8 อีเวนต์ต้อนรับวาเลนไทน์ ชวนคู่รักใช้เวลาร่วมกันในวันแห่งความรัก

เทศกาลแห่งความรักที่กำลังจะมาถึงนี้ หลายคนคงกำลังแพลนว่าจะพาคนรู้ใจไปเดตที่ไหนสักที่ จะพาไปช้อปปิงเลือกซื้อของขวัญที่ห้างสรรพสินค้า กุมมือดูหนังรักแสนหวานในโรงภาพยนตร์ หรือทานดินเนอร์สุดหรูใต้แสงเทียนแบบที่เคยทำมาทุกปีดีนะ  แต่ถ้าใครเบื่อบรรยากาศเดิมๆ และอยากพาคนรักไปใช้ช่วงเวลาที่ดีร่วมกันในบรรยากาศใหม่ๆ Urban Creature ขออาสาหยิบอีเวนต์น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในวันแห่งความรักนี้ มาให้คู่รักได้เลือกทำกิจกรรมที่โดนใจ ตั้งแต่เดินชมนิทรรศการงานศิลปะ เล่นเซิร์ฟสเก็ตพร้อมเอนจอยกับอาหารอร่อยๆ ในคาเฟ่สไตล์บีชคลับ นั่งฟังเพลงรัก ทำเวิร์กช็อปเย็บปักถักร้อย ถ่ายรูปคู่ในตู้สติกเกอร์ ไปจนถึงกางเต็นท์นอนชิลใต้แสงจันทร์เลยทีเดียว  แล้ววันวาเลนไทน์ในปีนี้ของคุณจะน่าจดจำ และอาจทำให้คุณกับคู่รักได้กระชับความสัมพันธ์ อิ่มอก อิ่มใจ และอิ่มเอมไปตลอดการใช้เวลาทำกิจกรรมเหล่านี้ร่วมกันอีกด้วย 01 Art Cart 06 : I love you to Phrom Phong and back SAC Gallery ขอต้อนรับเดือนแห่งความรักด้วยโปรเจกต์ ‘Art Cart 06 : I love you to Phrom Phong and back’ ที่ได้แรงบันดาลใจจากประโยคบอกรักสุดละมุนอย่าง “I love you […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก

จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]

เข้าใจ 2 ทศวรรษวิกฤตการเมืองไทย กับ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

ชวนทำความเข้าใจวิกฤตการเมืองไทยตลอด 2 ทศวรรษตั้งแต่กรณีนิรโทษกรรม ขบวนการเสื้อเหลือง-แดง จนถึงอำนาจนำของกษัตริย์ที่เพิ่มขึ้นผ่านหนังสือ ‘โอลด์รอยัลลิสต์ดาย’

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

บุก 5 โลเคชัน ‘ร่างทรง’ เพื่อปลุกย่าบาหยันให้ขลัง และเสกอีมิ้งให้เฮี้ยนไกลถึงเกาหลี

เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ‘ร่างทรง’ กลายเป็นหนังผีที่โจษจันเรื่องความเฮี้ยนไปทั่วเกาหลีใต้ ซึ่งความสำเร็จมาจากฝีมือการกำกับของ โต้ง–บรรจง ปิสัญธนะกูล และโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีชื่อดังอย่าง Na Hong-jin และเป็นครั้งแรกที่ค่าย GDH จับมือร่วมทุนสร้างกับ ShowBox ค่ายหนังเกาหลีเพื่อถ่ายทอดความผวานี้ร่วมกัน ความเฮี้ยนสุดหฤโหดที่ปรากฏบนจอ ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะนอกจากทีมงานคุณภาพจะเนรมิตทุกอย่างออกมาหลอนคนดูจนเสียวสันหลัง โลเคชันที่ปรากฏในเรื่องยังโดดเด่นไม่แพ้องค์ประกอบอื่นของหนัง เพราะสถานที่ถ่ายทำ ทั้งสวย ลึกลับ น่าสะพรึง และเต็มไปด้วยมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ เราจึงยกให้สถานที่ต่างๆ ในเรื่องอยู่ในฐานะของตัวละครนำที่เต็มไปด้วยลูกเล่นไม่แพ้นักแสดงที่เป็นมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นคือการใช้สถานที่เพื่อสร้างความน่ากลัว ตั้งแต่บ้าน ต้นไม้ หุบเขา ตึกร้าง และพื้นที่ต่างๆ ที่ปรากฏในแต่ละซีน เชื่อไหมว่า หนังผีเรื่องนี้ใช้เกือบทุกอำเภอในจังหวัดเลยถ่ายทำ พ่วงท้ายด้วยบางโลเคชันในกรุงเทพฯ นครนายก และนครปฐม เพื่อเปิดทางให้ตัวละครมีพื้นที่โลดแล่น สาดความบ้าคลั่งอันดุเดือดเลือดพล่าน ถ่ายทอดเรื่องราวความเฮี้ยนที่เกิดขึ้นกับ ‘นิ่ม’ ร่างทรงย่าบาหยันและครอบครัวของเธอที่มี ‘อีมิ้ง’ หลานสาว ผู้ตกอยู่ในภาวะอาการของคนที่ต้องรับทรงคนต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ  ความน่าสนใจก็คือทีมโลเคชันกะเทาะโจทย์จากผู้กำกับอย่างโต้งจนแตก และหาพื้นที่ถ่ายทำหลัก อย่างหุบเขากลางม่านหมอกที่คลุ้มคลั่งด้วยห่าฝนในอีสานมาถ่ายทำได้อย่างลงตัว เราจึงยกคุณงามความดีนี้ให้กับ เชี่ยวเวช ดนตรี Location Manager และ ศิริชัย […]

1 16 17 18

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.