สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

“ยังมีคนที่ไม่มีสิทธิ์รักใครได้อย่างเป็นทางการ” คุยเรื่องสมรสเท่าเทียมกับคนจัดม็อบ LGBTQ+

แม้หลายคนพร่ำบอกว่าประเทศไทยเฟรนด์ลี่กับ LGBTQ+ มาก แต่เชื่อไหมผ่านมาหลายสิบปี รัฐไทยยังไม่เคยคุ้มครองสิทธิที่พวกเขาจะรักกันได้อย่างเท่าเทียมเลยสักครั้ง ย้อนกลับไปเมื่อเกือบสองปีก่อนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2563 เรายังจดจำบรรยากาศและกิจกรรมของ ‘ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล’ ได้ดี ในฐานะที่เป็นม็อบที่มีสีสันมากที่สุด มีลูกล่อลูกชนมากที่สุด และครีเอทีฟที่สุดในประวัติศาสตร์การชุมนุมของประเทศไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งการต่อบทหนังเรื่อง ‘หอแต๋วแตก’ ที่บิดเอารายละเอียดประเด็นปัญหาทางการเมืองไทยมาสื่อสารอย่างลงตัว การใช้เพลงฮิตในชุมชนคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย การแสดงออกอย่างเสรีผ่านเสื้อผ้าหน้าผมของผู้ชุมนุมที่สดใสจัดจ้าน การปรากฏของธงรุ้งงขนาดใหญ่โบกสะบัดสง่างามกลางถนน รวมถึงการปราศรัยรสแซ่บถึงรากปัญหาเพื่อเรียกร้องสิทธิและเป็นปากเสียงสื่อสารปัญหาใต้พรมที่ LGBTQ+ ต้องเผชิญมาแสนนาน กิจกรรมทั้งหมดสร้างสรรค์ได้อย่างมีลูกเล่นชวนอมยิ้ม แต่ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงหลักการอย่างหนักแน่น เพราะต้องการสนับสนุนจุดยืนของขบวนการประชาธิปไตยเต็มใบ รวมถึงต้องการเรียกร้องและผลักดันประเด็นความเท่าเทียมทางเพศให้เกิดขึ้นจริงสักที ทำให้ แรปเตอร์–สิรภพ อัตโตหิ และเพื่อนสมาชิกกลุ่มเสรีเทยพลัส หยิบเอาไอเดียที่ตัวเองเสนอในแฮชแท็กทวิตเตอร์ #ไอเดียออกม็อบ มาเดบิวต์จัดม็อบแรกในชีวิต ในเวลานั้นประเด็นเรื่องเพศและมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม เริ่มมีกระแสพูดถึงอย่างแพร่หลายแล้ว ทว่าเมื่อเกิดม็อบที่โฟกัสถึงสิทธิของคนเพศหลากหลายขึ้น ทั้งยังมี ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ครั้งที่ 2 และอีกหลายๆ ม็อบตามมา ประกอบกับกลุ่มแอ็กทิวิสต์ที่ต่อสู้เรื่องเพศทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ที่เริ่มมีพื้นที่ เป็นที่รู้จักมากขึ้น ก็ยิ่งเสริมพลังให้การต่อสู้เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และขอบเขตบทสนทนาเรื่องนี้ให้ไปไกลกว่าที่เคย ล่าสุดมูฟเมนต์ #สมรสเท่าเทียม ได้กลายเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมอย่างดุเดือดว่า ทำไมรัฐบาลไทยถึงยังไม่ให้ผ่านซะที (วะ) โดยที่แรปเตอร์เองก็ได้ร่วมจัดม็อบสมรสเท่าเทียมในนามเครือข่ายภาคีสีรุ้งเพื่อสมรสเท่าเทียม […]

Bangkok Design Week 2022 เดินเล่น 5 ย่าน ดูงานสร้างสรรค์ 5 – 13 กุมภาพันธ์นี้

หลังจากที่กรุงเทพฯ เงียบเหงามานาน ในที่สุดเราก็ได้ออกไปเดินอีเวนต์นอกบ้านกันจุใจแล้ว เพราะในที่สุด Bangkok Design Week 2022 ก็กลับมาแล้ว Bangkok Design Week 2022 หรือ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ปีนี้กลับมาภายใต้แนวคิด “Co With Creation คิด สร้าง ทางรอด” ชวนนักออกแบบทั่วเมืองมาร่วมมือกันหาทางออกให้กับชีวิตในยุคโควิด-19  งานนี้เป็นอีกปีที่เรารอคอยว่าจะมีอะไรสนุกๆ เกิดขึ้นบ้าง และได้เห็นพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เคยต้องซบเซาไปพักใหญ่ๆ เพราะโรคระบาด กลับมาสร้างสีสันให้กับกรุงเทพฯ อีกครั้ง ในปีนี้มีการ Co with 5 ประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น Co with Space การออกแบบพื้นที่เพื่อรับมือกับปัญหาโควิด-19, Co with Mental Health งานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิต, Co with Eco การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม, Co with […]

Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่ชาเขียวจากเกียวโต ที่ช่วยเยียวยาใจคนอยากไปญี่ปุ่น

‘คิดถึงญี่ปุ่น’ เราเชื่อว่าคนไทยหัวใจญี่ปุ่นต้องมีความคิดนี้วนเวียนอยู่ในหัวตลอด 2 ปีที่ผ่านมา หรือแม้แต่คนที่มีแพลนจะไปญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2020 จนตอนนี้แล้วก็ยังทำได้เพียงเที่ยวญี่ปุ่นออนไลน์แบบเหงาๆ กันต่อไป ถ้ามีอะไรที่พอจะทำให้เยียวยาใจและคลายความคิดถึงญี่ปุ่นได้บ้าง ก็คงจะเป็นอาหารและบรรยากาศในไทยที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้วาร์ปไปญี่ปุ่นสักพัก เราจึงอยากชวนไปรู้จักกับ Hannari Cafe de Kyoto คาเฟ่น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อกลางปี 2021 ที่ผ่านมา คาเฟ่ที่นำเอาชาเขียวจากเมืองอุจิ เกียวโต มาสร้างสรรค์เป็นเมนูขนมและของหวานอย่างหลากหลาย และยังมีเมนูคิสสะเต็นที่เป็นเมนูคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นเรโทรยุค 80 อีกด้วย ทำให้เราได้สัมผัสกับความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆ ที่ใจกลางทองหล่อ ร้านตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดองกิ มอลล์ ทองหล่อ นี่เอง อิมพอร์ตความญี่ปุ่นจากเกียวโตสู่กรุงเทพฯ ไม่ใช่แค่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้นที่เดินทางไปญี่ปุ่นไม่ได้ในช่วงนี้ แต่บริษัท เอช.ไอ.เอส. ทัวร์ส์ (HIS Tours) หนึ่งในบริษัทท่องเที่ยวชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องบริการด้านการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นก็เช่นกันที่อดพาทุกคนไปญี่ปุ่นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด จึงได้เปิด Hannari Cafe de Kyoto ขึ้นมาเพื่อเป็นที่พักใจของคนที่คิดถึงบรรยากาศความเป็นญี่ปุ่น หรือแม้แต่คนญี่ปุ่นเองยังติดใจที่นี่เช่นกัน เพราะเมื่อเข้ามาในร้านเราจะได้พบกับแม่บ้านญี่ปุ่นแวะเวียนมานั่งทานขนมหวานช่วงบ่ายกันเรื่อยๆ คำว่า ฮันนาริ (はんなり) เป็นภาษาท้องถิ่นของเกียวโต มีความหมายว่า “งดงาม” “สวยงาม” […]

FYI

VESPA LX PINK ROSA บิดสกู๊ตเตอร์คู่ใจไปกับงานศิลปะคอลเลคชันพิเศษจาก Benzilla และ Jirayu Koo

เกือบศตวรรษแล้วที่เวสป้าเป็นสัญลักษณ์ของการโลดแล่น-ลัดเลาะตามท้องถนนในเมือง และเป็นสกู๊ตเตอร์คู่ใจคนทุกรุ่นทุกวัย ตั้งแต่ไอคอนของเยาวรุ่นยุโรปที่เห็นอยู่เสมอในภาพยนตร์คลาสสิก หรือเป็นพาหนะขนของที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายช่วงวัยตามที่เราเห็นตามย่านชุมชนดั้งเดิมของไทย วันนี้เป็นอีกครั้งที่เวสป้าชวนเรามารู้จัก ‘Vespa LX 125 i-Get’ สกู๊ตเตอร์รุ่นยอดนิยมที่ทางเวสป้านำมาปรับโฉมและส่วนประกอบใหม่ให้ดียิ่งขึ้น ที่มาพร้อมกับสีใหม่ของตัวรถเป็นสีชมพู ‘PINK ROSA’ ที่โดดเด่นเหมาะกับทุกคน พร้อมด้วยพรีเมียมคอลเลกชัน ของใช้ที่เข้ากันได้เป็นอย่างดี ออกแบบโดย Jirayu Koo และ Benzilla สองศิลปินไทยที่วาดลวดลายไว้มากมายในวงการศิลปะ  เบื้องหลังของสีชมพู ‘PINK ROSA’ นี้ก็ไม่ได้ยึดติดกับเพศของผู้ใช้ แต่เป็นสีใหม่ที่มีความเป็น Unisex เข้ากันได้กับทุกเพศ และเปล่งปลั่งสอดรับกับแบรนด์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอย่างเวสป้า Urban Creature ได้ทดลองขับกันไปแล้ว และถ้าใครอยากรู้ว่าเวสป้าโฉมใหม่ สีเฉียบนี้จะเป็นอย่างไร มีอะไรโดนใจผู้รักสกู๊ตเตอร์และนักขี่หน้าใหม่กันบ้าง สวมหมวกและขึ้นนั่งพร้อมกับเรากันได้เลย! ก่อนที่เราไปทำความรู้จักกับตัวรถ และสีใหม่อย่าง ‘PINK ROSA’ แล้วทางเวสป้ากระซิบมาว่า 400 คนแรกที่รับคูปองสั่งซื้อจะได้รับพรีเมียมคอลเลกชัน ทั้งหมวกกันน็อก ผ้าคลุมเบาะ กระเป๋า Tote Bag ผ้าเช็ดหน้า หน้ากากผ้า พวงกุญแจ และชุดสติกเกอร์ที่ทั้งหมดออกแบบลวดลายโดยศิลปินชาวไทย Jirayu Koo […]

Jim Thompson Art Center จากพิพิธภัณฑ์ผ้าไทย สู่สเปซใกล้สยามฯ ที่รวมห้องสมุด คาเฟ่ และแกลเลอรีไว้ด้วยกัน

ปทุมวันน่าจะเป็นย่านหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีคนเลือกเป็นจุดหมายปลายทางในการนัดพบ แลกเปลี่ยนบทสนทนา และใช้เวลาผ่อนคลายมากที่สุด นั่นเป็นเพราะย่านนี้เป็นที่ตั้งของสยามและศูนย์การค้าที่อุดมไปด้วยร้านรวงมากมาย  แต่ขณะเดียวกันท่ามกลางบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยวิถีชีวิตแบบร่วมสมัยและความวุ่นวายใจกลางเมือง ยังมีพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน อาคารทรงเรือนไทยที่รายล้อมไปด้วยสวนเขียวขจีซ่อนตัวอยู่ในซอยเกษมสันต์ 2 ซึ่งนอกจากประวัติศาสตร์และของสะสมเก่าแก่ของจิม ทอมป์สัน ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมผ้าไหมไทยแล้ว ที่นี่ยังติดท็อป 2 ในบรรดาสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวมากที่สุดรองจากวัดพระแก้วด้วย ถึงจะเป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจ แต่ด้วยองค์ประกอบทั้งหลายนี้ย่อมสร้างภาพจำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยคิดว่าตัวเองไม่เหมาะกับที่นี่ ขนาดเราที่อาศัยอยู่ย่านนี้มานานหลายปีก็ไม่เคยคิดมาเยือน เพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนเมื่อช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวหอศิลป์ Jim Thompson Art Center (JTAC) ขึ้นในบริเวณใกล้เคียงพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน เป็นตึกสูง 4 ชั้นบนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร มีพื้นที่ใช้สอยครบครันตั้งแต่ลานจอดรถ คาเฟ่ ห้องสมุด อาร์ตช็อป แกลเลอรี ไปจนถึงพื้นที่จัดกิจกรรม เพื่อตอบโจทย์ในการเป็นแหล่งความรู้และจุดพบปะของผู้คนที่สนใจศิลปะ ทำเอาเราต้องติดต่อขอพูดคุยถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับผู้อำนวยการหอศิลป์ ‘เจี๊ยบ-กฤติยา กาวีวงศ์’ ภายในหอศิลป์มีอะไรบ้าง ความตั้งใจและหมุดหมายของการขยับขยายเขตแดนทางศิลปะร่วมสมัยครั้งนี้คืออะไร เรามาทัวร์พื้นที่ทางศิลปะแห่งใหม่ในกรุงเทพฯ ไปพร้อมๆ กัน เพิ่มโอกาสด้วยการสร้างพื้นที่แห่งใหม่ ก่อนทัวร์หอศิลป์ Jim Thompson […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ นิยายที่บอกว่าถ้าใจเป็นยังไงบ้านก็เป็นอย่างนั้น

หากพูดถึงการจัดบ้านขึ้นมาเมื่อไหร่ หลายคนน่าจะนึกถึงชื่อ ‘มาริเอะ คนโดะ’ นักจัดบ้านชาวญี่ปุ่นเจ้าของหนังสือ The Life-Changing Magic of Tidying Up ที่โด่งดังไปทั่วโลก ขนาดเราเองยังหยิบยืมคำ Spark Joy ที่เธอใช้เวลาเจอสิ่งของที่จุดประกายความสุขมาพูดอยู่บ่อยๆ แต่สำหรับ คุณโทมาริ นักจัดบ้านในหนังสือ ‘คุณโทมาริ นักจัดบ้านด้วยการจัดใจ’ เราคิดว่าเธอไม่ได้เหมือนคุณมาริเอะเท่าไหร่หรอกนะ “คนที่เก็บกวาดห้องให้เรียบร้อยไม่ได้คือคนที่มีปัญหาทางใจ” ด้วยความเชื่อเช่นนี้ งานหลักของ โทมาริ โอบะ นักจัดบ้านหญิงวัย 54 จึงไม่ใช่การช่วยทำความสะอาดบ้านให้เหล่าลูกค้า แต่เป็นการแนะแนววิธีจัด “เก็บ” หรือเลือก “ทิ้ง” ข้าวของรอบตัว ซึ่งจะส่งผลต่อการเปลี่ยนมุมมองความคิดในการใช้ชีวิตของผู้คนเหล่านั้น อ่านคำโปรยเท่านี้ เราก็ทราบได้ทันทีว่านิยายหนา 300 กว่าหน้าเล่มนี้ไม่ได้มาสอนฮาวทูการจัดบ้านเท่านั้น แต่น่าจะช่วยจัดความรู้สึกข้างในหรือ ‘ใจ’ ของผู้คนควบคู่ไปด้วย และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้เราเลือกหยิบเล่มนี้มาอ่านในช่วงคาบเกี่ยวของท้ายปีเก่า-ต้นปีใหม่ที่เป็นช่วงทำความสะอาดห้องและปัดเป่าเรื่องในใจครั้งใหญ่ของเรา หลายคนน่าจะเคยประสบปัญหาทิ้งของไม่ลง เก็บของไว้ในบ้านจนเต็มไปหมดทั้งที่ไม่ได้ใช้ ซื้อของใหม่ทั้งที่มีของที่คล้ายกันอยู่แล้ว หรือกระทั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าของที่ซื้อมาหมดอายุการใช้งานไปนานแล้ว ทั้งหมดนี้ถ้ามองเผินๆ ก็คงดูเป็นเรื่องปกติที่ใครก็เป็นกัน ทว่าความจริงแล้วมันต่างยึดโยงกับปัญหาภายใน ไม่ว่าจะเป็นการช้อปปิงบำบัดความเครียดที่คนทำงานออฟฟิศจำนวนมากประสบ หรือบางคนอาจสาหัสขนาดมีอาการโรคเก็บสะสมของ ไม่กล้าทิ้งของอะไรเลยเพราะกลัวไม่มีใช้ จนต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการ […]

ลำกระโดงสโมสร คลับคนแม่กลองที่จะพาไปรู้จักและใกล้ชิดเมืองแม่กลองผ่านลำน้ำและการพาย

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันเดียวกับที่กรมอุตุฯ ประกาศว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว อากาศยามเย็นของแม่กลองพอจะกล่าวได้ว่าเย็นสบาย มีสายลมอ่อนโบกโบยเป็นระยะ และฝนเจ้ากรรมทำท่าว่าจะยังไม่หนีหายไปไหน ส่อเค้าลางเป็นเมฆสีดำที่ลอยอยู่ไกลๆ และเรดาร์น้ำฝนจากแอปพลิเคชันก็การันตีเลยว่าราตรีนี้ไม่รอดแน่  “โห กำลังมาเลย” ก๊อก-กึกก้อง เสือดี ชายหนุ่มเจ้าของคลับลำกระโดงสโมสรกล่าวก่อนเดินไปที่ท่าน้ำของ อบต.แหลมใหญ่ เพื่อยกเรือคายัคสีสดลงจากหลังคารถเอสยูวี ก่อนจะอธิบายทีมงานผู้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับการคมนาคมทางน้ำที่คราวนี้ต้องรับบทเป็นฝีพายถึงเทคนิคในการพายเรือให้ได้แรงดี กฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน พร้อมอธิบายเส้นทางคร่าวๆ ให้ฟัง เริ่มต้นด้วยเลาะไปตามท่าเรือที่สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยเรือหาปลาลำใหญ่ ต้านทางน้ำขึ้นดูประวัติศาสตร์ชุมชนแม่กลอง หยุดอยู่ริมฝั่งนั่งบนเรือเพื่อขอผูกมิตรกับหิ่งห้อยที่วิบวับราวกับแสงไฟจากงานเทศกาล ก่อนจะไหลตามสายน้ำกลับสู่จุดเริ่มต้น ทั้งหมดนี้คือน้ำจิ้มจากลำกระโดงสโมสรที่เราจะได้เจอกันในวันนี้  “เราอธิบายความเป็นแม่กลองจากการพายเรือร่วมกัน วันนี้เรามาที่แหลมใหญ่ก็เลยชวนเป้ (ชาวแม่กลองอดีตนักกีฬาคายัคที่วันนี้เป็นไกด์กิตติมศักดิ์) มาด้วย อยากให้เป้ได้เห็นศักยภาพของบ้านตัวเองว่าเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เขามีนะ (ยิ้ม) มันเป็นโอกาส เป็นอนาคต แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรจากสิ่งที่เรามีอยู่ เราจะพามันไปด้วยได้อย่างไร” ตะวันทำท่าจะคล้อยต่ำ เรากระชับเสื้อชูชีพสีส้มก้าวลงบันไดอย่างมั่นคง แล้วขึ้นเรืออย่างโคลงเคลงตามประสาคนไม่คุ้นเคย เมื่อจำนวนสมาชิกครบถ้วนไม้พายก็เริ่มออกแรงต้านสู้กับสายน้ำ เรือคายัคทั้งแบบสมัครเล่น มืออาชีพ และกระดานซัปบอร์ดไหลไปข้างหน้าทีละนิด เมื่ออยู่ติดผิวน้ำเรือแต่ละลำใหญ่ขึ้นถนัดตา และหนึ่งวันกับลำกระโดงสโมสรก็เริ่มต้นขึ้น… 01 ปฐมบทลำกระโดง เราเดินทางกันอย่างไม่เร่งรีบ เสียงพายกระทบน้ำ ควบคู่ไปกับเสียงสนทนาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของผู้มาเยือน หากฟังจากที่พี่ก๊อกเล่า เรารู้สึกได้ว่าแม่กลองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Active Citizen ที่พยายามทำสิ่งที่ตัวเองถนัดในการพัฒนาให้เมืองดีขึ้น แน่นอนว่าลำกระโดงสโมสรก็เป็นหนึ่งในนั้น  “แม่กลองเรามีฐานเป็นคนขับเคลื่อนเมืองอยู่แล้ว […]

สุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง โมเดลที่บอกว่าหมาจรจัดไม่ใช่ภาระ และอยู่ร่วมกับสังคมได้

ยามเย็นของตลาดแม่กลอง ตลาดติดทางรถไฟหุบร่มไปเรียบร้อย คุณแม่แวะมาหิ้วมื้อเย็นไปฝากครอบครัว เด็กนักเรียนถือไม้ลูกชิ้นทอดแกล้มกับน้ำอัดลม ชายหนุ่มวัยเก๋าฝังตัวอยู่ในบาร์เบอร์ที่น่าจะใช้บริการกันมาแต่นานนม หมาปลอกคอเขียวใส่เสื้อกั๊กสีส้มกระโดดขึ้นมอ’ไซค์วินอย่างคุ้นเคย เจ้าตัวอวบอ้วนสีดำไม่สนิทคาบตะกร้าเดินตามคนรู้ใจ ประชากรสี่ขาครับกระจายตัวไปทั่วตลาดอย่างกลมกลืน บ้างเล่นกับพ่อค้าแม่ขาย บ้างนอนทอดอารมณ์ไม่สนใจความเป็นไปของผู้ใด พอจะกล่าวได้ว่าบรรยากาศตลาดแห่งนี้ดูแสนคึกคักแม้เป็นวันธรรมดา หากลองทอดน่องเลยมาทางโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นอกจากจะพบ ‘กล้าหาญ’ ดาราตลาดที่เราบอกว่ากระโจนขึ้นลงรถพี่วินฯ อย่างคล่องแคล่วไร้ความเขินอายแล้ว ‘โอวัลติน’ สามขาพันธุ์ซ่าก็ออกมาทักทายคนรู้จักตามประสา ปลอกคอสีเหลืองเตือนเราว่าอย่าพึ่งรีบทักทายเพื่อนใหม่คนนี้ คอยดูท่าทีความเป็นมิตรอีกสักนิดหนึ่งดีกว่า  “โอวัลตินนี่แล้วแต่คนเลยครับ ต้องดูท่าเขาหน่อยว่าจะให้จับหรือเปล่า” พี่หนึ่ง-ณัฐพงษ์ งามสง่า เจ้าของร้านดอกไม้หน้า รพ.สมเด็จฯ และผู้ก่อตั้งโครงการสุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง เอ่ยปากแล้วบอกว่าส่วนเจ้ากล้าหาญนี่ใครอยากเล่นด้วยก็เอาเลย เพราะเป็นมิตรกับทุกคนอยู่แล้ว ยิ่งกับพี่วินฯ นี่จะยิ่งซี้เป็นพิเศษ อยากขึ้นมอเตอร์ไซค์คันไหนก็ได้หมดแถมไม่เสียตังค์ด้วย  ใครบอกว่าหมาจรต้องจับเอาไปตอนสถานเดียวพี่หนึ่งบอกว่าไม่จริง เพราะถ้าออกแบบและวางระเบียบให้ดีหมาอยู่กับคนได้แน่ ว่าแต่เจ้าของเสื้อสีฟ้าคนนี้มีวิธีอะไร ฉายาผู้ใหญ่บ้าน (ของชาวสี่ขา) ทำยังไงถึงได้มา ปลอกคอที่ใช้สีจราจรบอกความเป็นมิตรใช้ได้ผลแค่ไหน ชวนอ่านไปพร้อมกันเลยครับ การันตีว่าถูกใจทั้งคนรักและไม่รักหมาแน่นอน เริ่มจากคนรักหมา ในโลกของคนรักหมาผู้ใหญ่บ้านชาวสี่ขาตลาดแม่กลองอย่างพี่หนึ่ง ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีคนนับหน้าถือตาไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาหมาจร จับหมาไม่มีเจ้าของไปฉีดวัคซีน ทำหมันจนเสร็จสรรพ พี่แกยังเป็นเจ้าของเพจ @มัชเฌ Never Die อัศวินหมาดำ ที่สมัยก่อนเป็นไดอารีของเจ้ามัชเฌ ลาบราดอร์สีดำต้นตำรับเซเลบแห่งตลาดแม่กลองที่ดังถึงขนาดไปออกทีวีที่ญี่ปุ่น […]

The Fence Craft Beer Bar บ้านริมคลองของคนชอบคราฟต์เบียร์ พาย SUP และรักกาแฟ

การจะหาที่พักผ่อนในกรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าอยากได้ความร่มรื่น อยู่ท่ามกลางบรรยากาศสงบๆ และอยู่ใกล้เมืองแล้วยิ่งตัวเลือกน้อยลงเข้าไปอีก  จาก Pain Point ของคนเมืองที่ลำบากกับการหากิจกรรมวันหยุดและหาสถานที่พักผ่อน ทำให้เราได้รู้จักกับบ้านริมน้ำหลังหนึ่งชื่อ The Fence Craft Beer Bar คอมมูนิตี้ย่านตลิ่งชันที่รวมหลายกิจกรรมเอาไว้ในที่เดียว ทั้งพายซัปบอร์ด ดูวิถีชีวิตริมคลองกับ SUP Talingchan ดื่มกาแฟ Specialty ที่ Huto.Co (ฮูโต๋) และปิดท้ายวันด้วยคราฟต์เบียร์ดีๆ และอาหารอร่อยๆ จาก The Fence Craft Beer Bar ในบรรยากาศริมคลองที่เหมาะกับการนั่งรับลมเย็นใต้ร่มไม้ตลอดทั้งวัน คอมมูนิตี้นี้คือการรวมตัวของเพื่อนที่ชอบอะไรต่างกัน แต่อยู่รวมกันแล้วลงตัวได้ดี แถมยังให้ชุมชนรอบข้างมีสีสันมากขึ้น เริ่มต้นมาจาก The Fence Craft Beer Bar ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนที่ชอบดื่มคราฟต์เบียร์เป็นชีวิตจิตใจ โดยมีหุ้นส่วน 4 คนคือ อ้น-ศิรสิทธิ์ กลิ่นสุวรรณ, อู๋-จารุกิตติ์ ธเนศอนุกุล, อ๊อบ-อรรถพล ธเนศอนุกุล และฤทธิ์-ณรงค์ฤทธิ์ เอนกสุวรรณมณี […]

จากนักอสังหาฯ ถึงผู้พัฒนาเมือง ‘ดร.ยุ้ย’ ผู้วางนโยบายแห่งทีมชัชชาติ

ทำงาน ทำงาน ทำงาน ก่อนหน้านี้ Urban Creature มีโอกาสได้พูดคุยกับบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงการก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขสารพัดสารพันปัญหา และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน หลังจากปล่อยบทสัมภาษณ์และติดตามการทำงานกันมาพักใหญ่ วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับอีกหนึ่งขุนพลในทีมชัชชาติ อย่าง ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเปิดตัวในฐานะทีมนโยบายไปหมาดๆ หากใครมีโอกาสได้ติดตามการทำงานของเสนา จะพบว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายนี้ก็มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองอยู่ไม่น้อย ทั้งโครงการบ้านที่ราคาจับต้องได้ง่าย บ้านที่ขายแล้วนำเงินไปบริจาคเพื่อโรงพยาบาล และอีกหลายโครงการ CSR ที่หยิบมาพูดทั้งหมดคงมีพื้นที่ไม่พอ ในฐานะสื่อที่สนใจเรื่องเมือง เราเตรียมชุดคำถามในมือ พกไปพร้อมความสงสัยในใจว่า CEO ของบริษัทอสังหาฯ ที่มองว่าการให้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และการแก้ไขอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ในการพลิกบทบาทจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Developer มาทำนโยบายผ่านการเป็น Regulator  ว่าจะพัฒนาเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปในทิศทางไหน สารพัดปัญหาของเมืองเทพสร้างจะแก้ยังไง สโลแกนของ Better Bangkok ที่บอกว่าจะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน จะทำให้พวกเรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่า ใครที่สงสัยไม่ต่างจากเราก็ขอเชิญมาอ่านพร้อมกันได้เลยครับ  เล่าเรื่องตัวเองให้ฟังหน่อยว่าปกติแล้วคุณติดตามเรื่องการเมือง หรือนโยบายเมืองอย่างไรบ้าง  […]

1 4 5 6 7 8 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.