LATEST
ส่งโปสต์การ์ดและกำลังใจให้คนแปลกหน้า ผ่านนิทรรศการ ‘POSTCARD FROM A STRANGER’
อยากได้กำลังใจจะไปหาจากไหนดี…บางทีก็คิดไม่ออกเหมือนกัน หลายครั้งบางคนเผชิญช่วงเวลาอันยากลำบากด้วยตัวคนเดียว หันไปข้างหลังไม่แม้แต่เจอเงาของใครคอยปลอบ ประโยค “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป” หรือ “เราอยู่ข้างแกเสมอ” นานทีได้ยินหน ถ้าวันนี้ไม่สบายใจ ให้โปสต์การ์ดคนแปลกหน้าเพิ่มพลังใจก็ไม่แย่นะ จูงมือคนสำคัญ (ตัวคุณเองนั่นแหละ) ไป ‘POSTCARD FROM A STRANGER’ นิทรรศการจากทีมงานหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) Happening และเครือข่ายทางศิลปะหลายราย ที่เปลี่ยนกำแพงหอศิลป์กรุงเทพฯ เป็นกำแพงกระดาษที่เรียงรายไปด้วยโปสต์การ์ดและข้อความให้กำลังใจนับพันใบจากคนแปลกหน้า หากอยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการนี้ ทำได้ง่ายๆ เพียงแค่นำโปสต์การ์ดของตัวเองมา 1 ใบ พร้อมเขียนข้อความส่งกำลังใจหรืออวยพรให้ใครสักคนกลับมามีรอยยิ้มสดใสอีกครั้งก็ได้หมด แล้วแปะโปสต์การ์ดของคุณไว้ตรงไหนก็ได้ของผนัง ก่อนกลับก็อย่าลืมหยิบโปสต์การ์ดจากคนแปลกหน้าสักใบกลับไปอ่านเพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเองด้วยเช่นกัน ป.ล. ถ้าไม่มีโปสต์การ์ดติดมือมา สามารถเลือกซื้อโปสต์การ์ดที่ร้านค้ารอบหอศิลป์กรุงเทพฯ ตั้งแต่ชั้น 1 ยันชั้น 5 เลย ตั้งแต่วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ ปี 2564 ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
‘CNXPM2.5’ Preset แต่งรูปที่ใช้จำลองให้ทุกที่กลายเป็นเชียงใหม่ในช่วงเดือนแห่งฝุ่นควัน
ลองนึกภาพว่าถ้าคุณต้องสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่นควันตลอดเวลา และตื่นขึ้นมาพร้อมกับเลือดที่ไหลออกทางจมูก นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับคนเชียงใหม่ที่เผชิญกับไฟป่าและฝุ่นควันมากว่า 10 ปี ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของที่นี่พุ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2562 ทําให้เชียงใหม่กลับมามีชื่อเสียงโด่งดังอีกครั้งในฐานะ “เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก” ‘วิศรุต แสนคำ’ ช่างภาพที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่ จึงปิ๊งไอเดียสร้าง Preset “CNXPM2.5” ขึ้น โดยมี ‘ตรัยภูมิ จงพิพัฒนสุข’ ช่วยพัฒนาด้านเทคนิค Preset ดังกล่าวจะเปลี่ยนภาพถ่ายสีสันสดใสของเรา ให้เหมือนบรรยากาศของเมืองเชียงใหม่ในช่วงที่ถูกปกคลุมไปด้วยฝุ่นควัน เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงปัญหานี้ ว่ายังมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัยหรือเครื่องฟอกอากาศ “CNXPM2.5” เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ #Photoforair ของกลุ่มช่างภาพ Realframe ที่เชิญชวนทุกคนมาแต่งภาพผ่าน Preset ตัวนี้และนำเงินที่ได้จากการบริจาคไปซื้อหน้ากาก N95 เพื่อแจกจ่ายให้แรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับใครที่สนใจ เข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://realframe.co/pfa/
แก้วลายใหม่ Café Amazon โดย เพียว โลกุตรา เล่าถึง โออาร์ กับการร่วมสร้างโอกาสให้สังคม
ถ้าเข้า Café Amazon ช่วงนี้ คุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเครื่องดื่มที่โปรดปราน เปล่าหรอก ไม่ใช่รสชาติ หรือหน้าตาที่เปลี่ยนไป แต่เป็นลวดลายใหม่ของแก้ว Café Amazon ที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มของคุณต่างหาก นอกจากความสวยงามน่าเก็บสะสมของลายแก้วที่ออกแบบโดย เพียว โลกุตรา นักวาดภาพประกอบไทยที่น่าจับตามองแล้ว ภาพวาดของเกษตรกรที่มอบเมล็ดกาแฟสู่บาริสต้าบนแก้วเครื่องดื่มเย็น และภาพบาริสต้าผู้สูงวัยที่มอบเครื่องดื่มให้ลูกค้าบนแก้วเครื่องดื่มร้อนยังบอกเล่าถึงแนวคิดการร่วมสร้างโอกาสของ โออาร์ ได้เป็นอย่างดี เพราะด้วยวิสัยทัศน์ ‘Empowering All toward Inclusive Growth โออาร์ เติมเต็มโอกาสทุกการเติบโต ร่วมกัน’ ทำให้ โออาร์ ยึดมั่นในการเป็นองค์กรที่เกื้อกูลสังคม โดยอาศัยการประสานพลังแห่งความร่วมมือเพื่อสร้างคุณค่าอย่างเท่าเทียม มุ่งพัฒนาคนให้มีศักยภาพ ลดทอนช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อจะต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพสังคมในอีกระดับ จนไปถึงการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวอย่างยั่งยืน ทำให้ที่ผ่านมา Café Amazon ไม่ได้พัฒนาในแง่ของธุรกิจร้านกาแฟไทยเท่านั้น ทว่ายังต้องการพาสังคมไทยให้เดินหน้าไปด้วยกัน ผ่านการสนับสนุนเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก รวมทั้งรับซื้อเมล็ดกาแฟมาใช้ภายในร้าน Café Amazon ไปจนถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม ว่าแต่โปรเจกต์แก้ว Café Amazon ลายใหม่ที่เป็นการร่วมงานของ โออาร์ กับศิลปินนักวาดไทยจะมีเบื้องหลังเป็นยังไง มีเรื่องราวใดบ้างที่ซ่อนอยู่ข้างหลังแก้วหน้าตาน่าใช้นี้ […]
Pontevedra เมืองที่ไร้คนตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์กว่า 7 ปี
Prontevedra เมืองที่มีรูปแบบการขนส่งเป็นการเดินทางสูงถึง 70% และไม่มีตัวเลขอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นศูนย์ตั้งแต่ปี 2011-2018
อนาคตประเทศที่ไม่พึ่งคุกกี้เสี่ยงทายของ ‘แคน นายิกา’ จากอดีตไอดอลสู่นักการเมือง
คุยกับแคนถึงชีวิตเส้นทางไอดอลที่เริ่มขึ้นเพราะอยากทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม และล่าสุดกับบทบาท ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ วัย 23 ปี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงประเทศ
Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’
‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]
‘รถรางบางกอก’ อดีตเคยมี…ตอนนี้หายไปไหน
เรื่องราวของรถรางไฟฟ้าในอดีต ที่ครั้งนึงประเทศไทยเคยมีรางรถางไฟฟ้าขบวนแรกของเอเชีย
เผ็ดเผ็ด รสชาติชีวิตแบบจัดจ้านของลูกอีสาน ที่ก่อเกิดร้านอาหารสไตล์นครพนมในเมืองกรุง
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ขับเคลื่อนพลังชีวิตด้วยรสชาติความแซ่บนัวของปลาร้า และเป็นแฟนตัวยงของร้านส้มตำทั่วกรุง เราเชื่อว่าคุณต้องเคยได้ยินชื่อร้าน ‘เผ็ดเผ็ด’ อย่างแน่นอน เผ็ดเผ็ดคือร้านอาหารอีสานที่ดึงดูดเราด้วยภาพแซ่บๆ ของส้มตำ ทำให้เราติดใจเพราะรสชาติ และตื่นเต้นที่ได้เห็นการนำเสนอความเป็นอีสานผ่านอาหารอย่างสร้างสรรค์ ร้านนี้ไม่ได้มีดีแค่เผ็ดตามชื่อ แต่ยังทำให้เมนูในร้านอาหารอีสานสนุกและมีตัวตนชัดเจนในแบบของตัวเอง ถึงแม้จะเป็นน้องใหม่ในวงการอาหาร แต่ปัจจุบันเผ็ดเผ็ดขยับขยายไปถึง 5 สาขา และทั้ง 5 สาขาขายอาหารที่มีเมนูและรสชาติที่ต่างกันไปตามคาแรกเตอร์ที่เจ้าของต้องการทดลองอะไรใหม่ๆ เราจะพาไปฟังเรื่องราวการเสาะหาวัตถุดิบและความคิดสร้างสรรค์ในการทำอาหาร ผ่านคำบอกเล่าของ ต้อม-ณัฐพงศ์ แซ่หู เจ้าของร้านชาวนครพนมที่เติบโตมากับวัฒนธรรมลูกอีสานขนานแท้ ผู้นำอาหารอีสานรสมือแม่มานำเสนอให้คนกรุงติดใจและคนอีสานกินทีไรก็นึกถึงบ้าน อาหารที่เกิดจากความคิดถึงบ้าน ต้อมบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาอยากทำร้านอาหารอีสานขึ้นมาคือความคิดถึงบ้านและอาหารรสมือแม่ หากให้อธิบายว่าอาหารอีสานแบบเผ็ดเผ็ดมีรสชาติเป็นแบบไหน ก็คงเป็นอาหารรสมือแม่ที่เขากินมาตั้งแต่เด็กๆ ในความทรงจำของเขาตั้งแต่เด็กจนโต แม่เป็นคนที่ทำอาหารเก่งและมีสูตรอาหารอร่อยๆ เป็นของตัวเอง ตอนเป็นเด็กเขาจึงกินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะใส่ผักหรือใส่พริกก็กินได้โดยไม่ต้องแบ่งแยกจานเด็กหรือจานผู้ใหญ่ แถมยังได้เรียนรู้ทักษะการทำอาหารและสูตรต่างๆ จากแม่ครัวชั้นครูที่อยู่ในบ้าน “ผมเป็นคนนครพนมที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เวลาคิดถึงบ้าน อยากกินอาหารอีสาน ผมก็อยากกินอาหารรสมือแม่ อยากกินอะไรที่เหมือนเคยกินที่บ้าน “ความจริงแล้วในกรุงเทพฯ มีร้านอาหารอีสานเยอะมาก ถ้าอยากกินอาหารอีสานก็หาได้ไม่ยากเลย แต่ที่ขายกันทั่วไปรสชาติมันไม่เหมือนกับที่บ้านเรากินกัน มันไม่ได้รสชาติเพี้ยนนะ แต่เขาใช้วัตถุดิบไม่เหมือนที่บ้านเรา และเราชอบแบบที่เราเคยกินมาตั้งแต่เด็กมากกว่า “พอคิดจะทำร้านเราเลยอยากเอาสูตรอาหารอีสานของแม่ทำขาย เป็นสูตรที่เขาคิดเอง ปรุงเอง และเราเอามาประยุกต์ต่อ ถึงแม้จะเอาวัตถุดิบจากนครพนมมาใช้ แต่ไปถึงแล้วคงไม่เจออาหารอีสานรสชาติแบบที่เผ็ดเผ็ดทำแน่นอน” ก่อนจะเป็นเผ็ดเผ็ดสาขาแรกในซอยพหลฯ 8 […]
พื้นที่คุ้มครองทางทะเลของสเปน ถูกประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกของวาฬแห่งแรกในทวีปยุโรป
เตเนริเฟ (Tenerife) คือ 1 ใน 7 หมู่เกาะคะแนรีของประเทศสเปน ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งดูวาฬและโลมาในธรรมชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น
ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]
นโยบายเซินเจิ้น เส้นทางแห่งการเป็นเมืองสีเขียว
เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ‘เซินเจิ้น’ พลิกบทบาทตัวเองครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการสร้างมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพื่อสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต
สวย ≠ ขาว SeaSun Society แบรนด์สกินแคร์สัญชาติไทยที่ขอท้าทาย Beauty Standard ในตลาดเอเชีย
คุณรู้สึกว่าตัวเองสวยไหม ถ้าไม่…แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะรู้สึกว่าตัวเองสวย Beauty Standard หรือมาตรฐานความงามที่สังคมคาดหวังไว้นั้นกลายเป็นเรื่องร้อนที่ถูกพูดถึงมากขึ้นในระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เพราะเราต่างตระหนักชัดว่า ‘รูปร่างหน้าตา’ ส่งผลอย่างมากต่อโอกาสในการใช้ชีวิต เราอาจได้เห็น Movement ที่น่าสนใจจากทางฝั่งตะวันตกที่ผลักดันให้ความงามมีความหลากหลายมากขึ้นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ชุดชั้นในชื่อดังที่เลือกนางแบบ Plus-size ขึ้นไปเดินบนเวทีใหญ่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน การเติบโตขึ้นของจำนวนโมเดลผิวสีบนหน้าปกนิตยสาร หรือแม้แต่วงการบันเทิงเอง เราก็ได้เห็นความพยายามทลายกรอบทั้งความงามและเชื้อชาติผ่านการคัดเลือกนักแสดงที่มีรูปลักษณ์หลากหลายมากขึ้น กลับมามองใกล้ตัวอีกนิด ในเอเชียหรือในประเทศไทยเอง สังคมของเรามีการรับรู้ที่เปลี่ยนไปอย่างไรในประเด็น Beauty Standard นี้บ้าง ลองมาฟังจาก มาดี้ รอซ (Madi Ross) และ ลักษณ์-สิริลักษณ์ กุลธรรมโยธิน สองสาวผู้ทำงานในวงการความงามมานาน จนหันมาขับเคลื่อนเรื่องมาตรฐานความงามผ่านธุรกิจ Skincare ของตัวเอง ภายใต้แบรนด์ SeaSun Society ที่ขอท้าทายความเชื่อของชาวเอเชียที่ว่า สวยเท่ากับผิวขาว สวย ≠ ขาว ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน มาดี้กับลักษณ์ได้พบกันผ่านงานของทั้งคู่ มาดี้เป็นนางแบบที่เดินทางไปทำงานทั่วโลก ส่วนลักษณ์คืออดีตนางแบบที่ผันตัวมาเป็นผู้จัดการให้เธอ ชีวิตของทั้งคู่จึงวนเวียนอยู่ในวงการความสวยความงามอย่างไม่ต้องสงสัย และสิ่งที่ทั้งคู่มองเห็นตรงกันจากประสบการณ์ทำงานในประเทศไทยหรือเอเชียก็คือการตั้งมาตรฐานความงามที่ไม่โอบรับความแตกต่างของผู้คน […]