We Are Workers, We Are 99%

ในช่วงเย็นวันอาทิตย์ที่ผ่านมาที่เป็นวันพักผ่อน คนทำงานจำนวนหลักร้อยได้มารวมตัวกันที่แยกราชประสงค์ เพื่อเดินขบวนส่งเสียงในการชุมนุมของสหภาพคนทำงาน เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ 

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

ผลสำรวจชี้คนญี่ปุ่นวัยทำงานเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ต้องอดข้าวกลางวัน เพื่อลดค่าใช้จ่าย

คงไม่ใช่แค่ในประเทศไทยที่สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ข้าวของเครื่องใช้ ราคาน้ำมัน และราคาอาหารต่างพุ่งสูงขึ้น แต่ผลกระทบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชียอย่างญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน  ผลสำรวจจาก ‘Edenred’ บริษัทจัดเตรียมสวัสดิการอาหารให้หลายบริษัทในญี่ปุ่นได้สำรวจคนวัยทำงานญี่ปุ่นในช่วงอายุ 20 – 50 ปี จำนวน 600 คน ในเดือนธันวาคม 2564 พบว่า จำนวนกว่า 29.5 เปอร์เซ็นต์ของผู้ถูกสำรวจมักจะอดข้าวกลางวันในวันทำงานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของตัวเอง  กว่า 56.5 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มดังกล่าวให้ข้อมูลว่า พวกเขามักจะอดมื้อกลางวันอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ และ 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์จำนวน 28.2 เปอร์เซ็นต์ และ 15.3 เปอร์เซ็นต์ที่เหลืออดข้าวกลางวันที่จำนวน 4 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์ และตัวเลขกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่าต้องการประหยัดเงินเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่พวกเขาข้ามมื้อกลางวัน  เมื่อผู้สำรวจถามว่าอาหารเที่ยงมื้อไหนที่เลวร้ายที่สุดที่ต้องกินเพื่ออิ่มท้อง ผู้ตอบแบบสำรวจบางคนระบุว่าบางครั้งเขารับประทานเพียงไข่ปลา (Cod roe) หรือแค่น้ำเปล่าและขนมขบเคี้ยวเท่านั้น ส่วนบางคนก็ห่อข้าวกล่องมาจากบ้านเพื่อลดค่าใช้จ่ายในมื้อเที่ยงของวัน  ผู้ให้ข้อมูลคนหนึ่งบอกว่า นอกจากเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นตอนนี้แล้ว เธอยังกังวลถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนของตัวเองหลังเกษียณอายุงานอีกด้วยว่าจะมีเงินใช้เพียงพอหรือไม่ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอต้องประหยัดเงินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ  ในปี 2019 […]

สหภาพคนทำงานชวนแสดงพลัง May Day 1 พ.ค. 65 รวมพลังคนทำงาน เดินขบวนแยกราชประสงค์

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากลหรือวัน ‘May Day’ หลายประเทศกำหนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน เนื่องจากเมื่อราว พ.ศ. 2432 ได้มีแรงงานในสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องรัฐให้กำหนดชั่วโมงทำงานสูงสุดไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงทบทวนสิทธิของแรงงานตามความเหมาะสม จนเกิดการปะทะกันระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย ในยุคสมัยที่สังคมไทยตื่นตัวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพ หัวข้อความเป็นธรรมของแรงงานมักถูกนำมาถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ‘สหภาพคนทำงาน’ #เราทุกคนคือคนทำงาน คือแนวคิดที่สหภาพคนทำงานต้องการสื่อสารแก่แรงงานทุกคน ใครที่ใช้ฝีมือ มันสมอง เวลา และกำลังกาย เพื่อแลกค่าจ้าง คุณคือคนทำงาน และถ้าหากทุกคนรวมตัวกันก็จะสร้างอำนาจต่อรองและสถาปนาประชาธิปไตยในทุกระดับ สหภาพคนทำงานจึงเลือกใช้วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จัดกิจกรรม ‘MAY DAY รวมพลังคนทำงาน’ เพื่อตอกย้ำความตั้งใจที่อยากเห็นคนทำงานรวมตัวแสดงพลังกัน โดยเริ่มต้นกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ฝั่ง CentralWorld เวลา 16.00 น. ก่อนจะเดินขบวนไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพื่อเริ่มการปราศรัยและกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกและติดตามสหภาพคนทำงานได้ที่ www.linktr.ee/WorkersUnionTH นอกจากนี้ ที่เชียงใหม่ก็มีการจัด Sex work Fashion week ครั้งแรกในประเทศไทย […]

‘สหภาพคนทำงาน’ เปิดตัวสู้เผด็จการ และอำนาจผูกขาด เพราะแรงงาน และเศรษฐกิจต้องอยู่ได้ดีทั้งโครงสร้าง

เพราะทุกคนคือแรงงานผู้ขับเคลื่อนประเทศ แรงงานทุกคนจึงสำคัญและจำเป็นกับสังคมของเราอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ประเทศไทยเป็นประเทศทุนนิยม ปัญหาแรงงานและปัญหาของคนทำงานภายใต้ระบบทุน จึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ควรต้องได้รับการแก้ไข และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด Movement การขับไล่รัฐบาลเผด็จการ และการเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมานี้ นักสหภาพแรงงาน และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกรุ่น ต่างมองเห็นและตระหนักถึงปัญหาแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้เกิดการจัดตั้งสหภาพแรงงานระดับชาติขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งอีกขาหนึ่งเพื่อเป็นแนวร่วมสำคัญต่อการเรียกร้องประชาธิปไตย และการขับไล่เผด็จการร่วมกับแนวร่วมอื่นๆ ด้วย นอกจากการเรียกร้องความยุติธรรมในระดับสิทธิของคนทุกคนแล้ว สหภาพยังหวังว่า เศรษฐกิจควรดีไปพร้อมกันทั้งโครงสร้างและระบบ ซึ่งหมายถึงการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างระหว่างชนชั้นด้วย ‘สหภาพคนทำงาน’ หรือ ‘Workers’ Union’ จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 โดยรวมตัวผู้คนที่ตระหนักถึงปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมานาน และกำหนดเป้าหมายขององค์กรไว้จำนวนหกข้อด้วยกัน 1. เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชนชั้นให้เกิดกับทุกคนภายใต้แนวความคิด “เราทุกคนคือแรงงาน” 2. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้กับแรงงานในการต่อสู้กับอำนาจของฝ่ายทุนและรัฐ 3. เพื่อสร้างและส่งเสริมพรรคการเมืองของชนชั้นแรงงาน ผลักดันให้เกิดรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าที่ครอบคลุมทุกคน 4. เพื่อเป็นองค์กรนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองทั้งเชิงโครงสร้างและนโยบาย 5. เพื่อเป็นองค์กรนำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้มา และรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม 6. เฉพาะหน้าเราจะเข้าร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเยาวชนและราษฎรที่เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการอยู่ขณะนี้ สำหรับงานเปิดตัวที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ สมาชิกทุกคนสามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ ได้ตั้งแต่เวลา 10.00 – […]

FYI

ความนุ่ม Sandbox ของเราไม่เท่ากัน : เสียงสะท้อนที่เจ็บปวดของแรงงานนอกระบบบนเกาะสมุย

0 “ปลายปีนี้ 50% อยู่เหนือ ที่เหลือ 50% อยู่ทะเล” ข้อความทวีตหนึ่งที่บังเอิญเลื่อนเจอขณะที่ตัวผู้เขียนเองกำลังอยู่บนเฟอร์รีข้ามไปสมุย  เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ได้ถูกกำหนดเป็น “สมุยพลัส แซนด์บ็อกซ์” (Samui Plus Sandbox) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง  “แซนด์บ็อกซ์ โมเดล” ถือกำเนิดเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ตรวจสอบการทำงานของระบบ เช่น ก่อนจะมีการปล่อยซอฟต์แวร์สักตัวมาใช้ จะต้องมีการทดลองในแซนด์บ็อกซ์จนมั่นใจก่อนปล่อยใช้งานจริง  แซนด์บ็อกซ์จึงเป็นพื้นที่แห่งการทดลอง และต่อให้ล้มเหลวก็เจ็บตัวไม่มาก เหมือนเวลาที่เด็กๆ เล่นชิงช้าและตกลงในพื้นทรายด้านล่าง  ทว่าพื้นที่ทรายนุ่มๆ เม็ดละเอียดที่ทอดยาวกลายเป็นหาดชื่อดังของสมุย ไม่ว่าจะเป็น เฉวง ละไม บ่อผุด และอื่นๆ กลับไม่นุ่มอย่างนั้น อย่างน้อยในมุมของแรงงานนอกระบบที่อยากชวนทุกคนไปสำรวจพร้อมๆ กัน  1 แขก อายุ 40 ปี เป็นคนหนองคายตั้งแต่กำเนิด ด้วยฐานะที่ค่อนไปทางลำบาก เขาจึงเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาที่สมุย นับตั้งแต่เด็กหนุ่มอีสานเหยียบหาดทรายขาวนุ่มแห่งนี้ เวลาก็ล่วงไปแล้วราว 20 ปี เขายึดอาชีพเดินเร่ขายของในบริเวณหาดเฉวงที่ก่อนหน้าจะมีโควิด […]

FYI

หมดยุคธุรกิจแบบเดิม 4 เรื่องที่ต้องโฟกัสการวิจัยเพื่อให้ไทยอยู่รอดกับ The Stanford Thailand Research Consortium

ยุคนี้ใครๆ ต่างก็พูดถึง ‘ดิสรัปชั่น’ หรือยุคที่ทุกอย่างก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวัน ทั้งข่าวสารมากมายที่หลั่งไหลเข้ามา หรือเทคโนโลยีที่กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แน่นอนว่านี่จะเป็นโอกาสของธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในอนาคต แต่อีกแง่หนึ่งธุรกิจที่มีแนวทางเดิมๆ ก็อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป หากไม่ปรับตัวและพัฒนาตัวเองตอนนี้ นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังจะเจอทางตัน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.