Visibility
บทสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ที่จะเผยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารองค์กร ในการคาดเดาอนาคตของแต่ละอุตสาหกรรมที่พวกเขาเชี่ยวชาญ
“ไปรษณีย์เพิ่มสุข” โปรเจกต์ส่งต่อสินค้าน่าใช้จากชุมชนทั่วไทย เพื่อให้คนทำได้มีรอยยิ้มและรายได้อย่างยั่งยืน
ในภาพจำของใครหลายคน ‘ไปรษณีย์ไทย’ คือหน่วยงานที่ให้บริการด้านการขนส่งมาแล้วยาวนาน เราต่างผูกพันกับพี่ไปรษณีย์ที่มักขับรถมาจอดเทียบหน้าบ้านตอนมีพัสดุมาส่ง และคุ้นชินกับการก้าวเข้าอาคารสีแดง-ขาวของไปรษณีย์ไทยเมื่อต้องไปส่งของให้ใครสักคน ในขวบปีที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กำลังจะมีอายุครบรอบ 140 ปี ด้วยการแข่งขันในตลาดธุรกิจขนส่งที่ดุเดือดยิ่งขึ้น เราจึงได้เห็นไปรษณีย์ไทยปรับตัวอยู่หลายหน แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือความสัมพันธ์ระหว่างไปรษณีย์ไทยกับผู้บริโภคอย่างเราๆ ที่แนบแน่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะเหล่าคนทำธุรกิจและวิสาหกิจในชุมชนที่ไม่เพียงแต่เป็นลูกค้าของไปรษณีย์ไทย แต่ไปรษณีย์ไทยยังทำให้ธุรกิจของพวกเขาแข็งแรงขึ้นด้วย หนึ่งในโครงการที่เห็นได้ชัดคือ “ไปรษณีย์เพิ่มสุข” ที่ทำกันมาตั้งแต่ปี 2559 สรุปให้ฟังสั้นๆ ในโครงการนี้ ไปรษณีย์ไทยทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันให้คนในชุมชนทั่วไทยที่มีภูมิปัญญาได้ผลิตสินค้าของตัวเองขึ้นมา ช่วยเหลือตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่ช่วยคิดชื่อ แพ็กเกจจิ้ง ขนส่ง โปรโมต ไปจนถึงขายผ่านทางช่องทางต่างๆ ของไปรษณีย์ไทยด้วย ปลาส้มบ้านห้วยหมากหล่ำจากอุดรธานี ข้าวฮางทิพย์จากสกลนคร ไข่เค็ม อสม.จากสุราษฎร์ธานี และลำไยอบกึ่งแห้งจากลำพูน คือ 4 ธุรกิจที่ไปรษณีย์ไทยเลือกผลักดันในปีนี้ แต่หากนับรวมมาตั้งแต่ต้น ไปรษณีย์ไทยก็ได้ช่วยเหลือธุรกิจของชาวบ้านในพื้นที่ต่างๆ มากกว่า 26 แห่ง และสร้างรายได้ให้พวกเขาได้เป็นหลักล้าน ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เราชวน ‘ดร.วราภรณ์ ข้องเกี่ยวพันธุ์’ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานกลยุทธ์และการขับเคลื่อนองค์กร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มาถอดรหัสกันในบทสนทนานี้ […]
‘เข้าใจสิ่งใหม่ และไม่ลืมสิ่งเก่าที่มีประโยชน์’ จี๊บ เทพอาจ ผู้ร่วมชุบชีวิตลิโด้
“เราไม่ค่อยปล่อยโอกาสเท่าไหร่ ถ้ามีอะไรที่ทำได้หรือรู้สึกว่าทำแล้วไม่ขัดกับตัวเอง ส่วนใหญ่จะทำหมด” ‘จี๊บ-เทพอาจ กวินอนันต์’ บอกเล่าให้เราฟัง เมื่อถามว่าทำไมผู้บริหารในแบบฉบับของเขาถึงมีสารพัดสิ่งที่ต้องจัดการเต็มไปหมด จี๊บเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขาแบ่งการงานของชีวิตเป็นสองส่วนหลักๆ หนึ่งคือ ฝั่งเครื่องดื่ม ที่มีทั้งการดูแลในส่วนที่อิมพอร์ตเข้ามา อาทิ Budweiser, Hoegaarden ฯลฯ และสร้างโรงงานผลิตสุรา Thai Spirit Industry Co.,Ltd. ที่ผลิตคราฟต์เบียร์ยี่ห้อขุนแผน และมีบริษัท รอยัล เกทเวย์ จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม Full Moon, โซจูยี่ห้อคอมเบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนต้มเบียร์อุดมคติ รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร HOBS เป็นต้น การงานส่วนที่สองคือ ฝั่งงานเอนเตอร์เทนเมนต์ เขาทำงานบริหาร 8 ค่ายเพลง นำโดย LOVEiS Entertainment และอีก 7 ค่าย ได้แก่ marr, LIT Entertainment, kiddo records, PROM+, Juicey, HolyFox, […]
‘ทำไมสตาร์ทอัปไทยยังไประดับโลกไม่ได้’ คุยกับยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup คนล่าสุด
โมงยามที่แดดยามบ่ายกำลังสาดแสงเต็มแรง ลิฟต์ของห้างฯ ICONSIAM พาเราขึ้นมาบนชั้น 7 ภาพมวลชนขวักไขว่ในงาน Techsauce Global Summit 2022 คือสิ่งแรกที่ทักทายเราหลังก้าวผ่านประตู เสียงบรรยายว่าด้วยเทคโนโลยีดังมาแต่ไกล สมเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่รวมหัวกะทิเรื่องเทคฯ และผู้สนใจจากทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน เช่นเดียวกับสตาร์ทอัปไทยหลายเจ้าที่มารวมตัวเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และคอนเนกชัน-สิ่งสำคัญที่คนทำธุรกิจไม่มีไม่ได้ แต่วันนี้ เราไม่ได้จะมาแลกเปลี่ยนอะไรกับใคร อันที่จริง หากมีสิ่งที่พอจะนับเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ได้คือ เรามีนัดกับ ‘ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์’ ชายหนุ่มที่หลายคนอาจรู้จักในบทบาทการเป็นอาจารย์วิชากฎหมายภาษี ไม่ก็บทบาทของผู้ก่อตั้ง iTAX สตาร์ทอัปที่นำเทคโนโลยีมาช่วยให้คนไทยคิดคำนวณภาษีกันได้ง่ายๆ โดยไม่เปิดตำรา แต่บทบาทที่พาให้เรามาคุยกับเขาในวันนี้ คือนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยคนล่าสุด สรุปอย่างย่นย่อให้คนที่ไม่เคยรู้จักสมาคมนี้มาก่อน สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยหรือเรียกสั้นๆ ว่า THAI STARTUP คือสมาคมที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 8 ปี มีสมาชิกเป็นสตาร์ทอัปรายน้อยใหญ่กว่า 100 ราย และทำหน้าที่ในการผลักดัน ส่งเสริม รวมถึงเป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้สตาร์ทอัปไทยได้เติบโต เฉิดฉายได้ในระดับสากล แต่พูดก็พูดเถอะ ในยุคแห่งโรคระบาดที่ไม่ได้คร่าแค่ชีวิตผู้คนแต่ยังคร่าธุรกิจสตาร์ทอัปให้ปิดตัวลงหลายราย คนในวงการตอนนั้นแทบจะมองไม่เห็นอนาคต นั่นจึงทำให้เรามานั่งคุยกับ ผศ. ดร.ยุทธนา วันนี้ ว่าด้วยทิศทางของสตาร์ทอัปไทยในยุค Post-Covid และการกอบกู้ความเชื่อมั่นของสตาร์ทอัปไทยให้กลับมาแข็งแกร่ง […]
ก้าวใหม่ของ OR จากสถานีบริการน้ำมันสู่ศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม
เสียงคนคุยกันดังเซ็งแซ่ สลับกับเสียงเครื่องทำกาแฟ และเสียงผู้บรรยายบนเวทีที่ลอยเข้าหูเป็นระยะ เรารับแก้วเครื่องดื่มจากพนักงานเสิร์ฟ ชาอู่หลงหอมละมุน เติมความสดชื่นด้วยลิ้นจี่ มะนาวฝาน และส้มสไลซ์-ปกติแก้วนี้ไม่ได้ขายในไทย แต่ไปขายไกลถึงเวียดนาม โอกาสพิเศษจริง ๆ เรากำลังยืนอยู่ในงาน Inclusive Growth Days empowered by OR ที่จัดขึ้น บนชั้น 22 บางกอก คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เปล่าเลย นี่ไม่ใช่งานเครื่องดื่มนานาชาติ แต่คืองานที่ OR สร้างขึ้นเพื่อโชว์เคสธุรกิจในเครือของตัวเองและพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสเติบโตร่วมกันกับธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกขนาด และสตาร์ทอัป นอกจากในงานจะมี Café Amazon ที่เปิดขายเมนูพิเศษซึ่งปกติขายในต่างประเทศเท่านั้น ยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมจากพันธมิตรของ OR สินค้าไทยเด็ด SME และสตาร์ทอัป รวมกว่า 100 บูธ และไฮไลต์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือเวทีเสวนาที่ระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิและนักธุรกิจชั้นนำจากทั่วไทยมาพูดถึงเบื้องหลังการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการและผู้ที่มีฝันอยากเปิดของตัวเองบ้าง และอาจเป็นโชคดีของเราที่วันนี้ เราได้พูดคุยกับ คุณสมยศ คงประเวศ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจไลฟ์สไตล์ OR […]
YELL เอเจนซี่ไทยที่วัดความสำเร็จจากอินไซด์ของคนทำงาน ในมุมมองของ แพร-กนกกาญจน์ รินนะจิตต์
ในแวดวงโฆษณาและเอเจนซีไทย คงไม่มีใครไม่รู้จัก YELL ไม่ใช่แค่เพราะโลโก้ของเอเจนซีสีเหลืองแห่งนี้ไปปรากฏในฐานะคนทำการตลาดให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่ทุกคนรู้จักอย่าง CP, ThaiBev, Pruksa Real Estate และอีกมากมายแต่ YELL ยังเป็นเอเจนซีเจ้าของรางวัลระดับสากล แถมยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังไวรัลออนไลน์ที่พนันเลยว่าหลายคนต้องเคยผ่านตากันสักครั้ง ถ้าให้นึกเร็วๆ ก็หนังสั้นเรื่อง จีบได้แฟนตายแล้ว ที่พวกเขาจับมือกับ Hello Filmmaker ผลิตให้กับ The 1 ในเครือเซ็นทรัล หรือ กาว Weber Super Glue ที่ทำหนังล้อเลียน Marvel จนไปได้รางวัลเวทีระดับโลก ผลงานเหล่านี้ล้วนผลักดันให้ชื่อของพวกเขาโด่งดังจนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง สิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้คือ YELL ยังเป็นเอเจนซีที่มีออฟฟิศและวัฒนธรรมการทำงานที่น่าสนใจมาก พวกเขามีนโยบายให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้อย่างที่หลายๆ ออฟฟิศทำ แต่ในเวลาเดียวกัน YELL ก็ให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่เพื่อกระตุ้นให้พนักงานแฮปปี้ และมี Productivity จนอยากเข้าออฟฟิศทุกวัน เป็นออฟฟิศที่ไม่ใช่ ‘ที่ทำงาน’ แต่เป็น ‘ที่ร่วมงาน’ พวกเขานิยามมันไว้อย่างนั้น การดีไซน์ออฟฟิศให้พนักงานแฮปปี้มีแนวคิดใดอยู่เบื้องหลัง เช้าวันทำงานที่ออฟฟิศ YELL กำลังคึกคักได้ที่ เราแวะมาสนทนากับ แพร-กนกกาญจน์ รินนะจิตต์ […]
VERSO รร.นานาชาติที่รื้อการศึกษาเดิมทิ้ง สอนเด็กแบบดีไซเนอร์ ให้ลองคิดทุกอย่างจากศูนย์
“ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมคือถนนแคบๆ เส้นเดียว ที่เด็กถูกบังคับให้ต้องเดิน ในขณะที่โลกใบนี้ยังมีทางอีกมากมาย” หนึ่งในประโยคที่ผมชอบและเห็นด้วยมากที่สุดจาก Cameron Fox ผู้ก่อตั้งโรงเรียนและคุณครูใหญ่ของ VERSO International School โรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่แห่งย่านบางนา ที่สอนโดย Learning Designer หรือนักออกแบบการเรียนรู้ ที่พร้อมจะปรับแต่งทั้งวิชาการและทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ ไม่ใช่วิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ หลักสูตรที่ VERSO สอนให้นักเรียนเรียกว่า Future Ready Skill หรือทักษะแห่งอนาคตที่มีด้วยกันถึง 141 ทักษะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเด็กคนหนึ่งต้องอัดทุกอย่างลงไปในสมอง พวกเขามีอิสระที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบในวันนี้ ที่หากว่าวันข้างหน้าเกิดไม่ถูกใจ และอยากปรับเปลี่ยนใหม่ก็คุยกันได้เสมอ DNA อย่างหนึ่งของโรงเรียนนี้ที่ผมสัมผัสได้คือทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการกล้าแสดงออก แต่กล้าที่จะชอบในสิ่งที่ตัวเองรักโดยไม่ถูกกฎเกณฑ์มาบีบบังคับ ด้วยการสอนวิธีคิดแบบ Designer กล่าวคือคนที่เป็นนักออกแบบนอกจากจะมีหัวด้านความสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญคือต้องรับฟังและมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น “Put yourself in someone else’s shoes” คาเมรอนย้ำเรื่องนี้มาก วันนี้เราเดินเข้ามาสนทนากับผู้ก่อตั้งโรงเรียน ออฟฟิศของเขาที่เป็นห้องขนาดกลางไม่ได้ใหญ่โตเวอร์วังเมื่อเทียบพื้นที่ทั้งหมดของสถานศึกษา แต่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ไว้รับแสง มองเห็นธงชาติ และจุดรับ-ส่งอยู่ไม่ไกล นอกเหนือจากโต๊ะและอุปกรณ์สำนักงาน ห้องนี้ตกแต่งห้องด้วยรูปจอห์น เลนนอน […]
‘30 ปี สินแพทย์’ จากโรงพยาบาลเอกชน ผู้นำย่านรามอินทรา ก้าวสู่ระดับสากล
หากขับรถเข้าไปใจกลางกรุงเทพมหานคร เมื่อราว 30 ปีที่แล้ว จะเห็นว่าโรงพยาบาลเอกชนยังไม่ได้รับความนิยมและความไว้เนื้อเชื่อใจกับคนไข้เหมือนในปัจจุบัน เป็นธุรกิจที่ไม่มีความมั่นคงเท่าไหร่และเกิดการเปลี่ยนมือกันบ่อยครั้ง ยิ่งเป็นพื้นที่ชานเมืองยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะขนาดคนในย่านธุรกิจยังเลือกจะไปรักษาโรงพยาบาลของรัฐและโรงเรียนแพทย์ ที่มีราคาถูกกว่า พร้อมทั้งยังมีอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากสาขา แล้วถ้าโรงพยาบาลเอกชนที่เกิดจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์มาเปิดในย่านรามอินทรา ในยุคที่ยังไม่มีแฟชั่นไอส์แลนด์ วงแหวนยังไม่เกิด หมู่บ้านจัดสรรก็ยังไม่ขึ้น คงต้องบอกว่าเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่น้อย จนถึงวันนี้ถ้าเปรียบเป็นช่วงอายุของคน โรงพยาบาลสินแพทย์ รามอินทรา ก็เริ่มก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่เติบโตไปพร้อมกับคนย่านนี้ด้วยวัย 30 ปี เราจึงชวนมาเปิดตำราที่มีเคล็ดลับสำคัญอยู่ที่การสร้างความวางใจระหว่างคนไข้และ โรงพยาบาล ถึงแนวทาง ความคิด และมุมมอง ที่ใช้มาตลอด 3 ทศวรรษ กับ สิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ ประธานกรรมการ บริษัท สินแพทย์ จำกัด ที่ปลุกปั้น กลุ่มโรงพยาบาล สินแพทย์ จนได้ใจคนรามอินทรา และก้าวสู่การขยายสาขาไปทั่ว กรุงเทพ ปริมณฑล และ หัวเมืองใหญ่ พร้อม ก้าวต่อไปในการเตรียมตัวเป็น Medical Hub เพื่อรองรับคนไข้ชาวต่างชาติ อะไรคือจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลสินแพทย์ เราเติบโตขึ้นมาจากบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในนามของกลุ่ม บริษัท สินธานี เราพัฒนาที่ดินในแถบตะวันออกของกรุงเทพมหานคร อย่าง […]
“ข้าวไทยไปได้ไกลกว่านี้” ทัศนะ ‘เชอรี่ เข็มอัปสร’ CEO แบรนด์ข้าวสิริไทผู้ปฏิเสธ CPTPP
หน้าม่านผืนแรกของ เข็มอัปสร สิริสุขะ หรือ ‘เชอรี่’ คือการเป็นนักแสดงที่มอบความสุขให้ใครสักคนที่ดูเธออยู่ ใครสักคนที่ว่า มีตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงปู่ย่าตายาย คนหลากอาชีพ และหนึ่งในนั้นมี ‘ชาวนา’ เธอจึงเพิ่มม่านผืนสองให้ชีวิต ด้วยการตั้งโจทย์อยากช่วยเหลือปัญหาปากท้องของชาวนาในวันที่ราคาข้าวไทยตกต่ำ สนับสนุนเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมีในขั้นตอนการปลูกเพื่อลดผลกระทบทั้งคนปลูก คนกิน และสิ่งแวดล้อม เธอกลายเป็นผู้บริหารหน้าใหม่เจ้าของ ‘สิริไท’ แบรนด์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ด้วยวิถีธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์จากรุ่นบรรพบุรุษฝีมือชาวบ้านบ้านโคกสะอาด จังหวัดสกลนคร ไม่ใช่ว่าเชอรี่เพิ่งมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมในปีนี้ เพราะจุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอลุกขึ้นมาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมจนอยากแก้ไขปัญหามีมาตั้งแต่ภัยแล้งปี 2559 และทำมาเรื่อยๆ จนพุทธศักราชนี้ ที่คนชอบกินข้าวอย่างเธอคัดสรรข้าวกว่า 20 สายพันธุ์ และลงไปดูให้เห็นกับตา ดำนาร่วมกับชาวนาเพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำมันปลอดเคมีทุกกระบวน จนรับรู้ปัญหาต่างๆ ที่ชาวนากำลังเผชิญ อีกหนึ่งปัญหาที่น่าห่วงก็คือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ที่เชอรี่ยืนยันว่าต้องขับเคลื่อนเพื่อให้เกิด #คัดค้านCPTPP เพราะอนาคตข้าวไทยจะสูญเสียทั้งความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาอันดีงามของชาวนา ไปคุยกับผู้บริหารหญิงคนนี้เรื่อง ‘ข้าวไทย’ และฝีมือของ ‘ชาวนาไทย’ ที่ประเทศควรให้คุณค่ามากกว่านี้กัน หลายคนรู้ว่าคุณสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รู้ว่าคุณทำงานสิ่งแวดล้อมมาหลายปีแล้ว ปี […]
คุยกับ พีทีที สเตชั่น ในวันที่ปั๊มไม่ได้แค่เติมน้ำมัน แต่กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน
ย้อนกลับไปราว 30 ปีที่แล้ว การเข้าปั๊มน้ำมันแต่ละครั้งแทบจะไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเติมน้ำมัน ย้อนมาใกล้อีกหน่อยสัก 10 ปี เราเข้าปั๊มน้ำมันทั้งที่น้ำมันยังเหลืออีกตั้งครึ่งถังเพื่อเข้าห้องน้ำ แวะทานข้าว ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ หรือหากาแฟมาคลายง่วงที่ คาเฟ่ อเมซอน ย้อนกลับไปไม่กี่เดือน หุ้นโออาร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะนักลงทุนเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดค้าปลีก เราจึงขอบิดกุญแจสตาร์ทรถขึ้นทางด่วนไปลงที่ถนนวิภาวดีรังสิตแล้วแวะเข้าสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่นเพื่อสนทนากับคุณบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)(OR) ถึงพัฒนาการของ พีทีที สเตชั่น ที่จะไม่ได้มีไว้แค่เติมน้ำมัน ไม่ได้แค่ห้องน้ำสะอาด แต่เป็นศูนย์กลางให้ชุมชน และพร้อมปรับตัวให้สอดรับกับเทรนด์โลก ธุรกิจน้ำมันต้องเผชิญ Disruption จากหลายทิศทาง แต่หุ้น OR ยังได้รับความนิยมสูงมาก แปลว่าคนยังเชื่อใน พีทีที สเตชั่น หุ้นจะดีหรือไม่ดีก็มีหลายปัจจัย ตลาดก็มีหลายอย่างที่คาดเดาไม่ได้ (หัวเราะ) ผมว่าเขามองเห็นการเติบโตของธุรกิจมากกว่า สัมผัสสิ่งที่เราทำได้อย่างเป็นรูปธรรมทุกครั้งที่เข้าปั๊ม โควิดทำให้หลายอย่างมาเร็วขึ้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัว มันทำให้ปั๊มน้ำมันต้องปรับตัวยังไงบ้าง ทุกคนเข้ามาลุยในสมรภูมินี้ แต่ก็แข่งกันอยู่ไม่กี่เรื่อง เช่นห้องน้ำใครดีกว่ากัน และตัวน้ำมันเองแข่งไปแข่งมาก็หาข้อแตกต่างได้ยากแล้ว อย่างที่บอกว่าปั๊มไม่ได้มีแค่เติมน้ำมันแล้ว […]
NIA องค์กรนวัตกรรมที่อยากลบภาพจำหน่วยงานรัฐ มี พนง. 80% เป็นคนรุ่นใหม่และ First Jobber
คำอธิบายที่เข้าใจง่ายของนวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ จึงไม่แปลกที่คนทำงานด้านนี้จะไม่ยอมอ่อนข้อต่ออดีต สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ว่าตัวเองเป็นองค์กรหัวก้าวหน้า และเมื่อได้พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก็พบว่าพวกเขากำลังพยายามล้างภาพจำหน่วยงานรัฐที่เคยติดตา และมีกลไกสำคัญคือ พนักงานถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ และ First Jobber ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามนายสั่ง เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่บอกว่าทุกคนเสนอโครงการได้เท่าที่อยากทำ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเรียนรู้ทุกกระบวนการของงานชิ้นนั้นตั้งแต่เริ่มต้น วัฒนธรรมและวิธีการทำงานหลายอย่างที่ราวกับลบภาพจำหน่วยงานราชการที่คุ้นเคยกันไปโดยสิ้นเชิง NIA มีการสนับสนุนให้คนทำงานอ่านติดตามทุกข่าวสารทั้งแบบภาพรวมและเจาะลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องก้าวให้ทันคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัปที่ผุดขึ้นทุกวัน หรือองค์กรเอกชนที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และตัวผู้บริหารสูงสุดยังไม่ปิดกั้นหากเก่งจากที่นี่แล้วจะไปโตที่อื่น เปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเองได้เต็มที่ ภายใต้ความเป็นมืออาชีพ เพราะอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง NIA คืออะไร หน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ทำงานกับภาคเอกชนและภาคสังคมเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่อยากนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาแปลงเป็นนวัตกรรมและสามารถใช้งานได้จริง เป้าหมายของเราคือทำให้ประเทศมีระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์อนาคตในระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยระบบที่แข็งแกร่ง คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเข้ามาอยู่ในระบบ หรือผู้ที่อยู่มานานแล้วก็ต้องมีการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาคือคน ถัดมาคือการมีแพลตฟอร์มแล้วก็โครงสร้างที่เอื้อให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ NIA ทำงานร่วมกับ ‘คนรุ่นใหม่’ […]
‘หลักสูตรดุริยางคศิลป์’ ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคที่ใครก็ทำเพลงได้ ?
ก้าวมาสู่ยุคที่ใครก็สามารถเรียนดนตรีได้ด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เน็ต ทำเพลงลงยูทูป สร้างเงินได้อย่างอิสระ ด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตและทำให้โลกดนตรีเปิดกว้างมากกว่าเคย แล้วหลักสูตรดนตรี ยังมีความสำคัญอยู่หรือไม่ ?