‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย”  รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]

บุก 5 โลเคชัน ‘ร่างทรง’ เพื่อปลุกย่าบาหยันให้ขลัง และเสกอีมิ้งให้เฮี้ยนไกลถึงเกาหลี

เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ‘ร่างทรง’ กลายเป็นหนังผีที่โจษจันเรื่องความเฮี้ยนไปทั่วเกาหลีใต้ ซึ่งความสำเร็จมาจากฝีมือการกำกับของ โต้ง–บรรจง ปิสัญธนะกูล และโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลีชื่อดังอย่าง Na Hong-jin และเป็นครั้งแรกที่ค่าย GDH จับมือร่วมทุนสร้างกับ ShowBox ค่ายหนังเกาหลีเพื่อถ่ายทอดความผวานี้ร่วมกัน ความเฮี้ยนสุดหฤโหดที่ปรากฏบนจอ ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะนอกจากทีมงานคุณภาพจะเนรมิตทุกอย่างออกมาหลอนคนดูจนเสียวสันหลัง โลเคชันที่ปรากฏในเรื่องยังโดดเด่นไม่แพ้องค์ประกอบอื่นของหนัง เพราะสถานที่ถ่ายทำ ทั้งสวย ลึกลับ น่าสะพรึง และเต็มไปด้วยมนต์ขลังศักดิ์สิทธิ์ของอำนาจเหนือธรรมชาติ เราจึงยกให้สถานที่ต่างๆ ในเรื่องอยู่ในฐานะของตัวละครนำที่เต็มไปด้วยลูกเล่นไม่แพ้นักแสดงที่เป็นมนุษย์ ยิ่งไปกว่านั้นคือการใช้สถานที่เพื่อสร้างความน่ากลัว ตั้งแต่บ้าน ต้นไม้ หุบเขา ตึกร้าง และพื้นที่ต่างๆ ที่ปรากฏในแต่ละซีน เชื่อไหมว่า หนังผีเรื่องนี้ใช้เกือบทุกอำเภอในจังหวัดเลยถ่ายทำ พ่วงท้ายด้วยบางโลเคชันในกรุงเทพฯ นครนายก และนครปฐม เพื่อเปิดทางให้ตัวละครมีพื้นที่โลดแล่น สาดความบ้าคลั่งอันดุเดือดเลือดพล่าน ถ่ายทอดเรื่องราวความเฮี้ยนที่เกิดขึ้นกับ ‘นิ่ม’ ร่างทรงย่าบาหยันและครอบครัวของเธอที่มี ‘อีมิ้ง’ หลานสาว ผู้ตกอยู่ในภาวะอาการของคนที่ต้องรับทรงคนต่อไปตั้งแต่ต้นจนจบ  ความน่าสนใจก็คือทีมโลเคชันกะเทาะโจทย์จากผู้กำกับอย่างโต้งจนแตก และหาพื้นที่ถ่ายทำหลัก อย่างหุบเขากลางม่านหมอกที่คลุ้มคลั่งด้วยห่าฝนในอีสานมาถ่ายทำได้อย่างลงตัว เราจึงยกคุณงามความดีนี้ให้กับ เชี่ยวเวช ดนตรี Location Manager และ ศิริชัย […]

จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช

ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา  เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง  จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

ปลุกคน ผี ปีศาจ ผ่าน 5 พื้นที่ประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในกรุงเทพฯ

5 สถานที่ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวและเลือดเนื้ออันเกี่ยวเนื่องกับวันที่ 6 ตุลาฯ 19 แม้การจดจำความเจ็บปวดอาจขื่นขม แต่การคืนความเป็นธรรมให้ทุกคนเป็นเรื่องจำเป็น เพราะนี่คือเรื่องราวที่เกิดจริง

Hometown Cha-Cha-Cha เมื่อหมอฟันสาวโซลซัดโซเซจากเมืองหลวงไปซบไหล่ ตจว. ในหมู่บ้านชายทะเลที่กงจิน

พอนึกถึงซีรีส์เกาหลีใต้ทีไร ส่วนใหญ่โลเคชันหลักของเรื่องก็มักเกิดขึ้นในโซล เพราะโซลคือภาพแทนของเมืองหลวงสุดป็อป ที่เป็นภาพจำของคนทั้งโลก ในฐานะศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว และเป็นเมืองที่มีประชากรมากกว่า 10 ล้านคนจนเรียกเป็น Megacity ของโลกใบนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าไม่ดำเนินเรื่องในโซล แล้วหันไปมองโลเคชันเมืองอื่นอย่างจังหวัดคังวอน พื้นที่ที่เค-ซีรีส์ส่วนใหญ่ไม่เลือกใช้ดำเนินเรื่องล่ะ คุณพอจะนึกถึงซีรีส์เรื่องไหนที่มีฉากหลังเป็นจังหวัดนี้ไหม ถ้านึกไม่ออก เราขอยก Hometown Cha-Cha-Cha ออริจินัลซีรีส์จาก Netflix มาเล่า เพราะนอกจากจะถ่ายทอดชีวิตคนในพื้นที่หมู่บ้านเล็กๆ ในจังหวัดคังวอน เรายังอยากชวนผู้ชมหลบจากกรุงโซลมาสำรวจเรื่องราวในพื้นที่นอกเมืองหลวงผ่านซีรีส์โรแมนติกคอเมดี้เรื่องนี้ คาจา! (ไปกัน) เดินทางไม่นานหรอก เพราะถ้ากะเส้นทางขับรถจากโซลไปคังวอนคร่าวๆ จะมีระยะทางประมาณ 100 กว่ากิโลเมตร มาเหยียบคันเร่งด้วยจังหวะ Cha-Cha-Cha จากเมืองหลวงสู่ปลายทางที่หมู่บ้านริมทะเลแสนสงบ (โลเคชันสมมติ) เพื่อพบกับเรื่องรักของทันตแพทย์สาวจากโซลที่ปิ๊งรักกับหนุ่ม ตจว.ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ถ้าพร้อมแล้วคาดเข็มขัดให้มั่นเพราะตอนนี้เรากำลังอยู่บนรถของ Yoon Hye-jin (Shin Min-a) ทันตแพทย์สาวมั่นที่จำใจละทิ้งโซล เพราะดันไปมีความขัดแย้งกับผู้อำนวยการคลินิกทันตกรรมผู้มีคอนเนกชันกว้างขวางในเมืองหลวง ฮเย-จินเลยตกงาน เธอเศร้าจนต้องออกมานั่งเหม่อริมทะเลเงียบๆ คนเดียว ซึ่งซีนนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของฮเย-จินแบบไม่อาจย้อนกลับ นอกจากจะเล่าเรื่องรักโรแมนติกเจือกับความโกลาหลที่เกิดขึ้น ยังมีแง่มุมเกี่ยวกับสังคมเมืองและสังคมชนบทให้เราได้สังเกตกันสนุกๆ แถมดูแล้วก็ได้อมยิ้มไปกับเคมีของ […]

พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”

ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที  แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี  และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่  จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน

ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี  ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก  ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข  แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ  ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]

เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ

ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น  หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]

The Vessel สถาปัตยกรรมเก๋ทำให้คนอยากตายจริงหรือ?

ในช่วงระยะเวลาเพียงปีกว่าๆ The Vessel แลนด์มาร์กไอคอนิกสุดหรูในแมนฮัตตัน มหานครนิวยอร์ก มีคนเลือกมาจบชีวิตแล้วถึง 4 คน และใช่ ที่น่าตกใจกว่าเดิมคือทั้งสี่เป็นเพียงคนหนุ่มสาวอายุ 14, 19, 21 และ 24 ปีเท่านั้น ทำไมสถานที่พักผ่อนหย่อนใจภาพลักษณ์หรูมากด้วยดีเทลนี้ ถึงกลายเป็นพื้นที่ของการฆ่าตัวตายติดต่อกันเสียอย่างนั้น ทั้งๆ ที่ภาคเอกชนก็พยายามปั้นให้เป็นพื้นที่ที่มีดีไซน์แปลกใหม่ แถมยังมองเห็นทิวทัศน์ของนิวยอร์กได้อย่างน่าตื่นใจ ใครผ่านไปมาก็ต้องหยุดมองเพราะมันโดดเด้งจากพื้นที่แบบไม่มีใครเทียบรัศมี The Vessel เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาสเปซริมแม่น้ำ Hudson ฝั่งตะวันตกของเมือง โปรเจกต์นี้มีทั้งสำนักงานออฟฟิศ ที่พักอาศัย ห้างร้าน และพื้นที่สาธารณะ บนเนื้อที่ 70 ไร่ ซึ่งถูกเรียกว่า Pseudo-Public Space ถ้าให้นิยามง่ายๆ มันคือพื้นที่สาธารณะที่สร้างและพัฒนาโดยเอกชน กรณีของสถาปัตยกรรมวงกตที่หลายคนขนานนามว่ามีลักษณะเหมือนรวงผึ้ง เป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์อลังการงานสร้างของ Hudson Yards Redevelopment พื้นที่นี้เปิดให้เข้าชมฟรีในชั่วโมงแรกที่เปิดทำการ นอกเหนือจากเวลานี้จะคิดค่าตั๋วบุคคลทั่วไปราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบก็เข้าชมได้แบบฟรีๆ  ก่อนไปถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย สถาปัตยกรรมนี้เป็นงานศิลปะแบบ Interactive ที่คิดค้นโดย […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.