ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

ไปคลองโอ่งอ่างเยี่ยมบ้านเชฟ ชิมอาหารรสต้นตำรับแห่งทวีปเอเชียใต้แบบไม่ต้องนั่งเครื่อง

‘โอ่ง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง ใส่น้ำให้เต็มโอ่ง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ‘อ่าง’ ใส่น้ำ ใส่น้ำให้เต็มอ่าง ใส่น้ำให้เต็มอ่าง แล้วเชฟจะชื่นใจ แล้วเชฟจะชื่นใจ ไม่ได้ชวนมาโยกย้าย ส่ายสะโพก โยกย้าย บั้นท้ายโยกย้าย เฮ้ย! พอ! แต่ชวนมาแคะ แกะ หาคำตอบจากเนื้อเพลงที่เปลี่ยนไปข้างต้นว่า ‘เชฟ’ จากอินเดีย เนปาล ภูฏาน ปากีสถาน และไทย-มุสลิม ทั้ง 4 คน จาก 4 ร้านอาหารริมคลองโอ่งอ่างว่า ทำไม้ ทำไม ถึงย้ายรกรากมาเปิดร้านอาหารประจำชาติที่ ‘ชุมชนคลองโอ่งอ่าง’ ประเทศไทยแทนประเทศบ้านเกิด ความตั้งใจแรกคืออะไร ทำไมเชฟทั้งสี่ถึงตั้งชื่อเล่นให้ชุมชนแห่งนี้ว่า ‘ชุมชนความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ อย่างพร้อมเพรียง ไปฟังเรื่องเล่าจากปากพวกเขา ที่อาจทำให้คุณสนิทกับอาหารทั่วทวีปเอเชียใต้และรู้จักคลองโอ่งอ่างมากขึ้น (แล้วก็อาจจะหิวตามไปด้วย) 01 | อุ่นเครื่องเซย์ฮายคลองโอ่งอ่าง ‘คลองโอ่งอ่าง’ ถูกขุดเมื่อปี 2328 เป็นคลองเล็กๆ ที่แบ่งระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ และเป็นหนึ่งในคลองรอบกรุง โดยมีต้นน้ำเป็น […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

ร้านบิ๊กเต้ โชห่วยแห่งประเทศรังสิต ที่ครองใจชาวหอ เด็ก มธ. และทำให้ชาวเน็ตอารมณ์ดี

ชวนคุยกับ เต้-ศตวัสส์ เจ้าของร้านบิ๊กเต้ แห่งประเทศรังสิต ผู้คิดประโยคโดนๆ บนป้ายสินค้า ให้ลูกค้าและชาวเน็ตยิ้มตาม

‘Vulcan Coalition’ สตาร์ทอัป AI ที่เปิดให้คนพิการทำงานด้วยศักยภาพ ไม่ใช่ความน่าสงสาร

ด้วยความสามารถเฉพาะตัวและความใส่ใจในการทำงานที่ไม่แพ้ใคร พวกเขาเหล่านี้จากทั่วประเทศไทยจึงมีหน้าที่เตรียมข้อมูลเรื่อง AI เพื่อสอนให้คนนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เชื่อเถอะ หลังจากอ่านบทความนี้ เราทุกคนจะตาสว่างกับประโยคคร่ำครึที่ว่า คนพิการทำอะไรไม่ค่อยได้!

XXXYYY คาเฟ่และโปรเจกต์สเปซของนักออกแบบรุ่นใหม่ที่อยากให้คุณเปิดใจกับย่านแบริ่ง

ชวนไปหาสมการ X กับ Y ที่ XXXYYY ณ ย่านแบริ่ง พร้อมคุยกับสองนักออกแบบรุ่นใหม่

ฮานาย่า (Hanaya) ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกของไทย ที่เติบโตไปพร้อมคนกินนานกว่า 80 ปี

ชวนรู้จัก ฮานาย่า (Hanaya) ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าแรกของไทยแห่งสี่พระยา

อนาคตประเทศที่ไม่พึ่งคุกกี้เสี่ยงทายของ ‘แคน นายิกา’ จากอดีตไอดอลสู่นักการเมือง

คุยกับแคนถึงชีวิตเส้นทางไอดอลที่เริ่มขึ้นเพราะอยากทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม และล่าสุดกับบทบาท ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ วัย 23 ปี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงประเทศ

EAT

ฟังเรื่องเล่าการ ‘กินหมาก’ ผ่านร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในย่านตลาดพลู

คอลัมน์ล่าถึงถิ่นในครั้งนี้จึงพาทุกคนมานั่งฟังเรื่องราว ‘การกินหมาก’ จาก ‘พี่จอย-พรทิพย์ จิรชาติธนวัฒน์’ เจ้าของร้านขายหมากพลูเจ้าสุดท้ายในตลาดวัดกลาง

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

แก๊ป สิระ แห่ง CYPH.film ผู้กำกับหน้าใหม่ที่ขอขยี้เรื่องเศร้า แล้วเล่าในมุมชวนยิ้ม

คุยกับ แก๊ป-สิระ แห่ง CYPH.film โปรดักชันเฮาส์วัยขบเผาะที่อยากสร้างรอยยิ้มให้ทุกงานภาพเคลื่อนไหว

Corsair ธุรกิจพลิกโฉมรีไซเคิล เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมันเติมรถ & สารผลิตพลาสติกอีกครั้ง

ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะกระแสหรือสถานการณ์ที่ไม่อาจเลี่ยงหรือเปล่า เพราะเรามักเห็นบริษัทเฉพาะทางที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงสุดยอดสตาร์ทอัปที่สร้างเทคโนโลยีดูดจับคาร์บอนลงดิน หรือบทความเกือบล่าสุดเกี่ยวกับแบรนด์เย็บซ่อมเสื้อผ้าที่ลุกขึ้นมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังในระดับที่ทุกคนเข้าถึงได้ วันนี้ Urban Creature ขอนำเสนอเรื่องราวของการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับองค์กร กับ Corsair บริษัทที่พัฒนาโซลูชันธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม  พูดแบบนี้อาจจะไม่เห็นภาพใช่ไหมครับว่าเขาทำอะไร อย่างแรกที่ลงมือแล้ว คือการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้กลายเป็นน้ำมันชีวภาพ ซึ่งทำงานกับโรงแรม ห้างสรรพสินค้า หรือองค์กรใดก็ตามที่อยากขยับตัวเรื่องปัญหาพลาสติกที่ล้นโลกเหลือเกินในตอนนี้ เขายังออกบริการ Plastic Credit มารอเทรนด์ที่คาดว่าจะมาถึงในอีกไม่กี่ปีนี้ด้วย  ที่จริง Corsair ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นน้ำมันอย่างเดียว เพราะ ยูสซี เว็คโค ซาโลรานตา (Jussi Veikko Saloranta) ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ของ Corsair ยืนยันเต็มปากเต็มคำตั้งแต่คำถามแรกเลยว่า นี่คือบริษัทที่แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของโลก ส่วนคำถามถัดมาที่ว่าทำได้อย่างไร แก้ปัญหาอะไรบ้าง ช่วยโลกได้จริงหรือเปล่า เราลองไปฟังจากเจ้าตัวกันดีกว่าครับ  เปลี่ยนพลาสติกเป็นน้ำมัน ชาวฟินแลนด์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากว่า 15 ปี อย่างยูสซี เริ่มต้นด้วยการอธิบายบริษัทของตัวเองอย่างเรียบง่ายเหมือนที่เราพูดไปข้างต้นว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลักๆ ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ แต่สิ่งที่โฟกัสตอนนี้คือปัญหาพลาสติก “ภารกิจของเราคือการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ตอนนี้เรามุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาพลาสติกเป็นหลัก พลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีต้นกำเนิดมาจากน้ำมัน เราก็แค่เปลี่ยนมันกลับไปเป็นสถานะเดิมแค่นั้นเอง” ขยะของคุณคือขุมทรัพย์ของเรา คำนิยมยอดฮิตในโลกสินค้ามือสองหรือโลกแห่งการรีไซเคิล สำหรับ […]

1 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.