เซฟเก็บไว้อ่านยามน้ำท่วม หนังสือ ‘คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด’ เปิดให้อ่านและดาวน์โหลดทางออนไลน์

ในช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายๆ บ้านน่าจะประสบปัญหาฝนสาดน้ำท่วมกันอยู่บ่อยๆ ซึ่งถ้าท่วมน้อยๆ แป๊บๆ แล้วน้ำลดก็คงไม่เป็นอะไร แต่บางบ้านไม่ใช่แบบนั้น เพราะต้องขนข้าวของขึ้นที่สูง อยู่กับน้ำท่วมเกือบครึ่งตัว และระบบต่างๆ ในบ้านใช้การไม่ได้เลย แต่เมื่อสถานการณ์กลับมาดีขึ้น น้ำลดลง ปัญหาที่ตามมาต่อคือ แล้วจะทำยังไงกับบ้านและทรัพย์สินของเราที่เสียหาย สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำ คู่มือจัดการบ้านหลังน้ำลด มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 และนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกและประชาชนที่สนใจในรูปแบบออนไลน์ การเรียงลำดับหัวข้อเนื้อหาในเล่มจะเริ่มจากเรื่องที่สำคัญที่สุดไปยังสำคัญน้อยที่สุด โดยแนวทางและวิธีการที่นำเสนอนั้นเป็นหลักการเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนใช้เป็นหลักการเตรียมตัวและดำเนินการ เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม การดำเนินการ การจัดการระบบไฟฟ้า ตรวจสอบโครงสร้างบ้าน การทำความสะอาด ระบบสุขาภิบาล ประตู หน้าต่าง พื้น ผนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ และต้นไม้ อ่านและดาวน์โหลดได้ที่ asa.or.th/handbook/home-affter-flood

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

คุยเรื่องผังเมืองกับ รศ. ดร.นพนันท์

กรุงเทพฯ เมืองเทพสร้างที่มีปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นรถติด น้ำท่วม ซอยตัน และไม่มีทีท่าว่าปัญหาเหล่านี้จะหายไปสักที อาจเพราะเทพไม่ได้ร่างแผนผังเมืองไว้ก่อน “ปัญหาของเราคือขาดช่วงของการทำงานด้านผังเมืองในช่วงที่มันมีการเติบโตสูงที่สุดของกรุงเทพฯ” Urban Creature คุยกับ รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ ถึงความสำคัญของผังเมืองและต้นตอของปัญหาที่เกิดขึ้นมากมายจนสะท้อนไปถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทย อ่านในรูปแบบบทความได้ที่ : urbancreature.co/city-plan-with-noppanan/

คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

The Bliss Sofa โซฟาชูชีพที่ไม่ได้ออกแบบให้นั่งสบาย แต่ให้ตระหนักถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

‘โซฟา’ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างความรู้สึกที่แสนสบายเวลานั่งหรือนอนเหยียดอย่างเต็มตัว แต่ถ้าให้นึกถึงการอยู่บนโซฟาระหว่างที่ลอยอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมก็คงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่น่าอภิรมย์เท่าไหร่นัก แถมโซฟาทั่วไปก็อาจจะจมน้ำไปก่อน ไม่สามารถเป็นที่พึ่งพิงให้กับเจ้าของได้ เพราะเหตุนี้ ‘Mother’ บริษัทครีเอทีฟที่มีสาขาทั้งในลอนดอนและนิวยอร์กจึงเปิดตัว ‘The Bliss Sofa’ ชุดโซฟาลอยน้ำได้ที่มาพร้อมกับมาตรวัดระดับน้ำ ไฟฉุกเฉินในที่วางแขน และไม้พายที่เก็บไว้ในพนักพิงไม้ ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่อยากเปลี่ยนโซฟาให้เป็นแพชูชีพได้ ดังนั้นโซฟาชุดนี้จึงหุ้มด้วยผ้า Sunbrella กันน้ำสีส้ม มาพร้อมกับสายรัดอเนกประสงค์สีดำแบบเดียวกันกับเสื้อชูชีพที่เราคุ้นตากัน หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ตัวเบาะที่ไม่ได้ยึดติดกับฐานไม้รีไซเคิลจะสามารถเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์ลอยน้ำได้ แถมตัวโซฟาชุดนี้ยังมาพร้อมกับเก้าอี้ทรงเหลี่ยมเข้าชุดที่สามารถเปิดออกและใส่สิ่งของต่างๆ อย่างเช่นอุปกรณ์ทำค็อกเทลสำหรับจิบระหว่างรอน้ำลดก็ได้ ‘Paul Malmstrom’ ผู้ก่อตั้ง Mother กล่าวว่า โซฟาชุดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีรายได้สูงที่ต้องการนั่งเอนหลังพักผ่อนเมื่อน้ำมา แม้ว่า Bliss จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมถึงคู่มือแนะนำเชิงเสียดสีว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อกระตุ้นให้รู้สึก ‘ผ่อนคลาย’ ในขณะที่ลอยอยู่ในน้ำ แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้ต้องการให้ใครที่ได้ใช้โซฟารู้สึกผ่อนคลายระหว่างใช้งานจริงๆ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเฟอร์นิเจอร์ที่ดูเหนือจินตนาการชุดนี้คือผลงานส่วนหนึ่งจากงาน New York Design Week ที่ออกแบบเพื่อเหน็บแนมไปพร้อมๆ กับสร้างความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในปัจจุบัน ทางบริษัท Mother มีแผนที่จะวางขาย The Bliss Sofa และจะนำรายได้บางส่วนไปบริจาคให้กับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติอีกด้วย Source :Dezeen | tinyurl.com/mryztcf3

#SAVEUBON ระดมทุนและส่งของช่วยผู้ประสบภัยในอุบลราชธานี เจอน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 44 ปี

ตอนนี้ที่จังหวัดอุบลราชธานีกำลังประสบภัยน้ำท่วมหนักอีกครั้ง โดยปีนี้อุบลฯ น้ำท่วมหนักกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา และถือเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 44 ปี โดยสถานการณ์ฝนตกหนักและพายุรุนแรง ทำให้น้ำสูงขึ้นจนเส้นทางในหลายพื้นที่ถูกตัดขาด ผู้คนจำนวนมากได้ขอความช่วยเหลือและอัปเดตข้อมูลน้ำท่วมผ่านทางแฮชแท็ก #น้ำท่วมอุบล จนขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับหนึ่งเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา น้ำท่วมครั้งนี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่อย่างมาก บ้านเรือนหลายหลังได้รับความเสียหาย ในบางอำเภอน้ำท่วมบ้านทั้งหลังจนมิดหลังคา และสถานการณ์ยังมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการเปิดระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดอุบลราชธานีหลายช่องทาง ดังนี้ ศูนย์น้ำมิตร Nammit Centre 869-238118-7 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เครือข่ายเภสัชกร จังหวัดอุบลราชธานี 321-0-12970-3 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนชยางกูร สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 869-249758-0 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หรือหากใครสะดวกก็สามารถร่วมบริจาคเป็นสิ่งของร่วมกับทางศูนย์น้ำมิตร, UBU Save Ubon, องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และสโมสรนักศึกษาทุกคณะของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เช่นกัน สามารถนำของไปบริจาคได้จนถึงวันที่ 14 ตุลาคมนี้ ที่บริเวณ 2 จุด ได้แก่  ศูนย์น้ำมิตร ณ โถงโรงละคร […]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

ฝนตก รถติด รู้ก่อน เลี่ยงได้ เช็กการจราจรแบบเรียลไทม์ผ่านกล้องวงจรปิดของ กทม.

ช่วงนี้ชาวกรุงเทพฯ ต้องเผชิญกับมรสุมฝนตกหนักต่อเนื่อง จนหลายพื้นที่กลายเป็นทะเลกรุงเทพฯ ไปแล้ว จะกลับบ้านตอนเย็นทีไร ก็ต้องตามอ่านสถานการณ์จากในออนไลน์ หรือไปเสี่ยงดวงระหว่างทางว่าวันนี้รถจะติด ฝนจะตก หรือน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหนทุกที วันนี้เราเลยอยากแนะนำอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้วางแผนการเดินทางในแต่ละวันได้ง่ายขึ้น ผ่านกล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งตามท้องถนนและทางแยกในกรุงเทพฯ  เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ www.bmatraffic.com หรือแอปพลิเคชัน @CCTVBANGKOK ของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร แล้วเลือกกล้องวงจรปิดในถนนส่วนที่ต้องการเห็นภาพการจราจร แค่นี้ก็จะเช็กภาพสถานการณ์ที่แสดงผลแบบเรียลไทม์จากบริเวณดังกล่าวได้แบบฟรีๆ ถึงแม้ว่าภาพที่ได้จะไม่ได้คมชัดถึงขั้นมองเห็นเลขทะเบียนรถ แต่อย่างน้อยก็เพียงพอให้เห็นถึงสถานการณ์จราจร และสภาพน้ำท่วมได้แบบคร่าวๆ เพื่อวางแผนเส้นทางกลับบ้านได้ นอกจากนี้ ภาพจากกล้องวงจรปิดยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนที่ต้องการหลักฐานอีกด้วย เพราะปัจจุบันทางกรุงเทพฯ เปิดให้ผู้ที่ต้องการข้อมูลขอไฟล์ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันได้ฟรี โดยจะได้รับไฟล์ภาพภายใน 24 ชั่วโมง ดาวน์โหลดไฟล์ภาพได้ไม่เกินระยะเวลา 7 วันหลังเกิดเหตุ และขอข้อมูลได้ไม่เกินครั้งละ 6 กล้อง รวมเวลาไม่เกิน 3 ชั่วโมง หากกรณีที่ต้องการไฟล์ภาพมากกว่า 3 ชั่วโมงขึ้นไปหรือไฟล์ต้นฉบับ สามารถขอได้ที่ศูนย์ CCTV ทั้ง 13 แห่ง ตลอด 24 ชั่วโมง เรียกว่าเป็นขั้นตอนที่สะดวกขึ้นมาก เนื่องจากเดิมทีต้องใช้เวลานานถึง […]

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง

Traffy Fondue เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมจากข้อมูลผู้ใช้งานในพื้นที่จริง พี่วินมอเตอร์ไซค์ปากซอยทำนายว่าฝนจะถล่มลงมาช่วงเย็น ถ้าคำทำนายของพี่วินฯ เป็นจริงนั่นเท่ากับว่าคนกรุงเทพฯ ในเมืองชีวิตดีๆ ที่ลงตัว จะต้องเลิกงานลงมาเจอกับห่าฝนที่ต่อให้ตกต่อเนื่องไม่ถึงชั่วโมงน้ำก็ท่วมถึงหัวเข่า รถราบนท้องถนนติดแจ บางคนอาจต้องรอรถเมล์จนยืนร้องไห้ บ้างอาจต้องใช้เงินแก้ปัญหาเพื่อจะได้กลับบ้านไปพักผ่อนไวๆ หลังเจองานหนักหน่วงช่วงกลางสัปดาห์ ดูแล้วปัญหาฝนตกน้ำท่วมน่าจะยังไม่มีทางจบสิ้นในเร็ววัน แต่อย่างน้อยหนึ่งในวิธีที่จะช่วยทุเลาปัญหานี้ไปได้ก่อนระหว่างฤดูฝน นั่นคือการใช้ฟีเจอร์ใหม่ของ ‘Traffy Fondue’ แพลตฟอร์มสีน้ำตาลคู่ใจชาวเมือง ฟีเจอร์ที่ว่านี้ทำให้เราสามารถติดตามสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างทันท่วงที โดยใช้ข้อมูลของผู้ใช้งานที่แจ้งระบบเข้ามาในรัศมี 500 เมตร ภายในเวลา 6 ชั่วโมงก่อนหน้า มาแสดงผลเพื่อให้พวกเราวางแผนการเดินทางจากบ้านหรือที่ทำงานได้ เรียกว่าร่วมด้วยช่วยกันเพื่อไม่ให้ต้องเอามือพายเรือระหว่างทาง แถมลดโอกาสเสี่ยงเท้าราน้ำอีกด้วย วิธีตรวจสอบน้ำท่วมนั้นก็แสนสะดวก เริ่มจาก Add LINE เพิ่มเพื่อนที่ bit.ly/3BC4uWI จากนั้นมองหาไอคอนรูปบ้านโดนน้ำท่วมสีเขียวด้านล่าง เพื่อขอตรวจสอบน้ำท่วม โดยส่งพิกัดที่อยากรู้และรอผล หรือหากอยากแจ้งปัญหาอื่นๆ เช่น ต้นไม้ล้ม เสาไฟหัก ก็ทำได้ด้วยการเลือกไอคอนสีเหลือง ‘แจ้งเรื่องใหม่’ ได้เลย ติดตามความคืบหน้าของการรายงานปัญหา หรือเข้าไปแจ้งปัญหาเส้นเลือดฝอย รวมถึงดูคู่มือการใช้งาน Traffy Fondue ได้ที่ https://www.traffy.in.th/

ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมฉับพลัน ทำไมระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของไทยถึงน้ำไม่ท่วม

ที่ผ่านมา หลายคนคงได้เห็นข่าวที่ฝนตกหนักจนน้ำท่วมเข้าไปในระบบรถไฟฟ้าของหลายประเทศ เช่น จีน อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และล่าสุดคือกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ที่ชาวเน็ตพากันแชร์คลิปน้ำท่วมไหลบ่าจากพื้นดินสู่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ไปจนถึงสิ่งก่อสร้างภายในที่ได้รับความเสียหายจากน้ำที่ซึมผ่านเข้ามา เห็นเหตุการณ์แบบนี้ เราเลยสงสัยว่าไทยเองก็น้ำท่วมบ่อย แถมเมื่อปี 2554 กรุงเทพฯ เองก็เจอน้ำท่วมใหญ่นานเป็นเดือนๆ จนหลายคนถึงขนาดต้องทิ้งบ้านทิ้งรถหนีน้ำย้ายไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว แล้วระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) บ้านเราเป็นยังไงบ้างนะ จะโดนน้ำท่วมหรือได้รับผลกระทบแบบที่ประเทศอื่นเจอหรือไม่ หลังจากหาข้อมูลและสอบถามคนกรุงเทพฯ รอบตัว ผลปรากฏว่า ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินบ้านเราไม่เคยมีน้ำท่วมแบบที่ต่างประเทศประสบเลย นั่นเพราะ MRT ไทยมีมาตรการและระบบป้องกันน้ำท่วมที่ออกแบบมาแล้ว ทำให้ไม่ว่าจะฝนตกหนักแค่ไหน หลายพื้นที่ประสบน้ำท่วมจนต้องดับรถ เดินลุยน้ำสูงระดับเอว ผู้ใช้งานที่ติดอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน จะไม่ประสบกับน้ำท่วมไหลบ่าเข้ามาในสถานีจนเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนไปดูเบื้องหลังมาตรการความปลอดภัยของ MRT ในไทย ว่าทำไมเราถึงไม่ต้องกังวลว่าจะประสบภัยแบบที่ต่างประเทศพบเจอ ก่อนอื่นชวนมาทำความเข้าใจก่อนว่า ด้วยความที่กรุงเทพฯ มักประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่บ่อยๆ ทำให้ระบบรถไฟฟ้า MRT มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและป้องกันน้ำท่วมภายในสถานีกับอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไว้ตั้งแต่แรกแล้ว โดยใช้ค่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีของกรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์ในการออกแบบทางเข้า-ออก และช่องเปิดต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า  การยกระดับทางเข้า-ออกสถานี ปล่องระบายอากาศ และช่องเปิดต่างๆ MRT […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.