Project ผลบุญ : คนกินได้รส ชาวสวนได้รับ สังคมได้รอด

“หัวเราะทั้งน้ำตา! ชาวสวนมังคุดใต้อ่วม ราคาตกต่ำเหลือโลละ 4 บาท”“ชาวสวนมังคุดลุกฮือจี้แก้ปัญหาราคาตกต่ำช้ำถูกกดราคาอย่างหนัก” สถานการณ์ COVID-19 ลากยาวมามากกว่า 1 ปี ผู้ประกอบการไทยต่างเข้าเนื้อ ทุนหาย กำไรหด เจ็บและเจ๊งกันเป็นแถบๆ เมื่อ ‘พลังของประชาชน’ คือความหวังเดียวที่จะช่วยกันเองให้รอด Urban Creature จึงพลิก ‘วิกฤต’ ให้เป็น ‘โอกาส’ ถือโอกาสบอกบุญ กับโปรเจกต์ ‘ผลบุญ’ ร้านผลไม้เฉพาะกิจของ Urban Creature ที่เปิดมาชวนผู้อ่านระดมทุน #อุดหนุน มังคุดเบตง กู้วิกฤตราคาผลผลิตตกแบบดิ่งลงเหว ขนส่งไม่ได้ขายไม่ออก ไป #ส่งต่อ ให้ผู้ต้องการเสบียงในพื้นที่จังหวัดยะลาได้อิ่มท้องในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่าง – กองสาธารณสุขเทศบาลเมืองเบตง กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่เทศบาลและโรงพยาบาลสนาม– ชมรมมุสลิมสัมพันธ์เบตง เพื่อการศึกษาและเด็กกำพร้า กระจายต่อไปยังชุมชนที่ล็อกดาวน์และเด็กกำพร้าที่ชุมชนดูแล– ที่ว่าการอำเภอเบตง หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กระจายต่อไปยังเจ้าหน้าที่ อสม. และชุมชนหมู่ 4 ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง […]

EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

จากการศึกษาของธนาคารเกียรตินาคินภัทร ที่ประเมินออกมาว่าแรงดึงดูดต่อการลงทุนในไทยต่ำลง มีความเสี่ยงที่โลกจะไม่ได้สนใจไทยอย่างที่เคยเป็น หนึ่งในสาเหตุใหญ่ๆ นั้นก็คือ สินค้าส่งออกของไทยไม่มีการเติบโตในกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูง ต่างจากแนวโน้มของประเทศคู่แข่งและภูมิภาค การผลักดันให้เราก้าวไปเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ และหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญของโลกที่กำลังหมุนไปให้เราได้ปรับตัวกันคือ รถยนต์พลังงานสะอาด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ EV (Electric Vehicle) ในยุคที่เป้าหมายของโลกคือการลดคาร์บอนฯ ลงให้มากที่สุด รถ EV จึงเป็นคำตอบของหลายๆ คน แล้วกับคนไทยล่ะ ร่วมค้นหาจุดเชื่อมโยงระหว่างรถ EV กับคนไทยว่าเราพร้อมกันแค่ไหนใน Green Link : EV กับอนาคตลมหายใจคนไทย

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

Fine Robusta ลบภาพจำ 3 in 1 ในโรบัสต้า และมีความพิเศษในแบบที่อาราบิก้าทำไม่ได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกที่พลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์หลากชนิดเช่นสิ่งทอได้เครื่องจักรเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากจนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงเครื่องจักรไอน้ำที่ทำให้เกิดโรงงานใหม่ขึ้นจำนวนมาก  แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมของกาแฟโรบัสต้าในยุคนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการผลิตในปริมาณมหาศาล ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มนานาชนิด แต่หันมาโฟกัสที่รสชาติและคุณภาพเหมือนที่รุ่นพี่อย่างอาราบิก้ากรุยทางเอาไว้ Urban Creature ชวนสองผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟอย่าง เคเลบ จอร์แดน นักพัฒนากาแฟเมืองน่านที่ปลูกปั้นกาแฟมณีพฤกษ์จนติดระดับประเทศ และ กรณ์ สงวนแก้ว Head Roaster & Green Buyer จาก Roots ร้านกาแฟที่เอาจริงเอาจังในสิ่งที่ตัวเองทำและให้ความสำคัญเกษตรกร มาคุยกันถึงการเติบโตของโรบัสต้าที่กำลังเฉิดฉายนอกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการมาอยู่ในคาเฟ่ที่เน้นกาแฟคุณภาพดี หรือโรงคั่วชั้นนำที่เริ่มปล่อยโรบัสต้าเบลนด์ใหม่สู่ตลาดเป็นระยะ ห้าปีมานี้กาแฟไทยโดยเฉพาะอาราบิก้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด และโรบัสต้ากำลังจะตามไป และอาจมีสิทธิ์ก้าวไปไกลกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องเผชิญกับคู่แข่งมหาโหดจากทั่วโลก และไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านภูมิประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่พร้อมผลักดันแต่ปัจจัยสำคัญอาจจะอยู่ที่ผู้บริโภค ดูคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่าง ถึงภาพจำและความนิยมจะสู้ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเปิดที่ทำให้คอคาเฟอีนรู้จักกาแฟนั้นมาจากโรบัสต้าซะเป็นส่วนใหญ่ Head Roaster ของ Roots บอกว่า ดื่มกาแฟผงครั้งแรกก็เป็นโรบัสต้า กาแฟ 3 in 1 ก็เป็นโรบัสต้า โตขึ้นมากินกาแฟกระป๋องก็โรบัสต้า กระทั่งกินเค้กรสกาแฟก็เป็นโรบัสต้าอีกเหมือนกัน  “เรามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อเมล็ดกาแฟอยู่ภาคใต้ พอถูกปลูกเพื่อขายเข้าไปในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรมก็เลยไม่ได้ใช้ความดูแลมากขนาดนั้น และคนที่ปฏิเสธโรบัสต้าก็มีจริง พอมาถึงจุดหนึ่งเราไม่ได้กินกาแฟที่แปรรูปเป็นผงหรือเป็นน้ำอีกแล้ว แต่ดื่มกาแฟที่ชงจากเมล็ดซึ่งส่วนมากจะเป็นอาราบิก้า เราเริ่มเข้าใจกาแฟและให้ความสำคัญกับรสชาติมากขึ้น […]

หยุดนะ! ป่าล้อมไว้หมดแล้ว สิงคโปร์ยกเขตอนุรักษ์ป่าและพันธุ์สัตว์ มาเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง

ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกหาทางแก้ปัญหาโควิดกันอย่างตึงมือ สิงคโปร์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ไม่ปล่อยให้มือว่าง นอกจากรับมือกับสถานการณ์โควิดแล้ว สิงคโปร์ยังประกาศเริ่มโปรเจกต์มากมายที่ช่วยฟื้นฟูภูมิทัศน์เมืองให้เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวเพื่อให้กลายเป็นเมืองในธรรมชาติ (City in nature) ภายในปี 2030 โปรเจกต์ที่เป็นไฮไลต์เลยคือ ‘Mandai’ แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ที่เชื่อมหลายแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไว้ด้วยกัน ทั้งสวนสัตว์สิงคโปร์ ไนต์ซาฟารี ริเวอร์ซาฟารี จนถึงสวนที่ออกแบบภายใต้แนวคิดอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอย่าง ‘สวนนก’ ที่ออกแบบมาให้ใกล้เคียงกับแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของนกกว่า 400 สายพันธุ์รวมทั้งสายพันธุ์หายากที่โบยบินอย่างอิสระให้นักท่องเที่ยวได้เชยชม และ ‘สวนสัตว์ป่าฝน’ ที่รวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้ในแห่งเดียว ทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดและศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูสัตว์ที่บาดเจ็บอีกด้วย ถนน Orchard แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังก็ตกแต่งด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ให้ความร่มเย็นตลอดสายที่เชื่อมไปยังสวนพฤกษศาสตร์และสวนสาธารณะอื่นๆ และอีกโปรเจกต์หนึ่งคือ ‘Jurong Lake Garden’ ที่ถือเป็นโอเอซิสใจกลางเมือง ประกอบไปด้วย 4 โซนใหญ่ๆ ― Lakeside Garden, Chinese Garden, Japanese Garden และ Garden Promenade แต่ละโซนมีจุดเด่นต่างกันไปอย่าง Youth Park ที่มีสนามสเก็ตและสนามจักรยาน อุโมงค์ป่าไผ่ที่ฉ่ำเย็นด้วยไอจากน้ำตก จุดชมโคมพระจันทร์ยามค่ำคืนที่ Moon Lantern Terrace […]

Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก

อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016  ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics)  ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]

ทางออกวิกฤตเตียงล้นกรุงเทพฯ โครงการ ‘Back Home’ พาคนติดโควิดกลับบ้านเกิด

ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นทุกวันสวนทางกับจำนวนเตียงว่างรองรับผู้ป่วยในกรุงเทพฯ คนที่จะมาช่วยบรรเทาปัญหาในครั้งนี้ก็คงไม่พ้น ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ นักข่าวขวัญใจชาวไทยอีกเหมือนเคย ที่ร่วมมือกับหลายฝ่ายเริ่มโครงการ ‘Back Home’ ประสานหาพาหนะพาผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิด ไอเดียนี้ริเริ่มจาก ‘ศ. นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า’ อายุรแพทย์ระบบประสาท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม หอพักหญิงที่ 26 จังหวัดขอนแก่น ที่อยากให้ระบบการส่งต่อผู้ป่วยโควิดที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด แต่อาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ได้กลับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่ต่างจังหวัดซึ่งยังพอรองรับผู้ป่วยได้ โดยเห็นว่าการให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่บ้านเกิดเป็นประโยชน์ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยเอง และเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ด้วย โครงการนี้ได้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งรายการ ‘เรื่องเล่าเช้านี้’ เพจ ‘เราต้องรอด’ เพจ ‘หมอแล็บแพนด้า’ และอีกหลายองค์กรที่ช่วยประสานหาเตียงและพาหนะที่ได้มาตรฐานในการขนย้ายผู้ป่วยข้ามจังหวัด  ผู้ป่วยที่เคลื่อนย้ายได้ต้องอยู่เฉพาะในกลุ่มสีเขียวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น และต้องได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นจากแพทย์ก่อนเคลื่อนย้าย โดยเริ่มจากติดต่อมายังเจ้าหน้าที่ของ ‘Back Home’ ก่อนถึงจะมีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เพื่อประเมินอาการ และติดต่อไปยังโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนามในจังหวัดปลายทางเพื่อจัดหาเตียง ทั้งนี้ ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับการนำตัวผู้ป่วยออกจากกรุงเทพฯ ที่เป็นพื้นที่สีแดง และการกักตัว 14 วันเมื่อเข้าถึงพื้นที่ปลายทาง โครงการ ‘Back Home’ จึงต้องประสานกับทางกรุงเทพฯ และภาครัฐต่อไปเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายสูงสุด ผู้ป่วยโควิดที่ต้องการเคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนาสามารถติดต่อโครงการนี้ที่  Line : @backhome หรือโทร […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

3 สิ่งที่ HONNE คิดถึงประเทศไทย I Add to my list

Add to My List รายการใหม่จาก Urban Creature ที่เราจะชวนคนมาพูดคุยกันถึงลิสต์ต่างๆ ของพวกเขาว่าในแต่ละหัวข้อลิสต์ของเขามีอะไรบ้าง เปิดมาด้วยการเชิญวงดังจากอังกฤษขวัญใจชาวไทยอย่าง HONNE คู่หู Electronic Music ฟังเพลินที่นอกจากเป็นที่รักของแฟนเพลงชาวไทย เขายังเคยมาเล่นคอนเสิร์ตที่นี่ด้วย ในสถานการณ์โควิดแบบนี้ที่ชาวต่างชาติยังเข้ามาในประเทศเราไม่ได้ เราจึงชวน HONNE มาบอกเราหน่อยว่าในลิสต์ของเขาอะไรคือ 3 สิ่งที่เขาคิดถึงที่สุดในเมืองไทย และอะไรคือสิ่งที่อยากจะทำเมื่อได้กลับมา #UrbanCreature #AddToMyList #HONNE #WHATWOULDYOUDO #ReinventTheWayWeLive

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” มวลความเศร้าที่ไม่มีคำตอบใน ‘ควรจะทำยังไง’ ของภัค fluffypak

“แล้วฉันควรจะทำยังไง ห๊ะ” หลังจากฟังท่อนสุดท้ายของเพลง ‘ควรจะทำยังไง (Dead End)’ ซิงเกิลล่าสุดของ fluffypak จบ เรารู้สึกถึงอะไรบางอย่าง เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย อาจจะเป็นความเศร้า หรือความอึดอัดใจบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ในใจของคนฟังอย่างเราที่เพลงนี้นำพาให้เอ่อล้นขึ้นมาก็เป็นได้ ด้วยเนื้อเพลงตรงไปตรงมา และเสียง Synthesizer กระแทกใจเหมือนเจ้าของเพลงอยากจะระเบิดอารมณ์ออกมาในตอนท้าย ทำให้ต้องกดฟังเพลงนี้ซ้ำอีกครั้งเพื่อหาคำตอบ การพบกันครั้งแรกของเรากับเจ้าของเพลงอย่าง ณภัค นิธิพัสกร หรือ ‘ภัค fluffypak’ นั้นแตกต่างจากความรู้สึกแรกที่เราได้ฟังเพลงเนื้อหาเร้าอารมณ์นี้อย่างสิ้นเชิง ภัคมาถึงสถานที่สัมภาษณ์อย่างรีบร้อน แต่ก็ทักทายทุกคนในห้องด้วยความสดใส fluffypak ศิลปินจาก MILK! Artist Service Platform โปรเจกต์สนับสนุนศิลปินอิสระของค่าย What The Duck “ดนตรีเป็นเหมือน Safe Space ของเราที่ทำให้เรารู้สึกไปตามเสียงดนตรี ได้ระบาย ได้อยู่กับตัวเอง” ตั้งแต่มัธยมต้นภัคชอบฟังเพลงร็อก และมีวงดนตรีที่ชอบคือ Bodyslam พอเพลงป็อปเกาหลีเข้ามาก็ฟังตามเพื่อนๆ แต่ก็ยังไม่ทิ้งความเป็นขาร็อกเพราะภัคก็ยังฟังวงดนตรี Brit-rock อย่าง Arctic Monkeys ด้วย แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือการได้ชมภาพยนตร์ […]

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

1 3 4 5 6 7 21

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.