ชั้นบรรยากาศบาง โอโซนลด ต้นเหตุอากาศร้อนจนปาดเหงื่อ
ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ
ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ แหล่งโอโซนที่ดูดซับแสงอาทิตย์เยอะที่สุดกำลังบางลง เพราะก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้อากาศร้อนจนปาดเหงื่อ
คงไม่ต้องบอกว่าวันๆ หนึ่ง เราใช้บริการเดลิเวอรีส่งคน-ส่งอาหารบ่อยขนาดไหน อย่างต่ำก็ 1 – 2 ครั้ง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่หลายคนยอมจ่ายเพื่อแลกความสะดวกสบาย และไม่ต้องหงุดหงิดกับการคมนาคมอันยุ่งเหยิงให้ปวดหัว แค่นั่งรอสบายๆ แล้วเอาเวลาไปทำอย่างอื่นแทน ยิ่งเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด-19 หลายคนคงไม่รู้สึกสบายใจเวลาออกไปข้างนอกเหมือนเก่า ถ้าให้เลือกใช้ขนส่งสาธารณะก็ต้องคิดหนัก ยอมจ่ายเพิ่มอีกสักนิดเรียกบริการรถดีกว่า หรือตัดปัญหาไปนั่งร้านอาหารด้วยการฝาก ‘ฮีโร่’ ไปรับอาหารแล้วมาส่งถึงที่ แต่ร้านเล็กร้านน้อยบางร้านไม่สามารถเข้าร่วมแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ เพราะหักเปอร์เซ็นต์จากราคาอาหารแบบมหาโหดจนเหลือกำไรเพียงน้อยนิด ส่วนกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ถูก Disrupt จากแพลตฟอร์ม บวกกับช่วงนี้คนไม่กล้าออกไปไหนเลยต้องปรับตัวหันมาส่งเดลิเวอรีควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้อีกทางหนึ่ง กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ โบ้-อรรคณัฐ วันทนะสมบัติ นักวิจัยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า ‘ตามสั่ง-ตามส่ง’ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้กับคนในชุมชนภายใต้แนวคิด ‘เศรษฐกิจสมานฉันท์’ ที่ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ร้านค้า และผู้บริโภคเป็นเจ้าของและได้ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทดลองใช้ถนนลาดพร้าว 101 เป็นที่แรก แพลตฟอร์มเดลิเวอรีฉบับชุมชน “ผมวิจัยเรื่อง Platform Economy หรือแอปพลิเคชันเดลิเวอรีที่เรารู้จักกัน แล้วสนใจคนสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากตัวแพลตฟอร์มเป็นคนที่ทำอาชีพเดิม เช่น คนขับแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง […]
BIBI ศิลปินเดี่ยวจากเกาหลีใต้ ปล่อยผลงานเพลงป็อปใน EP ใหม่ ชื่อว่า Life is a Bi… เพื่อบอกทุกคนว่า “ชีวิตมันห่วยแตก แต่นี่แหละคือชีวิต”
หากใครผ่านไปมาแถวสาทร จะเห็นอาคารเก่าสไตล์โคโรเนียลอายุกว่า 119 ปี ผ่านร้อนผ่านหนาวมานาน กว่าจะมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนทำอาหารและร้านอาหารไทย ‘Blue Elephant’ ของ ‘เชฟนูรอ-โช๊ะมณี สเต็ปเป้’ เชฟหญิงไทยที่มัดใจชาวต่างชาตินับไม่ถ้วนมากว่า 40 ปี แต่วันนี้เอ็กซ์คลูซีฟกว่าใคร เพราะเราได้กระทบไหล่เชฟนูรอตัวเป็นๆ มาสอนทำเวิร์กช็อป ‘แกงมัสมั่นแกะ’ อาหารที่ขึ้นชื่อว่าปราบเซียน เพราะวิธีการที่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบจำนวนนับไม่ถ้วน มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรงชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานที่คุ้นเคย บอกเล่าถึงแกงมัสมั่น ทั้งกลิ่นหอมของเครื่องแกง และรสชาติอันเผ็ดร้อนที่เมื่อเวลาผ่านมาจนปัจจุบัน คนนิยมกินคู่กับโรตีทอดกรอบ ใครบ้างจะไม่คิดถึงรสชาตินี้ แต่ให้คนยุคใหม่มาโขลกเครื่องแกง คอยบรรจงทำมัสมั่นอย่างประณีตคงใช้เวลามากไปเสียหน่อย เวิร์กช็อปกับเชฟนูรอครั้งนี้ เธอจึงทำให้แกงมัสมั่นกลายเป็นเมนูทำง่ายที่คนทำอาหารไม่เป็นก็ทำอร่อยได้! ถึงเวลาทำแกงปราบเซียน เชฟหญิงไทยที่อยู่ตรงหน้าบอกกับฉันว่า แกงมัสมั่นเป็นอาหารไทยที่เธอถนัดที่สุด ไม่ว่าจะทำขายในร้านอาหาร หรือเสิร์ฟให้กับแขกมาเยี่ยมบ้าน ซึ่งเนื้อแกะเป็นวัตถุดิบพรีเมียม […]
Spoiler Alert : บทความนี้เปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของภาพยนตร์สามารถรับชมเรื่อง #saveตูดคอร์กี้ เต็มๆ ก่อนอ่านได้ที่ (https://tv.line.me/v/20392024) ฉากจบของภาพยนตร์สั้น #saveตูดคอร์กี้ ดึงดูดความสนใจของผู้เขียนไม่น้อย เพราะลุ้นใจจดใจจ่อว่าตัวละครหลักอย่าง ‘โบล่า’ (ก้อย-อรัชพร โภคินภากร) ที่กำลังเก้ๆ กังๆ จะเลือกโพสต์หวีดศิลปินที่ชื่นชอบอย่างไรดี แม้โบล่าสรรหาคำสารพัดมาบรรยายความรู้สึกกรี๊ดกร๊าดข้างในใจ แต่คำที่ใช้กลับเอนเอียงไปทาง ‘Sexual Harassment’ ถึงเจตนาข้างในแค่อยากตะโกนบอกความน่ารักของศิลปินให้คนทั้งโลกฟัง ซึ่งเหตุการณ์นั้น ทำให้โบล่าคิดไม่ตก กดลบกดพิมพ์ข้อความอยู่นานสองนาน ก่อนภาพยนตร์จะตัดจบไป สถานการณ์ที่โบล่าเจอ ทำให้ผู้เขียนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะที่คลั่งรักศิลปินหลายสิบคน และอยากโพสต์หวีดความน่ารักของเขา แต่ก็ต้องลบข้อความทิ้งอยู่เป็นประจำ แล้วแชร์โพสต์เปล่า เพราะกลัวว่าข้อความของเราอาจเผลอ Political Incorrectness (ความไม่ถูกต้องทางการเมือง) ต่อเพื่อนสักคนบนโลกออนไลน์ และทำให้เขารู้สึกไม่สบายใจ #saveตูดคอร์กี้ ภายในระยะเวลา 15 นาที หนังพาเราไปตามชีวิตของโบล่า หญิงสาวผู้ยึดมั่นในหลักความเท่าเทียมกันของทุกสิ่งบนโลกมนุษย์ เวลาเห็นใครโพสต์ข้อความที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมลงโซเชียล โบล่าจะเข้าไปตักเตือนและให้ความรู้กับคนนั้นทันที ซึ่งบางฉากทำให้เราเห็นความลังเลของโบล่า และการฉุกคิดกับตัวเองว่าคนโพสต์เขากำลังมีเจตนาแบบไหนอยู่ ซึ่ง ‘แคลร์-จิรัศยา วงษ์สุทิน’ ผู้กำกับและคนเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง #saveตูดคอร์กี้ หยิบเหตุการณ์จริงของตัวเอง โดยเฉพาะฉากจบ […]
กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม […]
ใครที่ดูแนนโน๊ะแล้วอินสุดๆ โดยเฉพาะ EP.5 กับบทบาทพี่ว้ากเถลิงอำนาจอย่าง ‘เค’ ที่แสดงโดย ‘เอม ภูมิภัทร’ ผู้สร้างความประทับใจด้านการแสดงที่คนดูต่างยกนิ้วให้ว่าเล่นโคตรถึง! Urban Creature ขอประเดิมตัวแรกในคอลัมน์ Add to My List กับ ‘เอม ภูมิภัทร’ ที่เราอาสาพาทุกคนไปรู้จักความชอบ ความสนใจ ที่สะท้อนความคิดความอ่านของเขา ผ่านภาพยนตร์ สารคดี เพลง หนังสือ และการแสดงสดทั้งหมด 8 เรื่อง ที่เจ้าตัวจัดลิสต์มาให้ พร้อมเอ่ยปากว่าหลังจากอ่านบทสัมภาษณ์ของเขาจบ เราสามารถกดอุดหนุนผลงานฝีมือคนไทยผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย 01 Flu-Fool / B-Floor (การแสดงสด) “เรื่อง Flu-Fool จากคณะ B-Floor เป็นเรื่องที่ผมอยากให้ทุกคนได้ดู เนื้อหาของมันลากยาวมาตั้งแต่การก่อตั้งเสาหลักเมือง มาจนถึงการต่อสู้ครั้งล่าสุดของคณะราษฎร ซึ่งหลังดูเสร็จผมรู้สึกว่าทุกอย่างมันถูกอัดเข้าไปในร่างกายของเราพร้อมๆ กัน “ผมประทับใจการเล่นกับ Daily Life Object ของ B-Floor มาเสมอ ตั้งแต่ไม้ไผ่ท่อนเดียว ม้วนกระดาษ […]
วันที่ได้รับโจทย์จากกองบรรณาธิการ Urban Creature ให้ตามหาคำตอบว่า ‘ประเทศไหนตัดต้นไม้เยอะ แต่ยั่งยืนที่สุด’ ไม่ทันได้กดเสิร์ชกูเกิล ก็ใช้ความรู้ (เท่าที่มี) ตัดสินไปแล้วว่า ‘ไม่มี’ แต่เอาเข้าจริงพอนั่งค้นคว้าหามรุ่งหามค่ำ สารพัดตัวเลขและข้อมูลถาโถมจนระบบปฏิบัติการสมองเกือบ Error ก็พบข้อมูลที่น่าสนใจจนอยากค้นต่อ “สวีเดนเป็นเจ้าแห่งการส่งออกไม้เป็นอันดับ 3 ของโลก” แต่สวีเดนก็เป็นประเทศที่สิ่งแวดล้อมดีจนติดท็อปของโลกเหมือนกัน สรุปแล้วรักษ์โลกจริงหรือเปล่าวะ เพราะจำได้ว่าสมัยเรียนหนังสือคุณครูสอนว่าอย่าตัดต้นไม้ทำลายป่า เพราะสัตว์ป่าจะไร้ที่อยู่อาศัย ทำลายความสมบูรณ์ของธรรมชาติ และส่งผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งปัญหาที่ตามมาอาจใช้เวลาแก้มากกว่าการปลูกต้นไม้ขึ้นมาใหม่ จนเข้าใจว่า ‘คน’ และ ‘ป่าไม้’ ต้องแยกขาดออกจากกันเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ไว้ให้ธรรมชาติยังคงอยู่แบบเดิม แล้วทำไมสวีเดนถึงยิ่งตัดต้นไม้เท่าไหร่ ยิ่งกอดตำแหน่งตัวท็อปด้านสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ตัดต้นไม้ ≠ ทำลายป่า เสมอไป ก่อนไปดูแนวคิดการสร้างป่าของสวีเดน เราขอเสนอความน่าสนใจเล็กๆ ของประเทศสวีเดนให้ฟัง นั่นคือ การใช้อุตสาหกรรมป่าไม้เป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ทั้งสร้างงานให้กับประชากรในประเทศ และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออก แต่ลองค้นต่อไปอีกสักนิด เราพบว่าสวีเดนมีพื้นที่ประเทศทั้งหมด 40.8 ล้านเฮกตาร์ แต่มีพื้นที่ป่าไม้ครอบคลุมมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และมีต้นไม้ประมาณ […]
“แชะ แชะ แชะ” เพียงเสี้ยววินาที ตู้ถ่ายภาพก็กดสแนปช็อตอย่างไม่ปรานีสภาพหน้า ทำให้หวนคิดถึงสมัยผมติ่ง แบกเป้เดินสยาม แล้วแวะถ่ายรูปตู้สติกเกอร์พุริคุระกับเพื่อนก่อนไปเรียนพิเศษ ยิ่งโมเมนต์โหวกเหวกในตู้แคบๆ คอยจัดแจงว่าใครยืนหน้า-หลัง กลายเป็นความทรงจำสมัยเรียนที่มีของที่ระลึกเป็น ‘ภาพถ่าย’ ขนาดจิ๋ว (เพราะต้องตัดแบ่งให้เพื่อนอีกนับสิบคน) หรือย้อนกลับไปสมัยตัวกะเปี๊ยก เวลาเจอตู้ถ่ายสติกเกอร์ตามห้าง ต้องจูงมือพ่อกับแม่วิ่งเข้าไปแอ็กท่าสักสองสามแชะ ก่อนจะได้รูปถ่ายเฟรมฟรุ้งฟริ้ง ที่เตรียมแปะอวดรูปครอบครัวพร้อมหน้า แบบไม่ต้องมีใครหายไปจากภาพ เพราะต้องถือกล้องถ่ายให้ พอรู้ตัวอีกที ตู้ถ่ายภาพในความทรงจำ ณ ตอนนั้นต่างทยอยปิดตัวจนแทบไม่เหลือให้เดินไปสแนปขำๆ กับเพื่อนกลางสยาม แต่เมื่อไม่นานมานี้ ‘ปิ่น-ลักษิกา จิระดารากุล’ และ ‘พี-สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร’ ผู้สร้างตู้ถ่ายภาพจาก ‘Sculpturebangkok’ ได้ทำให้หลายคนต้องนึกถึงวันวานอีกครั้ง ตู้ถ่ายภาพ ‘อัตโนมือ’ ที่มาที่ไปของตู้ถ่ายภาพอันฮอตฮิต เริ่มจากปิ่นเดินทางไปนิวยอร์ก แล้วเห็นตู้ถ่ายภาพกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง ประกอบกับตู้ส่วนใหญ่มีม่านกั้นให้ความเป็นส่วนตัว ทำให้ปิ่นอยากเข้าไปถ่ายเรื่อยๆ เพราะตัวเองค่อนข้างเคอะเขินเวลาต้องไปแอ็กท่าจังก้าให้คนยกกล้องขึ้นมาถ่ายกลางที่สาธารณะ จากการถ่ายเพื่อเอาสนุก กลายเป็นคนชอบเช็กอินตู้ Photoautomat ในต่างแดนเป็นที่ระลึกแต่ใครจะไปคิดว่าตู้ถ่ายภาพอัตโนมัติของ Sculpturebangkok ที่เราเห็นๆ กันอยู่ตอนนี้ จะใช้ระบบ ‘อัตโนมือ’ มาก่อน! ปิ่นบินกลับมาประเทศไทยช่วงปลายปี 2019 […]
รัฐบาลดันทุรังจัดซื้อเรือดำน้ำในขณะที่ประชาชนกำลังล้มตายจากพิษเศรษฐกิจ แต่กลับทำอะไรไม่ได้เพราะถูกขังอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเพลงที่อยากลุกขึ้นมาสะท้อนการเมืองในปัจจุบัน
ไม่ต้องตกใจ เพราะ Urban Creature ไม่ได้จะมาขายใบสมัครเศรษฐี แต่ภูมิใจเสนอ ‘Ad on Street’ คอลัมน์น้องใหม่ที่ไม่ว่าเดินไปไหน ถ้าเจอโควตที่ใช่หรือป้ายโฆษณาที่ชอบ ตามท้องถนนทั่วไทยแล้วเห็นความครีเอต เราพร้อมแชะภาพมาแชร์แบบไม่มีกั๊ก หรือถ้านักอ่านคนไหนไปเจออะไรสนุกๆ ก็เอามาแชร์ในคอมเมนต์กันได้เลย
เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน! เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art) นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]