ฐาปณี หลูสุวรรณ ผู้กำกับ Blue Again กับสถานะ ‘ไม่เป็นคนของที่ไหนเลย’ ในชีวิตและวงการหนัง

ฐาปณี หลูสุวรรณ เป็นลูกครึ่งอีสาน-จีน เกิดที่กรุงเทพฯ แต่ไปโตที่สกลนคร ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังและทำงานในกรุงเทพฯ อีกครั้ง เธอพูดอีสานไม่คล่องปร๋อ แต่พอพูดไทยกลางก็ติดเหน่ออีสานจนโดนล้อ เหนือความซับซ้อนและย้อนแย้งทั้งปวงในตัวเธอ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดและไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือ ฐาปณีไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหนเลย เหมือนกับ ‘เอ’ ตัวละครเอกใน Blue Again หนังเรื่องแรกในชีวิตของเธอ ผู้เป็นลูกครึ่งที่มีพ่อเป็นคนขาว แม่เป็นคนสกลนคร แต่ตัวเองกลับรู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบตัวไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หากจะมีใครหรือสิ่งใดที่เอเรียกว่าเพื่อนได้เต็มปาก หนึ่งคือ ‘เมธ’ เพื่อนชายที่รู้จักกันตั้งแต่มัธยมฯ แต่ต้องแยกย้ายกันไปหลังเรียนจบ อีกสิ่งคือ ‘คราม’ วัตถุดิบย้อมผ้าที่เธอเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ในทางหนึ่ง Blue Again คือเครื่องบันทึกความรู้สึกโดดเดี่ยวและเป็นอื่นที่ผู้กำกับอย่างฐาปณีรู้สึกมาตลอด แต่ในอีกทางหนึ่ง นี่คือผลพิสูจน์ความรักที่มีต่อการทำหนังของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้นิยามตัวเองว่าเป็นคนกลางๆ ไม่โดดเด่น และแม้จะไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนของที่ไหน แต่แวดวงที่มั่นใจว่าอยากผลักตัวเองเข้าไปคือวงการผู้กำกับ นับแต่วันแรกเริ่ม Blue Again ใช้เวลาถึง 8 ปีกว่าจะได้ออกมาสู่สายตาผู้ชม และหนังเรื่องนี้ยังได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปฉายที่เทศกาลหนังปูซานในสาขา New Currents ที่มีหนังเพียงไม่กี่เรื่องได้เข้ารอบ พิสูจน์ในตัวมันเองแล้วว่าเป็นหนังที่พิเศษแค่ไหน แต่ใน 8 ปีของ Blue Again […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

หนึ่งวันกับ ‘PASAYA’ โรงงานสิ่งทอที่เชื่อว่าคุณภาพสินค้าจะดีขึ้นตามคุณภาพชีวิตพนักงาน

เมื่อก้าวขาลงรถ แดดร้อนจ้าต้นฤดูหนาวก็ดูจะเย็นขึ้นบ้างจากสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีต้นไม้ให้เห็นกว่าในเมือง เช่นเดียวกับสีเขียวที่เป็นส่วนผสมหลักในโรงงานแห่งนี้ PASAYA (พาซาญ่า) คือแบรนด์สิ่งทอชื่อดังของไทย ก่อตั้งโดย ‘ชเล วุทธานันท์’ ที่มีแนวคิดการส่งเสริมความยั่งยืนเรื่องสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 1990 ย้อนกลับไปในปี 1986 ซึ่งเป็นยุคทองของการส่งออก สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ชเลรับช่วงต่อโรงงานชื่อ ‘สิ่งทอซาติน’ ที่ตั้งอยู่แถวพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการจากพ่อ ที่นั่นเป็นพื้นที่เล็กๆ มีเครื่องจักรทอผ้าเก่าๆ 20 เครื่อง พนักงานไม่ถึง 50 คน โรงงานอยู่ในสภาพไม่ค่อยดีนัก ทว่าการได้ไปใช้ชีวิตในโรงงานแห่งนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เขาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดราชบุรีขึ้น เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ และทำประโยชน์ต่อสังคมรวมถึงโลกใบนี้ด้วย หนึ่งวันในโรงงานพาซาญ่าเริ่มต้นแล้ว เราจะพาไปดูกันว่าเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา PASAYA ซึ่งเป็นธุรกิจหลักในวงการอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ใช้พลังงานในการผลิตจำนวนมาก และปล่อยมลภาวะที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีการปรับตัวธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลต่อการมีอยู่ของโลกใบนี้  แพศยา ที่หมายถึงความสวย ฉลาด นอกกรอบ และสง่างาม ‘แพศยา’ เป็นคำไทย จำง่าย ทุกชาติออกเสียงตามได้ ชเลจึงเลือกตั้งเป็นชื่อโรงงาน เนื่องจากเขามองเห็นว่าคนที่ถูกด่าด้วยคำนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณสมบัติ สวย ฉลาด คิดนอกกรอบ และมีความสง่างาม ซึ่งตรงกับความตั้งใจในการสร้างแบรนด์ PASAYA  […]

Sak’54 ผู้ทำอาชีพช่างซ่อมกีตาร์มานานกว่า 20 ปี | The Professional

เขาว่ากันว่า อาชีพช่างซ่อมกีตาร์เปรียบเสมือนหลังบ้านของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นศิลปินโด่งดังระดับไหน ย่อมต้องการช่างซ่อมเครื่องดนตรีคู่ใจที่เชื่อมือได้ด้วยกันทั้งนั้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน อาชีพช่างซ่อมกีตาร์อาจยังไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะย่านการค้าที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรีกระจุกตัวอยู่ภายในเวิ้งนครเกษมเพียงจุดเดียว ทว่าเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ธุรกิจเครื่องดนตรีก็เริ่มกระจายตัวออกไปยังย่านอื่นๆ มากขึ้น Urban Creature ชวนไปทำความรู้จักและฟังเรื่องราวของ Sak’54 ช่างซ่อมกีตาร์ผู้ชำนาญการกว่า 20 ปี ตั้งแต่ยุคเวิ้งนครเกษมจนมาถึงยุคปัจจุบันที่เขาออกมาเปิดกิจการรับซ่อมกีตาร์เป็นของตัวเอง  นอกจากศาสตร์การซ่อมบำรุงกีตาร์ที่น่าสนใจแล้ว ที่ผ่านมาเขาได้เรียนรู้สิ่งใดบ้างกับการเป็นหลังบ้านให้ศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย ตามไปเปิดหลังบ้านของช่างศักดิ์พร้อมๆ กัน

เมื่อการดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม ทำให้คนดูแลป่วยไข้ไม่แพ้กัน

หลายครั้งที่เราเห็นโซเชียลมีเดียหยิบเอาสถานการณ์คู่รักผู้สูงอายุที่คนหนึ่งมีอาการความจำเสื่อม มาโรแมนติไซซ์ในแง่ต่อให้หลงลืมแต่อีกคนก็ยังตกหลุมรักผู้เป็นสามี/ภรรยาเหมือนเดิม แน่นอนว่าหลายคนก็คงมองว่าเป็นความน่ารักและอยากมีความสัมพันธ์แบบนี้บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม คลิปแค่ไม่กี่วินาทีนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เขาต้องเจอทุกวัน วันละหลายๆ ครั้ง จนไม่อาจทำใจชอบภาวะนี้ได้ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ซึ่งคาดเดาได้ไม่ยากว่าจะต้องมีผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มจำนวนขึ้น พอๆ กับที่จะมีคนต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน เราจึงอยากสร้างความเข้าใจให้สังคมรับรู้ว่า นอกจากผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลแล้ว ผู้ดูแลคนป่วยก็ควรได้การดูแลเช่นกัน ในฐานะกลุ่มคนที่เชี่ยวชาญและทำงานเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน ‘รศ. พญ.วรพรรณ เสนาณรงค์’ และ ‘อรรถพล’ นักจิตวิทยาแห่งคลินิกความจำ และคลินิกสมองเสื่อมก่อนวัย รพ.ศิริราช จะมาแลกเปลี่ยนถึงสิ่งที่ผู้ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมต้องพบเจอ รวมถึงสิ่งที่คนรอบข้างและสังคมควรทำความเข้าใจทั้งกับตัวผู้ป่วยและคนที่ทำหน้าที่ดูแล ผู้ดูแลผู้ป่วยส่วนใหญ่คือลูกหลาน หลายคนอาจเข้าใจว่าสมองเสื่อมเป็นอาการของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว แต่ความจริงแล้วอาการสมองเสื่อมปรากฏได้กับผู้ป่วยโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหลอดเลือดในสมองที่คนไทยเป็นกันมาก โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง เป็นต้น  นอกจากอาการสมองเสื่อม หลงๆ ลืมๆ แล้ว ผู้ป่วยยังมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยตามโรคที่เป็น ยกตัวอย่าง พฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เดินไปเดินมา เห็นภาพหลอน ท้อแท้ นั่งนิ่งเฉย ฯลฯ ทักษะการใช้ภาษาที่เสื่อมถอย จดจำสิ่งใหม่ๆ ไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก […]

Nympheart ผู้เปลี่ยนเถ้าถ่านแห่งความทรงจำให้เป็นงานคราฟต์ที่มีชิ้นเดียวในโลก | The Professional

Nympheart คือสตูดิโอแฮนด์คราฟต์อายุ 9 ปีที่เริ่มต้นทำเครื่องประดับด้วยการใช้วัสดุหลักเป็น ‘ไม้’ และ ‘Epoxy’ เรซินที่ใช้ราดปูพื้น ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เคยมีใครในเอเชียทำมาก่อน นอกจากความแปลกใหม่ โดดเด่นไม่ซ้ำใครของวัสดุและลวดลายโปรดักต์ที่ได้ขยายไปสู่ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว Nympheart ยังมีอีกเอกลักษณ์สำคัญคือ งานคราฟต์ที่ผนึกอัฐิของผู้เป็นที่รัก ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ระลึกความทรงจำถึงคนที่จากไป ในรูปแบบที่สวยงาม ร่วมสมัย และจับต้องง่าย เหมือนมีเขาเคียงข้างอยู่ตลอดเวลา Urban Creature ชวนไปเรียนรู้วิธีการสร้างงานศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ที่เริ่มต้นการออกแบบด้วยความเข้าใจ และมีส่วนประกอบหลักเป็นหลักฐานของความทรงจำกัน

PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน

แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า  แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’

FYI

อยู่เมืองนี้ต้องทำงาน ทำงาน ทำงาน เรื่องเล่าจากประชากรแฝงในมหานครแห่งความหวัง

ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน  ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

1 4 5 6 7 8 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.