Pyra ศิลปินที่ใช้เพลง ‘yellow fever’ บอกชายตะวันตกว่าหยุดหื่นใส่สาวเอเชียค่ะ ขอบคุณ!

Pyra นำทัพพาเปิดโคมแดงที่เต็มไปด้วย ‘Fetish’ ตั้งแต่โชว์ปิงปองด้วยอวัยวะเพศ ไปจนถึงซูชิเปลือยกายที่สลับบทบาทมาเป็น ‘ผู้ชาย’ โดนกันดูบ้าง พร้อมชวนแกะอาการ ‘คลั่งสาวเอเชีย’ ของชายตะวันตก ไปกับผลงานเพลงแนว Dystopian Pop ในเพลง ‘yellow fever’ ที่ไปฟีเจอริงกับสองสาว Ramengvrl ศิลปินฮิปฮอปจากอินโดนีเซีย และ Yayoi Daimon แรปเปอร์จากญี่ปุ่น เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้ผู้หญิงทั่วเอเชียว่า ‘อย่าเห็นผู้หญิงเป็นแค่วัตถุทางเพศ’

VICMON นักวาดปกนิยาย 300 เล่มแห่ง สนพ.แจ่มใส กับปากกาด้ามใหม่ในฐานะนักเขียนการ์ตูน

ความทรงจำวัยเด็กของใครหลายคน เติบโตมาพร้อมกับแผงหนังสือนิยายรักวัยรุ่น ปกการ์ตูนที่วางเรียงรายอยู่เต็มชั้น เพื่อรอคอยให้นักอ่านวัยใสช้อปลงตะกร้า ภาพความสวย ความหล่อ และความเท่ของตัวละครน่าหยิบจับไม่แพ้กับเนื้อหาในเล่ม จนหลายคนเป็นแฟนตัวยงของนักวาดไปโดยปริยาย หนึ่งในนักวาดปกนิยายที่ตราตรึงใจเหล่านักอ่านคือ ‘VICMON’ (วิกมน) หรือ มน-เพียงพิชญ์ ศาสตร์ศศิ นักวาดภาพปกนิยายแจ่มใสมากกว่า 300 เล่ม ผู้ฝากลายเส้นบนนิยายรักวัยรุ่นจนกลายเป็นยุคทองของ ‘นิยายแจ่มใส’  ถึงเวลาชวนเธอมาพูดคุยถึงเบื้องหลังงานปก และการกระโดดเข้าสู่สนามแห่งใหม่ในอาชีพ ‘นักเขียนการ์ตูน’ ที่ถูกแปลให้อ่าน 3 ภาษาใน 3 ประเทศ วาดภาพบนคอมฯ ด้วยเมาส์หนู บันไดขั้นแรกของวิกมน คงคล้ายกับศิลปินทั่วไปที่ชื่นชอบการวาดภาพ หลงใหลการอ่านการ์ตูน แถมยังมีไอดอลเป็น อาจารย์ทาเคชิ โอบาตะ-นักวาดการ์ตูนเดธโน้ต อาจารย์นาโอกิ คุโรซาวา-นักวาด Monster และ 20th Century Boys และ โนบุฮิโระ วาสึกิ-นักวาดซามูไรพเนจร เมื่อเสพลายเส้นของชั้นเซียนได้สักพัก เธอเริ่มจับดินสอวาดการ์ตูนไว้อ่านเอง จนกระทั่งเพื่อนชักชวนให้ลองปล่อยของในเว็บบอร์ด นั่นเป็นครั้งแรกที่วิกมนได้รู้จักโลกของ ‘คอมพิวเตอร์กราฟิก’ “ตอนนั้นเราอยู่ ม.3 เพิ่งเรียนรู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า Computer Graphic […]

หยุดยืนหรือแบ่งช่องเดิน? ใช้บันไดเลื่อนยังไงให้ว่องไวและปลอดภัยที่สุด

ช่วงเวลาไพร์มไทม์บนสถานีรถไฟฟ้าของมนุษย์เงินเดือน ต้องเข้าแถวเรียงเดี่ยวชิดขวา ปล่อยบันไดเลื่อนฝั่งซ้ายโล่งโจ้งเพื่อเป็นช่องทางเร่งด่วนให้คนรีบทำเวลา แต่การแบ่งฝั่งให้คนยืนและเดินช่วยเคลื่อนย้ายคนได้เยอะจริงหรือเปล่า ความน่าสนใจของข้อสันนิษฐานนี้ คือข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ‘Estimation of Capacity of Escalators in London Underground’ โดย Paul Davis และ Goutam Dutta ที่ลงพื้นที่สำรวจสถานีรถไฟใต้ดิน ‘Holborn Station’ ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นสถานีที่มีผู้โดยสารใช้งานมากถึงปีละ 56 ล้านคน พบว่ามีการแบ่งฝั่งบันไดเลื่อนสำหรับการเดินและยืน คำนวณจากความยาวบันไดเลื่อน 24 เมตร ฝั่งเดินใช้เวลา 46 วินาที และฝั่งยืนใช้เวลา 138 วินาที เพื่อไปถึงที่หมาย  Paul Davis และ Goutam Dutta สองนักวิจัยไหว้วานให้นายสถานีขอความร่วมมือผู้โดยสารให้ยืนทั้งสองฝั่งบันไดเลื่อน ถึงแม้จะมีบางส่วนที่ยังเผลอยืนแบ่งฝั่งด้วยความเคยชินก็ตาม แต่ผลสรุปของพวกเขาพบว่า การยืนทั้งสองฝั่งใช้เวลา 59 วินาทีเพื่อไปถึงที่หมาย นั่นหมายความว่าฝั่งคนเดินจะเสียเวลาเพิ่ม 13 วินาที แต่คนยืนจะลดเวลาได้มากถึง 79 […]

แปลงโฉม ‘ป่าช้า’ ให้คนอยู่ได้ใช้พื้นที่

‘ป่าช้า’ กับ ‘คนไทย’ อยู่คู่กันมาหลายร้อยปี โดยมีฟังก์ชันเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งศพ เผาศพ และฝังศพก็ตาม อีกทั้งบางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง บางแห่งเป็นถนนตัดผ่าน หรือสร้างเป็นอาคารสำหรับพักอาศัย

รับมืออย่างไร เมื่อเจอโพสต์อยากฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล

“เรามีความสุขเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะวันนี้คือวันสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่”“เราคงไม่ได้ตื่นขึ้นมาเห็นพระอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้อีกต่อไปแล้ว”“สำหรับเราความตายไม่ใช่ความเจ็บปวดที่สุด แต่คือการมีชีวิตอยู่ต่างหาก” ถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดจากคนแปลกหน้าบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อบอกว่าเบื้องลึกจิตใจของ ‘เขา’ ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งอื่นใด จำนวนโพสต์บนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่กำลังเดินไปข้างหน้า หนึ่งโพสต์ “เราควรช่วยเหลือเขาไหม”  สองโพสต์ “หรือเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา” สามโพสต์ “ถ้าช่วยต้องทำยังไง” หนึ่งชีวิตที่ไม่เคยรู้จักกัน แต่ความเป็นความตายของเขากลับปรากฏขึ้นตรงหน้า ส่งผลให้เกิดความลังเลไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร เพราะคอมเมนต์บางส่วนอวยพรให้เขาไป แต่บางส่วนพยายามดึงให้เขากลับมา แล้วเราต้องทำอย่างไร ถ้าหากเจอ ‘คำเตือนแห่งความตาย’ โลดแล่นบนอินเทอร์เน็ต ฉันจึงชวน ‘ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี’ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการรับมือในประเด็นนี้ ซ่อนเหตุผลบางอย่างในทุกการโพสต์ คุณคิดอะไรอยู่: เบื่อว่ะ วันนี้ไม่มีความสุขเลย คุณคิดอะไรอยู่: ผิดหวังกับคะแนนสอบอีกแล้ว อยากหายตัวไปเลย คุณคิดอะไรอยู่: ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว เราไม่อยู่เป็นภาระใครแล้วนะ คิดจะโพสต์ก็โพสต์ไม่ใช่เรื่องสิ้นคิด เพราะหลายคนเลือกระบายความอัดอั้นตันใจ ลงกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความเศร้า ความผิดหวัง ความเหนื่อย ความท้อแท้ หรือบังเอิญเจอเรื่องตลก ทุกข้อความที่พิมพ์ ย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เขาอยากโพสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสะท้อนตัวตน ตั้งแต่อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ณ […]

รักษาโปสต์การ์ดให้เหมือนวันแรกที่ได้รับ ผ่านเวิร์กช็อปการจัดเก็บงานศิลปะด้วยตัวเอง

ฉันคือยอดนักสะสมโปสต์การ์ด และตกหลุมรักการเขียนจดหมายเป็นชีวิตจิตใจ แถมยังเคยได้รับโปสต์การ์ดรูปโมนาลิซา ส่งตรงจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยคน (เกือบ) แปลกหน้าชาวฝรั่งเศสที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ Postcrossing ทันทีที่ฉันเห็นโปสต์การ์ดก็ร้องกรี๊ดดีใจยกใหญ่ แต่เวลาผ่านไป 6 เดือน ภาพโมนาลิซาค่อยๆ สะบักสะบอม จากการซ้อนโปสต์การ์ดหลายสิบใบทับกัน ทำให้เหลือเพียงเศษเสี้ยวของภูเขาเท่านั้นแหละ ฉันอดบ่นกับตัวเองไม่ได้ ว่าทำไมถึงไม่รักษาของให้ดี และแน่นอนว่าฉันจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นกับโปสต์การ์ดชิ้นอื่นๆ อีกเด็ดขาด! ฉันตัดสินใจลงเวิร์กช็อป การจัดเก็บงานศิลปะบนกระดาษและภาพถ่าย เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บอย่างถูกต้อง จัดขึ้นโดย SAC Gallery แวบแรกสมองของฉันนึกไปถึงอุปกรณ์นับสิบอย่าง และน้ำยาอีกร้อยชนิด เลยรู้สึกท้อแท้ไปก่อนล่วงหน้า แต่ความจริงแล้วภาพถ่ายและกระดาษทั่วไป ก็จัดเก็บได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างเช่นกัน อนุรักษ์งานศิลป์ให้คงอยู่ ช่วงสายของวันอาทิตย์ ฉันนั่งฟังบรรยายจาก ‘ดร.จิราภรณ์ อรัณยะนาค’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom อาจารย์บอกเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บงานศิลปะ ภาพถ่าย ไปจนถึงกระดาษ นั่นเป็นเพราะการจัดเก็บจะช่วยยืดอายุและป้องกันความเสียหาย เพื่อรักษาสภาพเดิมและคงคุณค่าของมันไว้ตราบนานเท่านาน ฉันนึกไปถึงโปสต์การ์ดหลายใบ และกระดาษหลายแผ่นในกรุของสะสม มีบางอย่างเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา บางอย่างสีเพี้ยนจากเดิมจนเกือบลืมต้นฉบับไปสนิท และบางอย่างก็เต็มไปด้วยรอยสีน้ำตาลเต็มไปหมด ซึ่งอาจารย์บอกว่าร่องรอยเหล่านั้น คือผลลัพธ์จากการจัดเก็บผิดวิธี ทำให้กรดในกระดาษทำปฏิกิริยาต่อชิ้นงาน อีกทั้งอาจารย์ยังยกตัวอย่างลักษณะความเสียหายที่มักเกิดบนภาพหรือกระดาษ ซึ่งสรุปออกมาได้ […]

สำรวจร่างกายผ่านศิลปะที่เกิดจากการเฝ้ามองรอยเย็บแผลของ Visual Artist ‘อลิสา ฉุนเชื้อ’

เคยสังเกตไหม ว่าดวงตาของเราสีอะไรเคยสังเกตไหม ว่าไฝบนตัวเรามีตรงไหนบ้างเคยสังเกตไหม ว่าความเครียดทำให้หน้าตาไม่สดใสหรือเปล่าเคยสังเกตไหม ว่าเรากัดเล็บทุกครั้งเวลาเจอภาวะกดดัน จะมีสักกี่ครั้งในชีวิตของเรา ที่หันมาสังเกตร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง รอยแผลเป็น สภาพจิตใจ หรือบริบทรอบกายเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่ง ‘นุ้ย-อลิสา ฉุนเชื้อ’ Visual Artist ผู้สำรวจร่างกายและเบื้องลึกจิตใจของตัวเอง นำมาตีความใหม่ แล้วบอกเล่าผ่านศิลปะ โดยที่เราไม่ต้องอยู่ในเหตุการณ์ชีวิตของเธอก็เข้าใจได้ ฉันยืนมองโปรเจกต์ The Resonance ผลงานชิ้นล่าสุดของอลิสา ปรากฏลายเส้นที่วาดซ้ำกันไปมาอย่างเป็นระบบระเบียบบนกระดาษขนาด A3 ซึ่งถูกแขวนบนฝาผนังของแกลเลอรี SAC Gallery อ่านคำโปรยทำให้รู้ว่า งานชุดนี้ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก ‘รอยเย็บแผล’ บนร่างกายของผู้ป่วยใกล้ตัว ซึ่งปลุกความสนใจของฉันต่อศิลปินอยู่ไม่น้อย จึงไม่รีรอที่จะต่อสายตรงถึงอลิสาเพื่อทำความรู้จักมุมมองของศิลปินให้ลึกซึ้งกว่าก่อน อลิสา คือศิลปินที่สมุดสเก็ตช์เต็มไปด้วย Mind Mapping วินาทีที่ฉันดูสมุดสเก็ตช์ของอลิสากลับต้องแปลกใจ เพราะสมุดของเธอเต็มไปด้วยร่องรอยขีดเขียน Mind Mapping ประโยค และคีย์เวิร์ดสั้นๆ ทั่วหน้ากระดาษ หลังจากอลิสาเปิดสมุดของเธอให้ฉันดู เธอก็หลุดขำถึงความย้อนแย้งในอาชีพศิลปินของตัวเอง “เราทำ Mind Mapping เพื่อขุดเบื้องลึกจิตใจของตัวเองออกมา มันเริ่มจากตอนทำธีสิส อาจารย์ที่ปรึกษาเขาให้เขียนสิ่งที่อยู่ในหัว เพราะการเขียนคือการเรียบเรียงความคิด ไม่จำเป็นต้องเป็นคำ […]

KAANI ครีมกันแดด Reef-safe ไทยกับมาตรฐานสารเคมีเข้มงวดสูงสุดเท่าประเทศปาเลา

ภาพหาดทรายสีขาวนวลทอดยาวตลอดแนวชายหาด เหล่าเกลียวคลื่นที่ม้วนตัวซัดเข้าฝั่งเป็นระยะ หรือผืนน้ำสีฟ้าครามที่เปล่งแสงระยิบระยับ พร้อมกับสายลมอ่อนๆ ที่พัดเส้นผมให้ปลิวไสว ตามด้วยไออุ่นจากแสงแดด ล้วนชวนให้หลงเสน่ห์ของทะเล จนอยากฉุดร่างกายให้ลุกขึ้นไปเติมความสดชื่นอย่างเต็มที่  เชื่อว่าความงามเหนือผิวน้ำที่เรามองเห็น คงเทียบไม่ได้กับการเห็นหมู่มวลปลาเล็ก-ใหญ่ และสีสันอันสดใสของปะการังที่ขึ้นเรียงรายตามโขดหินในโลกใต้ท้องทะเลอย่างใกล้ชิด แต่ความจริงแล้ว สีสันเหล่านั้นถูกกลืนหายจนกลายเป็น ‘สีขาว’ ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนจากน้ำจืด ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ‘ครีมกันแดด’ บนร่างกายมนุษย์ #Saveปะการัง ด้วยพลังของเพื่อนซี้ ในวันที่การบีบครีมกันแดดเพียง 1 ข้อนิ้ว สะเทือนถึงโลกใต้ท้องทะเล เพราะมีส่วนทำให้เกิดปะการังฟอกขาว สามเพื่อนซี้ที่รักการดำน้ำเป็นชีวิตจิตใจ จึงผุดไอเดียแบรนด์ ‘KAANI (คานิ)’ ครีมกันแดดรักษ์ปะการัง หรือที่เรียกว่า ‘Reef-safe’ คือ ไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อแนวปะการัง ด้วยความตั้งใจเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลท้องทะเล “ตัวผมดำน้ำมาตั้งแต่ยังเล็กที่หินแดงหินม่วงในจังหวัดภูเก็ต ตอนนั้นผมเห็นสีแดงและสีม่วงบนปะการังละลานตาเต็มไปหมด แต่เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ผมกลับไปดำน้ำอีกครั้ง ผมเห็นแค่โขดหินเท่านั้นเอง” จีน-พชร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ KAANI (คานิ) เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กที่เขาได้ชื่นชมความสวยงามของปะการังที่ปัจจุบันคล้ายกับตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์สีขาวโพลน ซึ่งก่อนหน้านั้นตัวเขาเองใช้ครีมกันแดดสูตร Reef-safe จากต่างประเทศ แต่กลับพบว่าไม่ตอบโจทย์ ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เหมือนกัน […]

กำแพงกันคลื่นไร้เงา EIA ทางออกที่ไม่ยั่งยืน ต้นเหตุหาดแหว่งและชายฝั่งขาดสมดุลธรรมชาติ

ฉันเป็นเด็กในเมืองที่ใช้ชีวิตท่ามกลางป่าคอนกรีต กว่าจะแล่นรถออกไปชายทะเลก็ต้องรอโอกาสเหมาะสม เช่น พักร้อน หรือวันหยุดเทศกาล มันเลยทำให้ฉันไม่ได้คลุกคลีกับหาดทรายและผืนทะเลบ่อยนัก จนกระทั่งฉันสะดุดประเด็น #กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA บนโลกออนไลน์ ที่ต้องคลิกเข้าไปดูความเป็นไปของชายหาด ฉันจึงพบว่าผลลัพธ์ของมันสร้าง ‘รอยเว้า’ และ ‘กลืนกินชายหาด’ อย่างไม่น่าเชื่อ การกัดเซาะที่มาของกำแพงกันคลื่น ฉันคว้าความสงสัยที่มีต่อสายตรงหา ผศ. ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม อาจารย์เล่าให้ฟังว่า ‘การกัดเซาะชายฝั่ง’ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจาก ‘คลื่น’ หรือ ‘ลม’ โดยพัดตะกอนจากที่หนึ่งไปทับถมอีกที่หนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป ข้อมูลบนเว็บไซต์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้วิศวกรรมทางชายฝั่งเชิงโครงสร้างแบบ ‘กำแพงกันคลื่น’ สร้างติดชายฝั่ง ทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะของดินจากคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อไม่ให้พื้นที่หลังกำแพงเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเชื่อว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะช่วย ‘ชะลอ’ หรือ ‘ลด’ การกัดเซาะชายฝั่งได้ดีกว่าวิธีอื่นๆ อย่างไรก็ตาม แม้กำแพงกันคลื่นจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่กลับไม่ครอบคลุมพื้นที่ใกล้เคียง ตามปกติแล้วคลื่นจะซัดชายฝั่งเข้า-ออก ทำให้ทรายไหลไปตามคลื่นและกระแสน้ำ โดยมีหาดทรายเป็นตัวชะลอความแรงของคลื่น ซึ่งหากสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นมา […]

ขยะ ‘ท่วม’ เมือง เพราะคนคือตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก

วายร้ายแห่งวงการสิ่งแวดล้อมคงหนีไม่พ้น ‘พลาสติก’ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นบอสใหญ่กำจัดยาก รวมถึงมีข้อครหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกทำให้โลกร้อน เต่าตาย ไปจนถึงเป็นตัวการเพิ่มมลพิษในอากาศ จนสงสัยว่า ‘แล้วพลาสติกคือตัวร้ายจริงหรือเปล่า’

แบบทดสอบ : KNOW YOU KNOW ME เพื่อนที่อนุญาตให้กันและกันเป็นตัวของตัวเอง

นิยามคำว่า ‘เพื่อนสนิท’ สำหรับฉันอาจไม่ใช่การเจอหน้ากันทุกวัน หรือรู้เรื่องชีวิตของกันและกันทุกกระเบียดนิ้ว แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งต้องการ ‘ที่พักพิง’ เมื่อไหร่ พวกเราก็พร้อมที่จะมอบความสบายใจให้แก่กันเสมอ

1 2 3 4 5 6 10

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.