดียวกันนี้ทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนที่มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพมากกว่าต้องได้ผลมากกว่าตามไปด้วย แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดในการทดสอบมากกว่านั้น เปอร์เซ็นต์จะมีผล ถ้าวัดในสถานการณ์เดียวกัน ในบรรดาวัคซีนหลายตัวจะเห็นว่า Pfizer-BioNTech […]
บางโพ แหล่งขายไม้ใหญ่สุดในกรุงเทพฯ ที่มีกว่า 200 ร้านค้า จนได้ชื่อว่า “ถนนสายไม้”
‘บางโพ’ ไม่ได้อยู่แค่ในสาวบางโพ แต่คือย่านที่คนในวงการงานช่างต่างรู้จักกันดีในนาม ‘ถนนสายไม้’
‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?
เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5