Faces of Amata Nakorn ‘อมตะนคร’ นครนิรันดร์
‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่
‘อมตะนคร’ คือนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นเสมือน ‘เมืองแห่งใหม่’ ในจังหวัดชลบุรี ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทุ่งนาว่างเปล่า แต่ปัจจุบันมีโรงงานและสำนักงานของบริษัทต่างๆ กว่า 700 แห่งตั้งเรียงรายอยู่
ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]
คุณเคยอยู่ในสถานการณ์เจองานด่วน ต้องแก้เดี๋ยวนี้! หรือโดนทักไลน์มาตอนสามทุ่ม ช่วยทำงานให้พี่นิดหนึ่งได้ไหม แน่นอนละว่าจังหวะนี้คงปฏิเสธไม่ได้ พร้อมเปิดคอมฯ ทำงานงกๆ จนเงยหน้ามาอีกที อ้าว! เที่ยงคืนแล้ว ทำไมเรายังไม่นอน ไม่กินข้าว และยังไม่ได้พักผ่อนเลย รู้ตัวอีกทีก็หมดวันซะแล้ว บางคนอาจจะมองว่า การทำงานหนัก ทำงานเกินเวลานิดหน่อยคงไม่เป็นไร ไม่ว่าจะที่ไหนก็เป็นกันทั้งนั้น แต่ความเป็นจริงแล้วกรุงเทพฯ ติดอันดับรั้งท้าย 5 เมืองสุดท้ายที่มี ‘Work-life Balance’ หรือเมืองที่มีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต อ้างอิงข้อมูลจาก Kisi บริษัทให้คำปรึกษาด้านการทำงานในปี 2022 โดยเก็บข้อมูลทั้งหมด 100 ประเทศทั่วโลก และกรุงเทพฯ ได้อันดับที่ 96 สำหรับอันดับที่ 1 คือ เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้ 100 คะแนนเต็ม อันดับที่ 2 เมืองเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ 99.46 คะแนน และอันดับที่ 3 คือ เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ […]
ช่วงนี้ ตม.เกาหลีใต้ดูจะเข้มงวดกว่าเดิม เมื่อคนไทยจำนวนไม่น้อยตั้งใจจะไปเที่ยวให้สมกับที่ไม่ได้ออกนอกประเทศมาหลายปี แต่กลับถูกส่งตัวกลับเนื่องจากมาตรการป้องกันชาวต่างชาติลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศของเจ้าที่รัฐ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เกาหลีใต้กำลังขาดแคลนแรงงานต่างชาติ (ถูกกฎหมาย) เป็นพิเศษ ด้วยสถานการณ์โรคระบาดที่ผ่านมา ทำให้เกาหลีใต้ต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนแรงงานต่างชาติที่เป็นกลไกสำคัญในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ส่งผลให้มีจำนวนแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 58 เปอร์เซ็นต์ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะกลุ่มคนหนุ่มสาวไม่ค่อยสนใจทำงานใช้แรงงานเท่าไรนัก หลายบริษัทจึงไม่มีทางเลือกและต้องหันมาจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแทน แม้ว่าหลายหน้าที่นั้นอาจเหมาะสมกับคนทำงานวัยหนุ่มสาวมากกว่าก็ตาม ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้เรียกได้ว่าเป็นประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในโลก เพราะกว่า 33.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุระหว่าง 70 – 74 ปีนั้นยังคงทำงานอยู่ ซึ่งถือว่าติดอันดับต้นๆ ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดการจ้างงานประชากรในแต่ละกลุ่มอายุใน 38 ประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก แถมยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD ถึง 15.2 เปอร์เซ็นต์อีกด้วย ข้อมูลจากธนาคารกลางเผยให้เห็นว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกว่า 230,000 คนนั้นมองหางานในโรงงานและงานก่อสร้างมาตั้งแต่ช่วงปี 2020 แล้ว ในขณะที่กลุ่มคนหนุ่มสาวต่างพยายามเลี่ยงงานในส่วนนี้ และถึงแม้ว่าปี 2020 จะมีแรงงานต่างชาติเข้าไปทำงานที่เกาหลีใต้ได้บ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะเมื่อเทียบกันแล้ว มีจำนวนแรงงานต่างชาติอยู่ที่ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนทั้งหมดที่มีในปี 2019 […]
เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวที่สองผู้กำกับละครที่ทำงานมานานกว่า 30 ปี อย่าง ‘อ๊อด-บัณฑิต ทองดี’ และ ‘ปรัชญา ปิ่นแก้ว’ บอกเล่าเรื่องชีวิตในกองถ่ายว่าคนทำงานอาจจะต้องทำงานสูงถึง 16 ชั่วโมง และให้ความเห็นว่าเวลาที่ล่วงเลยขนาดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่คนทำงานในสายงานนี้ก็ทำกันมาจนเป็นเรื่องปกติ รวมไปถึงประเด็นการจ่ายค่าล่วงเวลาให้คนทำงานที่ต้องตกลงกันตั้งแต่ก่อนรับงาน และการใช้แรงงานนักแสดงเด็กที่ถูกตั้งคำถามมาตลอด โดยเรื่องทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นหัวข้อที่คนในสังคมพูดถึงไปในหลากหลายมิติ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2565 สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยได้ออกจดหมายแถลงการณ์ โดยมีสรุปเนื้อหาว่า ผู้กำกับทั้งสองไม่ได้สนับสนุนแนวคิดการทำงานเกินมาตรฐานสากล และพยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ มาตลอด ทั้งยังได้เข้าร่วมปรึกษากับหน่วยงานราชการ, คณะกรรมาธิการของรัฐสภา, พรรคการเมือง, บริษัทผู้ผลิต และองค์กรต่างๆ แต่ยังไม่สามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหาอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้สำเร็จ และอุปสรรคสำคัญของเรื่องนี้คือ ‘การขาดอำนาจต่อรองของแรงงานในอุตสาหกรรมบันเทิง’ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ปรากฏการณ์แรกที่มีคนในอุตสาหกรรมบันเทิงออกมาเรียกร้องถึงความไม่เป็นธรรมในการทำงาน เพราะหากย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นักแสดงซีรีส์ ‘นิ้ง-ชัญญา แม็คคลอรี่ย์’ และ ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ’ ได้ส่งคำร้องต่อ กมธ. ที่รัฐสภา เพื่อแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตในกองถ่าย เช่น ปัญหาการใช้แรงงานเด็กในการผลิตสื่อ, ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน, ความปลอดภัยในการทำงาน และการไม่มีสัญญาจ้างที่เป็นธรรม แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรนัก […]
‘หมอ’ น่าจะเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในสังคมไทย ทั้งยังถูกขยายภาพซ้ำๆ ในแง่ของอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี และมีเกียรติ ทว่าขณะเดียวกัน ก็เป็น ‘หมอ’ และ ‘บุคลากรทางการแพทย์’ อีกนั่นแหละที่อยู่ในกลุ่มอาชีพที่ทำงานหนักมาก หลายครั้งต้องทำงานเกินเวลา ทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่ถูกสังคมไทยคาดหวังให้ทำงานตลอดเวลา เพราะเป็นอาชีพที่ผูกกับความเสียสละ จากการสำรวจในปี 2562 หัวข้อ ‘ภาระงานและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขและผลกระทบต่อผู้ป่วย’ โดย รศ. นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ จากสมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) ที่มีแพทย์ร่วมตอบแบบสอบถาม 1,105 คน ได้ข้อเท็จจริง ดังนี้ แพทย์กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์กว่า 30 เปอร์เซ็นต์ ทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แพทย์หลายคนต้องทำงานดูแลผู้ป่วยติดต่อกันนานกว่า 40 ชั่วโมงโดยไม่มีเวลาพักผ่อน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยวิกฤต จำนวนชั่วโมงการทำงานแบบนี้ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแพทย์โดยตรง แต่หลายคนถึงขั้นลาออกเนื่องจากไม่สามารถฝืนทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยสภาพร่างกายที่อ่อนแรงได้ แม้จะมีค่าตอบแทนเป็นค่าเวร แต่แพทย์ส่วนมากไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่เวรหรือไม่ เนื่องจากหลายโรงพยาบาลมีตำแหน่งแพทย์ไม่เพียงพอ ทั้งนี้ การสำรวจไม่ได้ครอบคลุมแค่แพทย์เท่านั้น แต่ยังควบรวมไปถึงบุคลากรสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากภาระงานที่มาก จำนวนชั่วโมงที่มากเกินควร […]
ที่ผ่านมา ภาพจำของแรงงานที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักของบ้านเรามักฉายแต่เพียงภาพของผู้ใช้แรงกายที่เป็นคนชนชั้นรากหญ้า ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ ขบวนการประชาธิปไตยที่เบ่งบานในไทยก็พยายามส่งเสียงเรียกร้องและสร้างความเข้าใจใหม่ว่า แท้จริงแล้ว ‘พวกเราทุกคนคือคนทำงาน’ ต่อให้คุณใช้ฝีมือ ไอเดีย หรือกระทั่งทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นงาน แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ และค่าเสียโอกาสด้วยทั้งสิ้น นิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ คือนิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวหลากหลายแง่มุมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก โดยร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านการข้ามเส้นแบ่งทั้งทางกายภาพและนามธรรม นำเสนอผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบจาก 6 ศิลปินหญิงและเควียร์ เมนส์ ภาระค่าใช้จ่ายของคนทำงานที่เป็นผู้มีประจำเดือน การกดทับของคนทำอาชีพ Sex Worker ความพร่าเลือนของเส้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน ความทรงจำของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้าสยามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา การตั้งคำถามถึงการบวชเป็นพระที่สงวนให้แต่เพศชายตามกำเนิดเท่านั้น เหล่านี้คือตัวอย่างของประเด็นที่เหล่าศิลปินเลือกมาถ่ายทอดผ่านชิ้นงานอย่างคอลลาจ เซตภาพถ่าย งานจัดวาง เป็นต้น ใครที่สนใจนิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ เปิดให้เข้าชมที่อาคารหอศิลป์ ชั้น 2 เอส เอ ซี แกลเลอรี กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ – 16 กรกฎาคม 2565 เปิดบริการทุกวันอังคาร-เสาร์ […]
‘ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร คุณคือคนทำงาน’ Urban Creature ขอพาคุณร่วมขบวนส่งพลังเนื่องในวันแรงงานสากลที่ผ่านมา แสดงพลังเสียงของคุณ หยุดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ สวัสดิการต่างๆที่แรงงานควรจะได้ ‘เพราะคนที่สำคัญที่สุดในองค์กร ในที่ทำงาน คือพวกเรา’ มีแค่เจ้าของ มีแค่นายทุน บริษัทไปต่อไม่ได้ ร่วมแสดงพลังของคุณไปพร้อมกับเราผ่าน Urban Soudcheck มนุษย์-สิทธิ-ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน? #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #วันแรงงานสากล #แรงงาน #รัฐสวัสดิการ #สวัสดิการ
ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมาที่เป็นวันพักผ่อน คนทำงานจำนวนหลักร้อยได้มารวมตัวกันที่แยกราชประสงค์ เพื่อเดินขบวนส่งเสียงในการชุมนุมของสหภาพคนทำงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ
เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]
คงไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ข้าวของเครื่องใช้ ราคาน้ำมัน และราคาอาหารต่างพุ่งสูงขึ้น แต่ผลกระทบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชียอย่างญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ผลสำรวจจาก ‘Edenred’ บริษัทจัดเตรียมสวัสดิการอาหารให้หลายบริษัทในญี่ปุ่นได้สำรวจคนวัยทำงานญี่ปุ่นในช่วงอายุ 20 – 50 ปี จำนวน 600 คน ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่า จำนวนกว่า 29.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจมักจะอดข้าวกลางวันในวันทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง กว่า 56.5 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มดังกล่าวให้ข้อมูลว่า พวกเขามักจะอดมื้อกลางวันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 28.2 เปอร์เซ็นต์ และ 15.3 เปอร์เซ็นต์ที่เหลืออดข้าวกลางวันที่จำนวน 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ และตัวเลขกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่าต้องการประหยัดเงินเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่พวกเขาข้ามมื้อกลางวัน เมื่อผู้สำรวจถามว่าอาหารเที่ยงมื้อไหนที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องกินเพื่ออิ่มท้อง ผู้ตอบแบบสำรวจบางคนระบุว่าบางครั้งเขารับประทานเพียงไข่ปลา (Cod roe) หรือแค่น้ำเปล่าและขนมขบเคี้ยวเท่านั้น ส่วนบางคนก็ห่อข้าวกล่องมาจากบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายในมื้อเที่ยงของวัน ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่งบอกว่า นอกจากเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นตอนนี้แล้ว เธอยังกังวลถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของตัวเองหลังเกษียณอายุงานอีกด้วยว่าจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องประหยัดเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ในปี 2019 […]
วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากลหรือวัน ‘May Day’ หลายประเทศกำหนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน เนื่องจากเมื่อราว พ.ศ. 2432 ได้มีแรงงานในสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องรัฐให้กำหนดชั่วโมงทำงานสูงสุดไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงทบทวนสิทธิของแรงงานตามความเหมาะสม จนเกิดการปะทะกันระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย ในยุคสมัยที่สังคมไทยตื่นตัวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพ หัวข้อความเป็นธรรมของแรงงานมักถูกนำมาถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ‘สหภาพคนทำงาน’ #เราทุกคนคือคนทำงาน คือแนวคิดที่สหภาพคนทำงานต้องการสื่อสารแก่แรงงานทุกคน ใครที่ใช้ฝีมือ มันสมอง เวลา และกำลังกาย เพื่อแลกค่าจ้าง คุณคือคนทำงาน และถ้าหากทุกคนรวมตัวกันก็จะสร้างอำนาจต่อรองและสถาปนาประชาธิปไตยในทุกระดับ สหภาพคนทำงานจึงเลือกใช้วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จัดกิจกรรม ‘MAY DAY รวมพลังคนทำงาน’ เพื่อตอกย้ำความตั้งใจที่อยากเห็นคนทำงานรวมตัวแสดงพลังกัน โดยเริ่มต้นกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ฝั่ง CentralWorld เวลา 16.00 น. ก่อนจะเดินขบวนไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพื่อเริ่มการปราศรัยและกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกและติดตามสหภาพคนทำงานได้ที่ www.linktr.ee/WorkersUnionTH นอกจากนี้ ที่เชียงใหม่ก็มีการจัด Sex work Fashion week ครั้งแรกในประเทศไทย […]