10 นิทรรศการศิลปะทั่วกรุงฯ ตลอดเดือนกุมภาฯ – เมษาฯ 65

ดีไซน์วีกจบ แต่นิทรรศการศิลปะทั่วกรุงเทพฯ ยังคึกคักกันต่อ  สัปดาห์นี้เรามาชวนปักหมุด 10 นิทรรศการศิลปะที่น่าไปในกรุงเทพฯ ให้ชวนเพื่อนๆ ออกไปใช้เวลานอกบ้านด้วยกันต่อ  10 นิทรรศการที่เรารวบรวมไว้มีทั้งที่จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ไปจนถึงงานที่จัดยาวๆ ถึงเดือนเมษายนและพฤษภาคมเลยทีเดียว ไม่ต้องกลัวว่ารอบนี้จะตามเก็บไม่ครบ เพราะยังมีเวลาให้ออกจากบ้านกันอีกยาวๆ แพลนไว้สัปดาห์ละงานก็ดูทัน! BlueBlurryMondayKalwit Studio & Gallery ชวนมาสำรวจนิทรรศการ ‘BlueBlurryMonday’ ที่บันทึกความทรงจำ เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตที่เกิดขึ้น ของอิสริยาภรณ์ หวันมะรัตน์ ผ่านภาพวาดสีไม้สีสันสดใสที่จะทำให้คุณรู้สึกอบอุ่นหัวใจไปกับเรื่องราวเหล่านี้ งานนี้เป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของอิสริยาภรณ์ ที่เธอได้แรงบันดาลใจมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เวลาไปเดินเที่ยวที่นั่นที่นี่ เมื่อเจอเหตุการณ์ประทับใจก็จะถ่ายรูปไว้ แล้วก็กลับบ้านมาวาดรูปและเขียนเหตุการณ์ที่พบเจอว่าเป็นอย่างไรบ้าง เหมือนเป็นการทบทวนเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเอง อิสริยาภรณ์บอกว่าภาพวาดเป็นหนึ่งในวิธีการบอกเล่าเรื่องราวและความรู้สึก ณ ช่วงเวลานั้นๆ พอได้วาดภาพก็เหมือนได้เล่าให้ตัวเองฟังอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผู้ชมจะรู้สึกกับมันยังไง จะรู้สึกเหมือนกันกับเธอหรือไม่ อันนี้แล้วแต่ทุกคนเลย ป.ล. ที่นิทรรศการมีโปสต์การ์ดจากรูปที่จัดแสดงวางขายด้วยนะ ไปเลือกซื้อมาเก็บไว้เป็นที่ระลึกกัน วันที่จัดกิจกรรม : 11 ก.พ. – 3 เม.ย. 2565เวลา : 10.00 – […]

ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา

ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)  แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ  จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]

@เปิ้น Don Moo Din จากงานอดิเรกสู่อาชีพนักปั้นเซรามิก I Somebody Ordinary | EP.6

เมื่อเส้นทางชีวิตแรกเริ่มไม่ได้บันดาลให้สาวคนนี้เป็นนักปั้นเซรามิก แต่ด้วยใจรัก สุดท้ายเธอได้มาเป็นนักปั้นเซรามิกอย่างที่ใจหวังในถิ่นบ้านเกิดของตัวเอง นี่คือเรื่องราวของ เปิ้น Don Moo Din นักปั้นเซรามิกที่บอกเล่าเรื่องราว วัฒนธรรม ลงบนจาน ชาม แก้วน้ำ และสารพัดเครื่องปั้นที่เธอทำ บวกกับเก๋ไก๋ในดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างแก้วที่หูพับเป็นทรงยับๆ ที่ไม่ว่าคุณจะถนัดซ้ายหรือขวาก็จับได้ถนัดมือ แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณอยากได้เพิ่มต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะวัตถุดิบที่นำมาผลิตแต่ละครั้งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เสน่ห์ของชิ้นงานเซรามิกที่ปั้นมีความแตกต่างกัน เหมือนที่พี่เปิ้นบอกเราว่า “ทุกอย่างเราไปบังคับอะไรไม่ได้หรอก ทุกคนมีตัวตน และคุณสามารถเลือกได้นะ” การพูดคุยกับเธอจะดี จะสุด จะมัน ขนาดไหน มาดูกัน! #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #DonMooDin #เซรามิก #เครื่องปั้นดินเผา

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

สำรวจสถานการณ์บ้านเมือง ผ่านเสียงคนทำสิ่งพิมพ์ Bangkok Art Book Fair 2021

หลังจากที่กรุงเทพฯ ห่างหายจากการเป็นเมืองอีเวนต์มาเนิ่นนานจากโรคระบาดที่กินเวลาเป็นหลักปี จนมาถึงช่วงนี้ที่กลับมาเปิดเมืองอีกครั้ง งานต่างๆ ก็เริ่มทยอยกลับมาจัดกันอย่างคึกคัก หนึ่งในนั้นคือเทศกาลหนังสือศิลปะกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Art Book Fair (BKKABF 2021) ที่เราแสนคิดถึง เมื่อวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา BKKABF 2021 ได้กลับมาจัดแบบออนไซต์แล้วหลังจากย้ายไปจัดบนแพลตฟอร์มออนไลน์เมื่อปีก่อน ครั้งนี้ถือเป็นปีที่ 4 แล้วที่เทศกาลหนังสือศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในไทยจัดงานต่อเนื่องกันมา  นอกจากจะแปลกตากับการขยายพื้นที่จัดงานไปสู่ด้านนอกอาคารของสถานที่จัดงานอย่าง Bangkok CityCity Gallery แล้ว ในงานยังอบอวลไปด้วยสถานการณ์การเมืองภายใต้ธีม ‘DON’T KEEP YOUR DREAM AT HOME’ ที่ทางแกลเลอรีมอบพื้นที่ให้ Exhibitor ตั้งคำถามและท้าทายประเด็นร่วมสมัยต่างๆ ทั้งเชิงสังคมและการเมือง ส่วนใครที่พลาดโอกาสไป ไม่ต้องเสียดาย เราไปทัวร์และคัด 5 เรื่องที่น่าสนใจมาให้ทุกคนเที่ยวทิพย์แล้ว ปีหน้าอย่าลืมปักหมุดมาเจอกันนะ! 1. ซัปพอร์ตสิ่งพิมพ์เพื่อประชาธิปไตย What is happening in Thailand Illustration […]

COP26 the Other Side: 5 ประเด็นชวนเอ๊ะ! สรุปรักษ์โลกกันจริงไหมในการประชุม COP26

ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร

จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช

ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา  เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง  จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]

กฎหมายนิรโทษกรรม : ชวน ‘เป๋า iLaw’ คุยเรื่องการลบล้างมลทินไม่ให้มัวหมอง

Welcome to Thailand ยินดีต้อนรับเข้าสู่ประเทศไทย ประเทศสุดมหัศจรรย์ ดินแดนแห่งการทำความผิด แต่ไม่ต้องรับผลกรรมใดใด มิหนำซ้ำยังถนัดกลับตาลปัตรจากเรื่องขาวให้เป็นดำ และกลับดำให้เป็นขาวได้อย่างมืออาชีพ เมื่อ ‘ระบบตุลาการ’ ของประเทศ กำลังเอื้อให้คนกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิพิเศษจากกฎหมาย ทำให้หลักผดุงยุติธรรมอันเท่าเทียมของคนในสังคมหล่นหาย กลายเป็นเครื่องมือเลือกปฏิบัติ ปราบปราม และกดขี่ เหล่าชนชั้นปกครองกระหยิ่มยิ้มย่องและลอยนวล ซ้ำยังถืออำนาจ ‘บริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ’ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด โดยเฉพาะ ‘การนิรโทษกรรม’ กระบวนการล้างมลทินของรัฐเผด็จการในตอนนี้ ที่ทำต่อเนื่องมายาวนานกว่า 7 ปีแล้ว เห๊อะ…ถ้าจะให้ลิสต์วีรกรรมหมกเม็ดทางกฎหมายทั้งหมดน่ะเหรอ เสียเวลา คงต้องใช้หลายบรรทัดเหมือนกัน ในช่วงนี้ ‘นิรโทษกรรม’ เป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอีกครั้ง นั่นเพราะรัฐบาลประยุทธ์และพรรคพวกเป็น ‘บิดาแห่งการยกเว้น’ แบบไร้ที่ติ เมื่อเดือนสิงหาคม 64 หัวข้อนี้กลับมาอยู่บนหน้าข่าวและความสนใจของประชาชนจำนวนมาก เพราะคณะรัฐมนตรีจะเสนอแก้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ด้วยการเพิ่มสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ต้องการตีเนียนละเว้นความผิดให้เจ้าหน้าที่ และนิรโทษกรรมคนตัดสินใจเรื่องการจัดการวัคซีน ซึ่งการเสนอกฎหมายเพื่อเว้นความผิดเป็นสิ่งที่ประยุทธ์และคณะทำอย่างสุดความสามารถมาตั้งแต่สมัยรัฐประหาร ปี 2557  ว่าไหม การใช้กฎหมายข่มขืนประชาชนของรัฐนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ แต่มันไม่ควรเป็นเรื่องปกติในสังคม ถ้า ‘ความยุติธรรม’ […]

เรียนเพศศึกษานอกตำราไทยกับ Sex Education Season 3

‘เพศศึกษา’ คือหนึ่งในวิชาที่สะท้อนค่านิยมที่ล้าหลังในระบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเนื้อหาและค่านิยมที่อยู่ในบทเรียนก็ไม่เคยพัฒนาไปไกลกว่าคำว่าศีลธรรมอันดี นอกจากจะไม่ช่วยให้เด็กเปิดกว้างเรื่องเพศแล้ว ยังส่งต่อความเชื่อแบบผิดๆ และส่งผลกับสุขภาพทางเพศเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ด้วย ทำให้หลายครั้งเรามักจะพบคำถามแปลกๆ ในอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสุขอนามัยทางเพศ ทั้งๆ ที่เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนควรจะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เขาเข้าใจธรรมชาติของร่างกาย มากกว่าที่จะทำให้เซ็กซ์กลายเป็นเรื่องต้องห้าม Sex Education คือซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องเซ็กซ์วุ่นๆ ของวัยรุ่นในโรงเรียนมัวร์เดลจาก Netflix ที่เคยกระตุกต่อมศีลธรรมอันดีของคนไทย จนมีพรรคการเมืองเข้ายื่นหนังสือต่อ กสทช. เพื่อขอให้ตรวจสอบ ‘เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนไทย’ มาแล้ว (ทั้งที่คนเขาดูกันทั้งโลก) ทำให้ชาวเน็ตแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้กันอย่างล้นหลาม เพราะยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ จึงทำให้ซีรีส์เรื่องนี้ได้รับความนิยมมาตลอด ตอนนี้ Sex Education Season 3 กลับมาพร้อมความแสบ คัน และยังสอนเพศศึกษาได้มันเหมือนเคย เราจะพาไปเรียนรู้เรื่องเพศกับ Sex Education ซีซันนี้ผ่าน 8 บทเรียนที่ไม่มีในตำราไทย แต่เรียนรู้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่อยากเปิดใจศึกษาเรื่องเพศมากกว่าเดิม  นอกจากเรื่องเซ็กซ์แล้วในซีซันนี้ยังมีเรื่องความสัมพันธ์ของตัวละคร เพื่อน ครอบครัว คนรัก และสารพัดปัญหาของช่วง Coming of Age เช่น การ Come Out การค้นหาตัวเอง […]

Startup Village เปลี่ยนที่ว่างในอัมสเตอร์ดัมเป็นหมู่บ้านสตาร์ทอัปจากคอนเทนเนอร์มือสอง

การจะสร้างคอมมูนิตี้ของสตาร์ทอัปให้เกิดขึ้นได้จริง นอกจากต้องการการสนับสนุนอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐแล้ว ยังจำเป็นต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการทำงานของเหล่าสตาร์ทอัปด้วย  โปรเจกต์ Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัปในอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกโปรเจกต์หนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโครงการเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้กลายเป็นศูนย์รวมเทคโนโลยีชั้นนำของเมือง โดยที่ใช้งบประมาณการก่อสร้างอย่างจำกัด แต่ทำออกมาแล้วเวิร์กสุดๆ  Startup Village หรือหมู่บ้านสตาร์ทอัป เป็นส่วนหนึ่งของ Amsterdam Science Park ที่รวมผู้ประกอบการ สตาร์ทอัป งานวิจัย และนวัตกรรมเอาไว้ที่เดียว ทำให้ที่นี่เป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการสร้างสรรค์ ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยีของเหล่าสตาร์ทอัปภายในประเทศ เพราะรวมคนเจ๋งๆ จากหลายด้านเอาไว้กว่า 55 บริษัท  เปลี่ยนที่ว่างเป็นหมู่บ้าน โปรเจกต์นี้เริ่มต้นเมื่อปี 2016 โดย Julius Taminiau สถาปนิกชาวเนเธอร์แลนด์ ผู้ริเริ่มโครงการหมู่บ้านสตาร์ทอัปได้รับโอกาสจาก UvA Ventures Holding และ Amsterdam Science Park ให้มาทำโปรเจกต์หมู่บ้านให้เกิดขึ้นจริง โดยการพลิกฟื้นพื้นที่ดินร้างและว่างเปล่าแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มีประโยชน์สำหรับสตาร์ทอัปและคนที่สนใจเรื่องนวัตกรรมในเมืองอัมสเตอร์ดัม ก่อนจะย้ายกลับมาที่เนเธอร์แลนด์ Julius เคยทำงานในลอนดอนให้กับ Carl Turner Architects ในระหว่างการออกแบบและสร้าง Pop […]

1 6 7 8 9 10 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.