FYI

‘อายิโนะโมะโต๊ะ’ สร้างความอร่อยและคุณค่าในสังคมคู่คนไทย เพื่อความสุขในอนาคตของทุกคน

หากถามถึงเคล็ดลับความอร่อยคู่คนไทยที่มีมานานกว่า 62 ปี คงหนีไม่พ้นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและผลิตภัณฑ์จากกรดอะมิโนระดับโลกอย่าง ‘กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ’ แต่นอกจากการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ความอร่อยที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศไทยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 อีกสิ่งสำคัญที่อายิโนะโมะโต๊ะต้องการคือ การช่วยแก้ไขปัญหาสังคมและสร้างคุณค่าผ่านธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV)’ เพื่อก้าวสู่การเป็นกลุ่มบริษัทผู้ส่งมอบแนวทางการแก้ปัญหาและนวัตกรรมที่เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพระดับโลก อายิโนะโมะโต๊ะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (ASV) กลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคม ผ่าน ‘การสร้างสังคมสุขภาพดี’ ‘ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า’ และ ‘การสร้างความยั่งยืนของโลก’ ที่เป็น 3 แนวทางหลักสำหรับการดำเนินกิจกรรม ASV เพื่อมุ่งสู่การประสบความสำเร็จกับ 2 เป้าหมาย ดังนี้  1. ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางธุรกิจของอายิโนะโมะโต๊ะให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ. 2573 2. มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ให้สำเร็จภายในปี 2050 หรือ พ.ศ. 2593  ทางบริษัทได้ร่วมป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ผ่านการบูรณาการแนวคิด เทคโนโลยี และกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน […]

อุณหภูมิโลกปี 2023 คาดว่าจะสูงเกิน 1.5°C

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ประเด็น ‘ภาวะโลกร้อน’ เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) เคยคาดการณ์ว่า ในช่วงปี 2017 – 2021 มีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งความเป็นไปได้มีมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ล่าสุดจากข้อมูลรายงานคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปีของสหราชอาณาจักร (Global Annual to Decadal Climate Update) ในปี 2022 – 2026 รายงานว่า เดิมอุณหภูมิโลกเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 องศาเซลเซียส แต่ในอนาคตมีโอกาสที่อุณหภูมิโลกเฉลี่ยทั้งปีเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ส่วนความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  มากไปกว่านั้น WMO ยังกล่าวเสริมอีกว่า ในปี 2022 – 2026 จะมีช่วงเวลาหนึ่งที่อุณหภูมิอบอุ่นมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจากเดิม […]

Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป  สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น  ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]

ดุดันและใช้กำลังไฟ! T4 รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าไร้คนขับ เสียงไม่ดัง และปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์

ภาคการเกษตรทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวเข้าสู่ความยั่งยืนอย่างเต็มตัว ล่าสุดได้มีการเปิดตัว ‘รถแทรกเตอร์ไฟฟ้าอัตโนมัติ’ คันแรกของอุตสาหกรรมเกษตรโลก หวังเป็นต้นแบบของการทำเกษตรสีเขียวออกมาแล้ว ‘New Holland T4 Electric Power’ คือรถแทรกเตอร์ไฟฟ้าที่พัฒนาโดยบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์และบริการด้านการเกษตรระดับโลกอย่าง CNH Industrial ซึ่งทาง CNH มีเป้าหมายที่จะทำให้รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้อย่างสะดวกสบายและมีอิสระมากขึ้น ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้ารถไถคันนี้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ สำหรับการใช้งาน รถแทรกเตอร์ T4 มีขนาดกำลังและแรงในการขับเคลื่อนอยู่ที่ 120 แรงม้า ด้วยความเร็วสูงสุด 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าใช้งานปกติ แบตเตอรี่ของ T4 จะอยู่ได้ตลอดทั้งวัน แต่ถ้าวันไหนใช้งานเยอะเป็นพิเศษ ก็อาจต้องเติมแบตฯ ระหว่างวันบ้าง แต่ไม่ต้องกลัวเป็นปัญหาต่อการทำงาน เพราะใช้เวลาชาร์จเพียงหนึ่งชั่วโมงก็เต็มแล้ว แถมตัวรถยังมีแหล่งพลังงานสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินด้วย เทคโนโลยีที่น่าสนใจของ T4 คือกล้องและเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้ทั่วคัน ทำให้ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้คนขับ มากไปกว่านั้น เกษตรกรยังควบคุมรถแทรกเตอร์ได้จากสมาร์ตโฟน ทำให้พวกเขามอนิเตอร์รถรุ่นนี้ระหว่างทำงานอื่นๆ จากระยะไกลได้ ที่สำคัญ T4 ยังมีเสียงรบกวนลดลงถึง 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรถแทรกเตอร์ทั่วไป เปิดโอกาสให้เกษตรกรทำงานในช่วงกลางคืนได้โดยไม่รบกวนสัตว์เลี้ยงหรือผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง รถแทรกเตอร์โมเดลใหม่จาก CNH […]

เข้าใจสิทธิกับสิ่งแวดล้อมผ่าน 4 สารคดีที่ยืนยันว่าทุกคนควรเข้าถึงอากาศสะอาด ชมฟรีที่ House Samyan 9 – 12 ธ.ค. 65

ปัจจุบันโลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการทรัพยากร การอพยพย้ายถิ่นฐาน สาธารณสุข และความขัดแย้งระดับนานาชาติที่ล้วนเชื่อมโยงกัน ความเสียหายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายพื้นที่จึงกลายเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้รับรองว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน เป็นสิทธิมนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนพึงมี เนื่องจากวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีตรงกับ ‘วันสิทธิมนุษยชนสากล’ เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมงาน ‘Our Right to Live on a Healthy Planet’ เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิทธิมนุษยชนและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมกับสภาพภูมิอากาศให้มากขึ้น ผ่าน 4 ภาพยนตร์สารคดี ได้แก่ 1) สายเลือดแม่น้ำโขง Special : Edition (2022)ผู้กำกับ : ธีรยุทธ์ วีระคำประเทศ : ไทย 2) Losing Alaska (2018)ผู้กำกับ : ทอม เบิร์กประเทศ : ไอร์แลนด์ 3) สายน้ำติดเชื้อ (2013)ผู้กำกับ […]

หนึ่งวันกับ ‘PASAYA’ โรงงานสิ่งทอที่เชื่อว่าคุณภาพสินค้าจะดีขึ้นตามคุณภาพชีวิตพนักงาน

เมื่อก้าวขาลงรถ แดดร้อนจ้าต้นฤดูหนาวก็ดูจะเย็นขึ้นบ้างจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีต้นไม้ให้เห็นกว่าในเมือง เช่นเดียวกับสีเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักในโรงงานแห่งนี้ PASAYA (พาซาญ่า) คือแบรนด์สิ่งทอชื่อดังของไทย ก่อตั้งโดย ‘ชเล วุทธานันท์’ ที่มีแนวคิดการส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 1990 ย้อนกลับไปในปี 1986 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ชเลรับช่วงต่อโรงงานชื่อ ‘สิ่งทอซาติน’ ที่ตั้งอยู่แถวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจากพ่อ ที่นั่นเป็นพื้นที่เล็กๆ มีเครื่องจักรทอผ้าเก่าๆ 20 เครื่อง พนักงานไม่ถึง 50 คน โรงงานอยู่ในสภาพไม่ค่อยดีนัก ทว่าการได้ไปใช้ชีวิตในโรงงานแห่งนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดราชบุรีขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ และทำประโยชน์ต่อสังคมรวมถึงโลกใบนี้ด้วย หนึ่งวันในโรงงานพาซาญ่าเริ่มต้นแล้ว เราจะพาไปดูกันว่าเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา PASAYA ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้พลังงานในการผลิตจำนวนมาก และปล่อยมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปรับตัวธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการมีอยู่ของโลกใบนี้  แพศยา ที่หมายถึงความสวย ฉลาด นอกกรอบ และสง่างาม ‘แพศยา’ เป็นคำไทย จำง่าย ทุกชาติออกเสียงตามได้ ชเลจึงเลือกตั้งเป็นชื่อโรงงาน เนื่องจากเขามองเห็นว่าคนที่ถูกด่าด้วยคำนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และมีความสง่างาม ซึ่งตรงกับความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ PASAYA  […]

Eco-friendly Music Festivals 8 เทศกาลดนตรีที่การันตีเรื่องความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายที่ทั่วโลกเริ่มกลับมาจัดอีเวนต์กันได้ตามปกติหลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะโควิด-19 โดยเฉพาะ ‘เทศกาลดนตรี’ หรือ ‘Music Festival’ ที่หลายคนอดใจรอไปสนุกกับเสียงเพลงและกิจกรรมต่างๆ ภายในงานแทบไม่ไหวแล้ว ทว่าการจัดงานเทศกาลดนตรีขนาดใหญ่แต่ละครั้งย่อมมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก ซึ่งกระบวนการดำเนินงานและกิจกรรมของเทศกาลประเภทนี้ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น มลพิษจากการขนส่ง และขยะจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนั้น หากมีการจัดงานเทศกาลดนตรีบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ยังไงก็มีผลต่อความยั่งยืนทางธรรมชาติอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกงานเทศกาลจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Urban’s Pick ครั้งนี้จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจ 8 เทศกาลดนตรีทั่วโลก ที่นอกจากจะมอบความสุขและความสนุกผ่านเสียงดนตรีแล้ว เหล่านี้ยังจัดงานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหลักด้วย  แถมทั้งหมดยังการันตีเรื่องความรักษ์โลก เพราะล้วนได้รางวัลจาก A Greener Festival องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ช่วยให้งานแสดงดนตรีมีความยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาแล้วทั้งนั้น  Terraforma Festival ประเทศ : อิตาลี ช่วงที่จัดแสดง : เดือนกรกฎาคม เริ่มต้นกันที่เทศกาลดนตรีจากประเทศอิตาลี ‘Terraforma Festival’ ที่จัดขึ้นในป่า Villa Arconati นอกเมืองมิลาน เทศกาลนี้ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและพยายามลดผลกระทบจากการก่อสร้างตัวงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์, ใช้หลอดไฟ LED, ใช้ระบบควบคุมน้ำสำหรับฝักบัวและอ่างล้างมือเพื่อลดการใช้น้ำ รวมถึงนำเอาวัสดุส่วนเกินที่เหลือจากการก่อสร้างมาใช้ใหม่เพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น โต๊ะ […]

Coldplay วงป็อปร็อกจากอังกฤษที่ทัวร์คอนเสิร์ตสุดกรีน และผลักดันความยั่งยืนแบบรอบด้าน

ถ้าถามถึงวงดนตรีสากลที่คอเพลงชื่นชอบที่สุด เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยต้องมีชื่อวงป็อปร็อกสัญชาติอังกฤษอย่าง Coldplay ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของลิสต์แน่ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวดนตรีที่มีเมโลดี้สุดยูนีก เนื้อเพลงความหมายลึกซึ้งที่ฟังเมื่อไหร่ก็รีเลตได้ทันที จึงไม่แปลกใจที่ผลงานของ Coldplay ช่วยปลอบประโลมและเยียวยาจิตใจของแฟนๆ ทั่วโลกได้นานถึง 26 ปี แต่ในปี 2022 วงดนตรีระดับโลกเจ้าของ 7 รางวัลแกรมมี่ (Grammy Awards) และ 9 รางวัลบริต (BRIT Awards) ไม่ได้หยุดอยู่แค่การถ่ายทอดความสุขให้แฟนเพลงผ่านเสียงดนตรีเท่านั้น แต่ยังยกระดับตัวเองให้เป็นแนวหน้าของวงการเพลงระดับโลกที่เปลี่ยนทัวร์คอนเสิร์ตให้มี ‘ความยั่งยืน’ และ ‘เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม’ มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  ย้อนไปเมื่อปี 2019 Coldplay ได้ประกาศยกเลิกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตโปรโมตอัลบั้ม Everyday Life เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่โลกของเรากำลังเผชิญ โดยทางวงให้เหตุผลว่าจะใช้ช่วงเวลาที่หยุดพักหาแนวทางการทัวร์คอนเสิร์ตที่ยั่งยืน ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบทางบวกให้สังคม สองปีผ่านไป วงดนตรีจากเมืองผู้ดีคัมแบ็กพร้อมคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ด้วยการประกาศทัวร์คอนเสิร์ตอัลบั้มใหม่ Music of the Spheres World Tour 2022 ที่มีเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงแนวทางที่ส่งเสริมเรื่องความยั่งยืนอีกเพียบ ครอบคลุมเกือบทุกมิติของการจัดคอนเสิร์ตที่วงดนตรีวงหนึ่งจะทำได้ […]

‘เสนาฯ’ จับมือ ‘ฮันคิวญี่ปุ่น’ เปิดโมเดลบ้านพลังงานเป็นศูนย์จากแนวคิด Geo Fit+ ที่เหมาะกับสิ่งแวดล้อมและชีวิตของคนไทย

ในยุคที่ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยมากขึ้นจากปัจจัยเรื่องมลภาวะและสิ่งแวดล้อม ทำให้ฟังก์ชันของ ‘บ้าน’ ต้องเป็นมากกว่าที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ความชอบส่วนตัว ซึ่งนั่นควบรวมถึงความจำเป็นในการออกแบบที่รองรับทุกความต้องการและสถานการณ์ไม่คาดฝันในอนาคต ที่สำคัญตัวบ้านยังต้องช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและสร้างสิ่งแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้คนอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว เพราะเหตุนี้ ‘เสนาดีเวลลอปเมนท์’ จึงจับมือกับพันธมิตรจากญี่ปุ่นอย่าง ‘ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป’ เปิดตัวโมเดล ‘SENA HHP Zero Energy House’ หรือ ‘บ้านพลังงานเป็นศูนย์’ โดยใช้แนวคิด Geo Fit+ นวัตกรรมการออกแบบที่เหมาะกับความต้องการในทุกๆ ด้านของชีวิต เน้นความสะดวกสบาย รวมถึงจัดการพลังงานในบ้านได้ดีขึ้น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าเดิม โดยทางเสนาฯ และฮันคิวญี่ปุ่น จะนำร่อง ‘SENA HHP Zero Energy House’ ด้วย 2 โครงการต้นแบบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว เสนา แกรนด์โฮม บางนา กม. 26 และคอนโดมิเนียม ที่ปรับฟังก์ชันให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย ใส่ใจรายละเอียดรักษ์โลกแบบครบวงจร และมุ่งขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน พร้อมเฉิดฉายในปี 2566  เท่านั้นยังไม่พอ […]

ผักDone แบรนด์กระถางหมักเศษอาหาร DIY ที่อยากเป็นสะพานเชื่อมคนเมืองกับธรรมชาติ

ตามประสาคนเมืองผู้ใช้ชีวิตอยู่กับห้องสี่เหลี่ยม เราโหยหาธรรมชาติเป็นพิเศษในวันที่ใจเหี่ยวเฉา ทุกครั้งที่รู้สึกหมดแรงทำอะไร เสียงน้ำ สายลมแผ่ว และสีเขียวเติมพลังเราได้ในหลายมิติ  ‘นิต้า-มานิตา วิวัฒน์เศรษฐชัย’ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าถอดตำแหน่งเจ้าของแบรนด์สินค้าและบริการจัดการขยะอาหารออกไป ชีวิตของมานิตาก็ยังน่าสนใจสำหรับเราอยู่ดี เพราะหลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านชีวการแพทย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เธอก็ค้นพบว่าสิ่งที่อยากทำไม่ใช่การรักษาโรคภัย แต่เป็นการดูแลตัวเองเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ นั่นคือเหตุผลให้เธอเบนสายมาศึกษาเรื่องอาหาร จิตใจ และสิ่งแวดล้อม มานิตาเข้าไปทำงานในบริษัทเอกชนได้ 3 ปี ก่อนจะลาออกมาใช้ชีวิตของตัวเองโดยไม่อยากพึ่งเงินตรา ความฝันสูงสุดคือการใช้ชีวิตแบบโจน จันได  2 ปีหลังจากนั้น เธอปฏิเสธไม่ได้ว่าเงินคือเครื่องมือหนึ่งในการใช้ชีวิต แต่การจะหาเงินมาอย่างไร นั่นคือคำถาม คำถามนั้นกลายเป็นที่มาให้เธอสร้าง ‘ผักDone’ แบรนด์รักษ์โลกที่มีเป้าหมายในการเชื่อมให้คนเมืองได้เห็นความสำคัญของธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียน ผ่านสินค้าและบริการในการจัดการขยะอาหาร โดยมีสินค้าไฮไลต์เป็นกระถางดินเผาหมักอาหารที่ผู้ใช้งานนำไปหมักแบบ DIY ได้เอง โดยไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ วิธี และกลิ่นเหม็น “เราเห็นความสำคัญของต้นไม้ รู้ว่าการไม่มีมันอยู่เป็นยังไง” เหตุผลในการลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างของคนคนหนึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ แต่สำหรับมานิตา ‘ต้นไม้’ คือคำที่เปลี่ยนมุมมองและรูปแบบการดำเนินชีวิตของเธอ ย้อนกลับไปก่อนหน้าที่เธอจะก่อตั้งผักDone มานิตาในวัยเด็กอาศัยในบ้านหลังเก่าที่ถึงแม้จะตั้งอยู่กลางกรุงเทพฯ แต่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่รกร้างและร่มเงาของต้นจามจุรีข้างบ้าน ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ของเธอจึงผูกโยงกับสีเขียวอย่างแยกไม่ออก “มีต้นจามจุรีต้นหนึ่งอยู่ข้างบ้าน อีกต้นอยู่ด้านหลัง” เธอย้อนความให้ฟัง “มันร่มเย็นมาก ตอนนั้นไม่ได้ Appreciate มัน […]

Forest Green Rovers สโมสรฟุตบอลที่รักโลกพอๆ กับฟุตบอล จนได้เป็นเบอร์ 1 ด้านความยั่งยืนของโลก

ช่วงปลายปีนี้ คอฟุตบอลทั้งหลายคงกำลังตื่นเต้นและตั้งตารอการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ‘ฟุตบอลโลก 2022’ (FIFA World Cup 2022) ซึ่งจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการที่ประเทศกาตาร์ในวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้ โดยที่ผ่านมาก็มีโปรแกรมแข่งขันระดับสูงสุดของอังกฤษอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ (Premier League) ให้แฟนบอลยอมอดหลับอดนอน เฝ้าหน้าจอเพื่อลุ้นเอาใจช่วยทีมโปรดกันแบบตัวโก่ง หลายๆ คนคงรู้จักสโมสรดังๆ ในพรีเมียร์ลีกอยู่แล้ว แต่วันนี้ Urban Creature อยากพาทุกคนขยับไปยังดิวิชันที่เล็กลงมาอย่าง ‘อีเอฟแอลลีกวัน’ (EFL League One) เพื่อทำความรู้จักกับสโมสร ‘Forest Green Rovers (FGR)’ ที่นอกจากเป็นทีมฟุตบอลเก่าแก่อายุกว่า 133 ปี ที่นี่ยังได้รับการรับรองให้เป็น ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดในโลก’ โดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ รวมถึง ‘สโมสรฟุตบอลที่เป็นกลางทางคาร์บอนแห่งแรกของโลก’ โดยสหประชาชาติ Forest Green Rovers ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมเกือบทุกมิติ ตั้งแต่ตัวสนามฟุตบอลที่ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ เมนูอาหารที่เป็นวีแกนทั้งหมด จนถึงเสื้อนักกีฬาที่ผลิตจากกากกาแฟ ที่สำคัญ ทีมฟุตบอลเล็กๆ จากเมือง Nailsworth […]

Sustainable Market Event จัดอีเวนต์อย่างไรให้ยั่งยืนและดีต่อโลก

เข้าสู่ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลายคนคงเริ่มเห็นอีเวนต์ต่างๆ จัดขึ้น เตรียมให้เราได้ไปเดินเล่นและร่วมสนุกกันแทบทุกสัปดาห์ ซึ่งอีเวนต์ที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็น ‘Market Event’ ที่มีทั้งโซนขายของ โซนอาหาร มาพร้อมสินค้าที่หลากหลายและน่าสนใจตามธีมของแต่ละงาน ทว่าการจัดอีเวนต์แต่ละครั้ง ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งนั้น ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การสร้างขยะภายในงาน การใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง มลภาวะจากการเดินทาง ฯลฯ เพราะกังวลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในอนาคต หลายอีเวนต์ทั่วโลกจึงเริ่มตระหนักถึงความรับผิดชอบในมิติสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ ‘ความยั่งยืน’ กลายเป็นอีกโจทย์สำคัญของผู้จัดงานต่างๆ ว่าจะมีวิธีและทิศทางการจัดงานแบบไหนบ้าง ที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คอลัมน์ Urban Sketch วันนี้จึงขอจำลองวิธีการจัด Sustainable Market Event ที่ทุกคนยังคงเพลิดเพลินกับกิจกรรมได้เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแนวทางเรื่องความยั่งยืน สำหรับจัดอีเวนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน 1) บูททำจากวัสดุธรรมชาติ ลดการใช้อุปกรณ์ยึดโครง– Market Event คือการรวมตัวของบูทร้านค้ามากมาย ซึ่งปกติแล้วโครงสร้างของบูทจะทำจากเหล็กหรืออะลูมิเนียม แต่เพื่อให้ตัวงานเกิดความยั่งยืนมากขึ้น เราจึงเปลี่ยนมาใช้โครงสร้างที่ทำจากไม้ทั้งหมด และเลี่ยงการใช้ตะปูหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวไม้ เมื่อจบงานแล้วก็สามารถถอดเก็บไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งในอนาคต  2) ใช้ป้ายลบได้เพื่อเก็บไว้ใช้ซ้ำ – ยกเลิกการใช้ป้ายต่างๆ ภายในงาน เช่น […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.