ชวนเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน ในงาน Night at the Museum ที่มิวเซียมสยาม 17 – 19 ธ.ค. 64

ปลายปีแบบนี้ ใครคิดถึงการเดินเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนบ้าง ยกมือขึ้น! กลับมาอีกครั้งแล้วกับงานน่ารักๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของมิวเซียมสยามอย่าง Night at the Museum กับคอนเซปต์ Night Talk ‘กลับกาลเก่ามาเล่ากัน’ ด้วยการมาย้อนดูย้อนฟัง เพื่อเข้าใจประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ผังเมือง และอนาคตคนเมืองกรุง พร้อมไฮไลต์นิทรรศการพิเศษ กิจกรรม และเวิร์กช็อปอีกมากมาย ด้วยความที่ปีนี้ตารางกิจกรรมแน่นมาก เราจึงขอคัดเลือกกิจกรรมน่าสนใจๆ มาให้ทุกคนปักหมุดกันก่อน ดังนี้  – ทอล์กแบบเดี่ยวไมโครโฟนจากเหล่าคนดังและนักวิชาการ จัดเต็มด้วยเนื้อหาประวัติศาสตร์ในแง่มุมต่างๆ พร้อมพูดคุยในประเด็นร่วมสมัย ตัวอย่างรายชื่อ ได้แก่ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์, นักรบ มูลมานัส, บอล-ยอด หนังพาไป, Point of View, ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นต้น – กิจกรรม Night Walk X Talks in the Old Town (เดินลุยคุยเรื่องเมืองเก่า) โดย […]

จากนักอสังหาฯ ถึงผู้พัฒนาเมือง ‘ดร.ยุ้ย’ ผู้วางนโยบายแห่งทีมชัชชาติ

ทำงาน ทำงาน ทำงาน ก่อนหน้านี้ Urban Creature มีโอกาสได้พูดคุยกับบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงการก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขสารพัดสารพันปัญหา และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน หลังจากปล่อยบทสัมภาษณ์และติดตามการทำงานกันมาพักใหญ่ วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับอีกหนึ่งขุนพลในทีมชัชชาติ อย่าง ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเปิดตัวในฐานะทีมนโยบายไปหมาดๆ หากใครมีโอกาสได้ติดตามการทำงานของเสนา จะพบว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายนี้ก็มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองอยู่ไม่น้อย ทั้งโครงการบ้านที่ราคาจับต้องได้ง่าย บ้านที่ขายแล้วนำเงินไปบริจาคเพื่อโรงพยาบาล และอีกหลายโครงการ CSR ที่หยิบมาพูดทั้งหมดคงมีพื้นที่ไม่พอ ในฐานะสื่อที่สนใจเรื่องเมือง เราเตรียมชุดคำถามในมือ พกไปพร้อมความสงสัยในใจว่า CEO ของบริษัทอสังหาฯ ที่มองว่าการให้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และการแก้ไขอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ในการพลิกบทบาทจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Developer มาทำนโยบายผ่านการเป็น Regulator  ว่าจะพัฒนาเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปในทิศทางไหน สารพัดปัญหาของเมืองเทพสร้างจะแก้ยังไง สโลแกนของ Better Bangkok ที่บอกว่าจะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน จะทำให้พวกเรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่า ใครที่สงสัยไม่ต่างจากเราก็ขอเชิญมาอ่านพร้อมกันได้เลยครับ  เล่าเรื่องตัวเองให้ฟังหน่อยว่าปกติแล้วคุณติดตามเรื่องการเมือง หรือนโยบายเมืองอย่างไรบ้าง  […]

FAIPA HACKATHON จาก GISTDA เวทีประกวดไอเดียเพื่อแก้ปัญหาไฟป่าเปิดรับสมัครแล้ว

ถ้าคุณมีไอเดียดีๆ และมีใจอยากแก้ปัญหาระดับชาติ เราอยากชวนมาประกวดไอเดียด้วยกันกับโครงการ FAIPA HACKATHON เวทีการประกวดไอเดียในการวิเคราะห์และบริหารวิกฤตการณ์เพื่อแก้ปัญหาไฟป่า โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA โดยงานนี้เปิดให้เสนอไอเดียในการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมและ Big Data โดยใช้นวัตกรรมหรือข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดาวเทียม, โดรน, ข้อมูลจากเซนเซอร์ตรวจวัดต่างๆ หรือข้อมูลจากภาคประชาชน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และบริหารวิกฤตการณ์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเวทีนี้เปิดให้นิสิตนักศึกษาและบุคคลทั่วไปส่งไอเดียในการวิเคราะห์และบริหารวิกฤตการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าด้วยเทคโนโลยีดาวเทียมและ Big Data ผ่านโครงการ FAIPA HACKATHON เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ – 22 ธันวาคม 2564 ส่งไอเดียการประกวดที่ https://bit.ly/3l7K0fC)  ทั้งนี้ ไอเดียที่ผ่านการคัดเลือกจะได้เข้าร่วมโครงการ FAIPA HACKATHON พร้อมได้รับการสนับสนุนจาก GISTDA ในการนำไอเดียมาประยุกต์ใช้งานจริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขและบริหารจัดการเหตุการณ์ไฟป่าตลอดจนนำไปใช้เพื่อวางแผนรับมือภัยพิบัติจากไฟป่าได้ดียิ่งขึ้น  เงินรางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่1. รางวัลชนะเลิศ (เกียรติบัตร + โล่ + เงินรางวัล 30,000 บาท)2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (เกียรติบัตร […]

ลัดเลาะข้าวสาร ในวันที่สีสันกลับมาส่องแสง

“อากาศเย็นๆ ไปเดินเล่นข้าวสารกันไหม” ผมส่งข้อความหาเธอ“เอาดิ ไม่ได้ไปแถวนั้นมานานมาก” เธอตอบกลับมาหลังผ่านไปไม่กี่อึดใจจะว่าไปแล้ว เราทั้งสองก็ไม่ได้แวะไปแถวนั้นมานาน นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาดของโควิด นี่ก็ปาเข้าไปจะ 2 ปีแหละ “คิดถึงเหมือนกันเนอะ” ผมตอบเธอกลับไป เธออ่าน ก่อนจะนัดหมายว่าเจอกันที่ไหน บ่ายแก่ๆ ตามวันนัด อากาศกรุงเทพฯ ปลายปีนี้หนาวกว่าปีที่แล้ว เธอกล่าวอย่างนั้น ผมพยักหน้าเห็นด้วยแสงแดดที่สาดลอดผ่านเงาไม้ เงาตึก ตกกระทบเป็นจิตรกรรมชั่วคราว ขับเน้นเหลี่ยมมุม ช่วยให้การเดินทอดน่องสนุกกว่าที่เคย “หืออ คิดถึงการได้ออกมาเดินเล่นแบบนี้มาก” ผมเปรยพลางเดินก้าวจากฝั่งวัดบวรฯ ไปยังร้านตรงข้ามที่ดูเหมือนชาวบ้านและร้านค้าแถวนั้นจะกลับมาใช้ชีวิต ไปพร้อมๆ ผู้คนที่ขาจรและขาประจำ พวกเราชอบแถวนี้เพราะมันเป็นส่วนผสมของทั้งความใหม่และความเก่า ทั้งความเชื่อและความหลงใหล หลอมรวมกันอยู่ที่นี่อยากกินขนมไทย ของเก่าแก่ขึ้นชื่อก็แวะซื้อได้ จะไปต่อในบาร์ทันสมัยก็ทำได้เลย หากว่ากันว่า กลิ่นบางกลิ่น เพลงบางเพลง จะทำให้นึกถึงคนบางคน จังหวะจะเดินของที่นี่ก็คงเป็นเช่นนั้น เสน่ห์ของย่านนี้ยังคงเป็นอย่างที่มันเคยเป็นแม้จะแอบใจหายไปบ้างที่บางร้านที่ปิดตัวไปแล้วเพราะทนพิษเศรษฐกิจไม่ไหว เราลัดเลาะตรอกซอยรามบุตรี ทักทายน้องแมวข้างทางมากมาย ก่อนจะแวะช้อปของมือสองร้านโปรดที่แน่นอนว่าไม่ได้แวะมานานมาก เธอชอบของมือสอง ผมก็เช่นกัน เราชอบที่มันมีความเฉพาะตัวสูง มีเรื่องราวบางอย่าง หากจะนับว่านี่คือประวัติศาสตร์สักชิ้นที่จับต้องก็คงไม่ผิดนักเจ้าของร้านทักทายอย่างเป็นกันเอง เขาบอกว่ากำลังกลับมาเปิดหน้าร้านอีกครั้งหลังต้องปิดๆ เปิดๆ และย้ายไปขายออนไลน์อยู่บ้างในช่วงที่ผ่านมา แสงสุดท้ายลอดช่องตึกมา อากาศที่ดูเหมือนจะเย็นลงอีกนิด ช่วยให้การเดินเล่นพิสมัยมากขึ้นอีกเท่าตัว […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

‘ปลอดภัย’ หรือ ‘ละเมิดความเป็นส่วนตัว’? เกาหลีใต้เตรียมใช้ AI จดจำใบหน้า ติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ในเมืองบูชอน

การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างรอบด้าน เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยมนุษย์ลดความเสี่ยงและควบคุมการระบาดในวงกว้าง ล่าสุดเมืองบูชอน ประเทศเกาหลีใต้ เตรียมเริ่มโครงการนำร่องใช้ระบบจดจำใบหน้าที่พัฒนามาจาก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-powered Facial Recognition) ผ่านเครือข่ายกล้อง CCTV กว่า 10,820 ตัวทั่วเมือง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโควิด-19 และผู้มีสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงระบุได้ว่าคนเหล่านี้สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ รัฐบาลกลางเกาหลีใต้ทุ่มงบประมาณให้แก่โครงการกว่า 1,600 ล้านวอน (ราว 45 ล้านบาท) และทางการบูชอนยังใช้งบประมาณของเมืองเพิ่มอีก 500 ล้านวอน (ราว 14 ล้านบาท) เกาหลีใต้จะเริ่มการใช้เทคโนโลยี AI ในเมืองบูชอน เพราะเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ หรือมากกว่า 800,000 คน จาง ด็อกชอน (Jang Deog-cheon) นายกเทศมนตรีเมืองบูชอน อธิบายว่า มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเพียงตัวเดียว การใช้เทคโนโลยี AI จดจำใบหน้าจะช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่และช่วยให้การติดตามผู้ป่วยโควิด-19 รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบสามารถติดตามคนได้มากถึง 10 คนพร้อมกันภายใน 5 – 10 นาที […]

New York ให้สิทธิ์ผู้อพยพเลือกตั้ง เพิ่มจำนวนโหวตทันที 800,000 คน เฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่นเท่านั้น

นิวยอร์กเพิ่งออกมาตรการให้บุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองสามารถลงคะแนนในการเลือกตั้งท้องถิ่น เพิ่มจำนวนผู้มีสิทธิ์โหวตมากขึ้นถึง 800,000 คนทันที โดยจะให้สิทธิ์เฉพาะผู้อยู่อาศัยถาวรตามกฎหมาย และผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในสหรัฐอเมริกาอย่างถูกต้องเท่านั้น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของผู้อพยพ 3 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน The Big Apple ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงเป็นครั้งแรกในปี 2020 แม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่นายกเทศมนตรีนิวยอร์กเมื่อสองทศวรรษที่แล้วได้ยุบการเลือกตั้งคณะกรรมการโรงเรียน ที่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองสามารถเข้าร่วมได้ ซึ่งกฎหมายใหม่ที่ได้รับการเห็นชอบโดยสภาเทศบาลเมืองด้วยมติ 33 ต่อ 14 และงดออกเสียง 2 เสียง ได้ให้สิทธิ์ผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี เจ้าหน้าที่บัญชี เจ้าหน้าที่กฎหมาย สภาเทศบาลเมือง และอื่นๆ อีกมากมาย “ลูกของพวกเขาเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาล ในขณะที่ผู้ปกครองก็จับจ่ายในร้านค้าของเรา และขับรถบนถนนเส้นเดียวกัน” Anu Joshi รองประธานฝ่ายนโยบายของสหพันธ์คนเข้าเมืองนิวยอร์ก ซึ่งเป็นผู้นำในการรณรงค์ดังกล่าวบอกว่า แม้ผู้อพยพเหล่านี้จะไม่ได้มีสถานะเป็นพลเมือง แต่ก็มีความสำคัญกับเมือง และเป็นผู้ปฏิบัติการแนวหน้าที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในช่วงการระบาดที่ผ่านมา จากการเพิ่มสิทธิ์โหวตให้กับกลุ่มคนที่ไม่ใช่พลเมือง Ydanis Rodriguez สมาชิกสภาผู้ให้การสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้มองว่า กลไกดังกล่าวสามารถกลายเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเมืองอื่นได้ และไม่ใช่แค่ในรัฐนิวยอร์ก แต่หมายถึงทั้งประเทศโดยเฉพาะในแถบมิดเวสต์ และทางใต้ของสหรัฐอเมริกาที่เคยถูกโจมตีอย่างหนักเมื่อพูดถึงสิทธิ์ในการเลือกตั้ง “เรารู้ว่ามันต้องใช้เวลานานในการเป็นพลเมืองสหรัฐฯ” Nora Moran อีกหนึ่งผู้นำในการรณรงค์ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายของ United Neighborhood Houses บอกว่าการยื่นขอกรีนการ์ดเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานาน […]

เกาหลีใต้กำลังมีครัวเรือนที่มีสมาชิกเพียงคนเดียวสูงขึ้นเรื่อยๆ

เกาหลีใต้กำลังมีครัวเรือนที่มีสมาชิกเพียงคนเดียวสูงขึ้นเรื่อยๆ ปีที่แล้วมีครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียว (One-person Household) เกือบหนึ่งในสามของครัวเรือนในประเทศเกาหลีใต้ คิดเป็นจำนวน 31.7 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวมในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจากที่เคยคิดเป็น 30.2 เปอร์เซ็นต์ในช่วงปีก่อนหน้า จากสถิติครัวเรือนที่ประกอบด้วยสมาชิกคนเดียวมีจำนวนทั้งสิ้น 6.64 ล้านคนในปี 2020 เพิ่มจำนวนขึ้นจาก 6.15 ล้านคนในปี 2019 สัดส่วนครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งในปีดังกล่าวเคยมีครัวเรือนแบบสมาชิกคนเดียวเพียง 27.2 เปอร์เซ็นต์ ข้อมูลเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรของประเทศ เพราะหนุ่มสาวชาวเกาหลีใต้แต่งงานช้า หรืออาจเลือกไม่แต่งงานจำนวนมากขึ้น ด้วยปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งส่งผลให้อัตราการเกิดนั้นลดลงไปด้วย ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ก็กำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าในปี 2025 สัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์จากประชากรทั้งหมด ในปีที่ผ่านมา ครัวเรือนที่มีสมาชิกคนเดียว ประกอบไปด้วยคนวัย 20 ปี ซึ่งมีสัดส่วนขนาดใหญ่ที่สุดที่ 19.1 เปอร์เซ็นต์ ตามมาด้วยคนกลุ่มอายุ 30 ปี จำนวน 16.8 เปอร์เซ็นต์ และคนกลุ่มอายุ 50 […]

กินดี อยู่ดี แฮนดี้ โปรเจกต์ส่งความสุขที่เปิดให้เราได้สนับสนุนคนพิการอย่างยั่งยืน

หลายคนอาจคุ้นเคยกับประโยค ‘น้ำใจ ยิ่งให้ ยิ่งได้’ จากการตอบคำถามของนางงามท่านหนึ่งซึ่งเคยเป็นไวรัลเมื่อหลายปีก่อน ฟังเผินๆ อาจเป็นถ้อยคำนามธรรมที่จับต้องไม่ได้เลย แต่เมื่อเร็วๆ นี้ เราแอบไปเจอโปรเจกต์ดีๆ ที่ทำให้เห็นภาพประโยคนี้ได้ชัดเจน กินดี อยู่ดี แฮนดี้ คือชื่อโปรเจกต์นั้น แค่ฟังชื่อก็น่าจะพอเดาออกว่าเป็นการสนับสนุนคนพิการ แต่ความน่าสนใจของโปรเจกต์นี้คือมันไม่ใช่การสนับสนุนคนพิการแบบที่เราคุ้นชินอย่างการบริจาคเงินตามศรัทธา ให้ไปโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน กลับกัน ‘กินดี อยู่ดี แฮนดี้’ คือโปรเจกต์ที่นอกจากจะ ‘ให้’ แล้วเรายัง ‘ได้รับ’ บางอย่างกลับมา แถมบางอย่างที่ว่านั้นช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้คนพิการอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่ปี 2560 ที่โอสถสภาตั้งใจพัฒนาโครงการ ‘พลังเพื่อก้าวต่อไป’ หรือ ‘Life must go on’ เพื่อสนับสนุนคนพิการด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยซึ่งเอื้อให้ใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเอง มีการจับมือกับเครือข่ายนักกายภาพบำบัด ส่งเสริมให้คนพิการ โดยเฉพาะคนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจนพิการได้เรียนรู้และสู้ต่อกับเส้นทางใหม่     ทำยังไง เริ่มตั้งแต่ช่วยค้นหาอาชีพที่เหมาะสมกับคนพิการแต่ละคน จัดหาผู้เชี่ยวชาญในสายงานต่างๆ มาสอนทักษะเฉพาะด้านอย่างการทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกเห็ด ทำงานสานและงานไม้ที่ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น แถมยังสนับสนุนอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้ผู้มีทักษะแต่ขาดทุนทรัพย์อีกด้วย             จนถึงวันนี้ สิ่งที่ลงแรงไปได้ออกดอกออกผลจนกลายเป็นแบรนด์ ‘กินดี อยู่ดี แฮนดี้’ […]

ลงใต้ไปทัวร์เมืองเก่า ส่องร้านต้นตำรับ ที่งาน ‘เมดอินสงขลา’ 18 – 19 ธ.ค. 64

สุดสัปดาห์นี้ใครอยู่ใต้แวะไปเที่ยวสงขลากันนะ!  18 – 19 ธ.ค. 64 นี้ จังหวัดสงขลาจะมีงาน ‘เมดอินสงขลา’ (Made in Songkhla) อีเวนต์สนุกๆ ที่จะพาทุกคนลัดเลาะย่านเมืองเก่า พร้อมกับเดินผ่านร้านค้าดั้งเดิม 12 ร้าน มีทั้งร้านเจ้าแรก ร้านต้นตำรับ ร้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงร้านที่ไม่มีทายาทสืบทอดหรือไม่มีคนรุ่นใหม่อนุรักษ์ต่อแล้ว ส่วนสินค้าของแต่ละร้านก็มีตั้งแต่อาหาร ขนม เครื่องดื่ม งานปัก ไปจนถึงสิ่งพิมพ์ ผู้เข้าร่วมงานจะได้ซึมซับบรรยากาศและสถาปัตยกรรมสุดวินเทจแบบใกล้ชิด และยังได้เลือกชิมเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านในตำนาน ที่ถูกแปลงโฉมให้โดดเด่น มีเอกลักษณ์ และทันสมัยยิ่งขึ้น ความพิเศษก็คือความร่วมมือจาก 9 นักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งดีไซเนอร์จากท้องถิ่นและจากส่วนกลาง ที่จะพาทุกคนสัมผัสกับเมนูใหม่ๆ และเปิดประสบการณ์ซื้อขายสำหรับธุรกิจสร้างสรรค์ ชื่นชมบรรจุภัณฑ์หรือหน้าร้านอันแปลกตา ที่ถูกผสมผสานด้วยไอเดียสร้างสรรค์ จนกลายเป็นผลผลิตใหม่ฉบับเมดอินสงขลาแท้ๆ ทุกคนจะได้รับรู้และเข้าใจเรื่องราวของร้านต่างๆ ในย่านนี้อย่างลึกซึ้งกว่าเดิม มากไปกว่านั้น งานเมดอินสงขลายังมีกิจกรรมสุดพิเศษอื่นๆ รอต้อนรับทุกคนอีกด้วย ได้แก่ 1) นิทรรศการขนาดเล็กและงานฉายสารคดีสั้นเกี่ยวกับเมดอินสงขลา จัดโดย a.e.y.space ที่จะพาทุกคนรับรู้ความเป็นมาเป็นไปของงานและจุดกำเนิดของงานสร้างสรรค์ที่ล้วนทำที่สงขลา พร้อมกับแผนที่สำหรับเดินท่องงาน 2) Family Talk […]

คิดภาษีแบบ “เห็นภาพ” ผ่าน Data Visualization จาก How to Tax?

ปลายปีเป็นสัญญาณว่าการเสียภาษีรอบใหม่กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องภาษี ปลายปีคือช่วงเวลาที่ต้องรีบหาทางลดหย่อนกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะ ‘อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ ที่ต้องคำนวณใหม่กันทุกปี เพราะแต่ละคนมีรายได้เพิ่มลดกันทุกปี บางคนมีรายได้หลายทางแล้วไม่รู้ต้องกรอกช่องไหน เป็นทั้งฟรีแลนซ์และพนักงานประจำไม่รู้จะเสียภาษีอย่างไรดี หรือจะต้องเสียภาษีเท่าไร เราอยากชวนมาทำความเข้าใจภาษีแบบเห็นภาพ ผ่าน Data Visualization จาก How to Tax? บนเว็บไซต์ https://taepras.github.io/howtotax/ เว็บไซต์อธิบายวิธีคิดภาษีอย่างง่ายที่ทำให้เราเห็นภาพมากกว่าตารางบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเป็นเหมือนผู้ช่วยที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องภาษีได้ง่ายขึ้น เพราะมีทั้งกราฟ ภาพประกอบ คำอธิบาย วิธีคำนวณ และผู้ช่วยคำนวณที่เราสามารถปรับลดรายได้ของตัวเองได้ตามจริง เพื่อให้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลที่เว็บไซต์สรุปให้ไปวางแผนภาษีต่อได้หากต้องการลดหย่อนให้ทันภายในปีนี้และปีต่อๆ ไป  Source : https://taepras.github.io/howtotax/

หญิงใช้ได้ ชายใช้ดี ถุงยางอนามัย Unisex แรกของโลก เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในมาเลเซีย

เมื่อถุงยางอนามัยไม่ได้ผูกขาดเฉพาะเพศใดเพศหนึ่งอีกต่อไป รู้จักกับ ‘Wondaleaf Unisex Condom’ ถุงยางอนามัย Unisex ชิ้นแรกของโลกที่ออกแบบมาให้ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย วางจำหน่ายในประเทศมาเลเซียแล้วเป็นแห่งแรก นรีแพทย์ชาวมาเลเซีย John Tang ได้สร้างถุงยางอนามัยที่ทำจากโพลียูรีเทน (Polyurethane) ซึ่งเป็นพลาสติกที่เราใช้ปิดบาดแผล โดยสามารถสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิงระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัย Unisex โดย Wondaleaf สามารถสวมใส่ได้ทั้งภายในและภายนอกชายและหญิง เนื่องจากด้านหนึ่งของถุงยางอนามัยคือแผ่นกาวเทอร์โมพลาสติกที่มีคุณสมบัติเหนียว ผู้ใช้สามารถใช้โดยแนบกับฐานองคชาตและสวมใส่ภายนอกเหมือนถุงยางอนามัยทั่วไป แต่อีกวิธีหนึ่งก็สามารถพลิกกลับด้านในออกมา แล้วติดรอบช่องคลอดเพื่อสอดใส่เข้าไปข้างในได้ Tang ผู้ก่อตั้ง Twin Catalyst Sdn Bhd บริษัทที่ผลิตโปรดักต์ Wondaleaf ได้ไอเดียออกแบบถุงยางอนามัยหลังจากสังเกตเห็นผู้ป่วยจำนวนมากของเขาที่มีปัญหาการคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม โดยเขาหวังว่าถุงยางอนามัย Unisex จะช่วยให้คนสนใจและใส่ใจการคุมกำเนิดมากขึ้น ไม่ว่าเป็นเพศไหนก็ตาม เขายังเสริมอีกว่าบางทีการทำถุงยางอนามัย Unisex นี้อาจจะช่วยขยายบทสนทนาและลดภาวะการกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของสังคมเกี่ยวกับการคุมกำเนิดก็เป็นได้ นอกจากนี้ตัวถุงยางอนามัยของ Wondaleaf ยังได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากกว่าถุงยางอนามัยทั่วๆ ไป จากการทำแผ่นปิดที่กว้างขึ้นครอบคลุมพื้นผิวรอบๆ อวัยวะเพศ สูตินรีแพทย์อ้างว่าถุงยางอนามัย Unisex นี้มีโอกาสลื่นหลุดระหว่างทำกิจกรรมทางเพศน้อยกว่า เพราะมันติดกับผิวหนังของผู้สวมใส่อย่างแท้จริง อีกทั้งยังปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ยางธรรมชาติอีกด้วย แพ็กเกจของ Wondaleaf มาพร้อมกับถุงยางอนามัยสองชิ้น […]

1 155 156 157 158 159 331

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.