เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

ทำไมคนไทยเชื่อหมอดูมากกว่าจิตแพทย์? เพราะงมงายหรือเข้าถึงง่ายกว่า

เวลาคุยกับหมอดู คุณถามว่าอะไรกันบ้าง?ช่วงนี้เครียดกับเพื่อนร่วมงานมาก งานนี้จะรอดไหม?ที่ทำงานบีบเงินเดือนสุดๆ ปีนี้จะรวยไหม?ทุ่มเทให้เขาขนาดนี้ เขาจะรักเราบ้างไหม? คำถามเหล่านี้ต่างเป็นปัญหาสุดกลุ้มใจของใครหลายคน หากให้เลือกปรึกษาระหว่างจิตแพทย์กับหมอดู เชื่อว่าส่วนใหญ่ขอพุ่งเข้าหาแม่หมอก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันศาสตร์ทำนายอนาคตฮิตในบ้านเรา และทุกวันนี้มีธุรกิจสายดวงผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะบริการดูดวงออนไลน์ที่ได้รับความนิยมล้นหลาม ทุกคนเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย เช่น YouTube, Facebook, Twitter หรือ TikTok จนทำให้บางคนที่ชอบดูดวงมองว่า หมอดูก็สามารถทำให้พวกเขามีกำลังใจและรู้สึกมีความหวังในวันที่เขาหลงทาง รวมทั้งให้คำปรึกษาคล้ายกับจิตแพทย์คนหนึ่งเลยทีเดียว ดูดวง ที่พึ่งยามยากที่เข้าถึงง่าย ความนิยมการดูดวงไม่ใช่เรื่องคิดไปเอง จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี และเป็นโสด สาเหตุที่เลือกดูดวงเนื่องจาก 1 ใน 3 พบว่ารู้สึกเครียดและต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ จึงต้องการรับรู้เรื่องอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจการตัดสินใจในปัจจุบัน เรื่องที่คนเมืองมักจะปรึกษาแม่หมอมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) การก้าวหน้าในหน้าที่การงาน 2) การเงินและการค้า และ 3) เรื่องโชคลาภ […]

วัตถุดิบนิยม เปลี่ยนเนื้อมะพร้าวเหลือใช้ให้เป็นโยเกิร์ตรักษาภูมิแพ้และซึมเศร้า

นิยามคำว่าอาหารที่ดีของคุณเป็นแบบไหน เป็นอาหารที่อร่อย ให้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วน หรือทำมาจากวัตถุดิบหายาก สำหรับ ‘วีด้า-ภาวิดา กฤตศรัณย์’ อาหารที่ดีของเธอคืออาหารที่ดีต่อตัวเธอ และต้องดีต่อโลก นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอก่อตั้ง วัตถุดิบนิยม แบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพที่อยากสื่อสารให้ทุกคนได้เข้าใจเรื่องขยะอาหาร และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างคนเมืองกับเกษตรกร ให้มาแชร์ความรู้และวัตถุดิบกันแบบที่ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ส่วนผู้บริโภคได้ความรู้และของกินกลับไป สินค้าตัวแรกของวัตถุดิบนิยมอย่าง ‘ไบโคเกิร์ต’ ก็มีคอนเซปต์ที่น่าสนใจมาก เพราะนอกจากจะเป็นโยเกิร์ต Plant-based ที่ทำจากเนื้อมะพร้าวเหลือทิ้งจากฟาร์มที่ราชบุรี ผสมรวมกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ซึ่งช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ซึมเศร้า และยังเป็นโยเกิร์ตที่ลูกค้าต้องลุ้นทุกครั้ง เพราะรสชาติจะเปลี่ยนไปทุกกระปุก! เช้าวันอากาศดี เรานัดพบกับภาวิดาเพื่อคุยกันถึงเรื่องราวเบื้องหลังธุรกิจของวัตถุดิบนิยม และความตั้งใจในการผลักดันแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพจากกรุงเทพฯ ที่มีน้ำพักน้ำแรงของเกษตรกรในราชบุรีเป็นส่วนประกอบ กรุงเทพฯ ย้อนกลับไปยังจุดแรกเริ่ม วัตถุดิบนิยม ประกอบสร้างขึ้นจากความชอบในวิถีออร์แกนิกและเงื่อนไขด้านสุขภาพของภาวิดา อาจเพราะเติบโตในครอบครัวยากจนถึงขนาดต้องซื้อบะหมี่ชามเดียวมาแบ่งแม่และพี่น้องกิน ภาวิดาจึงรู้จักและสำนึกในคุณค่าของอาหารเสมอมา แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เธอเห็นความสำคัญของคำว่าออร์แกนิก เกิดขึ้นตอนไปเรียนปริญญาโทที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย  ราวปี 2537 ในยุคที่คำว่าออร์แกนิกยังไม่แพร่หลาย ผู้คนที่นั่นสอนให้ภาวิดาเข้าใจมันอย่างลึกซึ้งผ่านสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน คนที่เติบโตมากับการใช้ถุงพลาสติก ถูกสอนให้ล้างวัตถุดิบทุกอย่างก่อนนำมาปรุงอาหาร ภาวิดาประหลาดใจกับภาพการใช้ถุงตาข่ายของชาวออสซี่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ไปจนถึงการหยิบผักผลไม้จากบนเชลฟ์ให้เด็กๆ กินได้โดยไม่ล้าง เพราะพวกเขามั่นใจว่ามันปลอดสารเคมี ภาวิดาซึมซับภาพเหล่านั้นเป็นประจำ รู้ตัวอีกทีคำว่าออร์แกนิกก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างแยกไม่ออก หลังจากเรียนจบและกลับไทย เธอเข้าทำงานในฝ่ายการตลาดให้สื่อเว็บไซต์แห่งหนึ่งจนได้ขึ้นเป็นระดับผู้บริหาร […]

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

KIDS’ VIEW นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มครั้งแรกจากมุมมองเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้

ปัตตานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความสร้างสรรค์เป็นพลังช่วยเคลื่อนเมืองให้พ้นจากมุมมองและภาพจำเกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุกวันนี้เราได้เห็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองที่ดีของจังหวัดทางใต้แห่งนี้  สำหรับชาวเมืองหลวงที่ยังไม่มีโอกาสไปปัตตานี เราอยากชวนไปงานอีเวนต์ของคนจากปัตตานีที่จัดแสดงอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อว่า ‘KIDS’ VIEW’ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองทางสายตาของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด 19 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ‘มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา’ (Nusantara Patani) พวกเขาได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพถ่ายกว่า 70 ภาพ เพื่อให้ผู้คนนอกพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนรายละเอียดวิถีชีวิต ความนึกคิด และสิ่งที่เด็กกำพร้าในสามจังหวัดชายแดนใต้มองเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น  ความน่าสนใจของภาพถ่ายในงานนี้คือ ‘การใช้กล้องฟิล์มครั้งแรก’ ของน้องๆ  “เอากล้องทอยให้น้องไปคนละตัวและให้ฟิล์มกันไปคนละม้วน” อำพรรณี สะเตาะ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายชาวปัตตานี จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกเล่าถึงการดำเนินงานของนิทรรศการ KIDS’ VIEW ให้ฟัง  อาจารย์ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กๆ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปการใช้กล้องฟิล์ม 101 เล่าความรู้เบื้องต้นการถ่ายภาพให้กับน้องๆ เป็นเวลา 10 กว่าวัน จากนั้นก็ปล่อยให้เหล่าช่างภาพมือใหม่ลงสนามตามหาสิ่งที่อยากถ่าย โดยไร้ซึ่งคอนเซปต์ ไม่มีการตีกรอบทางความคิดใดๆ  หลังจากที่อาจารย์นำฟิล์มครั้งแรกของน้องๆ ไปล้างและอัดรูปแล้ว ภาพทั้งหลายที่ได้มาล้วนมีเอกลักษณ์และมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะจะถ่ายอะไรก็ได้ ทั้งในชุมชน […]

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

ไทยอัตราการเกิดต่ำสุดใน 50 ปี จำนวนคนตายมากกว่าคนเกิด จุดเริ่มต้นหลังรัฐประหาร 2557

สมัยนี้หากคุณมีครอบครัวจะอยากมีลูกไหม? หากคุณตอบว่า ‘ไม่’ เป็นคำตอบที่ไม่แปลกเลยสำหรับยุคนี้ ไม่ใช่แค่คนไทยแต่รวมถึงทั่วโลกต่างมีอัตราการเกิดลดลง เพราะคนไม่อยากมีลูกและอยู่เป็นโสดมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับประเทศไทยคือ ที่ผ่านมาปี 2564 ทำลายสถิติอัตราการเกิดต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย 50 ปี หนักถึงขั้นมีจำนวนคนตายมากกว่าคนเกิดเสียอีก สังเกตได้จากข้อมูลจากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลที่เผยว่า อัตราการเกิดปี 2564 มีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 540,000 คน น้อยลงจากที่เคยเกิดเมื่อ 50 ปีที่แล้วประมาณ 1,200,000 คน และเป็นปีแรกที่จำนวนเด็กเกิดน้อยกว่าจำนวนคนตาย (ประมาณ 560,000 คน) จากข้อมูลคนเกิดน้อยลง มองเผินๆ อาจมองเป็นเรื่องที่ทุกประเทศต่างประสบปัญหาเช่นเดียวกัน หากคิดอีกมุมหนึ่ง ก็น่าตั้งคำถามไม่น้อยว่า ทำไมอัตราการเกิดในไทยถึงได้มีจำนวนดิ่งลงจนติดลบขนาดนี้ เศรษฐกิจไม่ดี ดูแลตัวเองให้ดีก่อน หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่คนไม่อยากมีลูกทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงเด็ก ครอบครัว และเลี้ยงดูตนเองที่ไม่เพียงพอ อ้างอิงจากรายงานของสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูง และค่าตอบแทนต่ำ หากต้องส่งลูกเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลถึงระดับปริญญาโทควรต้องมีเงินอย่างน้อย 1.3 ล้านบาท และระดับปานกลางประมาณ 6.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทั่วไป) ปัจจัยค่าจ้างแรงงาน เป็นอีกสิ่งสำคัญที่คนจะตัดสินใจในการมีลูก […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

‘ซาว เอกมัย’ ร้านอาหารอีสานที่มีกฎเหล็กว่า ‘อย่าใช้สมอง แต่ให้ใช้ลิ้นกิน’

“อะไรคือสิ่งที่ทำให้อีฟหันมาเสนอความแซ่บของสำรับอีสาน” “เราต้องการให้คนเปลี่ยน Perception ที่มีต่ออาหารอีสาน ว่ามันไม่ใช่แค่ของราคาถูก” คำตอบของ อีฟ-ณัฐธิดา พละศักดิ์ เมื่อเราถามถึงเป้าหมายของร้าน ‘ซาว เอกมัย’ ที่เธอลงมือฟูมฟักตั้งแต่สาขาแรกในจังหวัดอุบลราชธานี จนขยับขยายสู่สาขาสองที่เพิ่งแลนดิ้งในย่านเอกมัยมาได้ไม่นาน พร้อมหยิบวัตถุดิบพื้นบ้าน กรรมวิธีการปรุง และสำรับอาหารในแบบที่คนอีสานกินแบบไหน ซาวก็เสิร์ฟแบบนั้นให้ได้ลิ้มลอง อันที่จริงคุณอาจจะรู้จักอีฟจากบทบาทหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Foundisan กลุ่มคนทำงานด้านดีไซน์ที่เล่าเรื่องอีสานผ่านงานออกแบบและงานคราฟต์ร่วมสมัย ซึ่งฉีกกรอบภาพจำของสินค้าโอท็อปแบบเดิมๆ ด้วยการ Redesign โปรดักต์เพื่อสร้างมูลค่าให้สูงขึ้น แน่นอนว่าวิชวลที่ออกมานั้นเต็มไปด้วยสีสัน ความสนุก และทันสมัยมากกว่าที่เคย หลังจากลงมือทำ Foundisan มานาน 3 – 4 ปี อีฟก็เจอโจทย์หินว่าจะทำอย่างไรให้สินค้าโอท็อปขายได้ แม้จะเอามายกเครื่องใหม่ก็ยังไม่สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีขึ้น ประกอบกับการลงพื้นที่ในทุกๆ ครั้ง อีฟจะได้ชิมอาหารฝีมือแม่ๆ ซึ่งมีคัลเจอร์ที่น่าสนใจ เพราะอีสานแต่ละจังหวัดก็มีเครื่องปรุงและวัตถุดิบบางอย่างแตกต่างกัน จึงกลายเป็นจุดประกายเล็กๆ ที่อยากเล่าวัฒนธรรมอีสานให้ง่ายกว่างานคราฟต์ ซึ่ง ‘อาหาร’ คือคำตอบ ร้านที่อยากเปลี่ยนมุมมองของคนต่ออาหารอีสาน ‘ซาว อุบลฯ’ คือซาวสาขาแรกที่อีฟได้เริ่มทำในช่วงที่ธุรกิจรถเกี่ยวข้าวของเธอกำลังจะไม่ได้ไปต่อ จึงชวนพนักงานของบริษัทลงพื้นที่ตระเวนกิน เฟ้นหาวัตถุดิบ รวมไปถึงสูตรอาหารต่างๆ โดยมีระยะเวลาเตรียมการเพียง […]

“ประดับวงการใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์” 20 ปีของ ‘ภูมิจิต’ วงดนตรีที่ไม่มีวันดังอีกแล้ว

“วงดนตรีของเรายี่สิบปีพอดี ถ้ามองมุมนี้ก็ถือว่าเรามาได้ไกลกว่า The Beatles ประมาณหนึ่ง” เสียงของชายผู้รับหน้าที่เป็นนักร้องดังขึ้น “พรุ่งนี้พาดหัวข่าว วง ‘ภูมิจิต’ เย้ย The Beatles ไอ้ห่าดังเลยกู” มือกลองตบจังหวะนี้เรียกเสียงฮาลั่นห้องอัด  ต่อหน้าเราขณะนี้คือวงดนตรีภูมิจิต ในวันที่พวกเขากำลังอัดเพลงอัลบั้มใหม่ วงภูมิจิตมีสมาชิก 4 คนไล่จากนักร้องนำที่ทั้งแต่งเพลงและเล่นกีตาร์ พุฒิ-พุฒิยศ ผลชีวิน ถัดไปคือ กานต์-เกษม จรรยาวรวงศ์ มือกีตาร์เพื่อนสนิทร่วมห้องของพุฒิสมัยเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีกสองคนคือสมาชิกใหม่ที่กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ได้แก่ บอม-ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล เล่นเบส และ แม็ก-อาสนัย อาตม์สกุล มือกลอง  20 ปีที่ผ่านมา วงดนตรีภูมิจิตมีผลงานเพลงทั้งหมด 4 อัลบั้ม ได้แก่ ‘Found and Lost’ (2551), ‘Bangkok Fever’ (2553), ‘Home Floor’ (2555) และปี 2561 คือ ‘MIDLIFE’ อัลบั้มล่าสุดที่ทั้งวงยกให้เป็น […]

รวม 5 ธุรกิจสายบุญยุคใหม่ อยู่ที่ไหนก็ทำบุญได้ ถ้าใจเราพร้อม

ชาวพุทธผู้รักการทำบุญต้องถูกใจสิ่งนี้! ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีเวลาไปทำบุญเมื่อใจพร้อม เพราะหลายครั้งร่างกายก็อาจไม่พร้อม และธุระการงานแผนการณ์ครอบครัวก็อาจทำให้แพลนออกจากบ้านไปทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาของหลายคนต้องหยุดชะงัก บุญก็อยากทำ แต่จะให้ออกจากบ้านก็ไม่สะดวกจริงๆ จะทำอย่างไรดีล่ะทีนี้ วันนี้ Urban Creature จึงรวบรวม 5 ธุรกิจสายบุญรูปแบบใหม่ ที่จะมาปฏิวัติวงการการทำบุญแบบเดิมๆ ก้าวเข้าสู่ New Normal แห่งพุทธศาสนา ให้ชีวิตคุณกับศาสนาใกล้กันแค่ปลายนิ้วสัมผัส ไม่ต้องไปถึงวัดก็สามารถทำกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการจัดหาออร์แกไนเซอร์จัดงานบุญ ตักบาตร กรวดน้ำ ถวายสังฆทาน หรือปล่อยปลา ได้ง่ายๆ  ธุรกิจเสริมบุญยุคใหม่ที่เราคัดสรรมามีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย! 01 | รักทำบุญ : ออร์แกไนเซอร์งานบุญ ประเดิมธุรกิจสายบุญแรกไปกับ ‘รักทำบุญ’ ธุรกิจออร์แกไนเซอร์ที่รับจัดงานบุญทุกรูปแบบครบวงจร ที่ Urban Creature ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ คุณเอ-ฐปนวัชร์​ วิศรุตธรรม เจ้าของกิจการมาก่อนหน้านี้ รักทำบุญได้ผันตัวจากออร์แกไนเซอร์งานแต่ง มาเป็นออร์แกไนเซอร์งานบุญ ที่จัดเตรียมตั้งแต่สถานที่ นิมนต์รับ-ส่งพระ รวมถึงจัดการขั้นตอนระหว่างการทำงานบุญ และงานเลี้ยงอาหารหลังจบพิธีการแบบ One Stop Service ครบจบในที่เดียว ไม่ต้องรบกวนที่บ้านให้ลำบากใจอีกต่อไป ที่สำคัญ […]

“หน้าที่ของเราคือต้องทำให้คนรู้สึกมีความหวังกับเมือง” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Urban Creature ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญของทีมนโยบายของชัชชาติ รวมถึงพูดคุยกับชายผู้ควบตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงก่อนเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าฯ กทม. ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่จับพลัดจับผลูขึ้นมาดำรงตำแหน่งในวัย 33 ปี หลังได้รับการชักชวนจากชัชชาติในคืนวันประกาศผลเลือกตั้งที่คะแนนเริ่มทิ้งห่าง ให้ดูแลสำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเรียกรวมๆ ก็คือการดูงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นหลัก  ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศานนท์ได้มาทำงานด้านนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เขาทำงานขับเคลื่อนเมืองและซัปพอร์ตชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม SATARANA (สาธารณะ) ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง และ Mayday กลุ่มผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่  ถึงอย่างนั้น การย้ายฝั่งจากภาคประชาสังคมเข้าสู่ระบบราชการก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายศานนท์เป็นอย่างมาก และทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ จากมันอยู่ไม่น้อย ทั้งข้อจำกัดของระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยากจำนวนมาก งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการไม่มีเวลาปรับตัวเพราะต้องเริ่มต้นทำงานทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง คงไม่ผิดนักถ้าหากจะยกให้เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อีกคนที่ทำงานหนักไม่แพ้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะขนาดช่วงที่เราขอสัมภาษณ์ ก็แทบต้องแย่งชิงเวลาอันน้อยนิดที่แน่นขนัดไปด้วยตารางการทำงานของเขา […]

1 4 5 6 7 8 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.