เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สาหัสสำหรับพิพิธภัณฑ์ทั่วทุกมุมโลก เพราะตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด วงการพิพิธภัณฑ์ก็ซบเซาไปมาก
เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างมากในปีที่ผ่านมา นอกจากนิทรรศการที่วางแผนไว้จะถูกเลื่อนไปแล้ว จำนวนผู้คนที่แวะเวียนมาชื่นชมศิลปะยังลดลงเหลือเพียงแค่ 1 ใน 4 ของปีก่อนหรือประมาณ 675,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดตั้งแต่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินี้เปิดทำการมา
แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคประชาชนที่โหยหาประสบการณ์การรับชมงานศิลปะนี้เอง ทำให้พิพิธภัณฑ์เยียวยาประชาชนและวงการศิลปะด้วยการอัปโหลดผลงานในครอบครองกว่า 700,000 ชิ้น ให้ประชาชนเข้าชมออนไลน์ฟรี แบบ HD ผ่านแคมเปญ #Rijksmuseumfromhome
นอกจากนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ยังให้บริการ Virtual Tour หรือระบบนำทัวร์พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ให้ทุกคนได้รับชมผลงานระดับโลกได้อย่างใกล้ชิดทั้งภาพและเสียงราวกับเดินอยู่แต่ละห้องของพิพิธภัณฑ์ด้วยตัวเอง
เข้าไปเยี่ยมชมคลังผลงานศิลปะดีๆ ได้ที่ www.rijksmuseum.nl/en/
RELATED POSTS
เชื่อมต่ออดีต สำรวจปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต หนึ่งวันใน The Jim Thompson Art Center หอศิลป์ที่อยากเป็นโอเอซิสการเรียนรู้ใจกลางเมือง
เรื่อง
มณิสร วรรณศิริกุล
ไม่ว่าจะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะแบบไหน จะรถไฟฟ้า รถเมล์ หรือโดยสารเรือคลองแสนแสบ ก็เดินถึงที่นี่ได้ภายใน 3 นาที สถานที่แห่งนี้คือ ‘The Jim Thompson Art Center (หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน)’ อาคารปูนเปลือยสูง 5 ชั้น (รวมที่จอดรถชั้น G) บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ที่มีกำแพงอิฐเรียงตัวกันเป็นลายผ้ามัดหมี่ อยู่ถัดจาก ‘พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน’ อาคารทรงเรือนไทย ที่หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นสถานที่เดียวกันอยู่บ่อยครั้ง เพื่อทำความรู้จักกับหอศิลป์ที่ยืนหยัดขอเป็นปอดสีเขียวใจกลางเมือง นำเสนอศิลปะร่วมสมัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซีรีส์คอนเทนต์ ‘MUSEUM-IN-SIGHT เพ่งพิศพิพิธภัณฑ์’ ตอนที่ 2 จึงขอยืมตัว ‘คุณแชมป์-ชนพล จันทร์หอม’ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์และผู้ช่วยประสานโครงการประจำหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน มาพาเดินชมหอศิลป์ฯ เพื่อบอกเล่าเกี่ยวกับตัวพื้นที่ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน จิม ทอมป์สัน / หอศิลป์ / ศิลปะร่วมสมัย “คนมักเข้าใจว่าตัวหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันกับพิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สันเป็นที่เดียวกัน ทั้งที่จริงไม่ใช่” คุณแชมป์บอกกับเราตั้งแต่ยังไม่ทันเริ่มเข้าสู่บทสนทนาอย่างเป็นทางการ ถึงความเข้าใจผิดที่เป็นคล้ายค่าดีฟอลต์จนเขาต้องขอเกริ่นนำก่อน […]
ชวนไปเพ่งพิศ 10 พิพิธภัณฑ์ ที่ได้รับการันตีจากโครงการ Museum STAR
เรื่อง
ภัทชณิดา ธัญญเจริญ
‘พิพิธภัณฑ์’ เป็นเสมือนกุญแจเปิดสู่โลกกว้าง กระตุ้นความคิดและจินตนาการผ่านประสาทการรับรู้ทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็นรูป รส สัมผัส กลิ่น เสียง โดยที่ทุกอย่างได้รับการจัดเรียงและคิดมาเป็นอย่างดีแล้ว และแต่ละคนเองคงมีพิพิธภัณฑ์ติดดาวในดวงใจที่จะไปกับเพื่อนหรือคนเดียวก็เอนจอยและเพลิดเพลินทุกครั้ง ไม่ว่าจะไปชมนิทรรศการ ไปสำรวจพื้นที่ หรือไปใช้เวลาพักผ่อนสบายๆ ก็ตาม ถึงอย่างนั้นก็คงดีไม่น้อยถ้าเราจะได้ลองไปเยี่ยมเยียนมิวเซียมแห่งใหม่ๆ เผื่อได้สถานที่ชุบชูใจเพิ่มเติมมาไว้ในลิสต์อีก เพื่อเป็นอินโทรสู่ซีรีส์คอนเทนต์ที่ Urban Creature ร่วมกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) และ Museum Thailand จึงอยากชวนผู้อ่านมารู้จักกับลิสต์ 10 พิพิธภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลโครงการ Museum STAR กันก่อนที่จะไปทัวร์แต่ละแห่งอย่างลงลึก พร้อมรับรู้เบื้องหลังการดำเนินงานผ่านถ้อยคำของตัวแทนมิวเซียมในบทสัมภาษณ์คอลัมน์ One Day With… 1) หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ‘หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ BACC’ คือ Art Center เคียงคู่กรุงเทพฯ และพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมตัวของชาววัยรุ่นสยาม ซึ่งไม่เคยว่างเว้นจากนิทรรศการหมุนเวียนนับร้อยที่กระจายตัวทั่วทุกชั้นตั้งแต่ชั้น 1 – 9 อีกทั้งยังมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา […]
‘Holy Water’ สระว่ายน้ำสาธารณะในโบสถ์เก่า ที่ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลายกิจกรรม
เรื่อง
Urban Creature
ปกติแล้วสถานที่ทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้งาน หากอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็มักถูกปล่อยทิ้งร้างจนเสียหาย หรือถ้าอยู่ในพื้นที่ชุมชนก็อาจมีการรีโนเวตเพื่อทำธุรกิจใหม่ๆ แต่ถ้าหากเป็นสถานที่เก่าแก่ทางศาสนา มีประวัติศาสตร์และองค์ประกอบที่สวยงาม จะเปลี่ยนให้เป็นอะไรได้บ้าง โบสถ์ St. Francis of Assisi ใน Heerlen ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างขึ้นในปี 1923 และเคยเป็นพื้นที่พบปะทางสังคม ทว่ากลับถูกปล่อยทิ้งให้ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้งานมานานกว่าสองปีแล้ว สตูดิโอระดับโลกสัญชาติดัตช์ ‘MVRDV’ และ ‘Zecc Architecten’ จึงร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงให้โบสถ์เก่าแห่งนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง Winy Maas ผู้ร่วมก่อตั้ง MVRDV มองว่า โบสถ์ที่ว่างและไม่ได้ใช้งานแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เขาอยากสร้างสรรค์อาคารทางศาสนาเหล่านี้ให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ออกกำลังกาย พบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อนใจ เกิดเป็นไอเดียของสระว่ายน้ำ ‘Holy Water’ ขึ้นมา ภายในอาคารแห่งนี้ประกอบด้วยสระว่ายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่หลัก โดยความท้าทายในพื้นที่นี้คือ การให้ความร้อนแก่พื้นที่สระว่ายน้ำอย่างเพียงพอ และต้องระวังเรื่องความชื้นของสระว่ายน้ำที่จะทำปฏิกิริยากับวัสดุเก่าของโบสถ์ ดังนั้นการออกแบบจึงออกมาในลักษณะของผนังกระจกรอบสระว่ายน้ํา หลังคาของโบสถ์หุ้มฉนวนจากภายนอกเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนมากเกินไป ในขณะที่ยังคงมองเห็นอิฐเดิมจากด้านใน การออกแบบลักษณะนี้จะช่วยประหยัดพลังงานภายในอาคาร รวมถึงยังช่วยรักษาองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ของโบสถ์เอาไว้มากที่สุดด้วย เช่นเดียวกับม้านั่งเก่าที่นำกลับมาใช้งานสำหรับคนที่เข้ามาว่ายน้ำ มีที่นั่งด้านนอกบริเวณทางเดินที่มองเข้ามาเห็นสระว่ายน้ำได้ และโต๊ะร้านกาแฟซึ่งจะเป็นอีกส่วนหนึ่งภายในโบสถ์แห่งนี้ นอกจากสระและร้านกาแฟแล้ว พื้นของสระว่ายน้ำแห่งนี้ยังปรับขึ้น-ลงได้ เพื่อให้โบสถ์ใช้พื้นที่ได้หลากหลายมากขึ้น […]
War & Women’s Human Rights Museum สถานที่บอกเล่าเรื่องราวที่สตรีเกาหลีใต้ต้องเผชิญในสงครามญี่ปุ่น-เกาหลี
เรื่อง
Urban Creature
แม้สงครามระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีจะจบลงนานแล้ว แต่ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงเกาหลีใต้ต้องเผชิญในเวลานั้นยังคงอยู่ และรอคอยคำขอโทษมาจนถึงทุกวันนี้ เนื่องในวันสตรีสากล (International Women’s Day หรือ IWD) ที่ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิสตรี Urban Creature ขอพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘War & Women’s Human Rights Museum’ พิพิธภัณฑ์สงครามและสิทธิสตรี ในประเทศเกาหลีใต้ War & Women’s Human Rights Museum อาจไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ที่คุ้นหูนักท่องเที่ยวเท่าไหร่นัก แต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดมาแล้วกว่า 13 ปี ตั้งแต่ปี 2012 โดยปรับปรุงจากบ้านที่มีอยู่เดิมบนเชิงเขาซองมี ในเขตมาโปของกรุงโซล บนพื้นที่ทั้งหมด 308 ตารางเมตร ที่แบ่งออกเป็นสองชั้นบนดินและหนึ่งชั้นใต้ดิน พิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบมาในรูปแบบของกำแพงอิฐสีเทาดำ มีประตูที่เล็กกว่าประตูบ้านขนาดปกติเพียงบานเดียวเป็นทางเข้า-ออก อีกทั้งยังไม่มีป้ายบอกทางขนาดใหญ่เหมือนอย่างที่พิพิธภัณฑ์อื่นๆ มี ที่เป็นเช่นนี้เพราะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินไปในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เชิงบรรยาย ที่จะมีไกด์ร่วมเดินกับผู้เยี่ยมชมคอยบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ทั้งภายในและภายนอกพิพิธภัณฑ์ไปแต่ละส่วน โดยที่ผู้เยี่ยมชมไม่สามารถรู้ล่วงหน้าผ่านป้ายได้ว่าพวกเขาจะต้องเจอเข้ากับอะไรเป็นลำดับถัดไป เพื่อนำเสนอถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่หญิงชราต้องเผชิญเมื่อพวกเธอถูกพาตัวไปในสงครามในฐานะสตรีบำเรอกาม การออกแบบภายใน War & Women’s Human […]