ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

‘ตัวห่างไกลแต่ใจไม่ห่างกัน’ เมื่อการสื่อสารช่วยรักษาความสัมพันธ์ในวันที่มีระยะห่าง

‘LINE’ สื่อกลางเชื่อมทุกความห่างไกล จากความคุ้นชินในชีวิตคนเราเพราะใช้ทุกวัน กับบทบาทของการเป็นแชทแอปฯกลับมาเด่นชัดในชีวิตคนไทยอีกครั้ง เกิดเป็น ‘โมเมนต์’ น่ารักชวนอบอุ่นใจและคุณค่าของการสื่อสารที่ทุกคนสัมผัสได้

ต่อชีวิตหอศิลป์กรุงเทพฯ ผ่าน ‘Art in Postcards’ นิทรรศการโปสต์การ์ด จาก 12 ศิลปินไทย

หอศิลป์กรุงเทพฯ หรือ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สถานที่จัดแสดงงานศิลปะเจ๋งๆ ใจกลางกรุงเทพฯ ที่เปิดให้เราเข้าชมฟรีมาตลอดหลายปี เป็นที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆ คน ในเดือนสิงหาคมนี้จะเปิดให้บริการครบ 10 ปีพอดี

‘ซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน’ วิธีแก้ปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรฉบับ ธ.ก.ส.

“น่าสนใจนะเนี่ย” ระหว่างคุยกับ คุณประทีป ภูลา ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาสี่แยกอินโดจีน เราพูดประโยคข้างต้นไปหลายครั้ง เพราะว้าวกับสิ่งที่ ธ.ก.ส. ทำเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของลูกค้าเกษตรกร ว้าวอย่างไร (รู้หน่า ว่าคำถามนี้ผุดขึ้นมา) 1. ประหยัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนด้วยการพักไปซูเปอร์มาร์เก็ตนอกบ้าน แล้วเปลี่ยนมาสร้างซูเปอร์มาร์เก็ตในบ้าน ที่เปิดประตูเดินออกมาแค่สี่ห้าก้าวก็เจอผักสวนครัวตามรั้วมาเด็ด ผัด ต้ม กินได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อผักสักบาท 2. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างรายได้ชำระหนี้ระยะยาว ด้วยการเปลี่ยนจากทำไร่เชิงเดี่ยวมาเป็นไร่สวนผสม และเพิ่มมูลค่าการขายโดยให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เกษตรกรไม่รู้มาก่อน หลายคนรู้คร่าวๆ ว่า ธ.ก.ส. มีภาพลักษณ์แข็งแกร่งว่าเป็นธนาคารที่ให้ความช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร แต่ยังไม่รู้วิธีคิดแก้ปัญหาว่าลงมือทำอย่างไร วันนี้จึงชวนรู้จักแนวทางสร้างความเข้มแข็งและฟื้นฟูเกษตรกรของ ธ.ก.ส. ที่ไม่ควรพลาดแม้แต่บรรทัดเดียว 01 ปัญหากวนใจเกษตรกร ‘หนี้’ คือสิ่งที่คุณประทีปบอกว่ากวนใจเกษตรมากที่สุด แต่บางครั้งหนี้ที่เกิดขึ้นกลับเกิดจากเรื่องควบคุมไม่ได้หลายอย่าง ภาพรวมหนี้สินจากอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ที่คุณประทีปเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. สาขาบางกระทุ่ม ชี้จำนวนตัวเลขจากสมาชิกในอำเภอกว่า 5,000 คน มีหนี้สินรวม 2 พันล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหามาจากภัยธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม บางปีน้ำแล้ง […]

EAT

อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน โปรเจกต์เชื่อมชาวปกาเกอะญอกับคนเมืองผ่านวัตถุดิบบนดอย

บนดอยกับในเมือง ห่างกันหลายกิโลเมตร คนปกาเกอะญอกับคนเมือง ห่างกันระยะไกล คนปกาเกอะญอเชื่อว่า ถ้าได้กินข้าวกับใครถือว่าเป็นญาติกัน “อ่อเส๊อะเก๊อะเม” แปลว่า กินข้าวด้วยกัน มา มากินข้าวด้วยกันเถอะ หิวแล้ว จั๊ม-ณัฐดนัย ตระการศุภกร แห่ง Little Farm in Big Forest หนุ่มปกาเกอะญอผู้เป็นศูนย์กลางสื่อสารวิถีชีวิตคนปกาเกอะญอด้วยวัตถุดิบในป่าใหญ่ เขาจากบ้านป่าไปทำงานการตลาดในเมืองกรุงฯ แล้วเลี้ยวกลับบ้านมาพัฒนาชุมชนที่มีของดีเป็นวัตถุดิบ แต่เติมไอเดียนิด ผสมแนวคิดการตลาดหน่อย โชว์จุดเด่นของ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านขุนแปะ บ้านขุนแม่หยอด บ้านขุนวิน และบ้านแม่ลาย ลงบนโปรเจกต์ ‘อ่อเส๊อะเก๊อะเม-กินข้าวด้วยกัน’ ที่ส่งวัตถุดิบจากไร่หมุนเวียนในป่าใหญ่สู่โต๊ะอาหารคนเมืองโดยฝีมือของคนปกาเกอะญอ  บางบ้านเก่งครีเอทีฟนำฮ่อวอ (มินต์) มาทำผงโรยข้าว บางบ้านยืนหนึ่งเรื่องพืชสมุนไพร บางบ้านมีหัวด้าน Social Enterprise สอนเด็กๆ สร้างโปรดักต์พึ่งพาตัวเอง หรือบางบ้านช่างปรับตัว จำลองไร่หมุนเวียนในสวนเล็กๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ซึมซับวิถีชีวิตปกาเกอะญอง่ายขึ้น มากกว่าเปิดออเดอร์จำหน่ายวัตถุดิบรสมือคนปกาเกอะญอให้คนเมือง CF โดยมีคนปกาเกอะญอขับรถไปส่งถึงหน้าบ้าน ยังเป็นการส่งต่อวิถีชีวิตของคนปกาเกอะญอให้คนเมืองได้เข้าใจมากขึ้น ผ่านโต๊ะอาหารที่ยาวจากภาคเหนือสู่ภูมิภาคอื่นๆ 01 กลับบ้านเล็กในป่าใหญ่ […]

‘ซองโด’ เมืองอัจฉริยะที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์

เกาหลีใต้ไม่ได้มีดีแค่โซล แทกู หรือปูซาน แต่ยังมีเมืองใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ‘ซองโด’ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเมืองนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ขยะ ‘ท่วม’ เมือง เพราะคนคือตัวร้ายไม่ใช่พลาสติก

วายร้ายแห่งวงการสิ่งแวดล้อมคงหนีไม่พ้น ‘พลาสติก’ ที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นบอสใหญ่กำจัดยาก รวมถึงมีข้อครหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกทำให้โลกร้อน เต่าตาย ไปจนถึงเป็นตัวการเพิ่มมลพิษในอากาศ จนสงสัยว่า ‘แล้วพลาสติกคือตัวร้ายจริงหรือเปล่า’

EAT

ศิริซาลาเปา ซาลาเปาที่อร่อยด้วยรสชาติแต่อุ่นหัวใจด้วยเรื่องราวที่เล่า | Heart EP.1

หากนึกถึง ศาลเจ้าพ่อเสือ ถนนตะนาว ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเสาชิงช้าเป็นอย่างแรก แต่สิ่งหนึ่งที่ในละแวกนั้นโดดเด่นไม่แพ้กันคือของกิน ซึ่งหากใครแวะเวียนไปมาแถบนี้ จะสังเกตเห็นร้านกะทัดรัดหน้าซอยขนาดเล็กที่ผู้คนแวะเวียนมาไม่น้อยเลย ร้านนั้นคือ ศิริซาลาเปา ร้านซาลาเปาโฮมเมด ที่มีรสโดดเด่นจากสูตรของที่บ้าน ซึ่งความน่าสนใจนอกจากรสชาติสิ่งที่ทำให้ซาลาเปาที่นี่อร่อยขึ้นเป็นเท่าตัวคือเรื่องราวของพวกเขา ที่นึกถึงชุมชนและย่านที่ตนอยู่จนออกมาเป็นแคมเปญ “ศิริเฟรนด์ ฝากซื้อฟรี” การรับฝากซื้อของในร้านแถวนั้นช่วงโควิด มาชิมบทสนทนาที่เต็มไปด้วยรสชาติและหลากรสด้วยกันในซาลาเปาที่มีไส้ในเป็นความอบอุ่นและเนื้อแป้งเป็นความใส่ใจ กับศิริซาลาเปา ชื่อฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

ตามรอยบ้านเก่า ‘ถนนตะนาว’ บันทึกเรื่องย่านผ่านสถาปัตยกรรมโคโลเนียล

‘ถนนตะนาว’ เป็นเส้นทางสายเล็กๆ ไม่ยาวนัก แต่หากใครที่คิดลองเดิน (เหมือนเรา) ขอบอกว่าแอบมีเหงื่อซึม ตลอดทางส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์สีเหลืองเรียงรายยาวเป็นแถว ภาพจำของใครหลายคนเกี่ยวกับถนนสายนี้ คงเป็นเจ้าพ่อเสือ ศาลเจ้าเก่าแก่เคียงคู่ย่านนี้มานมนาน หรือเป็นทางผ่านด้านหน้าถนนข้าวสารแหล่งแฮงค์เอาต์ยามค่ำ

เพื่อนใหม่ของฉันชื่อ ‘บอนไซ’ ฟูมฟักต้นไม้แห่งชีวิตลงกระถาง

ก่อนหน้าเวิร์กช็อปทำ ‘บอนไซ’ ฉันรู้จักมันคร่าวๆ ว่าเป็นการเพาะเลี้ยงต้นไม้จากกระถางใหญ่สู่กระถางเล็ก ฟังดูไม่ต่างจากการที่โดเรมอนใช้ไฟฉายย่อส่วนต้นไม้ในสวนใหญ่ให้เป็นสวนขนาดกะทัดรัด ถ้าให้เปรียบเปรยแบบติดตลก นิยามความสัมพันธ์ของฉันกับบอนไซไม่ต่างจากเพื่อนที่ไม่สนิท รู้จักกันผ่านๆ ทักทายบ้างตามโอกาส แต่แอบไปกระซิบบอกคนสนิทบ่อยๆ ว่าเจ้าบอนไซนี่น่ารักใช่ย่อยนะ! จนมาถึงวันที่ได้เข้าร่วมเวิร์กช็อปปลูกบอนไซกับ พี่ปัน-ปัญจพล นาน่วม ผู้หลงใหลบอนไซมาแล้ว 6 ปี ณ สตูดิโอ Tentacles N22 แหล่งรวบรวมเวิร์กช็อปศิลปะและงานคราฟต์ ที่ทำให้ฉันได้รู้จักบอนไซแบบลึกซึ้งมากขึ้น เพราะการทำมันแต่ละขั้นตอนต้องพิถีพิถันไปอย่างช้าๆ และเรียบง่าย (ก็ไม่ง่ายมากแต่ก็ไม่ยากขนาดนั้น) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับฉันระหว่างทำความรู้จักบอนไซกลับน่าประหลาดใจเพราะ ‘บอนไซ แกทำให้คนฟุ้งซ่านอย่างฉันมีสมาธิขึ้นได้ว่ะ’ สายตาที่จดจ่อบอนไซตั้งแต่ลงมือปลูก ลงมือตัดแต่ง ลงมือย้ายกระถาง และลงมือดูแลมัน ทำให้ฉันไม่แปลกใจว่าสมญานามของบอนไซที่เป็น ‘ต้นไม้แห่งจิตวิญญาณ’ มาได้อย่างไร เพราะมากกว่าเป็นต้นไม้สง่างามในกระถาง กลับใส่วิญญาณของคนทำลงไปด้วยอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อบทความชิ้นนี้เผยแพร่แล้ว ฉันหวังลึกๆ ว่าคุณจะได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อ ‘บอนไซ’ ผ่านเวิร์กช็อปนี้ และหาความสงบเล็กๆ ให้ตัวเองได้ 01 BON = กระถาง, SAI = ต้นไม้ “อาจารย์คนแรกที่สอนผมทำบอนไซคือหลวงพี่ในวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เพราะครั้งแรกที่ผมรู้จักบอนไซคือตอนบวชหลังจากเรียนจบใหม่ๆ เมื่อมีเวลาว่างหลังจำวัด […]

1 260 261 262 263 264 370

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.