‘จ่าวอัน’ เปลี่ยนโกดังเก่าร้อยปีย่านเยาวราชเป็นคาเฟ่และบาร์ลับกลิ่นอายจีน

หากนิยามของร้านลับคือ ‘ร้านที่ไม่รู้ว่าไปอยู่ตรงนั้นได้ยังไง’ และ ‘ตัดออกจากโลกภายนอกอย่างสิ้นเชิง’ JAO.UN (จ่าวอัน) คาเฟ่และบาร์ลับในซอยเจริญชัย 2 ติ๊กถูกทุกข้อได้แบบง่ายๆ ต่างจากความพลุกพล่านบนถนนเยาวราชที่อยู่ไม่ไกลแบบลิบลับ จ่าวอันแทรกตัวอยู่ในชุมชนเจริญชัยที่เงียบสงบ ความน่าสนใจคือนอกจากเปิดเป็นคาเฟ่เสิร์ฟกาแฟและขนมในตอนกลางวัน และเปลี่ยนโหมดเป็นบาร์เสิร์ฟค็อกเทลและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ตอนกลางคืนแล้ว นี่ยังเป็นคาเฟ่ฝีมือลูกหลานชาวจีนอย่าง ‘ศิฑ-ศิรพงศ์ ศุภภัทรเศรษฐ์’ เจ้าของร้านอาหาร Zong Ter ที่จับมือกับเพื่อนสนิทอย่าง ‘กิ๊ฟท์-กนกกาญจน์ กมลเดช’ และ ‘โอ๊ธ-รวิภาส มณีเนตร’ มาช่วยกันทำ เพราะก่อตั้งโดยลูกหลานคนจีน บรรยากาศของร้านไปจนถึงเมนูเครื่องดื่มและอาหารจึงมีกลิ่นอายความเป็นจีนจางๆ สอดแทรกอยู่ในรายละเอียด และหลังจากที่ได้ลองนั่งสนทนากับเจ้าของร้าน เรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบและคิดเมนูก็เอร็ดอร่อยไม่แพ้กัน 家庭 ครอบครัว ถ้าจะบอกว่า JAO.UN คือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากธุรกิจอีกทีก็ไม่ผิด  การเปิดร้าน ZONG TER ธุรกิจที่ศิฑเปลี่ยนร้านยี่ปั๊วประจำครอบครัวให้กลายเป็นร้านอาหาร/คาเฟ่ ส่งผลให้เกิดคาเฟ่/บาร์แห่งนี้ที่เขาชวนเพื่อนๆ ชาวนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ อย่างโอ๊ธและกิ๊ฟท์มาช่วยกันทำ เรื่องของเรื่องคือ เมื่อครั้งยังทำร้านยี่ปั๊วที่เน้นการขายส่ง อากงของศิฑเซ้งบ้านเก่าอายุกว่า 100 ปีในชุมชนเจริญชัยไว้เป็นโกดังเก็บสต็อกสินค้า แต่เมื่อร้านยี่ปั๊วถูกยกเครื่องให้กลายเป็นซงเต๋อ โกดังจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ครอบครัวของศิฑเลยปล่อยให้คนอื่นเช่าต่อ ทว่าเมื่อปลุกปั้นซงเต๋อจนถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มเข้าที่เข้าทาง ศิฑเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย  “เราไปร้านทุกวัน […]

‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL

“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป

‘ไม่มีฝันของใครที่เป็นไปไม่ได้’ ล่องไปกับ ‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ EP Album ของ HUGO

‘เรือสำราญราตรีอมตะ’ คือผลงานอีพีอัลบั้มล่าสุดของ ‘HUGO’ หรือ ‘เล็ก-จุลจักร จักรพงษ์’ ที่ออกสู่สาธารณะเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2564  อัลบั้มนี้มีไอเดียจากข่าวที่มหาเศรษฐีและผู้คนบนโลกมากมายเริ่มมองอวกาศเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยว เรือสำราญราตรีอมตะ จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นภาพจำลองที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม และนำเสนอในแบบ Sci-Fi จินตนาการไปสู่อนาคตที่อาจเกิดขึ้นจริงได้ในสักวัน ภายในอัลบั้มประกอบด้วย 6 บทเพลงไทย โดยได้นักแต่งเพลงแห่งยุคอย่าง ‘ฟองเบียร์-ปฏิเวธ อุทัยเฉลิม’ กับ ‘ติ๊ก-กฤษติกร พรสาธิต’ วง Playground มาช่วยสร้างสรรค์ร้อยเรียงทำนองต่อเนื่องอย่างกลมกลืน ผสมผสานการเล่าเรื่องด้วยเนื้อหาจิกกัด เสียดสี สะท้อนสังคมอย่างมีชั้นเชิงทางภาษา และแพรวพราวไปด้วยดนตรีครบเครื่องที่ใช้วิธีการอัดดนตรีสดแทบทุกตำแหน่ง ทั้งกลอง เครื่องสาย เครื่องเป่า เพอร์คัสชัน และเสียงประสานที่จัดเต็ม รวมถึงได้นักดนตรีมากฝีมือหลายคนมาวาดลวดลาย จนออกมาเป็นหลากหลายแนวเพลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในสไตล์แบบฮิวโก้  นอกจากนี้ การเดินทางของเพลงทั้งหมดในอัลบั้มมีจิตรกรนามว่า ‘อ๋อง-วุฒิกร เอกรัตนสมภพ’ จากทีม ‘Visionary’ มารับหน้าที่วาดภาพเรียงต่อกันเป็นแอนิเมชันเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงให้เข้ากับจินตนาการมากขึ้น  พูดได้ว่าอัลบั้มนี้เป็นอีกผลลัพธ์ของการทดลองและทุ่มเททำงานหนักของฮิวโก้และทีม ผ่านการออกแบบเพลงมาให้ฟังตั้งแต่เพลงแรกจนถึงเพลงสุดท้ายแล้ววนไปเริ่มต้นใหม่ได้ เราไม่แปลกใจเลยถ้าอัลบั้มนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งผลงานเพลงไทยที่ไพเราะเสนาะหูจนใครหลายคนยกให้เป็นอัลบั้มในดวงใจ ในโอกาสครบรอบ 1 ปีของอีพีอัลบั้มนี้ คอลัมน์ ‘แกะเพลง’ ขอพาทุกคนขึ้นไปยังเรือสำราญราตรีอมตะ เพื่อสำรวจว่าภายใน […]

นโยบายรักษ์โลกแบบ ‘Patagonia’ ของ ‘อีวอง ชูนาร์ด’ มหาเศรษฐีผู้ไม่อยากเป็นนักธุรกิจ 

จากเด็กที่ได้สัมผัสความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติในวัย 14 ปี เติบโตมาเป็นนักปีนเขาที่ยืมเงินพ่อแม่สามหมื่นกว่าบาทมาสร้างหมุดปีนเขาใช้เองและแบ่งขายเพื่อนฝูง จนในปี 1970 เขากลายเป็นเจ้าของบริษัทขายอุปกรณ์ปีนเขาเจ้าใหญ่ในอเมริกา แต่เมื่อพบว่าหมุดเหล็กที่เขาสร้างขึ้นส่งผลกระทบต่อภูเขา เขาจึงตัดสินใจเลิกขายและใช้เวลาสองปีค้นคว้าออกแบบหมุดปีนเขาที่ใช้เกี่ยวกับร่องหินโดยไม่เจาะเข้าไปให้ภูเขาได้รับผลกระทบใดๆ  มาถึงปี 1973 ชายคนนั้นมองหาเสื้อผ้าสำหรับใส่ปีนเขาซึ่งมีคุณภาพอย่างที่ต้องการไม่เจอ จนได้พบ Fitz Roy หุบเขาแห่งหนึ่งใน Patagonia ประเทศอาร์เจนตินา เขาจึงได้เห็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์เสื้อผ้าปีนเขาที่อยากใส่  ผ่านเวลามา 50 ปี ‘อีวอง ชูนาร์ด’ (Yvon Chouinard) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง ‘Patagonia’ (พาทาโกเนีย) แบรนด์เสื้อผ้าเอาต์ดอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ครองใจคนทั้งโลก มีรายได้มากมายจนกลายเป็นมหาเศรษฐีคนหนึ่ง และใช้ชีวิตการทำงานเป็นนักธุรกิจที่เจ้าตัวไม่ได้อยากเป็น เดินหน้าสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีหัวใจหลักคือ ‘ความยั่งยืน (Sustainability)’ ตลอดมา นโยบายธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  ชูนาร์ดพูดอยู่เสมอว่า เขาไม่เคยคิดอยากเป็นนักธุรกิจ แต่ถ้าต้องเป็นนักธุรกิจ ก็จะเป็นนักธุรกิจแบบที่เขาอยากเป็น และนี่คือตัวอย่างบางส่วนของนโยบายของนักปีนเขาที่ต้องมาทำธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิตพาทาโกเนียมีโรงงานที่ใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ รวมถึงมีอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงาน และอาคารสีเขียวที่ผ่านการประเมินคะแนนวัดระดับอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ LEED (Leadership in Energy and Environmental Design)  สินค้าของพาทาโกเนียใช้วัตถุดิบหลักเป็นผ้าฝ้าย […]

High-Functioning Depression อาการซึมเศร้าที่ดูเหมือนไม่เป็นไร แต่ข้างในพังยับเยิน

ยังทำงานได้ดีเหมือนปกติ สังสรรค์กับเพื่อนได้เหมือนเดิม เที่ยวเล่นอย่างสนุกได้แบบไม่มีอะไรในใจ แต่ทำไมกลับถึงบ้านทีไรความรู้สึกข้างในถึงได้พังยับเยินก็ไม่รู้  อาการเหล่านี้มักรู้จักในชื่อของ ‘High-Functioning Depression’ หรืออาจอธิบายได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าที่ยังสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ดี เนื่องจากอาการซึมเศร้าที่คนรู้จักกันนั้นส่วนใหญ่เป็นภาพของคนที่หมดอาลัยตายอยาก ไม่อยากทำอะไรจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ แต่สำหรับ High-Functioning Depression จะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัวเพราะคนคนนั้นยังสามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเป็นการทำงาน การเข้าสังคม พูดคุยยิ้มแย้ม เล่นสนุกสนานได้เหมือนเดิม และมักคิดว่าไม่ใช่อาการที่รุนแรงแต่อย่างใด ทำความเข้าใจกับ High-Functioning Depression ชื่อของ High-Functioning Depression เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘Cheslie Kryst’ พิธีกรและ Miss USA 2019 ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยแม่ของเธอได้เปิดเผยสาเหตุการสูญเสียของ Cheslie ว่าเป็นเพราะอาการ High-Functioning Depression ที่เธอเก็บซ่อนภาวะซึมเศร้าเอาไว้และต้องต่อสู้กับปัญหาสุขภาพจิตโดยลำพังมาอย่างยาวนาน  ความจริงแล้ว High-Functioning Depression นั้นไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์หรือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5) โดยตรง แต่เป็นคำอธิบายภาวะของคนที่ยังสามารถทำงานได้ดีและใช้ชีวิตได้แบบปกติแม้ต้องอยู่กับความเครียดหรือความโศกเศร้าก็ตาม […]

ความสัมพันธ์ Ghosting ผีในสังคมดิจิทัล อยู่ดีๆ ก็หาย ตามไม่ตอบ เจ็บยิ่งกว่าถูกบอกเลิก

A : สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้คุณกำลังอยู่ในรายการ ‘Shock Urban Creature’ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสุดสยองขวัญของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกำลังสงสัยว่า คนที่คุยอยู่ตอนนี้เขาเป็น ‘คน’ หรือ ‘ผี’ กันแน่ อ๊ะๆ อ่านแล้วอย่าเพิ่งขนหัวลุก ขอชวนทุกท่านไปช่วยเธอหาคำตอบเรื่องนี้กันก่อนดีกว่า B : ฉันรู้จักเขาผ่านแอปฯ หาคู่ค่ะ ช่วงแรกๆ เราคุยกันดีนะคะ พอผ่านไปสัก 2 – 3 เดือน เขาก็เริ่มมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป ชวนไปเที่ยวก็พูดปัดๆ ว่าไม่เอาไม่อยากไป ให้เหตุผลว่าป่วยบ้างล่ะ เหนื่อยบ้างล่ะ เลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน  ที่สำคัญพอเราทักแชตไปก็เหมือนพูดอยู่คนเดียว รู้ว่าอ่านนะแต่ไม่เคยตอบ แถมหาตัวเขาก็ไม่เจอ ไปถามใครก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น เหมือนไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว พูดแล้วก็ขนลุกเลยค่ะ ล่าสุดที่คุยกัน เขาบอกว่าขอไปอาบน้ำก่อนนะ ตอนนี้ 3 เดือนแล้ว เขายังอาบน้ำไม่เสร็จเลยค่ะพี่ A : อะหรือ หรือ คุณ B คะ คุณกำลังโดนผีหลอกเข้าแล้ว! […]

ทำไมคนรุ่นใหม่นิยมเลี้ยง ‘สัตว์’ แทนมี ‘ลูก’

แต่ก่อนเมื่อพูดถึงการมีครอบครัว ก็จะนึกถึงการวางแผนแต่งงานและมีลูกหลานไว้สืบสกุล ทว่าเทรนด์ครอบครัวของคนสมัยนี้อาจจะไม่ได้ยึดติดว่าต้องมีคู่ครองหรือมีลูกเป็นเป้าหมายของชีวิตอีกต่อไป หากขอแค่ได้ใช้ชีวิตเลี้ยงน้องหมาน้องแมวเหมือนลูกน้อยคนหนึ่งก็พึงพอใจแล้ว เนื่องจากไลฟ์สไตล์คนสมัยใหม่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทำให้คนมีความคิดและค่านิยมเรื่องครอบครัวต่างไปจากอดีต เดิมทีคนเลี้ยงสัตว์แบบแสดงความเป็นเจ้าของ (Ownership) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็เหมือนการ์ตูนเรื่อง ‘ชินจัง’ ที่มีเจ้าชิโร่ สุนัขคู่ซี้ที่คอยอยู่เคียงข้างเจ้านายเสมอ แตกต่างจากทุกวันนี้ที่คนรุ่นใหม่มีมุมมองต่อสัตว์เลี้ยงเป็นเหมือนลูกคนหนึ่ง ซึ่งเรียกความสัมพันธ์นี้ว่า ‘Pet Parent’ แถมยังมองว่าตนเองไม่ใช่เจ้านาย แต่เป็นพ่อหรือแม่ของสัตว์เลี้ยง ที่ทุ่มเทเอาใจใส่น้องสี่ขาทั้งการใช้ชีวิต การกินและดูแลสุขภาพ ไม่ต่างจากการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัจจุบันคนไทยนิยมเลี้ยงสัตว์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะน้องหมาและแมว อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงไทย และกรมปศุสัตว์ สรุปว่า ปี 2020 ประเทศไทยมีจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้งหมดประมาณ 15 ล้านตัว โดยจำนวนสุนัขประมาณ 9 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 2 ล้านตัว และจำนวนแมวประมาณ 3 ล้านตัว เพิ่มจากปี 2019 ที่มีทั้งหมดประมาณ 8 แสนตัว รวมถึงทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีแนวโน้มเลี้ยงแมวมากกว่าแต่ก่อน เนื่องจากแมวสามารถอยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดและดูแลตนเองง่าย เลี้ยงสัตว์ คนจ่ายไหวและมีข้อผูกมัดน้อย สาเหตุหลักๆ ที่คนสนใจเลี้ยงสัตว์ […]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่

คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]

เบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของ BTS Depot เป็นยังไงมาดูกัน! l Urban เจอนี่ เจอ BTS

‘สถานีต่อไป สถานีปลายทาง หมอชิต’ เราเชื่อว่าคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเป็นประจำ น่าจะคุ้นชินกับประโยคนี้ดี แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหลังจากสถานีนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งสถานี ที่ทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังดูแลรักษารถไฟฟ้า BTS ในทุกๆ วันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ขออาสาพาทุกคนไปทัวร์ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หรืออีกชื่อหนึ่งคือ BTS Depot ว่าภายหลังจากรถไฟฟ้า BTS หยุดพักให้บริการในแต่ละวันนั้นได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งพูดคุยถึงวิสัยทัศน์และเรื่องราวการทำงานจากผู้บริหารและหัวหน้าช่าง

‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ เพราะความรักในงานบ้าน เลยอยากให้ทุกบ้านสะอาดเรียบร้อย

คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่า? ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานบ้าน มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าลุกขึ้นมาจับไม้กวาด หรือหากจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดก็ทำได้แค่ไล่ฝุ่นและความสกปรกออกไปเท่านั้น แต่ข้าวของที่กองรกอยู่เต็มบ้านก็ยังคงนอนแน่นิ่งอยู่ที่เดิม คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนมาช่วยคัดเก็บและคัดทิ้งสิ่งของต่างๆ และช่วยจัดบ้านให้สวยเนี้ยบเหมือนใหม่ ตอนแรกเราคิดว่าบริการจัดระเบียบบ้านนั้นคงจะมีแค่ในซีรีส์ จนกระทั่งได้รู้จักเพจ ‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ จากกรุ๊ปงานบ้านที่รัก ด้วยโพสต์ที่เล่าเรื่องราวการจัดบ้านของลูกค้าคนหนึ่งพร้อมแนบภาพ Before และ After ก็ทำเอาเราตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะภาพแรกที่เห็นนั้นเป็นห้องที่มีของวางระเกะระกะจนเต็มพื้นแทบไม่มีทางเดิน แต่ภาพถัดมากลับเป็นครัวที่โล่งโปร่งสบายและดูเป็นสัดส่วนพร้อมใช้งานทันตาเห็น  เพราะอย่างนั้นเราจึงตัดสินใจติดต่อเพจแมวบินฯ ไปทันที ไม่ใช่เพราะว่าห้องของเรารกมากจนต้องใช้บริการ แต่ตัวงานของพวกเธอต่างหากที่ทำให้เราสนใจและอยากรู้จักนักจัดระเบียบบ้านมากขึ้น เริ่มจากความรักในงานบ้าน บริการแมวบินฯ เริ่มต้นจากการปลูกฝังโดยครอบครัวของ ‘อิม-อิมยาดา เรือนภู่’ ที่มอบหมายความรับผิดชอบให้เธอตั้งแต่ยังเล็ก จนทำให้เธอมีสกิลงานบ้านต่างๆ ติดตัวมา  สมัยที่เรียนอยู่อิมเคยลองไปทำงานเป็นแม่บ้าน เป็นช่วงเวลาที่ได้ตอกย้ำกับตัวเองว่า งานบ้านคือสิ่งที่เธอรักและทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เธอรับทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้านมาเรื่อยๆ  นอกจากงานแม่บ้านแล้ว อิมยังทำงานประจำด้านการโรงแรมตามสายที่เรียนมา และยังได้ลองทำงานสายศิลปะอย่างการตกแต่งภายในด้วย ประกอบกับที่ครอบครัวของเธอก็ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เลยทำให้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตวนเวียนอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด อิมเริ่มทำเพจ แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน อย่างจริงจังช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ซึ่งทำให้ภาระจากงานประจำของเธอลดน้อยลง ประกอบกับการนำเสนอข่าวของสื่อที่พาไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่บ้าน ทำให้เธอได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น และนั่นก็ทำให้เธอรู้สึกว่าปัญหาบ้านรกไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เป็นระเบียบเท่านั้น แต่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ด้วย หากว่าได้จัดระเบียบบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ก็คงจะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดได้เหมือนกัน “ช่วงโควิด เราเห็นสื่อเข้าไปถ่ายตามบ้านผู้ป่วย พอเราเห็นตัวอย่างจากในทีวีแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง […]

Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

1 3 4 5 6 7 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.