The Alphabet Book Café ดื่มกาแฟ จิบค็อกเทล อ่านวรรณกรรม ที่สอดแทรกไปด้วยอุดมการณ์คนทำหนังสือ

“มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่” ประโยคจากหนังสือ ‘The Awakening (การฟื้นตื่นของเอ็ดน่า)’ โดย Kate Chopin (เคต โชแปง) ที่ ‘เอก-เอกสิทธิ์ เทียมธรรม’ ผู้จัดการร้าน ‘The Alphabet Book Café’ และบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘สมมติ’ เลือกให้เป็นคำนิยามที่อธิบายภาพบรรยากาศของคาเฟ่หนังสือแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี สำหรับเรา คาเฟ่หลังสีดำแซมไปด้วยสีเขียวของต้นไม้หลังนี้ คือสถานที่หลบภัยชั้นดีของผู้ที่ต้องการหลีกหนีความวุ่นวายในเมือง เพื่อใช้เวลาอยู่กับตัวเอง เสียงเพลง และหนังสือสักเล่ม ก่อนกลับไปลุยงานต่อในวันถัดไป แม้จะอยู่ไกลจากตัวเมืองเสียหน่อย แต่รับประกันว่ามาแล้วไม่รู้สึกเสียเที่ยวอย่างแน่นอน จาก ‘สมมติ Book Café’ สู่ ‘The Alphabet Book Café’ ถึงแม้ว่าร้าน The Alphabet Book Café จะเพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ความจริงแล้วแนวคิดเรื่องการทำ Book Café ภายใต้สำนักพิมพ์สมมตินั้นถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว “จุดที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่องานหนังสือปี 2558 เราพยายามดีไซน์ตัวบูทขายหนังสือ ให้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายหนังสือเพียงอย่างเดียว” เอกเล่าถึงช่วงเริ่มต้นที่ไอเดียเรื่องนี้เริ่มออกมาเป็นรูปเป็นร่าง […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ เพราะความรักในงานบ้าน เลยอยากให้ทุกบ้านสะอาดเรียบร้อย

คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่า? ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานบ้าน มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าลุกขึ้นมาจับไม้กวาด หรือหากจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดก็ทำได้แค่ไล่ฝุ่นและความสกปรกออกไปเท่านั้น แต่ข้าวของที่กองรกอยู่เต็มบ้านก็ยังคงนอนแน่นิ่งอยู่ที่เดิม คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนมาช่วยคัดเก็บและคัดทิ้งสิ่งของต่างๆ และช่วยจัดบ้านให้สวยเนี้ยบเหมือนใหม่ ตอนแรกเราคิดว่าบริการจัดระเบียบบ้านนั้นคงจะมีแค่ในซีรีส์ จนกระทั่งได้รู้จักเพจ ‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ จากกรุ๊ปงานบ้านที่รัก ด้วยโพสต์ที่เล่าเรื่องราวการจัดบ้านของลูกค้าคนหนึ่งพร้อมแนบภาพ Before และ After ก็ทำเอาเราตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะภาพแรกที่เห็นนั้นเป็นห้องที่มีของวางระเกะระกะจนเต็มพื้นแทบไม่มีทางเดิน แต่ภาพถัดมากลับเป็นครัวที่โล่งโปร่งสบายและดูเป็นสัดส่วนพร้อมใช้งานทันตาเห็น  เพราะอย่างนั้นเราจึงตัดสินใจติดต่อเพจแมวบินฯ ไปทันที ไม่ใช่เพราะว่าห้องของเรารกมากจนต้องใช้บริการ แต่ตัวงานของพวกเธอต่างหากที่ทำให้เราสนใจและอยากรู้จักนักจัดระเบียบบ้านมากขึ้น เริ่มจากความรักในงานบ้าน บริการแมวบินฯ เริ่มต้นจากการปลูกฝังโดยครอบครัวของ ‘อิม-อิมยาดา เรือนภู่’ ที่มอบหมายความรับผิดชอบให้เธอตั้งแต่ยังเล็ก จนทำให้เธอมีสกิลงานบ้านต่างๆ ติดตัวมา  สมัยที่เรียนอยู่อิมเคยลองไปทำงานเป็นแม่บ้าน เป็นช่วงเวลาที่ได้ตอกย้ำกับตัวเองว่า งานบ้านคือสิ่งที่เธอรักและทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เธอรับทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้านมาเรื่อยๆ  นอกจากงานแม่บ้านแล้ว อิมยังทำงานประจำด้านการโรงแรมตามสายที่เรียนมา และยังได้ลองทำงานสายศิลปะอย่างการตกแต่งภายในด้วย ประกอบกับที่ครอบครัวของเธอก็ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เลยทำให้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตวนเวียนอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด อิมเริ่มทำเพจ แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน อย่างจริงจังช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ซึ่งทำให้ภาระจากงานประจำของเธอลดน้อยลง ประกอบกับการนำเสนอข่าวของสื่อที่พาไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่บ้าน ทำให้เธอได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น และนั่นก็ทำให้เธอรู้สึกว่าปัญหาบ้านรกไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เป็นระเบียบเท่านั้น แต่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ด้วย หากว่าได้จัดระเบียบบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ก็คงจะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดได้เหมือนกัน “ช่วงโควิด เราเห็นสื่อเข้าไปถ่ายตามบ้านผู้ป่วย พอเราเห็นตัวอย่างจากในทีวีแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง […]

‘ทำไมสตาร์ทอัปไทยยังไประดับโลกไม่ได้’ คุยกับยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup คนล่าสุด

โมงยามที่แดดยามบ่ายกำลังสาดแสงเต็มแรง ลิฟต์ของห้างฯ ICONSIAM พาเราขึ้นมาบนชั้น 7 ภาพมวลชนขวักไขว่ในงาน Techsauce Global Summit 2022 คือสิ่งแรกที่ทักทายเราหลังก้าวผ่านประตู เสียงบรรยายว่าด้วยเทคโนโลยีดังมาแต่ไกล สมเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่รวมหัวกะทิเรื่องเทคฯ และผู้สนใจจากทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับสตาร์ทอัปไทยหลายเจ้าที่มารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และคอนเนกชัน-สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจไม่มีไม่ได้ แต่วันนี้ เราไม่ได้จะมาแลกเปลี่ยนอะไรกับใคร อันที่จริง หากมีสิ่งที่พอจะนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้คือ เรามีนัดกับ ‘ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์’ ชายหนุ่มที่หลายคนอาจรู้จักในบทบาทการเป็นอาจารย์วิชากฎหมายภาษี ไม่ก็บทบาทของผู้ก่อตั้ง iTAX สตาร์ทอัปที่นำเทคโนโลยีมาช่วยให้คนไทยคิดคำนวณภาษีกันได้ง่ายๆ โดยไม่เปิดตำรา แต่บทบาทที่พาให้เรามาคุยกับเขาในวันนี้ คือนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยคนล่าสุด สรุปอย่างย่นย่อให้คนที่ไม่เคยรู้จักสมาคมนี้มาก่อน สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยหรือเรียกสั้นๆ ว่า THAI STARTUP คือสมาคมที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 8 ปี มีสมาชิกเป็นสตาร์ทอัปรายน้อยใหญ่กว่า 100 ราย และทำหน้าที่ในการผลักดัน ส่งเสริม รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้สตาร์ทอัปไทยได้เติบโต เฉิดฉายได้ในระดับสากล แต่พูดก็พูดเถอะ ในยุคแห่งโรคระบาดที่ไม่ได้คร่าแค่ชีวิตผู้คนแต่ยังคร่าธุรกิจสตาร์ทอัปให้ปิดตัวลงหลายราย คนในวงการตอนนั้นแทบจะมองไม่เห็นอนาคต นั่นจึงทำให้เรามานั่งคุยกับ ผศ. ดร.ยุทธนา วันนี้ ว่าด้วยทิศทางของสตาร์ทอัปไทยในยุค Post-Covid และการกอบกู้ความเชื่อมั่นของสตาร์ทอัปไทยให้กลับมาแข็งแกร่ง […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ

‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]

ย้อนรอยตลาดเก่าแก่กลางพระนคร ก่อน ‘ท่าเตียน’ จะเปลี่ยนแปลง

‘ท่าเตียน’ ย่านที่คุ้นหูของคนมาแทบทุกรุ่น อย่างคนรุ่นเก่าหน่อยอาจจะรู้จักว่าเป็นตลาดค้าส่ง ส่วนคนรุ่นหลังมาน่าจะนึกถึงพวกของทะเลแปรรูปที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ขณะที่ทุกวันนี้ท่าเตียนกลายเป็นเพียงทางผ่านของนักท่องเที่ยวและท่าเรือข้ามฟาก  แต่จริงๆ แล้วที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนเก่าแก่ที่มีความเป็นมายาวนานพอๆ กับกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลแทบจะใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ โดยซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังของอาคารแบบตะวันตกสีเหลืองอายุกว่าร้อยปี ที่เรียงแถวโดดเด่นคู่กับพระบรมมหาราชวังและวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) จนหลายคนยามได้ไปเดินทอดน่องเตร็ดเตร่โซนเมืองเก่า อาจจะเดินผ่านไปมาโดยไม่รู้ว่ามีตลาดและบ้านเรือนอยู่ด้านใน ในวันที่กระแสการพัฒนาและความเจริญถาโถมเข้าสู่ย่านเมืองเก่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ท่าเตียนเป็นหนึ่งในย่านที่สายลมนั้นพัดผ่าน เราเดินลัดเลาะเข้าตรอกเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับชาวท่าเตียนที่เกิดและโตที่นี่ พาสำรวจร้านค้าต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่คู่กับตลาดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อพูดคุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของร้านกับคนในชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้-วันที่ท่าเตียนกำลังเผชิญการปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้ง ย่านการค้าเก่าแก่ ผู้คนจอแจเดินขวักไขว่ การขนถ่ายสินค้าขึ้นลงจากเรือที่มาจากทั่วสารทิศ เป็นภาพที่คนรุ่นปัจจุบันไม่ทันเห็น แต่ความทรงจำนี้ยังแจ่มชัดอยู่ในความนึกคิดของชาวท่าเตียน ‘เฮียหมึก-พจน์ตะวัน ชินนาสวัสดิ์’ คือหนึ่งในประจักษ์พยานที่ทันเห็นท่าเตียนในเวอร์ชันดั้งเดิม วันที่ตลาดยังไม่เงียบเหงา และการค้ายังไม่ซบเซาเช่นทุกวันนี้ “ตอนผมเด็กๆ ทุกแผงมีการค้าหมด ไม่ได้เงียบๆ แบบนี้ ขายสารพัด ทั้งผักผลไม้ ของอุปโภคบริโภค” รองประธานชุมชนท่าเตียนชวนย้อนวันเวลา ตรงตำแหน่งที่ตั้งของท่าเตียนแต่เดิมนั้น เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนและญวนมาตั้งแต่ก่อนหน้าจะสร้างกรุงเทพฯ ด้วยที่ตั้งที่อยู่ริมฝั่งน้ำ ทำให้สินค้าจากที่ต่างๆ มาลงตรงนี้ ก่อนพัฒนาเป็นตลาดค้าส่งที่สำคัญของกรุงเทพฯ ในยุคสมัยหนึ่ง ทว่าท่าเตียนในวันนี้มีเพียงซอยเดียวที่ยังมีการค้าขาย ลูกค้าที่มาซื้อก็บางตา แผงที่เหลือปิดไปเยอะเกินครึ่ง บ้างถูกใช้เป็นที่เก็บของ เช่นเดียวกับอาคารบ้านเรือนรอบๆ […]

‘พาใจกลับบ้าน’ กิจกรรมที่ชวนหยุดพักเพื่อเยียวยาผ่านหนัง เวิร์กช็อป และ Interactive Art

ทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวันจนตามไม่ทัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นก็ต้องแข่งขัน บางครั้งต้องแกล้งหัวเราะทั้งที่เครียด กดดัน บางครั้งทุกความรู้สึกประดังประเดเข้ามาพร้อมกันจนไม่รู้จะรู้สึกยังไงดี ถ้าคุณเคยผ่านอะไรแบบนี้ ‘พาใจกลับบ้าน’ อาจเป็นกิจกรรมที่คุณต้องการมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีกับการจัดฉายสารคดีเรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ ในงาน Bangkok Design Week ตอนต้นปี Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบประสบการณ์กลับมาอีกครั้งกับงาน ‘CONNE(X)T HOMECOMING : พาใจกลับบ้าน’ ที่อยากพาทุกคนเดินทางกลับไปสำรวจใจตัวเองซึ่งเป็นดั่งบ้านอีกครั้ง พวกเขาจำลองงานให้เป็นเหมือน Spiritual Village หรือหมู่บ้านทางจิตวิญญาณที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนมาตรวจเช็กสุขภาพใจ ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ และกระโจนเข้าหาความสนุกในกิจกรรมต่างๆ ที่มีทั้ง Interactive Art, การดูหนัง และเวิร์กช็อปเยียวยาใจ  งานจัดที่ชั้น 2 ของ RIVER CITY BANGKOK ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 – 20.00 น. เช็กรายละเอียดของทุกกิจกรรมได้ทางเพจ Eyedropper […]

“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ

หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล  อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]

‘ยกทรงสมสมัย’ ร้านชุดชั้นใน Tailor-made ที่ทำให้ผู้ใหญ่อายุ 40 – 90 ปี มั่นใจในการแต่งตัว

แกร๊ก แกร๊ก ครืกกก แกร๊กกก… ภาพที่ฉันเห็นตรงหน้าคือคุณป้าตัวเล็กๆ ท่านหนึ่งกำลังง่วนกับการเย็บผ้าบางสิ่งอยู่บนโต๊ะ รอบข้างเต็มไปด้วยกองผ้า เข็มและด้ายวางเรียงรายเต็มไปหมด มองไปบนไหล่เธอมีสายวัดตัวคล้องคอ และสายตาที่จดจ่อกับเครื่องจักรตรงหน้าอย่างตั้งอกตั้งใจ เขาคือ ‘สมสมัย ทิตะเชียง’ ช่างตัดชุดชั้นในวัย 58 ปี ผู้ออกแบบและตัดเย็บเสื้อในด้วยสองมือมานานกว่า 40 ปี และเป็นเจ้าของร้านชื่อ ‘สมสมัย’ ในย่านเจริญกรุง ปัจจุบันยังตัดชุดชั้นในอยู่กับหลานของเขาทุกๆ วัน ด้วยจุดเด่นการตัดเย็บชุดชั้นในที่ลูกค้าสั่งตัดได้ทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะหน้าอกเล็กใหญ่หรือหุ่นผอมอวบบาง คุณป้าก็สามารถเนรมิตชุดชั้นในที่เหมาะสมกับหุ่นลูกค้าได้ทุกรูปแบบ แถมยังสร้างความมั่นใจในการแต่งตัวให้กับคนใส่ด้วยชุดชั้นในเพียงแค่ชิ้นเดียว เธอทำได้อย่างไรกัน…ฉันไม่รีรอที่จะขอสัมภาษณ์คุณป้าสมสมัยทันที ชุดชั้นใน เสื้อผ้าที่ใกล้ชิดร่างกายที่สุด ก่อนจะลงลึกถึงเรื่องเสื้อผ้า ฉันชวนคุยถึงที่มาของอาชีพช่างตัดชุดชั้นใน เธอจึงย้อนอดีตให้ฟังว่า สมัยยังสาวๆ เคยเรียนตัดเสื้อผ้ามาก่อน จากนั้นมีโอกาสได้ไปทำงานเป็นลูกน้องในร้านตัดเย็บชุดชั้นในมานานหลายสิบปี เมื่อถึงจุดอิ่มตัวเลยอยากออกมาเปิดร้านตัดชุดชั้นในของตนเอง  เธอเล่าเสริมว่า การตัดเย็บชุดชั้นในมีความซับซ้อนไม่แพ้เสื้อผ้าที่ทุกคนสวมใส่ เพราะมันเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับร่างกายมากที่สุด จึงต้องมีขนาดพอดีกับหน้าอก ใส่แล้วต้องไม่รู้สึกอึดอัดตัว แตกต่างจากเสื้อผ้าด้านนอกที่ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ หรืออยากใส่หลวมๆ ก็ไม่เป็นไร ทางร้านทำชุดชั้นในแบบสั่งตัดที่ลูกค้าสามารถเลือกทุกรายละเอียดได้เอง ตั้งแต่รูปทรงชุดชั้นใน ความยาวเนื้อผ้า โครงเหล็ก ยางยืด ตะขอ ไปจนถึงสีผ้า และมีรูปแบบชุดชั้นในให้เลือกทั้งหมด 2 […]

ผจญภัยและสำรวจความหมายของความรักอีกครั้งกับ ‘นกก้อนหิน’ โดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’

ย่ำสนธยาวันนั้นฟ้าสีสวย นกหลายฝูงกำลังบินกลับรัง เบื้องหน้าภูเขาสูงซ้อนกัน ดวงจันทร์กลมโตลอยเด่นในวันพระใหญ่  “ความงามทั้งหลายที่เราเห็นต่างบันทึกกันคนละแบบ ช่างภาพลั่นชัตเตอร์ จิตรกรละเลงสีบนเฟรมผ้าใบ ศิลปินบรรเลงเป็นบทเพลง และนักเขียนบันทึกผ่านตัวอักษร”  เรานึกถึงประโยคนี้อีกครั้งยามสามนาฬิกา หลังปิดหน้าสุดท้ายของ ‘นกก้อนหิน’ ที่เขียนโดย ‘บินหลา สันกาลาคีรี’ นวนิยายแอ็กชันลุ้นระทึกที่เคลือบด้วยเรื่องรักแสนโรแมนติก นกก้อนหิน พิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์วงกลม ในปี 2552 อีกสามปีถัดมาพิมพ์ครั้งที่สองโดยสำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ และในเดือนมิถุนายนปีนี้ หนังสือเล่มนี้ก็พิมพ์เป็นครั้งที่สามโดยสำนักพิมพ์บางลำพู (banglumpoo) ของ ‘หนึ่ง-วรพจน์ พันธุ์พงศ์’  “เมื่อคุณบอกว่าอยากพิมพ์ หนึ่ง, ผมดีใจ สอง, ผมต้องกลับไปขวนขวายอ่าน ประเมินมัน ว่ามันยังอยู่ในวิสัยที่คนจะเสพสุนทรียะหรือเสพความคิด เรื่องเล่าที่เราต้องการส่งมอบและตั้งคำถามให้เขาได้อยู่มั้ย ถ้าได้ก็โอเค…กับ ‘นกก้อนหิน’ ผมไม่คิดว่ามันจะมีคำถาม หรือมีปัญหาในเรื่องที่ผมกังวลอยู่ โดยสรุปก็คิดว่าน่าจะยังผ่านอยู่ ยังอ่านได้ แต่บางทีผมก็ไม่กล้าพูดตรงๆ” – บางบทสนทนาของบินหลา ที่วรพจน์บันทึกไว้ในช่วงท้ายเล่มนกก้อนหินพิมพ์ครั้งล่าสุดว่าไว้แบบนี้ จากการสอบถามผู้อ่านหน้าใหม่วัยละอ่อน หลายคนเห็นด้วยกับข้อความของนักเขียนว่านิยายเล่มนี้ยังไม่ตกยุคสมัย และยังทำหน้าที่มอบสุนทรียะระหว่างบรรทัดให้ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี แม้ว่าเรื่องเล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อ 14 – 15 ปีที่แล้ว “เบรกแตก, รวดเดียวจบ, […]

“หน้าที่ของเราคือต้องทำให้คนรู้สึกมีความหวังกับเมือง” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Urban Creature ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญของทีมนโยบายของชัชชาติ รวมถึงพูดคุยกับชายผู้ควบตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงก่อนเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าฯ กทม. ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่จับพลัดจับผลูขึ้นมาดำรงตำแหน่งในวัย 33 ปี หลังได้รับการชักชวนจากชัชชาติในคืนวันประกาศผลเลือกตั้งที่คะแนนเริ่มทิ้งห่าง ให้ดูแลสำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเรียกรวมๆ ก็คือการดูงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นหลัก  ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศานนท์ได้มาทำงานด้านนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เขาทำงานขับเคลื่อนเมืองและซัปพอร์ตชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม SATARANA (สาธารณะ) ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง และ Mayday กลุ่มผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่  ถึงอย่างนั้น การย้ายฝั่งจากภาคประชาสังคมเข้าสู่ระบบราชการก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายศานนท์เป็นอย่างมาก และทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ จากมันอยู่ไม่น้อย ทั้งข้อจำกัดของระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยากจำนวนมาก งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการไม่มีเวลาปรับตัวเพราะต้องเริ่มต้นทำงานทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง คงไม่ผิดนักถ้าหากจะยกให้เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อีกคนที่ทำงานหนักไม่แพ้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะขนาดช่วงที่เราขอสัมภาษณ์ ก็แทบต้องแย่งชิงเวลาอันน้อยนิดที่แน่นขนัดไปด้วยตารางการทำงานของเขา […]

1 2 3 4 5 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.