คนกรุงเทพฯ เสียเวลาชีวิตกับการเดินทางไปทำงานนานถึง 2 ชั่วโมง/วัน

ช่วงเวลาเช้า-เย็นในวันทำงาน ถือเป็นโมเมนต์สุดเร่งรีบของคนเมือง ที่ทุกคนต้องแข่งขันกับการจราจรแสนติดขัด หรือต่อแถวขึ้นขนส่งสาธารณะสุดหนาแน่น  อ้างอิงข้อมูลจาก Baania องค์กรที่รวบรวมข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเทศไทยเผยว่า ส่วนใหญ่คนเมืองใช้เวลาเดินทางไปทำงานเฉลี่ย 2 ชั่วโมง/วัน หรือประมาณนั่งเครื่องบินไปสิงคโปร์ได้ 1 เที่ยว มิหนำซ้ำรายงานจาก TOMTOM องค์กรผู้ให้บริการข้อมูลทางสัญจรทั่วโลกยังเผยว่า ปี 2564 คนกรุงเทพฯ เสียเวลาบนท้องถนนไปทั้งหมดเฉลี่ยแล้ว 71 ชั่วโมง/ปี หรือประมาณ 3 วันเลยทีเดียว ตามหลักสากลที่ควรจะเป็น ผู้คนควรใช้เวลาเดินทางไป-กลับจากธุระนอกบ้านไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยแต่ละเที่ยวไม่เกิน 30 นาที หากเราต้องใช้เวลาเดินทางไป-กลับที่ทำงานวันละหลายชั่วโมง ก็คงต้องคิดหนักและเริ่มมองหาที่อยู่อาศัยใกล้ที่ทำงานมากขึ้น หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนมาทำงานที่เดินทางสะดวกแทนน่าจะดีกว่า  แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อชาวเมืองต้องเสียเวลาไปกับการเดินทางอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จึงน่าตั้งคำถามไม่ใช่น้อยว่า อะไรคือต้นตอที่ทำให้คนต้องใช้เวลาบนท้องถนนมากขนาดนี้ และทำไมปัญหานี้ถึงเกิดขึ้นมานานหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังแก้ไขไม่ได้สักท งานกระจุกในเมือง หนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเดินทางคือ การเสียเวลากับรถติด เนื่องจากระบบและจำนวนเส้นถนนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่อย่างจำกัด สวนทางกับปริมาณรถที่วิ่งขวักไขว่เต็มท้องถนน แต่หากมองลึกลงไปถึงต้นตอของปัญหา ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเมืองต้องกัดฟันทนฝ่ารถติดให้ไปถึงที่หมายทุกวันนั้นเกิดจาก ‘แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกในเมือง’ กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่เมืองหลวง แต่ยังเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจหลักของไทยที่มีแหล่งงานมากมายเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี […]

ประเทศไทยมีเหตุกราดยิงบ่อยครั้ง เพราะกฎหมายหละหลวมหรือปืนเข้าถึงง่าย?

เป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์ที่ประชาชนชาวไทยอยู่ในความเศร้าจากเหตุการณ์ #กราดยิงหนองบัวลำภู โศกนาฏกรรมที่เกิดจากการบุกเข้าไปกราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 ราย และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 10 ราย เป็นหนึ่งในเหตุกราดยิงที่น่าสลดใจที่สุดของโลก เนื่องจากเหยื่อส่วนใหญ่คือเด็กเล็กอายุ 2 – 5 ปีเท่านั้น  ผู้ก่อเหตุคืออดีตข้าราชการตำรวจที่ถูกไล่ออกจากราชการ เพราะมีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงทำให้หลายฝ่ายตั้งคำถามว่า ทำไมอดีตข้าราชการที่พ้นจากตำแหน่งแล้วจึงไม่โดนยึดอาวุธ และยังสามารถครอบครองปืนได้อยู่ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้เรายังเห็นข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธปืนอยู่เรื่อยๆ จนอดสงสัยไม่ได้ว่า สังคมของเราวนเวียนอยู่กับความรุนแรงจากการใช้ปืน เพราะคนไทยเข้าถึงอาวุธประเภทนี้ได้ง่ายเกินไปหรือเปล่า ไทยครอบครองปืนมากเป็นอันดับ 13 ของโลก อันดับ 1 ของอาเซียน แม้ว่าอาวุธปืนจะดูเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับใครหลายคน แต่เมื่อ Small Arms Survey (SAS) หรือ องค์กรที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาวุธเบาของสวิตเซอร์แลนด์ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืนทั่วโลกกลับพบว่า สหรัฐอเมริกาคือประเทศที่มี ‘จำนวนปืน’ ในครอบครองมากที่สุดในโลก หรือมากถึง 393.9 ล้านกระบอก ขณะที่ประเทศไทยติดอันดับที่ 13 ของโลก โดยจำนวนดังกล่าวอยู่ที่ 10.3 […]

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

ชาวยุโรปเตรียมตัว ‘หนาว’ จากวิกฤตพลังงานและภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ใกล้สิ้นปี 2022 แล้ว แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจทั่วโลกจะไม่ดีขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะแม้ว่าบรรดาธุรกิจจะเริ่มกลับมาลืมตาอ้าปากได้บ้างแล้ว หลังเจอวิกฤตโควิด-19 ซัดไปหลายระลอกในช่วงเกือบสามปีที่ผ่านมา แต่แสงแห่งความหวังของหลายประเทศกลับต้องดับลง แถมอาจมืดมิดกว่าเดิมเสียด้วย เพราะดันถูกซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครนที่ลากยาวมานานกว่า 7 เดือน ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนอาจฟังดูเหมือนเรื่องไกลตัว แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะสงครามนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ‘ประเทศในทวีปยุโรป’ มีแนวโน้มที่จะเจอผลกระทบรุนแรงกว่าใคร หลังจากก่อนหน้านี้ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรกดดันให้รัสเซียยุติสงคราม ผ่านนโยบายแบนการนำเข้าและส่งออกสินค้าหลายรายการจากแดนหมีขาวอย่างการห้ามนำเข้าทองคำ น้ำมัน ถ่านหิน เป็นต้น แต่มาตรการเหล่านี้ส่อแววไม่ได้ผลและอาจทำให้ยุโรปลำบากเสียเอง เพราะรัสเซียได้ปิดท่อส่งก๊าซหลักไปยังยุโรปอย่าง นอร์ด สตรีม 1 (Nord Stream 1) อย่างไม่มีกำหนด โดยให้เหตุผลว่าพบการรั่วไหลของน้ำมัน แต่ทางยุโรปเชื่อว่านี่คือข้ออ้างที่รัสเซียใช้โต้ตอบมาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตก  ที่น่ากังวลคืออีกไม่กี่เดือนยุโรปจะย่างเข้าฤดูหนาวแล้ว หลายฝ่ายกลัวว่าชาวยุโรปจะต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็นจาก ‘วิกฤตขาดแคลนพลังงาน’ เนื่องจากพลังงานราว 60 เปอร์เซ็นต์ที่ยุโรปใช้คือพลังงานที่นำเข้าจากรัสเซียทั้งสิ้น รวมไปถึงความทุกข์ในการดำเนินชีวิตจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่หลายประเทศกำลังก้าวเข้าสู่ ‘ภาวะเศรษฐกิจถดถอย’ เต็มรูปแบบ ค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพ แพงหูฉี่ สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนคือหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอย่างยุโรปกำลังเจอกับ ‘วิกฤตเงินเฟ้อ’ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนโอดครวญกันเป็นแถวจากค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพ และต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้นจนแทบแบกภาระไม่ไหว ถ้าดูเป็นตัวเลขจะยิ่งน่าตกใจ เพราะเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 […]

เปลี่ยน King’s Landing ใน House of the Dragon ให้ปลอดภัย ไม่แออัด และยกระดับชีวิตของทุกคน

ขอต้อนรับเข้าสู่ King’s Landing เมืองที่โสมมที่สุดในเจ็ดอาณาจักร หากใครเป็นแฟนซีรีส์ Game of Thrones และ House of the Dragon ก็ต้องรู้จัก ‘มหานคร King’s Landing’ เมืองหลวงซึ่งเป็นที่ตั้งของบัลลังก์เหล็ก ศูนย์กลางการปกครองแห่งทวีป Westeros เป็นอย่างดี  นอกจากความเจริญรุ่งเรืองที่ได้เห็นใน King’s Landing กันแล้ว เมืองนี้ยังมีชื่อเสียงด้านลบเยอะเหมือนกัน ทั้งเรื่องของความปลอดภัย ความแออัดของเมือง หรือแม้แต่ความสกปรก ชนิดที่ว่าหากไม่ใช่คนในพื้นที่ก็คงจะอยู่ที่นี่ไม่ได้ ถึงขนาดที่ว่า Lady Olenna Tyrell หัวหน้าตระกูล Tyrell หนึ่งในเจ็ดตระกูลใหญ่ของเรื่องต้องเอ่ยปากเมื่อพูดถึง King’s Landing ว่า “คุณสามารถได้กลิ่นเหม็นเน่าในระยะห้าไมล์จากเมืองนี้” เลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้ เราจะสวมบทบาทเป็น ‘หัตถ์แห่งพระราชา’ ผู้คอยให้คำปรึกษางานบริหารบ้านเมืองในด้านต่างๆ แก่พระราชา ผู้ซึ่งมีอำนาจเป็นอันดับสองในทั้งเจ็ดอาณาจักร โดยเราจะแก้ปัญหาในเมือง King’s Landing ให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น […]

ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’

แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

1 11 12 13 14 15 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.