Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

ชวนดูสารคดี I AM GRETA และพูดคุยประเด็นวิกฤตโลกร้อนใน 3 จังหวัดทั่วไทย ส.ค. – ก.ย. 65

ใครที่สนใจประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เราขอชวนทุกคนไปเปิดมุมมองใหม่และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านกิจกรรม ‘CCCL Film Tours 2022’ ในเทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน (CCCL Film Festival) โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน Canada Fund for Local Initiatives (CFLI)  ภายในงานจะจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘I AM GRETA’ ที่บอกเล่าเรื่องราวของ ‘เกรียตา ทุนแบร์ย’ นักเคลื่อนไหวทางด้านสภาพภูมิอากาศชื่อดังของโลก ผ่านฟุตเทจทั้งมุมที่แข็งแกร่งและอ่อนไหวของเธอ ซึ่งไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน เราเชื่อว่าการออกมาเรียกร้องและแสดงจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนของเกรียตาจะสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนทั่วโลกลุกขึ้นมาเรียกร้องให้สังคมและรัฐบาลทั่วโลกตระหนักต่อความสำคัญของวิกฤตโลกร้อน นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสนทนาประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติต่างๆ ร่วมกับเยาวชน คนทำหนัง รวมไปถึงผู้ขับเคลื่อนสังคมด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิทธิมนุษยชน เพื่อสะท้อนเสียงของกลุ่มคนหลากหลายในสังคมต่อประเด็นนี้ CCCL Film Tours 2022 จัดขึ้นระหว่างช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2565 ใน 3 จังหวัดทั่วไทย ได้แก่ 20 สิงหาคม 2565 ที่ Punspace Tha Phae Gate จังหวัดเชียงใหม่27 […]

บินลัดฟ้ากับ 8 สนามบินดีไซน์ล้ำที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม

ช่วงนี้เรารู้สึกว่าบรรยากาศการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง เข้าโซเชียลมีเดียทีไรก็ต้องเห็นเพื่อนๆ และคนรอบตัวแพ็กกระเป๋า เช็กอินสนามบิน โบกมือลาด้วยเอเนอร์จีตื่นเต้น ก่อนจะบินลัดฟ้าไปเที่ยวต่างจังหวัด หรือบางคนก็ไปไกลถึงต่างประเทศ ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการบินที่กลับมาฟื้นตัวในรอบหลายปีถือเป็นสัญญาณดีว่าภาคธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้ง แต่ถ้ามองในแง่สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมการบินนั้นโดนวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านอย่างหนักจากหน่วยงานและนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมานานหลายปีแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในวงการที่ทำให้โลกของเราเผชิญ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ ที่เป็นแบบนั้นเพราะ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกมาจากอุตสาหกรรมนี้ และเมื่อรวมก๊าซอื่นๆ บวกกับไอน้ำสีขาวที่เครื่องบินพ่นออกมา ซึ่งมีส่วนทำโลกเผชิญภาวะโลกร้อนมากถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ทำให้คนจำนวนไม่น้อยหันมาแบนการเดินทางด้วยเครื่องบิน และเลือกที่จะเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ อย่างรถไฟแทน เพื่อแสดงจุดยืนและตอบสนองต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้น  ถึงอย่างนั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเดินทางด้วยเครื่องบินยังคงเป็นตัวเลือกที่คนส่วนใหญ่มองว่าจำเป็น คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปสำรวจสนามบินจากทั่วทุกมุมโลกที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และพยายามดีไซน์พื้นที่ ติดตั้งอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหามลพิษและร่วมสร้างโลกที่ยั่งยืน 01 | Dock A at Zurich Airport สนามบินแห่งแรกที่เราอยากพาไปสำรวจก็คือ ‘Zurich Airport’ ตั้งอยู่ที่เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สนามบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1948 แต่ในปี 2032 ที่นี่กำลังจะเปิดอาคารผู้โดยสาร (Terminal) แห่งใหม่ชื่อว่า […]

ต่อจากนี้ จะไม่มีขวดเขียวอีกต่อไป Sprite เปลี่ยนเป็นขวดใสอย่างถาวร หวังสนับสนุนแนวคิดความยั่งยืน

เมื่อช่วง 2 – 3 ปีที่แล้ว หลายคนคงเห็นการเปลี่ยนแปลงของเครื่องดื่มน้ำใสซ่า ‘สไปรท์’ (Sprite) ที่ออกบรรจุภัณฑ์แบบใหม่เป็นขวดใส ไม่มีสี จากเดิมที่ใช้ขวดสีเขียวมาตั้งแต่ปี 1961 จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของน้ำอัดลมแบรนด์นี้ไปแล้ว ในปีนี้ บริษัทผู้ผลิตอย่าง Coca-Cola ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมเป็นต้นไป สไปรท์จะเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวที่ใช้มานานกว่า 60 ปีอย่างถาวร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์ใสที่นำไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น การเปลี่ยนโฉมขวดใหม่นี้จะเริ่มในประเทศสหรัฐอเมริกากับแคนาดา และภายในสิ้นปีนี้ ในตลาดกว่า 70 ประเทศก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าขวดใสจะยังคงคาดด้วยฉลากสีเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ของสไปรท์ ควบคู่กับข้อความ ‘Recycle My’ หรือ ‘รีไซเคิลฉันสิ’ ‘Julian Ochoa’ แห่ง R3cycle หนึ่งในบริษัทรีไซเคิลที่ทำงานร่วมกับ Coca-Cola บอกว่าการนำสีเขียวออกจากการผลิตขวดนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้คุณภาพวัสดุรีไซเคิลดีขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลของบรรจุภัณฑ์ให้สูงขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีกลุ่มนักสิ่งแวดล้อมมองว่าปัญหาของขวดสไปรท์ไม่ใช่เรื่องสี แต่เป็นวัสดุพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งมากกว่า เนื่องจาก Coca-Cola ผลิตขวดพลาสติกมากกว่า 1 แสนล้านขวดต่อปี และเป็นหนึ่งในผู้ผลิตขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเปลี่ยนขวดบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้เป็นการทำตามวิสัยทัศน์ World Without Waste […]

‘จักรวาฬ’ ผลกระทบที่วาฬบรูด้า ได้รับจากน้ำมือมนุษย์

ผลงานชุด ‘จักรวาฬ’ เป็นผลงานภาพถ่ายสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่วาฬได้รับจากมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงต้องการถ่ายทอดภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งสิ่งแวดล้อมในทะเลอ่าวไทย ที่ได้รับความเสียหายไม่แพ้กัน 

ชีวิตใหม่ของรองเท้าสกีถูกทิ้ง FREITAG ทำเคส 𝗶Phone ด้วยขยะรองเท้าสกีจากเมืองสกีโลก

FREITAG แบรนด์สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนัก Upcycle ตัวฉมังแห่งวงการแฟชั่น และด้วยความที่มีจุดกำเนิดในเมืองแห่งสกีอย่างสวิตเซอร์แลนด์ ครั้งนี้ FREITAG ก็มีโปรเจกต์ใหม่ที่ไม่ทิ้งตัวตนเดิม ‘รองเท้าสกี’ ขยะจัดการยากคือปัญหาหนึ่งของ Davos เมืองสกีรีสอร์ตที่ใหญ่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูก FREITAG นำกลับมาชุบชีวิตใหม่ให้กลายเป็นคอลเลกชันเคสมือถือดีไซน์เท่ที่มีชื่อว่า ‘𝗙𝟯𝟴𝟱 𝗖𝗜𝗥𝗖-𝗖𝗔𝗦𝗘’  แต่ก่อนจะเป็นเคส 𝗙𝟯𝟴𝟱 𝗖𝗜𝗥𝗖-𝗖𝗔𝗦𝗘 จากรองเท้าสกีต้องผ่านขั้นตอนหลากหลาย เริ่มตั้งแต่การที่ FREITAG ร่วมมือกับพันธมิตรในพื้นที่จัดเก็บรองเท้าสกีเก่าๆ ที่นักท่องเที่ยวทิ้งไว้ในเมือง Davos แล้วแยกส่วนยางเทอร์โมพลาสติกโพลียูรีเทน (Thermoplastic Polyurethane) มาบดชิ้นเล็กๆ แล้วจึงหล่อขึ้นรูปใหม่ให้เป็นตัวเคส การใช้วัสดุ Upcycled กลายเป็นความยูนีกที่ทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีสีสันลวดลายที่ต่างกันออกไป จนเป็นดีไซน์เฉพาะตัวแบบชิ้นเดียวในโลก แถมยังมีไอเทมเสริมเป็นซองขนาดกะทัดรัด (𝗙𝟯𝟴𝟬 𝗝𝗨𝗦𝗧𝗜𝗡) ที่ทำมาจากผ้าใบคลุมรถบรรทุก สำหรับใส่บัตร แบงก์ สิ่งของกระจุกกระจิก ฯลฯ พกพาสะดวก และยังดีไซน์ให้สามารถนำไปประกอบร่างใช้กับตัวเคสได้อีกด้วย ครั้งหนึ่ง ผ้าใบรถบรรทุก, เข็มขัดนิรภัย, ยางในจักรยาน ยังถูกเอามาเย็บเป็นกระเป๋าที่ขายดีไปทั่วโลกได้ ครั้งนี้ FREITAG ก็ยังยึดมั่นในวิถีแห่งความยั่งยืนด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ จากรองเท้าสกีให้กลายมาเป็นเคสป้องกันโทรศัพท์มือถือ […]

สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นลดใช้พลาสติก เลิกใช้ฝาและใช้แก้วสำหรับดื่มในร้าน เริ่ม 18 เม.ย. 65 กว่า 113 สาขา

ปีนี้สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเอาจริงกับการลดพลาสติกแล้วนะ! สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศมาตรการใหม่ 4 ข้อในการลดใช้พลาสติกในร้าน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการลดขยะลงจากเดิมให้ได้ถึง 50% ภายในปี 2030 โดยจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ เพื่อลดจำนวนขยะประเภทถ้วย ฝาปิด และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งให้ได้มากที่สุด  มาตรการ 4 ข้อในการลดขยะของสตาร์บัคส์ญี่ปุ่น มีดังนี้1. เสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นด้วยแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน2. เครื่องดื่มเย็นสำหรับสั่งกลับบ้านจะเสิร์ฟแบบไม่มีฝาพลาสติก3. บางสาขาจะมีบริการให้ ‘เช่า’ กระบอกน้ำแบบใช้ซ้ำได้4. ช้อนส้อมจะเปลี่ยนเป็นแบบใช้ซ้ำได้ และมีแบบที่ทำจากวัสดุจากพืช 100% ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 106 แห่งในญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นในแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน โดยจำหน่ายสำหรับขนาด Small และ Tall (บริการนี้รวมเมนูปั่นด้วย) ส่วนขนาด Grande และ Venti จะมีให้เลือกแค่บางสาขาเท่านั้น แต่หากลูกค้าท่านใดต้องการใช้แก้วแบบใช้แล้วทิ้งก็ยังสามารถขอพนักงานได้ตามปกติ  นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 65 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 113 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเครื่องดื่มเย็นโดยไม่แจกฝาพลาสติก (ยกเว้นเครื่องดื่มสำหรับเด็ก) โดยมาตรการนี้จะนำไปใช้กับเครื่องดื่มเย็นทั้งหมด […]

บันทึกหาด (แม่) รำพึง เมื่อน้ำมันรั่วกลางทะเล

เย็นวันที่ 29 มกราคม 2565  “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพิ่งจะฟื้นตัวจากโควิด นี่มาน้ำมันรั่วอีก ทำไมอะไรๆ มันก็เข้ามาที่ระยอง” ป้าเจ้าของร้านอาหารทะเลเอ่ยเบาๆ ขณะยืนมองกลุ่มคนใส่ชุด PPE สีขาวกำลังทำความสะอาดคราบน้ำมันบริเวณชายหาดแม่รำพึง ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ออกจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เวลาประมาณสามทุ่มเศษๆ เกิดเหตุการณ์ ‘น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบเดี่ยวกลางทะเล’ หรือเรียกง่ายๆ ว่า จุดขนถ่ายน้ำมันกลางทะเล ของบริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด มหาชน (SPRC) และจากการคาดการณ์ทิศทางเคลื่อนตัวของคราบน้ำมันของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วยวิธีการ Oilmap ว่าคราบน้ำมันจะเข้ามาถึงฝั่งในวันที่ 28 มกราคม ที่บริเวณชายหาดแม่รำพึง เมื่อข่าวการรั่วของน้ำมันเป็นที่รับรู้ของชาวบ้าน และชาวประมงพื้นบ้านในบริเวณใกล้เคียงในวันรุ่งขึ้น แม่ค้าขายส่งหมึกในพื้นที่เล่าว่า “ลูกค้าประจำโทรมาถามแล้วว่าหมึกเอามาจากไหน ถ้าเป็นหมึกจากระยองต้องขอยกเลิกก่อน มันจะเหมือนน้ำมันรั่วคราวก่อนปี 56 ไหม ที่ชาวประมงออกไปหาปู หาปลา ไม่ได้ ถึงหามาได้ก็ไม่มีคนกล้าซื้อหรือกล้ากิน […]

เข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมฟรีๆ ผ่าน WaterBear เว็บสตรีมมิงฉายหนัง-สารคดีสิ่งแวดล้อม พร้อมชี้ช่องทางสนับสนุนแคมเปญดูแลโลก

ถ้าอยากเข้าใจปัญหาและวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ไหน เราจะพาทุกคนมารู้จักกับ WaterBear แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมสื่อและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมเอาไว้อย่างรอบด้าน WaterBear คือบริการสตรีมมิงอินเตอร์แอ็กทีฟน้องใหม่ที่รวบรวมภาพยนตร์ สารคดี และคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับโลกใบนี้ ตั้งแต่เรื่องภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืน วัฒนธรรม ไปจนถึงชุมชนต่างๆ  เนื้อหาที่อยู่บน WaterBear ถูกแบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ได้แก่ ภาพยนตร์และสารคดีที่ได้รับรางวัล หนังนอกกระแส หนังสั้น และ ‘WaterBear Originals’ ซีรีส์ที่ทาง WaterBear ลงทุนและผลิตเอง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ‘แผนการพัฒนาโลกเพื่อความยั่งยืน’ (SDGs) ของสหประชาชาติ ที่ให้ความสำคัญเรื่อง ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ‘ภูมิอากาศ’ ‘วัฏจักร’ และ ‘ชุมชน’  ผู้ชมสามารถเลือกรูปแบบและประเภทของเนื้อหาได้ตามความสนใจ ที่สำคัญ หนังและสารคดีทั้งหมดบน WaterBear กว่า 800 เรื่องยังเปิดให้รับชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากดูภาพยนตร์จบ ผู้ชมสามารถกดแถบ ‘Connect’ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นนั้นๆ ได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น หรือจะกดแชร์ภาพยนตร์และสารคดีไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเอง เพื่อให้คนรอบตัวตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ก็ได้เช่นกัน WaterBear […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

FYI

ผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่มีแต่ความคิดถึง | FYI

“เมื่อเราคิดถึงลูกค้า คิดถึงชุมชน คิดถึงสิ่งแวดล้อม เราจึงเลือกสิ่งนี้ออกมา” ผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก ออร์แกนิกเป็นสารอินทรีย์ จะช่วยให้ดิน น้ำ อากาศปลอดภัย ชุมชนเกษตรก็มีรายได้

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.