
LATEST
บางเรื่องของ ‘บางโพ’ ชุมชนช่างไม้หลากหลายที่สุดในกรุงเทพฯ
‘บางโพ’ ย่านที่หลายคนในกรุงเทพฯ ต่างจดจำได้ ในฐานะย่านที่มีสาวคิ้วโก้ หน้ากลม ผมยาว แต่ในอีกมุม บางโพถือเป็นชุมชนเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ ยาวนานในฐานะ ‘ย่านค้าไม้’ ที่เป็นที่นิยมที่สุดยุคหนึ่งในกรุงเทพฯ ปัจจุบันบางโพปรับตัว เพิ่มเอกลักษณ์ให้กับตัวเอง เป็นย่านสร้างสรรค์ที่อยากเชิญชวนทุกคนที่มีห้องหรือบ้านในฝัน และมองหาเฟอร์นิเจอร์ไม้หลากหลายรูปแบบมาเลือกหาสินค้าประจำย่าน ที่รับรองได้เลยว่า ย่านค้าไม้แห่งนี้ ‘โก้’ ไม่แพ้สาวบางโพจริงๆ บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
Work แบบไม่ไร้ Balance ด้วย ‘YAZAK’ ตัวช่วยกำหนดเวลา ว่าควรหยุดพักการทำงานตอนไหน
มนุษย์ออฟฟิศบางคนอาจจะจัดการ Work ให้ Balance ไม่ได้ จนต้องเก็บเอางานกลับมาทำที่บ้านในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งหากไม่สามารถกำหนดเวลาได้ ก็อาจทำให้การทำงานล่วงเลยไปจนกินเวลาพักผ่อน และอาจทำให้การทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพด้วย ดีไซเนอร์ชาวเกาหลีใต้ Jiye Lee, Seoyeong Jang, Junhong Yang, Taeyoon Kim, Jeongeun Kim ร่วมมือกันออกแบบ ‘YAZAK’ เซตอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้การทำงานในตอนกลางคืนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เซตอุปกรณ์นี้ประกอบไปด้วย ‘TEMPO’ ที่เป็นทั้งโคมไฟและนาฬิกาจับเวลา ที่ด้านข้างของตัวโคมไฟจะมีแสงไฟที่ค่อยๆ หรี่แสงลงเรื่อยๆ จนหมดหลอด เมื่อเส้นแสงไฟนี้ถึงจุดสิ้นสุดเมื่อไหร่ โคมไฟก็จะดับตัวเองลง เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้หยุดพักการทำงาน ‘Dodule’ ตัวกำหนดเวลาที่มาในลักษณะของกองแผ่นดิสก์ ซึ่งแต่ละแผ่นนั้นใช้กำหนดเวลาในการทำงานได้ โดยอุปกรณ์จะบอกผ่านลูกบอลที่หมุนวนด้านบนว่าจะต้องใช้เวลาและเหลือเวลาเท่าไรในการทำงานนั้นๆ หรือใครที่ดื่มน้ำน้อยก็มี ‘Plop’ อุปกรณ์รองแก้วที่จะคอยบอกเราว่าถึงเวลาดื่มน้ำเมื่อไร เพียงแค่ดันลูกบอลตรงเสาข้างที่รองให้ลงไปจนสุด และปล่อยให้ลูกบอลนั้นค่อยๆ ลอยขึ้นช้าๆ ตามเวลา เมื่อถึงจุดบนสุดของเสาเมื่อไร นั่นแปลว่าถึงเวลาหยุดพักดื่มน้ำสักแก้วแล้วนั่นเอง ปัญหาออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นจากการนั่งทำงานที่ไม่ถูกท่า ‘BITLE’ เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยบอกว่าลักษณะการนั่งของเรานั้นถูกต้องหรือไม่ จากการใช้เซนเซอร์ตรวจจับร่างกาย หากไม่ถูกต้อง แท่นวางที่มีลูกบอลวางอยู่นั้นก็จะขยับแจ้งเราทันที เพื่อให้รู้ว่าท่านั่งในตอนนี้กำลังขาดสมดุล สุดท้ายคือ ‘SWIBLE’ อุปกรณ์ที่เป็นโต๊ะข้าง […]
FiNESSE โปรเจกต์ธีสิสวงไอดอลระยะสั้น ที่อยากให้คนรับรู้ความแตกต่าง และยอมรับการเป็นตัวของตัวเอง
“เฟทอยากให้สังคมรับรู้ว่า ‘ความต่าง’ ที่โดนปฏิเสธมาตลอด จริงๆ แล้วมันโดนปฏิเสธเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะพวกเขาไม่เก่ง แต่เป็นเพราะวงการไอดอลยังห่างไกลกับการยอมรับ Self-determination (สิทธิในการกำหนดอนาคตตนเอง)” ในวันที่อุตสาหกรรม T-POP กำลังเติบโตและถูกจับตามองจากทั่วโลก ใครหลายคนอาจกำลังเดินตามความฝันของตัวเองอย่างสุดกำลัง แต่สำหรับใครบางคน ความฝันของพวกเขาอาจดับลงไปแล้ว เพียงเพราะพวกเขา ‘แตกต่าง’ จากสิ่งที่สังคมต้องการ ‘FiNESSE’ คือธีสิสวงไอดอลระยะสั้นจากฝีมือการโปรดิวซ์ของ ‘เฟท-ฐิตา เกษรสมบัติ’ อดีตสมาชิกไอดอลวง Siamese Kittenz ที่ปัจจุบันเป็นนิสิตชั้นปีสุดท้ายจากคณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน สาขาการออกแบบและผลิตสื่อ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งโปรเจกต์นี้ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมไอดอลที่ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่ที่เพศสภาพ อายุ หรือบิวตี้สแตนดาร์ด คอลัมน์ Debut ขอพาไปรู้จักธีสิสวงไอดอล FiNESSE ให้มากขึ้นผ่านบทสนทนาของหญิงสาว ถึงแนวคิดจุดเริ่มต้นตั้งแต่เดย์วันของการตัดสินใจทำธีสิสว่า อะไรคือสิ่งที่อยากนำเสนอ จนถึงวันนี้ที่เธอพยายามผลักดันให้วงนี้เข้าสู่อุตสาหกรรมเพลงได้จริงในอนาคต ได้เวลาทำวงไอดอลระยะสั้น หลายคนคงเคยเห็นธีสิสที่ทำขึ้นโดยมีแรงบันดาลใจมาจากไอดอลที่ชอบ แต่สำหรับธีสิสของเฟทแตกต่างออกไป เพราะ ‘FiNESSE’ คือธีสิสที่เกิดจากเศษเสี้ยวความฝันการเป็นไอดอลของเธอเอง “อดีตเฟทเคยเป็นไอดอลมาก่อน แต่ในตอนนี้ ต่อให้อยากกลับไปเป็นอีกมันก็ไม่ง่ายแล้ว ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นจนเกินเพดานการสมัคร และเรารู้สึกว่ามันคงมีคนที่เป็นแบบเราเยอะ เลยตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้ขึ้นมา” เธอเล่าถึงจุดเริ่มต้น ธีสิสในรูปแบบวงไอดอลระยะสั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในคณะ […]
ชวนฟังพอดแคสต์คุยเรื่องบ้านกับ ‘The Space Thinker Podcast’ จาก AP Thai และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน
เพราะบ้านในปัจจุบันกลายเป็นมากกว่าแค่ที่อยู่อาศัย ‘บ้านเดี่ยวเอพี’ จึงพัฒนาสินค้าภายใต้จุดยืนและความเชื่อที่ว่า บ้านที่สวยที่สุดคือบ้านที่เข้าใจชีวิตหรือ FUNCTIONAL IS BEAUTIFUL ว่าด้วยการที่พื้นที่ทุกตารางนิ้วถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานได้จริงและเข้าใจทุกชีวิตในบ้านมากที่สุด ในปีนี้ กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวได้ท้าทายการทำงานยิ่งขึ้น ด้วยการยกระดับความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ ให้ลึกซึ้งและตอบโจทย์ความต้องการยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด LIFE SPACE ที่เน้นย้ำจุดแข็งกับการเป็นตัวจริงเรื่องการออกแบบพื้นที่ หลังนิยามของบ้านในวันนี้ได้เปลี่ยนไปหลังผ่านยุค Pandemic โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้บ้านเดี่ยวเอพีกลายเป็นอาณาจักรแห่งการใช้ชีวิตที่ผู้อยู่อาศัยเลือกเองได้ (HOME IS NOT JUST DWELLING, IT IS YOUR PERSONAL EMPIRE) และเพื่อให้ทุกคนเห็นภาพของคำนิยามของบ้านที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยต่างๆ ได้ชัดขึ้น กลุ่มธุรกิจบ้านเดี่ยวเอพีได้จับมือกับนักเล่าเรื่องผู้รอบรู้ด้านประวัติศาสตร์โลก ภาษา และวัฒนธรรมชื่อดัง ‘เฮียวิทย์-ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน’ ทำโปรเจกต์พิเศษ The Space Thinker Podcast โปรเจกต์พอดแคสต์ที่ว่ามีทั้งหมด 6 ตอน เล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวิวัฒนาการของบ้าน ตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม สู่การเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันที่บ้านคืออาณาจักรของการใช้ชีวิตในแบบที่เลือกเองได้ ใครที่สนใจ รับฟังอีพีแรก ‘บ้านและเกมเปลี่ยนยุค’ เรื่องเล่าของบ้านหลังผ่านยุค Pandemic บ้านจะกลายเป็นอาณาจักรที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรที่ apth.ly/ST-Podcast-EP1 […]
‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ เรียนรู้ เข้าใจ และตั้งคำถาม รวมความรู้สึกหลังชมงานศิลปะที่เชียงราย
งานศิลปะถือว่าเป็นตัวกลางรูปแบบหนึ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมในหลายๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถาม การตระหนักรู้ หรืออาจเป็นการเรียนรู้บางเรื่องราวที่ศิลปินนำเสนอผ่านชิ้นงาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่นเดียวกันกับงาน ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ ที่คราวนี้ขึ้นเหนือไปจัดแสดงผลงานศิลปะกันถึงจังหวัดเชียงราย โดยผลงานที่จัดแสดงนั้นก็ได้สะท้อนถึงความน่าสนใจของเมืองเชียงรายที่ซุกซ่อนอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ผ่านการตีความของศิลปินที่เข้าร่วมงานนี้ และในช่วงเดือนสุดท้ายของการจัดแสดงงาน Urban Creature ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมผลงานบางส่วนมาด้วย เราจึงอยากพาไปย้อนชมผลงานเหล่านั้น เพื่อซึมซับความงดงามและตีความสารที่ศิลปินต้องการสื่อพร้อมๆ กัน Thailand Biennale ‘Thailand Biennale’ คืองานมหกรรมศิลปะระดับชาติที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ สองปี โดยปีก่อนๆ ที่ผ่านมานั้น จังหวัดที่เป็นสถานที่จัดงานล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ เรื่องราวทางวัฒนธรรม รวมถึงเป็นพื้นที่แห่งเมืองท่องเที่ยว ที่พร้อมเปิดให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่นได้เข้ามาใช้เวลาไปกับการชมงานศิลปะร่วมสมัยที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ของจังหวัด เปิดโลก ที่เชียงราย สำหรับครั้งที่ผ่านมา ‘Thailand Biennale, Chiang Rai 2023’ จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเชียงแสน และ 13 พาวิลเลียนในจังหวัดเชียงราย จากศิลปินกว่า 60 คนทั่วโลก โดยงานนี้มาพร้อมกับคอนเซปต์ ‘เปิดโลก’ หรือ ‘The […]
คุยกับ Mission To Top U เรื่องศักยภาพเด็กไทย โอกาสไปเมืองนอก และสกิลทำงานที่จำเป็นในโลกอนาคต
ถ้าถามเด็กไทยว่าความใฝ่ฝันอันดับต้นๆ คืออะไร มั่นใจว่า ‘ไปเรียนเมืองนอก’ คือคำตอบของใครหลายคน แต่พอเราพูดคำว่าไปเมืองนอกแล้ว สิ่งที่จะนึกถึงตามมาคือทุน โอกาส และความสามารถในการไปถึงเป้าหมายตรงนั้น ซึ่งน่าเศร้าที่ใครหลายคนถูกดับฝันเพราะขาดปัจจัยเหล่านี้ Mission To Top U คือบริการที่เกิดขึ้นเพราะอยากลบเพนพอยต์ที่ว่า ก่อตั้งโดย ‘เมฆ-ระดมเลิศ อนันตชินะ’ และเพื่อนอีก 3 คน ผู้เชื่อว่าเด็กไทยก็มีความสามารถในการสอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกได้ไม่แพ้ใครเขา แต่สิ่งที่ขาดไปคือข้อมูลที่ช่วยกรุยทาง รวมถึงประสบการณ์ เป้าหมาย และความมั่นใจที่ต้องติวเข้ม เมฆและเพื่อนๆ ผู้เป็นศิษย์เก่าของ Top U จึงลุกขึ้นรวมตัวกันเพื่อทำภารกิจนี้ โดยเริ่มจากการทำคอนเทนต์เพื่อส่งต่อความรู้ที่มีไปสู่คนรุ่นใหม่ ไปจนถึงการติวเข้มตัวต่อตัว นับถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 8 ปีที่ Mission To Top U ได้ติวเข้มให้เด็กๆ เดินทางไปสู่ฝั่งฝัน คอลัมน์ Think Thought Thought จึงขอถือโอกาสนี้ชวนเมฆมานั่งสนทนากัน ว่าด้วยความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังการผลักดันเด็กไทย มุมมองที่เขามีต่อระบบการศึกษาของบ้านเราและของโลก ไปจนถึงสกิลสำคัญที่นักศึกษาและคนทำงานในอนาคตต้องมี Mission to Better Future […]
แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit
จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece
‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ใจกลางเมืองที่พร้อมจะเป็นเมืองกลางใจของทุกคน
พื้นที่ใจกลางเมืองถือได้ว่าเป็นทำเลที่มีความหมายสำหรับคนเมือง ทั้งเป็นแหล่งทำงาน พื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หรือแม้แต่การเป็นจุดเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ ถึงกัน และหากพูดถึงบริเวณใจกลางเมืองในกรุงเทพฯ คำตอบที่ได้จากหลากหลายคนก็คงแตกต่างกันไป แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ เราเชื่อว่าคำตอบเรื่องใจกลางเมืองที่อยู่ในใจของทุกคนจะเป็น ‘One Bangkok’ แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ แน่นอน เพราะ One Bangkok นั้นนอกจากจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านพระราม 4 แล้ว แนวคิดหลักของโครงการไม่ได้มองถึงแค่การสร้างเมืองอย่างเดียว แต่โครงการนี้ตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยและการสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างจนไม่อาจหาที่ไหนได้ นอกจากที่ One Bangkok เท่านั้น คอลัมน์ Urban Guide พาไปรู้จักและสำรวจกันว่า ทำไม One Bangkok ถึงจะเป็นใจกลางเมืองแห่งใหม่ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ จนกลายเป็นคำตอบที่อยู่กลางใจของชาวเมืองทุกคน One Bangkok แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ‘One Bangkok’ คือโครงการอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกแห่งใหม่ที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 4 และ ถนนวิทยุซึ่งอยู่ในทำเลที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบันที่มีการเดินทางสะดวกสบาย ง่ายทั้งขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การขับรถส่วนตัว คอนเซปต์ของ One Bangkok คือการสร้างเมืองสำหรับทุกคน เพื่อให้เมืองแห่งนี้เป็น ‘The Heart […]
บางเรื่องของ ‘บางกอก’ ชีวิตริมน้ำและรากฐานของกรุงเทพมหานคร
‘บางกอก’ พื้นที่เกาะที่เกิดจากการขุดคลองสัญจรทางน้ำ สู่ชุมชนดั้งเดิมของคนกรุงเทพฯ ที่ยังอบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งยุค พ.ศ. 2500 ที่ยังคงใช้คำว่าบางกอกเป็นชื่อเรียกขานเมืองหลวงแห่งสยาม ขึ้นเรือสำรวจบางกอกผ่านคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ที่ตั้งของชุมชนคนเมืองดั้งเดิมอายุร่วมร้อยปี จนถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยว เชิงวิถีอนุรักษ์แบบใหม่ ย้อนเวลากลับไปยังครั้งที่กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญ กับการจราจรทางน้ำ ทั้งความเป็นอยู่ การค้า การขนส่ง จนถึงภูมิปัญญาการปลูก เรือนริมน้ำของคนในอดีตที่ปัจจุบันยังพบเห็นได้ทั้งสองข้างทาง บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
Hard Light แรงงานกลางแดดจ้า
เดือนเมษายน-พฤษภาคม นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อนที่สุด หลายๆ คนคงเบื่อหน่ายและเกลียดฤดูกาลนี้จนไม่อยากออกไปไหน ทว่าในสังคมเมืองที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการใช้ชีวิตมาอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางแสงของดวงอาทิตย์ได้ และถึงแม้ร่างกายจะถูกแผดเผาจากแสงแดด แต่ก็ไม่อาจที่จะแผดเผาความหวังและความฝันของชีวิตได้ เนื่องในวันแรงงานที่เวียนมาบรรจบอีกครั้ง ผมในฐานะแรงงานคนหนึ่งเฝ้าฝันอยากเห็นภาพที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ดีขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
สำรวจเหตุผล ทำไมหลายประเทศถึงใช้ธุรกิจทางศาสนาพัฒนาเมืองได้
ศาสนาและความเชื่อเหนือธรรมชาติกำเนิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จากความเกรงกลัวในธรรมชาติ สู่การกำเนิดเทพเจ้า ไปจนถึงหนทางของการดับทุกข์ เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของมนุษย์และศาสนาที่ฝังรากลึกในตัวเรา นั่นทำให้คุณค่าของศาสนาไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้ เพราะผู้คนที่ศรัทธายอมจ่ายทุกสิ่งอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเองเพื่อเป้าประสงค์ที่ต้องการ แน่นอนว่าเรื่องเงินทองเป็นเพียงเรื่องขี้ปะติ๋ว หากเทียบกับการได้พบกับพระเจ้าหรือขึ้นสวรรค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาลแต่ต้นทุนน้อยนิด สร้างโมเดลธุรกิจอันเก่าแก่ที่มีมานานกว่าพันปี ตั้งแต่มนุษย์กำหนดให้ทองและเงินเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็เริ่มอ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์และนำมาเป็นจุดขายของเมือง ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักแสวงบุญจากทั่วโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สวยงาม การขายของฝากที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นพื้นที่สำหรับความหวังในการขอพร ทำให้ไม่แปลกที่เหล่าองค์กรทางศาสนาทั่วโลกจะมีฐานะร่ำรวยเป็นพิเศษ จวบจนปัจจุบัน ศาสนายังคงมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระบอบทุนนิยม หลายเมืองมีการพัฒนาจัดการธุรกิจศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการป้องกันการทุจริตที่จริงจัง คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงความเป็นมาของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ การสร้างแบรนดิ้งด้านความเชื่อในเมืองเล็ก และการบริหารจัดการกับธุรกิจแห่งความศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตัวอย่างของเมืองแห่งศาสนาจากทั่วทุกมุมโลก นครศักดิ์สิทธิ์ จุดเริ่มต้นของธุรกิจศาสนา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามักมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เหมาะแก่การตามรอยแสวงบุญหรือเข้าร่วมพิธีในศาสนานั้นๆ ผู้คนมากมายจึงต่างหลั่งไหลเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มศาสนาที่มีความนิยมและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่างกลุ่มศาสนาตระกูลอับราฮัม (Abrahamic Religions) นั่นก็คือ ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ที่ทั้งสามศาสนามีความเชื่อถึงต้นกำเนิดของศาสนาตนว่า มาจากชายนามอับราฮัมที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าและออกเดินทางอพยพไปยังดินแดนคานาอัน (Canaan) ซึ่งต่อมากลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญานาม ‘อิสราเอล’ (Israel) และศูนย์กลางของอาณาจักรคือนครศักดิ์สิทธิ์ ‘เยรูซาเลม’ (Jerusalem) ภายใต้ดินแดนแห่งพันธสัญญา ได้เกิดเรื่องราวสำคัญทางศาสนามากมาย ส่งผลให้สถานที่ต่างๆ ในเมืองเยรูซาเลมกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วม […]
ส่องเทรนด์การออกแบบ ยกระดับสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’67 (Architect’24) วันนี้ – 5 พ.ค. 67 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี
กลับมาอีกครั้งกับงานที่เหล่านักออกแบบและสถาปนิกไม่ควรพลาด ‘สถาปนิก’67 (Architect’24)’ งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 36 ในธีม ‘Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์’ จุดประสงค์ของงานนี้คือ การมุ่งหวังสร้างการรับรู้ให้ผู้คนได้สัมผัส และเข้าใจงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ไร้ขอบเขตให้มากขึ้น และต่อยอดให้เกิดความเคลื่อนไหว (Movement) ที่ดีในสังคมและอนาคตร่วมกัน ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าและบริการด้านงานออกแบบ วัสดุก่อสร้าง การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรม ที่ครอบคลุมตั้งแต่สินค้านวัตกรรมความปลอดภัย ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และความยั่งยืน เพื่อตอบรับกับเทรนด์งานออกแบบสถาปัตยกรรมของปีนี้และอนาคต มากไปกว่านั้น งานนี้ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้อัปเดตเทรนด์ความรู้ ผ่านเวทีเสวนา ASA International Forum ในวันที่ 4 – 5 พฤษภาคม 2567 ที่จะเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ มาร่วมถอดรหัสวิพากษ์ภาษาสถาปัตยกรรมผ่านภูมิภาคนิยม (Critical Regionalism in Architecture) จากแนวคิดและผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับสากลของสถาปนิกไทยและต่างชาติ รวมไปถึงการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 22 ชาติ รวมประเทศไทย จากสภาสถาปนิกแห่งเอเชีย (Architects Regional Council […]