กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

พี่น้องเอ๋ย ฟังเสียงเราบ้าง l Urban Eyes จะนะ

“มันดีนะ…การที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษแล้วปกป้องบ้านเกิด มันยังคงติดชื่ออยู่ ต่อสู้เพื่อปกป้องอากาศ ปกป้องชีวิต  ปกป้องอนาคตให้กับลูกหลาน หนูว่าสำเร็จนะ ต่อสู้จนโดนคดี ต่อสู้จนแบบ ใจมันยังสู้อะ . . มันสำเร็จแล้วแหละ”  เราอยากพาคุณล่องเรือสู่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พูดคุยกับผู้คนในพื้นที่ถึงปัญหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนเกิดกระแส #Saveจะนะ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทำไมการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรมถึงไม่เป็นที่ยอมรับ ผู้คนในท้องถิ่นต้องสู้กับอะไรและต่อสู้เพื่อสิ่งใด ร่วมเดินทางหาคำตอบไปพร้อมกับเราจาก Urban Eyes นี้กัน

ไปเที่ยว ‘ราชเทวี’ สำรวจศิลปวัฒนธรรมโบราณและร่วมสมัยใจกลางกรุงเทพฯ

เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยมาเยือนกรุงเทพฯ หรืออาศัยอยู่ในเมืองนี้ คงรู้จักและเคยได้ยินชื่อเขต ‘ราชเทวี’ ย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่คั่นกลางระหว่างสองจุดหมายปลายทางสำคัญอย่าง ‘พญาไท’ และ ‘สยาม’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพราะเป็นทั้งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และที่ตั้งของศูนย์การค้าทันสมัยมากมาย ราชเทวีจึงกลายเป็นโลเคชันโดดเด่นและน่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ทว่า ราชเทวีไม่ได้เป็นแค่ ‘ทำเลทอง’ กลางเมืองเท่านั้น แต่งานสร้างสรรค์โลกสมัยใหม่หลายรูปแบบก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ในย่านริมคลองแสนแสบแห่งนี้เช่นกัน  วันนี้ Urban Creature ขออาสาเป็นไกด์พาทุกคนไปทัวร์ย่านนี้ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการสำรวจ Art & Culture ที่แฝงตัวอยู่ในอณูของย่าน อย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นที่โอบล้อมสวนสาธารณะสีเขียวใจกลางเมือง และอาร์ตสตูดิโอที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจและเชื่อมโยงคนในสังคมเข้าหากัน เป็นศิลปะยุคใหม่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากแกลเลอรี และมาเสพงานสร้างสรรค์กลางแจ้ง รวมไปถึงคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่จากการลงมือทำศิลปะด้วยตัวเอง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไป ราชเทวีถือเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนาน ใต้ภาพความเป็นเมือง แหล่งสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่นี่คือที่ตั้งของชุมชนมุสลิมแขกจามอายุกว่า 230 ปี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องภูมิปัญญาการทอผ้าคุณภาพดีมายาวนาน และยังมีมัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของชุมชนแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ควรค่าแก่การไปเยือน และอนุรักษ์ไว้ ราชเทวีในสายตาของเราจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นย่านหนึ่ง ที่ศิลปวัฒนธรรมของโลกเก่าเดินทางข้ามกาลเวลามาบรรจบกับงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ข้อดีของราชเทวีก็คือโลเคชันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คนทุกเพศทุกวัยเดินทางมาได้โดยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ แถมยังเดินได้ยาวๆ หมดห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวน่าสนใจ […]

สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน

ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]

สื่อไทยต้องกล้าเปลี่ยน : ‘พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ’ สื่อมวลชนที่อยากผลักดันเพศเท่าเทียม

กรกฎาคม 2021 Thaipublica.org รายงานว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไทยผลิตซีรีส์วายมากถึง 40 เรื่อง และในปีเดียวกันนั้น คาดว่าจะมีซีรีส์มากถึง 90 เรื่อง มองเผินๆ คุณคงคิดว่า ประเทศนี้เฟรนด์ลี่กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศเอามากๆ แต่เปล่าเลย นี่เป็นเพียงฟิกชันในหนังสือ และสื่อเพื่อเอนเตอร์เทนเมนต์ ไม่ใช่เรื่องจริง  เช่นเดียวกับมายาคติ ‘ไทยคือสรวงสวรรค์ของ LGBTQ+’ ที่ผลิตซ้ำพร่ำเพรื่อ แต่ในชีวิตจริงคือขั้วตรงข้าม คู่รักเพศเดียวกันยังลงเอยทางกฎหมายไม่ได้ มิหนำซ้ำชุมชนเพศหลากหลายยังคงเผชิญอคติ ถูกลิดรอนสิทธิซ้ำๆ โดยไม่มีกฎหมายหรือนโยบายมารองรับสิทธิที่ควรจะเป็น จนทุกวันนี้ สังคมไทยยังสะสมการกดทับนานหลายเจเนอเรชัน มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมประเด็นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อความเท่าเทียมทางเพศไม่มีจริง การเรียกร้องเรื่องซ้ำๆ จึงเป็นสัจธรรมของรัฐแห่งการเพิกเฉย นั่นคือเหตุผลที่ผลักให้ อั้ม-พัชญ์สิตา ไพบูลย์ศิริ สื่อมวลชนรุ่นใหม่ เดินหน้านำเสนอประเด็นซัปพอร์ตสิทธิความเท่าเทียมทางเพศตั้งแต่เธอเรียนจบปริญญาตรีด้านวารสารศาสตร์ อั้มเคยเขียนบทความสิทธิมนุษยชนจากประสบการณ์ส่วนตัวเรื่อง ประเทศไทย : ดินแดนสวรรค์ (หลอกๆ) ที่คนข้ามเพศถูกผลักออกได้ทุกวินาที จนได้รับรางวัล Writers that Matters : นัก (อยาก) เขียน […]

Tiffany’s Show เพชรแห่งพัทยาที่อยากเอาใจลูกค้าพอๆ กับสร้างอาชีพให้ชาว LGBT+

Urban Creature x UN Women นึกถึงพัทยา คุณนึกถึงอะไร ต้นมะพร้าว ตลาดน้ำ หาดจอมเทียน หรือชีวิตกลางคืน พัทยาในความคิดของทุกคนอาจแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าถามฉัน ในฐานะคนที่นับตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน LGBTQ+ และได้ยินชื่อสถานที่แห่งนี้มานาน-ฉันนึกถึง Tiffany’s Show นับตั้งแต่เปิดการแสดงครั้งแรกในปี พ.ศ.2517 Tiffany’s Show กลายเป็นหมุดหมายสำคัญที่คนมาเยือนพัทยาต้องนึกถึง แต่มากกว่าสาวสวย รวยความสามารถ และการแสดงอันน่าตื่นตาตื่นใจซึ่งเป็นภาพจำของใครหลายคน ที่นี่ยังถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเมือง มากกว่านั้นคือสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในชุมชน รวมถึงชาว LGBTQ+ ที่เดินทางจากทั่วประเทศหลายร้อยชีวิต สิ่งที่บางคนอาจไม่รู้คือโรงละคร Tiffany’s Show, เวทีประกวด Miss Tiffany’s Universe และ Miss International Queen นั้นควบคุมงานโดย จ๋า-อลิสา พันธุศักดิ์ ทายาทรุ่นสอง และผู้บริหารหญิงที่ยกระดับให้โชว์แห่งนี้โด่งดังไกล ผลักดันให้ LGBTQ+ ไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คอลัมน์ประจำจังหวัดคราวนี้ ฉันจึงอาสาพาทุกคนมาหาลมทะเลพัทยา ก้าวเข้าไปในโถงโอ่อ่าของ Tiffany’s Show เพื่อพูดคุยกับอลิสาถึงประวัติศาสตร์ของโรงละครตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง […]

‘นิทรรศกี’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่องกีๆ ผลักดัน ‘ผ้าอนามัยฟรี’ เพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

‘เมนส์ของตัวเอง ทำไมต้องให้รัฐรับผิดชอบ?’‘นโยบายนี้จะมีคนได้ประโยชน์สักกี่คน?’‘เอาเวลาไปแก้ปัญหาปากท้องดีกว่าไหม? แค่ผ้าอนามัยใครๆ ก็ซื้อได้’ คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่เราเห็นอยู่บนโลกออนไลน์หลังเปิดตัว ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา นิทรรศการนี้เปิดตัวในวันสตรีสากล ซึ่งในปีนี้มีธีมรณรงค์ว่า #BreakTheBias เพื่อปลดแอกอคติและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่พรรคเพื่อไทยต้องการผลักดันในปัจจุบันจึงเกิดเป็นนิทรรศกีขึ้นมา เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่า ‘ผ้าอนามัย’ เป็นของส่วนตัว ประจำเดือนเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ จึงเป็นเรื่องใหม่มากๆ ในสังคมไทยที่จะยกขึ้นมาเป็นสวัสดิการรัฐ และทำให้เรื่องกีๆ ที่มักจะถูกทำให้เป็นเรื่องต้องห้ามถูกนำมาถกเถียงกันมากขึ้น หากคุณเป็นผู้มีประจำเดือน หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในหลายๆ เรื่องที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ประจำเดือนเลอะในที่สาธารณะ ต้องเจียดเงินไปซื้อผ้าอนามัยในวันที่ประจำเดือนมาฉุกเฉิน หรือให้ผ้าอนามัยเพื่อนฟรีๆ ทันทีที่มีคนขอ แต่สำหรับบางคน การมีประจำเดือนอาจไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีเท่าไร หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าในประเทศไทยยังมีผู้มีประจำเดือนกว่า 64.72% ที่เข้าไม่ถึงผ้าอนามัยเพราะความยากจน (Period Poverty) โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างผู้มีรายได้น้อย คนในวัยเรียน และคนในเรือนจำ ผู้มีประจำเดือนกลุ่มนี้จึงต้องใช้อย่างอื่นแทนผ้าอนามัย และจำใจเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพเพราะไม่มีทางเลือกอื่น ผ้าอนามัย สวัสดิการรัฐ และอคติทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร? เราจะพาไปแหวกประตูกีและดูความเป็นไปได้ของ ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ กับ ‘ปกป้อง-ชานันท์ ยอดหงษ์’ และ ‘จิน-สิรวิชญ์ […]

JARB ศิลปินนักโหยหาอดีตผ่านเพลง J-City Pop สู่ Thai Lyric Visualizer ของ The Weeknd

เมื่อสี่ปีก่อน เรารู้จัก ‘JARB’ หรือ ‘จ๊าบ–มงคล ศรีธนาวิโรจน์’ ตอนเขาไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสาร a day Magazine เป็นครั้งแรก  จ๊าบเป็นนักศึกษาฝึกงานตำแหน่ง Illustrator หรือนักวาดภาพประกอบไฟแรง ที่ทั้งขยันและทำงานด้วยสนุก  ความขยันและความหาทำของจ๊าบ (ชม) ทำให้เขาผ่านประสบการณ์การฝึกงานมาอย่างโชกโชน จนกระทั่งเรียนจบจากสาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ รั้ว ม.ศิลปากร จ๊าบก็เข้าทำงานที่ Flvr Studio ของ โอ-ศรัณย์ เย็นปัญญา ก่อนที่เขาจะกลับมาเป็นนักวาดภาพประจำที่ a day สื่อสิ่งพิมพ์บันดาลใจที่ผลักดันให้เขาใฝ่ฝันอยากเป็นนักวาดภาพประกอบมาตั้งแต่ครั้งเรียน ม.ปลาย  สำหรับคนที่ติดตามผลงานจ๊าบเป็นประจำจะเห็นว่างานของเขาโคตรเท่ แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างขนานนามให้เขาเป็นนักวาดภาพประกอบสุดไฮเปอร์ ที่ทำงานด้วยง่าย ทำได้ทุกแบบทุกสไตล์ แถมสร้างสรรค์งานอย่างว่องไว และได้ผลลัพธ์เนี้ยบกริบชนิดหาตัวจับยาก และเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของจ๊าบ คือสายตาโหยหาอดีตที่เขาหยิบจับเอาความ Nostalgia และความเครซี่ในแนวเพลง Japan City Pop มาแต่งแต้มจนกลายเป็นงานส่วนตัวที่สร้างสรรค์ออกมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอน ปัจจุบันเขาบุกเข้าไปในโลก NFT แล้วสะสมชื่อเสียงในระยะเวลาอันรวดเร็ว […]

‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน

Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต  ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย   เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้  ผ้าทอสามัญประจำบ้าน  พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน  “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]

VERSO รร.นานาชาติที่รื้อการศึกษาเดิมทิ้ง สอนเด็กแบบดีไซเนอร์ ให้ลองคิดทุกอย่างจากศูนย์

“ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมคือถนนแคบๆ เส้นเดียว ที่เด็กถูกบังคับให้ต้องเดิน ในขณะที่โลกใบนี้ยังมีทางอีกมากมาย” หนึ่งในประโยคที่ผมชอบและเห็นด้วยมากที่สุดจาก Cameron Fox ผู้ก่อตั้งโรงเรียนและคุณครูใหญ่ของ VERSO International School โรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่แห่งย่านบางนา ที่สอนโดย Learning Designer หรือนักออกแบบการเรียนรู้ ที่พร้อมจะปรับแต่งทั้งวิชาการและทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ  ไม่ใช่วิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ หลักสูตรที่ VERSO สอนให้นักเรียนเรียกว่า Future Ready Skill หรือทักษะแห่งอนาคตที่มีด้วยกันถึง 141 ทักษะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเด็กคนหนึ่งต้องอัดทุกอย่างลงไปในสมอง พวกเขามีอิสระที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบในวันนี้ ที่หากว่าวันข้างหน้าเกิดไม่ถูกใจ และอยากปรับเปลี่ยนใหม่ก็คุยกันได้เสมอ  DNA อย่างหนึ่งของโรงเรียนนี้ที่ผมสัมผัสได้คือทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการกล้าแสดงออก แต่กล้าที่จะชอบในสิ่งที่ตัวเองรักโดยไม่ถูกกฎเกณฑ์มาบีบบังคับ ด้วยการสอนวิธีคิดแบบ Designer กล่าวคือคนที่เป็นนักออกแบบนอกจากจะมีหัวด้านความสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญคือต้องรับฟังและมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น “Put yourself in someone else’s shoes” คาเมรอนย้ำเรื่องนี้มาก วันนี้เราเดินเข้ามาสนทนากับผู้ก่อตั้งโรงเรียน ออฟฟิศของเขาที่เป็นห้องขนาดกลางไม่ได้ใหญ่โตเวอร์วังเมื่อเทียบพื้นที่ทั้งหมดของสถานศึกษา แต่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ไว้รับแสง มองเห็นธงชาติ และจุดรับ-ส่งอยู่ไม่ไกล นอกเหนือจากโต๊ะและอุปกรณ์สำนักงาน ห้องนี้ตกแต่งห้องด้วยรูปจอห์น เลนนอน […]

Fire in the Rain – แสงไฟในสายฝน

เขาว่ากันว่า ถ้าอยากดูหิ่งห้อยต้องมาดูที่อัมพวา จะได้เห็นหิ่งห้อยนับหมื่นพันใต้ต้นลำพู ไอ้เราก็ไม่เคยเห็น จนกระทั่งวันนี้ได้มีโอกาสมาสัมผัส 

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

1 3 4 5 6 7 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.