ดุกมั้ง : ร้านอาหารโฮมเมดที่รับลูกค้าวันละ 2 โต๊ะ และขายเฉพาะ ‘ปลาดุก’ เท่านั้น

คุณเคยไปทานอาหารร้านไหนที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวแต่ครีเอตได้หลากหลายเมนูไหม? ถ้ายังไม่เคยเจอร้านไหนใจกล้าขายแบบนี้ เราอยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘ดุกมั้ง (Duke Munk)’ ร้านอาหารโฮมเมดในบ้านที่มีวัตถุดิบหลักอย่างเดียวคือ ‘ปลาดุก’ แถมยังมีเมนูไม่เยอะ และรับลูกค้ากลุ่มเล็กๆ แค่วันละ 2 โต๊ะ เท่านั้น  ดุกมั้ง คือร้านอาหารในบ้านของ ดอกฝิ่น-ธเนศ ทรัพย์ศาสตร์ และ เนย-ณัชชา วารีรัตนโรจน์ ในซอยชัยพฤกษ์ (ซอยสุขุมวิท 65) ที่เริ่มจากความชอบทำอาหาร เปิดขายเมนูปลาดุกเฉพาะเดลิเวอรีและเปิดบ้านให้เพื่อนมากินข้าวสังสรรค์ จนปัจจุบันเปิดบ้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ ที่ช่วยกันทำแค่ 2 คน เหมือนมากินข้าวบ้านเพื่อน และต้องจองกันเป็นเดือนถึงจะได้กิน  ที่เปิดรับลูกค้าน้อยขนาดนี้ไม่ได้ต้องการจะเป็นร้านลับ หรือทำให้กินยากแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะทั้งคู่ไม่ใช่เชฟ เป็นแค่คนที่ชอบทำอาหารและอยากเปิดบ้านให้คนได้เข้ามากินอาหารฝีมือของตัวเองเท่านั้น จึงต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบและทำอาหารให้ได้คุณภาพเท่าที่ตัวเองจัดการไหว  นอกจากเมนูปลาดุกทุกจานในร้านนี้จะมีลูกเล่นน่าสนใจแล้ว เรื่องราวของปลาดุกก็สนุกไม่แพ้กัน เพราะกว่าจะทำอาหารจานปลาดุกได้หลากหลายแบบนี้ ดอกฝิ่นใช้เวลาศึกษาและทดลองอยู่นานพอสมควรกว่าจะค้นพบวิธีปรุงปลาดุกทุกจานให้ลงตัว ชื่อร้านดุกมั้ง (Duke Munk) ได้ไอเดียมาจากตอนที่ไปบวช ในวัดมีปลาดุกและเขาก็ชอบกินปลาดุกอยู่แล้ว จึงใช้คำว่า มั้ง (Monk) ที่แปลว่า พระ และอีกนัยหนึ่งคืออยากให้คนที่มากินตั้งคำถาม เกิดความสงสัยว่านี่ใช่ปลาดุกจริงๆ ไหม ปลาดุกมั้ง? […]

จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

P.Sherman The Enjoyable Ground เปลี่ยนตึกร้างให้เป็นที่แฮงเอาต์สำหรับคนฝั่งธนฯ

ถ้าทุกคนได้เห็นภาพตรงหน้าอย่างที่เราเห็น ต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในอาคารเก่าย่านอรุณอมรินทร์ ที่เคยเป็นตึกร้างมาก่อน เพียงแค่เลี้ยวเข้าซอยอรุณอมรินทร์ 39 ทั้งภาพของคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตในลานสเก็ตทรงโค้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่ มีร้านอาหารและคาเฟ่รายรอบ พร้อมผู้มาใช้บริการที่นั่งกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ บรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงอาหารของไฮสกูลต่างประเทศที่มีโต๊ะวางเรียงรายให้เลือกนั่งได้ตามใจ ไหนจะเสียงเพลงที่เปิดขับกล่อมช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ และโซนจัดแสดงศิลปะที่มีศิลปินคอยชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน  อมร สุนทรญาณกิจ ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ยิ่งเซอร์ไพรส์เราไปอีก เมื่อเขาบอกว่าก่อนหน้าจะเป็นลานเซิร์ฟสเก็ตอินดอร์สุดเก๋อย่าง P.Sherman The Enjoyable Ground ที่นี่เคยเป็นโรงงานเย็บผ้าของครอบครัวสุนทรญาณกิจมาก่อน แต่หลังญาติๆ ย้ายออกไปตั้งโรงงานอยู่นอกเมือง ตึกแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมามากกว่าสิบปี  พอมรดกถูกส่งต่อมาให้สถาปนิกอย่างอมร เขาจึงเริ่มคิดอยากรีโนเวตตึกแห่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเก่า เปลี่ยนตึกร้างเป็นลานเซิร์ฟสเก็ต “เพราะที่บ้านพี่น้องทุกคนมีธุรกิจกันหมดเลย ตอนแรกผมเลยกะจะรีโนเวตทำเป็นออฟฟิศ เปิดชั้นล่างให้เช่าทำร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือคาเฟ่เล็กๆ ให้พนักงานในออฟฟิศมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที พอดีกับตอนโควิด เซิร์ฟสเก็ตค่อนข้างดัง เราก็ไปเริ่มเล่นด้วย พอเล่นๆ ไปเริ่มสนุก จริงจัง เลยเริ่มชวนเพื่อนมาเล่นกันที่นี่” พื้นที่ชั้นสองของตึกร้างถูกใช้งานอีกครั้งเป็นสนามอินดอร์สำหรับเล่นเซิร์ฟสเก็ตช่วงหน้าฝน ส่วนลานหน้าอาคารก็ถูกใช้เป็นสถานที่แฮงเอาต์ที่เขาและเหล่าเพื่อนๆ จะพกเก้าอี้แคมป์ปิ้งมานั่งกินดื่มให้หายเหนื่อย  ตอนนั้นเองที่อมรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ของพื้นที่ คิดรีโนเวตปรับปรุงพื้นให้เหมาะกับการเล่นมากขึ้น และชวนน้องชายมาเปิดคาเฟ่ทำเป็นพื้นที่รองรับเพื่อนๆ ชาวเซิร์ฟสเก็ต  “ตอนที่คิดจะทำ มันเริ่มมีลานสเก็ตเกิดขึ้นเยอะ ยิ่งเราอยู่ในซอยอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้อยู่รอดต่อไปยาก เพราะถึงเซิร์ฟสเก็ตจะถูกบรรจุเป็นกีฬาไปแล้วยังไงก็ไม่มีทางหายไปร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ากระแสเซิร์ฟสเก็ตก็คงไม่ได้อยู่ไปนานขนาดนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดทางธุรกิจเราเลยลองจับโมเดลมาร์เก็ตแบบที่อเมริกา […]

ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถที่ส่งต่อความใส่ใจบนท้องถนนให้คนกรุงมากว่า 75 ปี

เสียงเครื่องยนต์ดังแว่วในอากาศ  มองแวบแรก ภาพตรงหน้าของเราคือสวนร่มรื่นที่น่าเดินไม่หยอก แต่หากกวาดสายตาดูดีๆ ภายในสวนกว้างแห่งนี้มีถนนกว้างที่ถูกดีไซน์เป็นทางตรง ทางโค้ง และเนินสูง มีป้ายจราจรที่เด่นหราอยู่ท่ามกลางสีเขียวของพืชพรรณ ไหนจะรถยนต์จอดเรียงรายหลายสิบคัน หนึ่งในนั้นคือรถจี๊ปคันใหญ่ที่ดูจากทรงและสีก็รู้ว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน ที่นี่คือสนามหัดขับรถ และไม่ใช่สนามหัดขับรถธรรมดา แต่เป็นสนามของ ส.สะพานมอญ โรงเรียนสอนขับรถยนต์เก่าแก่ประจำกรุงเทพฯ ที่เปิดมานานกว่า 75 ปี เปลี่ยนผู้บริหารมาแล้วสองรุ่น และสอนนักเรียนให้ขับรถได้ดีจนกลายเป็นเจ้าของใบขับขี่มาแล้วกว่า 86 รุ่น อะไรทำให้โรงเรียนสอนขับรถยนต์แห่งนี้ยืนระยะมาได้อย่างยาวนาน ในยามสายของวันที่อากาศเป็นใจ เรามีนัดกับ ครูใหญ่ฑิตยาภรณ์ ทาบทอง ทายาทรุ่นสองที่ใครต่อใครเรียกติดปากว่า ‘ครูใหญ่’ ผู้รับช่วงต่อในการสอนและบริหารโรงเรียนแห่งนี้ ครูใหญ่เดินเข้ามาต้อนรับเราที่อาคารสำนักงานของโรงเรียนอย่างใจดี และเมื่อเสียงเครื่องยนต์ในอากาศเบาลง ท่านก็เริ่มเล่าประวัติศาสตร์และหัวใจของโรงเรียนแห่งนี้ให้ฟัง เรียนขับรถ 15 บาท ย้อนกลับไปเมื่อ พ.ศ. 2490 ครูสวง ยังเจริญ และครูพิศพงศ์ ยังเจริญ พ่อแม่ของครูใหญ่เริ่มทำธุรกิจจากการเปิดปั๊มน้ำมัน 1 หัวจ่ายของบริษัท Shell ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง ซึ่งถือว่าเป็นถนนสายหลักในกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น ส่งผลให้มีลูกค้ามากมายแวะเวียนมาไม่ขาด เมื่อธุรกิจไปได้ดี อาจารย์สวงผู้เป็นพ่อก็เริ่มมีความคิดอยากสอนขับรถนักเรียนบ้าง เนื่องจากคุณย่าของครูใหญ่เคยเปิดโรงเรียนสอนขับรถชื่อ ‘สมบูรณ์ดี’ […]

อวโลกิตะ : พื้นที่ภาวนาใจกลางสีลมที่เปิดให้คนเมืองเข้าใช้ฟรี

ในวันที่เหนื่อยล้า งานไม่เป็นดั่งใจ และอีกสารพันปัญหาของคนสู้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ชีวิตสู้กลับอย่างไม่ไยดี เย็นวันนั้นคุณเลือกที่จะพาตัวเองไปที่ไหนต่อ? บางครั้งเราแค่ต้องการที่นั่งเงียบๆ เพื่อให้ตัวเองได้หยุดคิดและไตร่ตรองสักพัก แต่ในเมืองที่พื้นที่สาธารณะน้อยอย่างกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนที่เปิดให้เราเข้าไปนั่งพักและใช้เวลาอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานได้ฟรีๆ บ้าง ท่ามกลางบรรยากาศอันเร่งรีบ แข่งขัน และตึกสูงรายล้อมในสีลมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง บนชั้น 9 ของอาคารตั้งฮั่วปัก ซอยสาทร 10 มีสเปซเล็กๆ ที่ชื่อว่า ‘อวโลกิตะ (Avalokita)’ ตั้งอยู่ ที่นี่คือ Meditation Space หรือพื้นที่ภาวนาที่เปิดให้คนเข้ามานั่งพัก อยู่กับตัวเอง เพื่อบ่มเพาะความรัก ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการใช้งาน และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ฟรีๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายหลังเลิกงานในเมืองกรุง มานั่งพักใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง  ภาพคนนั่งสมาธิในห้องเล็กๆ ท่ามกลางตึกสูงในสีลม ตัดกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักกับ ‘อวโลกิตะ’ และแค่ได้ยินว่าที่นี่เปิดให้เข้า ‘ฟรี’ ก็ยิ่งชวนแปลกใจ เพราะในเมืองที่ค่าครองชีพสูงแบบนี้ การจะเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใช้ได้ฟรีๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงนัดพบกับ แพร์-วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ กรรมการมูลนิธิวัชรปัญญา เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดในการทำอวโลกิตะเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พักใจของคนเมือง จุดเริ่มต้นของ ‘อวโลกิตะ’ AVALOKITA : […]

Baan Plan Cafe คาเฟ่ห้องสมุดย่านสาทร ที่อยากเป็นจุดหยุดพักให้คนเมือง

ทุกวันนี้ห้องสมุดในกรุงเทพฯ พอมีให้เห็นมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน แต่ที่จะเข้าไปใช้บริการได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลถึงกฎระเบียบต่างๆ เดินทางง่าย และมีบรรยากาศเป็นกันเอง ร่มรื่น ชวนให้รู้สึกรื่นรมย์ กลับมีจำนวนแทบนับนิ้วได้ หนึ่งในนั้นคือ ห้องสมุดประชาชนแสงอรุณ ที่ตอนนี้กลายมาเป็น บ้านแปลนคาเฟ่ คาเฟ่แห่งนี้ตั้งอยู่ในสาทร ซอย 10 ที่นับว่าเป็นย่านสำคัญทางธุรกิจของกรุงเทพฯ ทุกครั้งที่นึกถึงสาทร เรามักเห็นภาพรถติด คนทำงานเดินขวักไขว่ ตึกระฟ้ามากมาย  ทว่าเมื่อได้เดินเข้ามาในสาทร ซอย 10 และพบกับ บ้านแปลนคาเฟ่ ที่มีความร่มรื่นจากแมกไม้ใหญ่ และพื้นที่ที่ออกแบบเน้นไปทางเรียบง่าย โปร่งโล่ง ทำให้รู้สึกเหมือนได้หยุดพักจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ ไหนจะยังมีชั้นหนังสือเรียงรายให้ใช้บริการฟรี  สำหรับเราที่เป็นคนรักหนังสือและชอบบรรยากาศของคาเฟ่ บอกได้เลยว่าที่นี่คือสถานที่ชุบชูใจชั้นดี ห้องสมุดประชาชนที่กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง แม้ตัวคาเฟ่ห้องสมุดแห่งนี้จะเพิ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี แต่ใครที่รู้สึกคุ้นชื่อ ‘บ้านแปลน’ เป็นพิเศษก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะที่นี่คือส่วนหนึ่งของ ‘แปลน’ กลุ่มคนจากประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อช่วงปี 2516 ที่รวมตัวกันก่อตั้งธุรกิจด้านการออกแบบหลากหลายแขนง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมที่มีคุณภาพ เอ-ศิริวรรณ เจือแก้ว สถาปนิกฝ่ายวิจัยและพัฒนา ของบริษัท แปลน แอสโซซิเอทส์ จำกัด ผู้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการบ้านแปลนคาเฟ่ เล่าให้เราฟังถึงอดีตของร้านว่า […]

เวฬาวาริน โรงแรมจากตึกเก่า 100 ปี ที่คืนชีพให้วารินฯ กลับมาคึกคัก

เราได้ยินมาว่า ตอนนี้อีสานสุดจะครึกครื้นและอุบลราชธานีก็เต็มไปด้วยความคึกคัก เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีคอมมูนิตี้ของคนรุ่นใหม่ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นเต็มไปหมด สำหรับใครที่มาเที่ยวอุบลฯ แต่ไม่รู้จะไปพักที่ไหน Urban Guide ชวนขับรถต่ออีกสักประมาณ 10 นาที ไปที่เวฬาวาริน โรงแรมที่สร้างจากตึกเก่าอายุร่วม 100 ปี แห่งอำเภอวารินชำราบ ที่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ไปนิดเดียว แค่ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตยไปก็ถึงแล้ว เวฬาวารินคือโรงแรมที่มีโครงสร้างเดิมเป็นไม้ และตั้งอยู่บริเวณถนนทหารซึ่งสมัยก่อนเป็นย่านที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปี คนที่จะเข้ากรุงเทพฯ หรือโคราชผ่านทางรถไฟ ก็ต้องแวะมานอนที่ละแวกนี้ก่อนทั้งนั้น แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น มีสนามบินมาเปิดให้บริการ ความเจริญก็ย้ายไปอยู่ในตัวเมืองอุบลฯ จนย่านนี้เต็มไปด้วยความเงียบเหงา พระอาทิตย์ตกดินเมื่อไหร่ก็เงียบสนิทและมีสถานะเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น จากอาคารไม้ที่มองจากชั้นล่างมีพื้นชั้นบนผุพังจนมองทะลุไปได้ถึงหลังคากลับมาเป็นโรงแรมได้อย่างไร การคืนชีพของอาคารหลังเดียวทำให้ย่านนี้กลับมามีชีวิตชีวาได้เพราะอะไร เราชวนย้อนดูเรื่องราวที่ไหลผ่านเวฬาวารินไปพร้อมกันเลยครับ  เดิมทีอาคารอายุร่วมร้อยปีหลังนี้มีเจ้าของรุ่นดั้งเดิมคือท่านผู้หญิงตุ่น โกศัลวิตร ใช้ตึกนี้เป็นที่เก็บสินค้า และขนถ่ายสินค้าจากแม่น้ำมูล แล้วทีนี้คุณตาของ บี-อภิวัชร์​ ศุภากร เจ้าของคนปัจจุบัน มีความสนิทชิดเชื้อกันกับวิชิต โกศัลวิตร สามีของท่านผู้หญิง เพราะเป็นคนค้าคนขายและเป็นคนจีนเหมือนกัน จึงซื้อต่อมาได้เป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว ประจวบเหมาะกับเวลาที่ได้คลังเก็บสินค้าเก่ามาก็เป็นเวลาเดียวกับที่ทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ละแวกนี้เป็นย่านความเจริญเก่า ที่นักเดินทางต้องมาพักก่อนที่จะขึ้นรถไฟในเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้มีโรงแรมเกิดขึ้นประมาณ […]

Urban Foraging BKK ทริปตามหา ‘พืชกินได้’ สารพัดประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในเมืองกรุง

รู้หรือไม่ว่า ‘วัชพืช’ และ ‘สมุนไพร’ นานาชนิดที่อยู่รอบตัวเราสามารถเปลี่ยนเป็นเมนูแสนอร่อยที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร และอาจช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของคนเมืองได้ด้วยนะ 23 เมษายน 2565 เรามีโอกาสไปร่วมทริป ‘Urban Foraging BKK’ ที่จัดโดย สวนผักคนเมือง : ปลูกเมือง ปลูกชีวิต, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นกิจกรรมเที่ยววันเดียว ‘ครั้งแรก’ ที่สวนผักคนเมืองพาคนเมืองอย่างเราไปลัดเลาะตามหาและทำความรู้จักพืชที่ซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพฯ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อทริปว่า ‘พืชกินได้นอกสายตา’ เหตุผลที่ใช้ชื่อนี้ เพราะจริงแล้วๆ รอบตัวของเรารายล้อมไปด้วย ‘พืชอาหาร (Edible Plants)’ ซึ่งไม่ได้หมายถึงผักที่ปลูกในแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวัชพืชและสมุนไพรริมทางที่เราอาจคุ้นตา แต่อาจไม่รู้จักชื่อ หรืออาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพืชเหล่านี้มีประโยชน์สารพัด ทริป Urban Foraging BKK จึงอยากแนะนำพืชอาหารที่เติบโตตามธรรมชาติให้เรารู้จัก เพราะไม่แน่ว่าพืชที่เคยแปลกหน้าเหล่านี้อาจมาปรากฏตัวบนโต๊ะอาหารของเราในอนาคตก็เป็นได้ ที่สำคัญ ทริปนี้ยังมีเป้าหมายสร้างองค์ความรู้ด้านอาหารใหม่ๆ ที่อาจช่วยพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นด้วย  คอลัมน์ Experimentrip จึงอยากพาทุกคนไปติดตามภารกิจตามหาพืชอาหารว่าจะพบพืชชนิดใดบ้าง ประโยชน์และสรรพคุณของพืชแต่ละชนิดคืออะไร และคนเมืองอย่างเราจะรู้สึกเซอร์ไพรส์กับพืชกินได้ที่อยู่ใกล้แค่เอื้อมขนาดไหน ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาออกเดินทางสู่การเรียนรู้ครั้งใหม่พร้อมกันเลย! ล่องเรือมุ่งหน้าสู่ […]

noble PLAY ประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเพลินจิต

‘Next Station เพลินจิต…’ เมื่อได้ยินชื่อสถานีเพลินจิตจากเสียงประกาศอันคุ้นเคยบนรถไฟฟ้า คุณจะคิดถึงอะไรเป็นอย่างแรก?  ในภาพจำของหลายคน ชื่อ ‘เพลินจิต’ อาจจะทำให้นึกถึงย่านออฟฟิศใจกลางเมือง ที่มีหนุ่มสาววัยทำงานเดินกันขวักไขว่ แต่เมื่อถึงช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ทุกคนหยุดทำงาน ย่านเพลินจิตที่รายล้อมด้วยตึกออฟฟิศจึงเงียบเหงาเป็นพิเศษ ตอนนี้เพลินจิตจะไม่เหงาอีกต่อไปแล้ว เพราะ ‘noble PLAY’ พื้นที่สร้างประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเมือง พัฒนาโดย บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา และพร้อมให้ทุกคนเข้าไปทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันแล้ว ท่ามกลางตึกออฟฟิศที่รายล้อมย่านเพลินจิต noble PLAY คือพื้นที่เดียวที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น ‘Art Space’ สำหรับจัดนิทรรศการศิลปะ, ‘Eatery’ กินเมนู All day brunch จาก Toby’s สาขาใหม่ล่าสุด, ‘Pop up Cafe’ ที่จะมีร้านกาแฟ Specialty ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ตั้งแต่วันนี้ – 30 […]

We Are Workers, We Are 99%

ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมาที่เป็นวันพักผ่อน คนทำงานจำนวนหลักร้อยได้มารวมตัวกันที่แยกราชประสงค์ เพื่อเดินขบวนส่งเสียงในการชุมนุมของสหภาพคนทำงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 

‘สุขสำราญ’ เรือนำเที่ยวไฟฟ้าที่พาสำรวจวิถีชีวิตตามสายน้ำ ให้สุขสำราญใจเหมือนชื่อเรือ

‘ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ยุคสมัยหนึ่งเขาเคยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ของมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กร NGO ที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการขับเคลื่อนสังคม เขายังใช้ชีวิตแบบ ‘กรีน’ ทั้งการปั่นจักรยานไปไหนมาไหน แยกขยะ ไม่ใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฯลฯ หลังจากเขามีลูกเล็ก ก็ตกลงกับภรรยาว่าตนเองจะลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลลูกเต็มเวลา แต่ ‘ศิระ’ ก็ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ผูกพัน และสังคมที่อยากเห็น  ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังพักภารกิจประจำ ตอนนี้เขาทำธุรกิจเรือไฟฟ้าเช่าเหมาลำ ‘สุขสำราญ’ บริการนำท่องเที่ยวแบบไม่เหลือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณคลองบางหลวง สายน้ำเล็กๆ ที่มีวัดปากน้ำภาษีเจริญ องค์พระใหญ่ที่เป็นจุดแลนด์มาร์ก และมีตลาด ชุมชนที่อยู่อาศัย อู่ต่อเรือ หรือโรงสีข้าว ที่ล้วนพัฒนามาจากรากฐานประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เรานัดคุยกับเขาในปลายเดือนมีนาคม ตรงกับวันที่ศิระตกลงอาสาเป็นคนขับเรือ รับส่งผู้คนข้ามฟากในงานประเพณีประจำปีของ ‘ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ้วง’ และ ‘ศาลเจ้ากวนอู’ บริเวณตลาดพลูซึ่งมีสายน้ำของคลองบางหลวงคั่นกลาง ในวันที่เทรนด์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือเรือไฟฟ้ามาแรง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตสภาพแวดล้อมตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ศิระ’ เป็นผู้มาก่อนกาลอยู่เหมือนกันที่ลงมือเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลของเรือให้เป็นระบบไฟฟ้าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน  ทั้งแนวทางธุรกิจ […]

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

1 2 3 4 5 6 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.