‘เก็บกลับ-รีไซเคิล’ ไทยเบฟ ส่งต่อไออุ่นผ่านผ้าห่มจากขวดพลาสติกรีไซเคิลแก่ผู้ประสบภัยหนาว

ในช่วงต้นปีแบบนี้พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องเผชิญกับภัยหนาวอยู่อย่างต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ เพราะหน้าหนาวของพวกเขาคือหนาวจริงๆ เกินกว่าที่ร่างกายจะต้านทาน.บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมด้วยพันธมิตรอีกหลายภาคส่วน ดำเนินโครงการ ‘ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว’ เพื่อส่งมอบผ้าห่มแก่พี่น้องในพื้นที่ห่างไกล มาเป็นเวลากว่า 21 ปี พร้อมขยายเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสังคมแห่งการ “ให้” ที่ยั่งยืน.ไทยเบฟในฐานะผู้ผลิตเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญในเก็บกลับบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคเพื่อนำไปรีไซเคิลจึงได้นำแนวคิดนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับบรรจุภัณฑ์ และสร้างประโยชน์ส่งต่อให้ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับที่องค์กรมุ่งเน้นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากร การออกแบบและเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด.โดย “โครงการ เก็บกลับ-รีไซเคิล” ภายใต้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด จากแนวคิดว่าการดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของทุกคน และเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ได้มีการจัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ พร้อมตั้งจุดรับขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่ม พร้อมทั้งออกบูธกิจกรรมตามโรงเรียน ชุมชน หรืองานต่างๆเพื่อรณรงค์กระตุ้นการเรียนรู้การคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ตั้งแต่ต้นทางที่มีคุณภาพ กลับคืนสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณของเสียในสิ่งแวดล้อมและสร้างประโยชน์แก่สังคม.ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่ว่าก็คือ การเก็บกลับขวดพลาสติก PET ที่บริโภคแล้ว เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบและผลิตเป็นเส้นใย rPET และถักทอเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” เพื่อมอบให้แก่ผู้ประสบภัยหนาว.โดยเส้นใยจากขวด rPET จะช่วยลดพลังงานการผลิตลงได้ 60% ลดปริมาณการปล่อย co2 ได้ 32% […]

แจกฟรีฟอนต์ลายมือ จิตร ภูมิศักดิ์ ต่อยอดจากนิทานวาดหวังเล่ม ‘จ จิตร’ โดยกลุ่มวาดหวัง

ย้อนไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ‘วาดหวังหนังสือ’ ได้จัดทำหนังสือภาพสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในเนื้อหาสิทธิ เสรีภาพ ความฝัน ความหวัง ประชาธิปไตย และความเป็นไปของบ้านเมือง ในรูปแบบเซตนิทานวาดหวัง 8 เรื่อง โดยหนึ่งในนั้นคือ จ จิตร ว่าด้วยชีวิตของจิตร ภูมิศักดิ์ นักคิดนักเขียนที่มีผลงานวิชาการมากมาย ทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://urbancreature.co/8-children-books/) นอกจากได้รับการสนับสนุนในกลุ่มคนรักประชาธิปไตยแล้ว นิทานวาดหวังยังได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากกระทรวงศึกษาธิการและทางการไทย จนทำให้เกิดกระแสเป็นข่าวมากมาย ส่งผลให้ยอดขายพุ่งเกินความคาดหมายของทีมผู้จัดทำ ได้รับการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา หลังจากหักค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือ กลุ่มวาดหวังได้นำเงินไปส่งมอบให้หน่วยงานและกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่ทำงานเพื่อสังคม ช่วยเหลือประชาชนในช่วงโควิด รวมถึงผู้ลี้ภัยไทยในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังนำไปทำโปรเจกต์ความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคมที่น่าสนใจด้วย โปรเจกต์ที่ว่านั้นคือการทำฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ จากลายมือของจิตร โดยมีกลุ่มประชาธิปไทป์เป็นผู้จัดทำให้ฟอนต์นี้ใช้งานได้ จุดประสงค์คือต้องการให้คนไทยได้ใช้ฟอนต์จิตรในการอ่านเขียน ซึมซับรับรู้ และรู้จักจิตรในอีกแง่มุมหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นการทำให้ชื่อของเขาที่มาพร้อมความหวัง พลัง และความปรารถนาดีต่อส่วนรวมอยู่ร่วมในสังคมไทยไปอีกตราบนานเท่านาน ผู้ที่สนใจนำฟอนต์ไปใช้พิมพ์หนังสือหรือสื่อต่างๆ สามารถดาวน์โหลดฟรีที่ https://tinyurl.com/y4g2n3xm ซึ่งทางทีมผู้จัดทำขอแค่ให้ช่วยระบุเครดิตชื่อฟอนต์จิตร ภูมิศักดิ์ หรือติดแฮชแท็ก #ฟอนต์จิตร เมื่อใช้งานบนโลกออนไลน์ *หมายเหตุ ฟอนต์จิตรมีเพียงตัวอักษรไทย เลขไทย และเลขอารบิกเท่านั้น  […]

Home De Cafe คาเฟ่ในลำปางที่ให้ความรู้สึกเหมือนมาบ้านเพื่อน

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ กระแส ‘กลับบ้านเกิด’ ของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ เริ่มก่อร่างสร้างตัวให้เห็นชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่เกิดปรากฏการณ์ The Great Resignation หรือการลาออกครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษย์เงินเดือนทั่วโลก ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยเริ่มคิดถึงการกลับไปตั้งตัวที่บ้านเกิด บางคนกลับไปสานต่อกิจการของครอบครัว บางคนกลับไปเรียนรู้การทำไร่สวนบนที่ดินของที่บ้าน และบางคนก็กลับไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งนั่นทำให้ที่ผ่านมาเราได้เห็นพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเรื่อยๆ ในต่างจังหวัด บ้างซัปพอร์ตชุมชนและคนในท้องถิ่นโดยตรง บ้างซัปพอร์ตพื้นที่รอบๆ โดยทางอ้อม อาจเป็นการสร้างแลนด์มาร์กใหม่ขึ้นมา หรือกระทั่งนำพาวิถีชีวิตใหม่ๆ สู่คนในท้องถิ่น ‘HOME De CAFE’ ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่สไตล์ฟิวชันภายในหมู่บ้านสามัคคีฝั่งตะวันออกในตำบลพิชัย จังหวัดลำปางเองก็เป็นหนึ่งในพื้นที่เหล่านั้น  ด้วยเหตุผลที่อยากกลับมาอยู่กับครอบครัว ทำให้ นิก-สุริยา บุตรพิชัย อดีตช่างภาพวัย 29 ปีตัดสินใจทำคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้โดยใช้พื้นที่บ้านที่อาศัยอยู่ รวมถึงความสนใจในศิลปะและประสบการณ์ตอนที่ได้ไปเรียนและทำงานด้านอาหารที่ประเทศออสเตรเลียก่อร่างสร้างสถานที่นี้ขึ้นมาด้วยตัวเองจนตอนนี้ HOME De CAFE เปิดมาได้ปีกว่าแล้ว และพร้อมเติบโตทดลองอะไรใหม่ๆ ตามขวบวัยของเจ้าของ คาเฟ่ในบ้าน เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวข้าราชการ แม่ทำงานราชการ พ่อเป็นทหาร ทำให้นิกต้องใช้ชีวิตอยู่ในกรอบมาตลอด จนกระทั่งในวันที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา เขาตัดสินใจไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เพื่อพบเจอผู้คนและบรรยากาศใหม่ๆ ได้ลองดิ้นรนใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ถึงอย่างนั้น นิกก็ออกตัวกับเราว่าทุกสิ่งที่ทำล้วนไม่ได้มาจากความตั้งใจแรก […]

ชวนดูหนังจากชีวิต 6 ศิลปินหัวขบถ Banksy, Ai Weiwei, Van Gogh ฯลฯ ที่ River City Bangkok

แบงก์ซี (Banksy), อ้าย เว่ยเว่ย (Ai Weiwei), วิเวียน ไมเออร์ (Vivian Maier), ฟรีดา คาห์โล (Frida Kahlo), ฟาน ก็อกฮ์ (Van Gogh) และเบนยามิน มิลลิพีด์ (Benjamin Millepied)  หากเอ่ยชื่อศิลปินจากทั่วทุกมุมโลกเหล่านี้ หลายคนคงเคยได้เห็นหรือรับชมผลงาน และวีรกรรมขบถ ของพวกเขามาบ้าง หรือหลายคนอาจจะคุ้นแค่ชื่อแต่ยังไม่เคยรู้เรื่องของเขาเลย จะดีแค่ไหนถ้าได้ทำความรู้จักชีวิตและผลงานของพวกเขาไปพร้อมกันผ่านจอภาพยนตร์ River City Bangkok จัดโปรแกรมภาพยนตร์ชื่อ ‘PASSION’ ที่จะชวนทำความรู้จักชีวิตศิลปินทั้ง 6 ชีวิตที่เอ่ยถึงข้างบน ค้นหาเบื้องหลังแนวคิดของผลงาน และชีวิตของพวกเขาหลังผลิตผลงานที่เสียดสีขนบธรรมเนียมของสังคมเก่าว่าเป็นอย่างไร  สำหรับเดือนมกราคม วันที่ 15 และ 29 นี้ ผู้จัดเริ่มต้นด้วย ‘Sunflowers’ (2021) ภาพยนตร์สารคดีกำกับโดย เดวิด บิกเคอร์สตาฟฟ์ (David Bickerstaff) จะสำรวจภาพดอกทานตะวันอันโด่งดังของฟาน ก็อกฮ์ว่ามีนัยสำคัญอย่างไร ทำไมถึงเลือกวาดภาพนี้ […]

Sara Cultural Centre อาคารไม้สูงที่สุดในโลก และลดการปล่อย CO₂ ตั้งแต่การก่อสร้าง

Sara Cultural Centre คือหนึ่งในโครงการออกแบบสถาปัตยกรรมแบบยั่งยืนที่ถูกนำเสนอใน Build Better Now นิทรรศการออนไลน์ในวาระการประชุม #COP26 ที่เพิ่งจบลงไป เป็นอาคารไม้ที่สูงที่สุดในโลกแห่งใหม่ล่าสุดในปี 2021 และเพิ่งเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา อาคารหลังนี้ไม่ได้เป็นเคสที่น่าสนใจแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวอย่างการออกแบบพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและทำให้คนเข้าถึงศิลปะและวัฒนธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น อาคารไม้ 20 ชั้น ความสูง 80 เมตรแห่งนี้ เป็นโครงการของเมืองเชลเลฟเตโอ (Skellefteå) ในประเทศสวีเดน ที่เปิดให้มีการประกวดแบบเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเฟ้นหาสถาปนิกมือดีที่จะทำให้พื้นที่ใจกลางเมืองแห่งนี้เป็นพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานจริงๆ ซึ่งผู้ชนะการออกแบบคือ White Arkitekter ที่เนรมิตอาคารไม้ให้ออกมาสวยงามและพลิกโฉมวงการก่อสร้างให้ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้ในทุกมิติ ปัจจุบันเชลเลฟเตโอเป็นเมืองที่มีประชากรเพียง 72,000 คน แต่อาคารศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในแผนพัฒนาที่จะดึงดูดให้คนตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่นี่ให้ได้มากขึ้นถึง 100,000 คนในปี 2030 เพราะอาคารแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้จัตุรัสใจกลางเมือง ใกล้กับศูนย์การท่องเที่ยว มีประตูให้เข้าได้จากทุกทิศทาง มีถนนล้อมรอบ ชั้นล่างยังเป็นกระจกใสที่ทำให้คนที่ผ่านไปมาสามารถมองเห็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในได้ตลอดเวลา และที่สำคัญยังอยู่ในจุดที่คนเมืองสามารถเข้าถึงง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะ  อาคารแห่งนี้มีทั้งหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ โรงละคร ห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่ โรงแรม ร้านอาหาร สปา และศูนย์การประชุม เป็นพื้นที่สาธารณะในร่มที่เชิญชวนให้คนในเมืองได้ออกมาใช้เวลาและมีบทสนทนากันมากขึ้น โดยในแต่ละห้องจะมีพื้นที่ใช้สอยสำหรับทำกิจกรรมที่แตกต่างกัน […]

มุสลิมกินได้ไหม ถูกหลักฮาลาลหรือเปล่า เนื้อสัตว์จากแล็บไร้ความชัดเจนทางศาสนา จนอาจชะงักทั้งอุตสาหกรรม

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงหรือ Cultured Meat กำลังเผชิญหน้ากับคำถามข้อสำคัญที่ส่งผลต่อการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม เมื่อเนื้อที่ใช้วิธีการเพาะขึ้นมาจากชิ้นส่วนของสัตว์ ที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาโดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และไม่ได้ถูกเชือดตามหลักฮาลาล ผู้บริโภคกลุ่มสำคัญอย่างชาวมุสลิมหลายพันล้านคนทั่วโลก หรือศาสนาอื่นที่มีกฎด้านอาหาร จะสามารถบริโภคอาหารแห่งอนาคตนี้ได้โดยไม่ผิดหลักศาสนาหรือไม่ Eat Just สตาร์ทอัปผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง จากซานฟรานซิสโก กำลังวางเดิมพันระหว่างเทคโนโลยีกับขนบธรรมเนียมที่มีมาอย่างช้านาน เพื่อเสนอแนวทางใหม่ในการป้อนโปรตีนให้กับโลก ในปี 2020 Eat Just เริ่มวางจำหน่ายนักเก็ตไก่ที่เพาะในห้องปฏิบัติการในสิงคโปร์ ก่อนจะระดมทุนเงินได้มากถึง 267 ล้านดอลลาร์ในปีต่อมา แผนของบริษัทคือมุ่งหน้าไปสู่ตลาดมุสลิม และมีแผนจะสร้างโรงงานในประเทศกาตาร์ ทว่าเมื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางศาสนาแล้ว เนื้อสัตว์ชนิดใหม่นี้ยังไม่ได้รับอนุมัติ และยังไม่มีตราฮาลาลประทับอยู่บนสินค้าแต่อย่างใด Cultured Meat เป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และอาจมีมูลค่าถึง 25,000 ล้านภายในเวลา 10 ปี มหาเศรษฐีของโลกทั้ง Bill Gates, Richard Branson แม้กระทั่งผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กอย่าง Eduardo Saverin และอีกมากมายกำลังลงทุนในธุรกิจแห่งอนาคตและหวังให้กำไรงอกงามจากห้องแล็บ อย่างไรก็ตาม Nahdlatul Ulama องค์กรอิสลามที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซียกล่าวในแถลงการณ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่า เซลล์ที่นำมาจากสัตว์ที่มีชีวิต และเพาะในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพจะอยู่ในหมวดหมู่ของซากสัตว์ ซึ่งถือว่าไม่สะอาด และมีกฎห้ามไม่ให้บริโภค แต่ประตูก็ยังไม่ได้ปิดตายโดยสิ้นเชิงเมื่อ […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

รณรงค์หยุด Bully ผ่านสติกเกอร์ Line ฝีมือนักเรียนญี่ปุ่นในโยโกฮาม่า

สมาคมผู้ปกครองและครู (PTA) ประจำโรงเรียนชั้นประถมศึกษาในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นผุดไอเดียเด็ด สร้างสรรค์สติกเกอร์ในธีมหยุดการบุลลี่ลงบนแอปพลิเคชันแชตยอดฮิตอย่าง Line  สติกเกอร์นี้มาจากภาพประกอบฝีมือนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษายามาอุจิ (Yamauchi) ในเขตอาโอบะ เมืองโยโกฮาม่า โดยแนบถ้อยคำให้กำลังใจเด็กๆ ไว้ในภาพ ซึ่ง Seijun Sato อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนหวังว่าคนที่ได้ใช้สติกเกอร์เหล่านี้จะได้รับความรู้สึกอบอุ่นหัวใจ สติกเกอร์ที่ว่ามีทั้งหมด 178 รูปแบบ ประกอบไปด้วยวลีภาษาญี่ปุ่นต่างๆ อาทิ ขอบคุณ, คุณทำได้ดีมาก และ ฉันอยู่ข้างคุณเสมอนะ โดยวางเคียงกับเจ้าการ์ตูนมาสคอตของโรงเรียนที่มีชื่อว่า ‘คีย์ลีฟ (Keyaleaf)’ สติกเกอร์ชุดดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกับนักวาดภาพประกอบชื่อ ‘โดคุคิโนโกะ (Dokukinoko)’ ซึ่งลูกสาวของนักวาดภาพคนนี้ ก็เข้าเรียนในโรงเรียนประถมฯ เช่นกัน เธอทำสติกเกอร์คีย์ลีฟกับ PTA ในปี 2019 และเปิดตัวโปรเจกต์อื่นๆ เพื่อทำสติกเกอร์จากภาพที่เด็กนักเรียนวาดในปี 2020 ซึ่งทำให้ได้รับภาพวาดทั้งหมดมาจากเด็กๆ จำนวนประมาณ 100 คน เมื่อเดือนมกราคม 2021 โดคุคิโนโกะยังได้รับรางวัลสูงสุด ประเภทภาพวาดประกอบจากเวที ‘yuru-chara’ โดยศิลปินเข้าร่วมประกวดในธีมป้องกันการฆ่าตัวตายเพราะการถูกกลั่นแกล้ง ซึ่งรางวัลนี้จัดขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงผลกำไรในโตเกียว  ต่อมาในเดือนมิถุนายน ระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน โดคุคิโนโกะได้แนะนำให้มีการทำสติกเกอร์ไลน์เพื่อป้องกันการบุลลี่ขึ้นมา […]

กระแสรักษ์โลกมาแรง แบรนด์ชั้นนำของโลกใช้วัสดุชีวภาพ ผลิตสินค้ามากขึ้นสองเท่าในปี 2021

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วัสดุชีวภาพเคยเป็นสินค้าสำหรับตลาดเฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่ในปี 2021 วัสดุจากธรรมชาติได้กลายเป็นสินค้ากระแสหลักและถูกใช้ในวงกว้างมากขึ้น หลังจากบรรดาสถาปนิก นักออกแบบ และผู้ผลิตเลือกใช้วัสดุประเภทนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับสร้างเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เรจินา โปลันโก (Regina Polanco) ผู้ก่อตั้ง Pyratex บริษัทผลิตสิ่งทอจากธรรมชาติสัญชาติสเปน เปิดเผยว่า ยอดขายวัสดุชีวภาพของบริษัทในปี 2021 เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปี 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ลูกค้าที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่หลายรายต้องการใช้วัสดุจากธรรมชาติในการผลิตสินค้าของตัวเองมากขึ้น โดยแบรนด์ที่ใช้ผ้าของ Pyratex ได้แก่ ASICS, Camper, PANGAIA และ Pepe Jeans เป็นต้น ด้านแจด ฟิงก์ (Jad Finck) รองประธานฝ่ายนวัตกรรมและความยั่งยืนแห่ง Allbirds บริษัทผลิตรองเท้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็ยอมรับว่า ความสนใจในการใช้วัสดุชีวภาพเกิดขึ้นมากมายในปี 2021 โดยทาง Allbirds ได้พัฒนาพลาสติกชีวภาพจากอ้อยสำหรับผลิตรองเท้าผ้าใบให้แก่หลายบริษัท เช่น Reebok และ Timberland โดยฟิงก์อธิบายว่า พืชและสิ่งมีชีวิตอย่างเช่นสาหร่ายและเชื้อรา สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ เพราะพวกมันดึงก๊าซชนิดนี้จากอากาศและเก็บไว้ในเซลล์ของตัวเอง มากกว่าที่จะผลิตและปล่อยก๊าซออกไป นอกจากนั้น […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

Sher Maker : สตูดิโอสถาปนิกที่หยิบภูมิปัญญาและงานช่างถิ่นเชียงใหม่มาสร้างสรรค์งาน

Sher Maker คือสตูดิโอสถาปนิกขนาดเล็กๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งโดยสองสถาปนิก ‘ตุ๋ย-พัชรดา อินแปลง’ และ ‘โอ๊ต-ธงชัย จันทร์สมัคร’  สตูดิโอแห่งนี้มีมาตั้งแต่ปี 2561 เต็มไปด้วยผลงานสร้างสรรค์ที่คว้ารางวัลด้านสถาปัตยกรรมจำนวนมาก แม้แต่สตูดิโอของพวกเขาก็เพิ่งได้รับรางวัลสูงสุดในสาขา Small working interior of the year จาก Dezeen นิตยสารสถาปัตยกรรมชื่อดังระดับโลก และได้รับการกล่าวขวัญจากสื่อต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศบ่อยครั้ง ที่สำคัญสถาปัตยกรรมของสองผู้ก่อตั้งยังเต็มไปด้วยการขับเน้นเสน่ห์ของบรรยากาศให้แสดงออกมาได้อย่างเต็มที่ รายละเอียดอันเป็นเอกลักษณ์ในงานของ Sher Maker มาจากการที่ทั้งคู่ต่างเคยเป็นคนทำงานคราฟต์มาก่อน ตุ๋ยเคยทำสมุดทำมือกับเพื่อนในนามแบรนด์ ดิบดี (Dibdee.Binder) ซึ่งได้รับความนิยมมาก ส่วนโอ๊ตเคยมีชื่อเสียงอย่างมากจาก Brown Bike จักรยานที่ทำด้วยวัสดุไม้ไผ่ จนมีผู้สนใจจากทั่วโลกเดินทางมาร่ำเรียนกับเขาถึงเชียงใหม่ เมื่อสองสถาปนิกสายคราฟต์จับมือกันทำงาน ทำให้งานสถาปัตยกรรมของพวกเขามีการนำเสนองานฝีมือต่างๆ มาใช้กับทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างน่าสนใจ และยังสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับงานฝีมือในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย Sher Maker เชื่อมศาสตร์เหล่านี้เข้าด้วยกันอย่างลงตัวได้อย่างไร วันนี้เราจะชวนตุ๋ยมาพูดคุยเพื่อถอดโครงสร้างทางความคิดเบื้องหลังงานออกแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ ของพวกเขาให้ทุกคนได้รู้กัน สองสถาปนิกสาย Maker นักทำงานคราฟต์ตัวยง “เราและพี่โอ๊ตต่างเป็น Maker เป็นคนชอบงานคราฟต์ […]

E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว

โทรศัพท์เครื่องเก่าของคุณ คุณเก็บ หรือ คุณทิ้ง? หลายคนไม่กล้าทิ้งมือถือเนื่องจากกลัวว่าข้อมูลที่เป็นความลับของเราจะหลุดรั่วออกไปสู่สาธารณชน ทำให้ทุกคนยังเก็บมือถือไว้ในลิ้นชักในบ้านของคุณเอง กลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กๆ ที่เก็บอยู่ในบ้าน ไม่ใช่แค่โทรศัพท์ แต่รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพแล้วเราจะเรียกมันว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ E-waste ภัยร้ายใกล้ตัวจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว ทั้งผลเสียต่อสุขภาพ และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เราจะทำอย่างไรกับมันได้บ้างในวันที่มันกลายเป็นขยะ ตามมาดูจากคลิปนี้เลย! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #ขยะอิเล็กทรอนิกส์ #City #ขยะ2022 #โลกร้อน

1 150 151 152 153 154 329

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.