‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่

เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง  แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby  เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]

ครูเชฟผู้ไม่เกษียณการสอน ‘อาจารย์สุริยันต์ ศรีอำไพ’ | THE PROFESSIONAL

“เราไม่แน่ใจว่าจะมีอายุยืนยาวอีกเท่าไหร่ วันนี้มีจริงแต่พรุ่งนี้จะมีจริงหรือเปล่ายังไม่รู้ รู้แค่ว่าวันนี้อยากจะทำงานดีๆ สร้างสรรค์วงการเบเกอรีให้คนรุ่นหลังมีโอกาสต่อยอดธุรกิจหรือทำเป็นอาชีพได้” ในยุคที่สังคมผู้สูงอายุกลายเป็นโจทย์และความท้าทายสำคัญของชาวเมือง ส่วนอุตสาหกรรมแรงงานต่างมองหาและต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ทำให้ผู้มีอายุหรือวัยเกษียณส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพและทักษะน้อยลงเรื่อยๆ  ตัวอย่างเช่น วงการอาหารที่มีเชฟรุ่นเก๋ามากมายที่พร้อมส่งต่อความรู้และมอบประสบการณ์หลายสิบปีให้กับเชฟรุ่นใหม่ แต่กลับหาโอกาสในการถ่ายทอดไม่ได้ง่ายๆ THE PROFESSIONAL เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจประสบการณ์ของ ‘สุริยันต์ ศรีอำไพ’ เชฟจาก KRU-CHEF PROJECT ที่ตั้งใจชวนเหล่าเชฟที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มาใช้วัยเกษียณให้มีคุณภาพมากขึ้นผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเชฟรุ่นใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าวัยเกษียณไม่ใช่แค่เก่า แต่เก๋าด้วย

ดราม่าหลังกล้อง และความเสวที่ไม่ได้บิลด์กันง่ายๆ ของ ‘ครูแพรว’ แอ็กฯ เสวที่คนตามหลักแสน

สำหรับคนที่ Follow เธออยู่แล้ว เรารู้กันดีว่าช่อง ‘ครูแพรว’ ไม่ใช่ช่องสอนหนังสือ เราไม่ได้ติดตามครูแพรวในฐานะครู แต่คือ Porn Creator ทรานส์เจนเดอร์ยอดนิยม เจ้าของแอ็กเคานต์ OnlyFans ที่มีจำนวน Subscribers จากทั่วโลกหลักพัน และมียอด Followers ในช่องทางอื่นๆ เรือนแสน สารภาพตามตรง เราเคยคิดว่าชื่อแอ็กเคานต์เป็นแค่กิมมิกให้จำง่ายเฉยๆ แต่พอได้นั่งคุยกับ ‘แพรว-แพรวไพลิน กสิวัฒนา’ แบบตัวต่อตัวกันในบ่ายวันนี้ เราถึงรู้ว่าเธอเป็นครูจริงๆ นอกจากบทบาทคนทำคลิปเสียว ครูแพรวคือหนึ่งในหุ้นส่วนและครูของโรงเรียนสอนแต่งหน้า กันคิ้ว และสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่งในขอนแก่น แถมเธอยังเป็นนางงามที่เพิ่งคว้ามงกุฎ Miss Trans Thailand มาหมาดๆ เมื่อปี 2022 และกำลังปลุกปั้นช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เมาท์มอยและไลฟ์สไตล์ของตัวเองขึ้นมาอย่างมุ่งมั่น เส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ของเธอก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่รู้ว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน ครูแพรวก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบนั้น แต่ชีวิตก็คือชีวิต มันไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนครูแพรวมาทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา แล้วสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตและการทำงานในฐานะ Porn Creator กับอีกสารพัดบทบาทของเธอให้เราฟัง นี่คือบทเรียนที่เธอไม่เคยเล่าหน้ากล้อง ไม่เปิดเผยบน […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

‘คบคนในที่ทำงานไม่ใช่เรื่องน่ากลัว’ ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน และไม่มีกฎตายตัว

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ออกจะดูไปในแนวคำขู่ ถึงอันตรายของการคบกับคนที่ทำงานในที่เดียวกัน ต้องเจอหน้ากันทุกวัน และอาจเต็มไปด้วยความเสี่ยงมากมายหากรักไปไม่รอด เนื่องในเดือนแห่งความรักนี้ ผู้เขียนเลยอยากเล่าเรื่องราวที่หลายคนไม่ค่อยพูดถึง แต่ทำให้ใจฟูกันบ้าง นั่นคือ ‘ความรักที่เกิดในที่ทำงาน แล้วมันเวิร์ก สวยงาม และยาวนานยั่งยืน’ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับชายหนุ่มวัย 30 กลางๆ ขอเรียกเขาว่า ‘พี่บี’ แล้วกัน ตั้งแต่รู้จักกับเขาเมื่อหลายปีมาแล้ว ก็สัมผัสถึงความหอมหวานอบอุ่นของความรักระหว่างเขาและแฟน ซึ่งปัจจุบันคือภรรยาของเขา ที่มีให้กันและกันมาโดยตลอด จากบทสนทนาในครั้งนี้ บอกเลยว่าเราได้อะไรกลับไปมากกว่าแค่เคล็ดลับการทะนุถนอมความรักในที่ทำงานเยอะเลย ถ้าความรักดี การได้อยู่กับคนรักเพิ่มขึ้นเท่ากับได้เวลาที่ดีเพิ่มขึ้น “ความรักในที่ทำงาน มันคือตัวคูณ ถ้ามันดี มันจะมีความสุขแบบทวีคูณ แต่ถ้ามันแย่ มันก็พังเป็นเท่าตัวด้วยเหมือนกัน แต่สิ่งที่มาเป็นเส้นแบ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ความรักหลงเดินไปในทางที่แย่คือ วุฒิภาวะของทั้งคู่” พี่บีเริ่มต้นบทสนทนาไว้อย่างนี้ และอธิบายเพิ่มว่า ในประเทศไทย เวลาที่เราอยู่ในที่ทำงานนับเป็นประมาณ 40 กว่าชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้ามันดี ก็เท่ากับได้เวลาที่ดีที่ได้อยู่กับคนรักตั้ง 40 กว่าชั่วโมง แต่ถ้ามันแย่ เต็มไปด้วยความไม่เชื่อใจ น้อยใจ วุ่นวายใจ ฯลฯ แปลว่า 40 กว่าชั่วโมงนั้นจะเกิดการฝ่าฟันทรหดอยู่พอตัว “แต่มันไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัวเลย ว่าคบคนที่ทำงานต่างที่กันจะดีเสมอไป หรือคบคนที่ทำงานที่เดียวกันแล้วจะแย่เสมอไป” […]

The Professional | ศึกษาศิลปะการออกแบบดอกไม้กับร้าน Flower in Hand by P.

หากพูดถึงร้านขายดอกไม้ เรามักจะนึกถึงอาชีพคนจัดดอกไม้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าในแวดวงนี้มีอาชีพ ‘นักออกแบบดอกไม้’ ด้วย ‘แพร พานิชกุล’ คือนักออกแบบดอกไม้และเจ้าของร้านดอกไม้ Flower in Hand by P. ผู้เริ่มต้นอาชีพนี้จากความหลงใหลในดอกไม้ ก่อนเริ่มหันมาใส่ใจกระบวนการผลิตของตัวเองมากขึ้น ทั้งในแง่ดีไซน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีความหวังว่าธุรกิจของเธอจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความครีเอทีฟให้กับเมือง และสามารถอยู่ร่วมกับคนและโลกได้อย่างเป็นมิตรไปพร้อมๆ กัน

Thai Lebenspartner บริษัทจัดหาคู่ที่ไม่ได้เกิดจากความรักอย่างเดียว แต่เกิดจากความต้องการที่ขาดไป

ลมหนาวหวนคืนมาในทุกๆ สิ้นปี ถนนถูกปกคลุมไปด้วยความเงียบสงัด ท้องฟ้าเป็นสีควันบุหรี่รอวันผลัดเปลี่ยนฤดูกาล ผมเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องพลัดถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกหนีวิถีชีวิตเดิมที่ย่ำแย่ การออกเดินทางเพื่อแสวงโชค การไปศึกษาต่อในสถาบันต่างแดน และอื่นๆ อีกมากมายที่รวมถึงเรื่องของชีวิตคู่ด้วย ผมเดินทางมายัง Koblenz เมืองที่อยู่ทางฝั่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือไม่ใกล้ไม่ไกลนักจากเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี เพื่อพูดคุยกับ ‘พิมพ์พัฒน์ มาตรังศรี เมนด์ลิ่ง’ หรือพี่พิมพ์ เจ้าของธุรกิจเกี่ยวกับการจัดหาคู่ Thai Lebenspartner (คู่ชีวิตไทย-เยอรมัน) ที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลากว่าสิบหกปีแล้ว  ผมเชื่อว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการทำงานและเหตุผลต่างๆ ในการประกอบธุรกิจ ไปจนถึงเหตุผลที่ผู้หญิงไทยจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะแต่งงานกับชาวต่างชาติ ครั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีที่พี่พิมพ์เปิดโอกาสให้ผมได้ทำความรู้จักกับเรื่องราวของธุรกิจนี้ ผ่านบทสนทนากับพี่พิมพ์ เกือบสามสิบปีที่ผ่านมาก่อนพลัดถิ่นฐาน เราทำมาหลายอย่างมาก เริ่มทำงานจริงๆ ตั้งแต่อายุสิบเจ็ด เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย เริ่มต้นจากการเป็นสาวโรงงานที่โรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ เราทำได้แค่สามปีก็ลาออก เนื่องจากเราเป็นคนชอบพัฒนาตนเองและอยากเรียนรู้ทักษะอื่นๆ นอกเหนือจากสิ่งที่ทำซ้ำๆ ทุกๆ วัน ตอนนั้นเราอยากพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ด้วยความที่ไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะไปลงคอร์สเรียนภาษา เราเลยตัดสินใจเข้าไปทำตำแหน่งประชาสัมพันธ์ที่โรงเรียนสอนภาษาแทน ตรงนี้เองที่ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มและได้ถูกชักชวนให้ไปทำงานในสายงานนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ ในตอนนั้นโฮมคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นสิ่งใหม่และเป็นที่นิยมในสังคมมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานทั้งประเทศก็เจอกับวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง บริษัทที่เราทำอยู่ก็ได้รับผลกระทบมาก แต่เจ้านายเขาไม่อยากเลย์ออฟพนักงาน เลยเลือกปรับโครงสร้างบริษัทจากเดิมที่มีเพียงแค่การนำเข้าและจัดจำหน่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมาเป็นบริการ One Stop Service คือรับทำงานเอกสาร ไม่ว่าจะพิมพ์งาน […]

ฮาวทูชาร์จแบตฯ กายใจในเมืองใหญ่ที่ดูดพลังเราทุกวัน คุยกับนักละครบำบัด ‘กิ๊ฟท์ ปรีห์กมล’

ในฐานะคนที่จากบ้านเกิดมาอยู่เมืองใหญ่หลายปี สิ่งที่ทำใจให้ชินไม่ได้สักทีคือความรู้สึกไม่มีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉันไม่อาจเรียกตัวเองว่าเพื่อนสนิทกับขนส่งสาธารณะ ไม่ชอบความแออัด กะเวลาไม่ได้ ถ้าจะเดินทางครั้งหนึ่งก็ต้องเผื่อเวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง ไหนจะฝุ่นควันในอากาศและสถานการณ์บ้านเมืองที่ทำให้หัวร้อนได้ทุกวัน  ‘เมืองนี้สูบพลัง’ คือความคิดตั้งแต่วันแรกที่มาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน ความรู้สึกต่อมาที่หลายคนน่าจะมีเหมือนกันคือ ‘ฉันอยากออกไปจากที่นี่ แต่ยังไปไหนไม่ได้’ ด้วยเหตุผลนับร้อยพันที่แต่ละคนมีไม่เหมือนกันคอยฉุดรั้งไว้ นั่นคือเหตุผลที่ฉันมาพบกับ ‘กิ๊ฟท์-ปรีห์กมล จันทรนิจกร’ หญิงสาวผู้ที่หลายคนอาจรู้จักในฐานะผู้ก่อตั้ง Ma.D Club for Better Society กิจการเพื่อสังคมที่ซัปพอร์ตกลุ่มคนผู้อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคมเมื่อหลายปีก่อน ประสบการณ์เกี่ยวกับสุขภาพจิตจากตัวเธอเองและคนรอบข้างในช่วงเวลานั้น ทำให้ปรีห์กมลสนใจด้านจิตใจและการบำบัดมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะละครบำบัดที่ทำงานกับเธอได้ดีเป็นพิเศษ หลังจาก Ma.D ปิดตัวลงในปลายปี 2018 เธอจึงเดินทางไปเรียนต่อ MA Drama and Movement Therapy ที่ The Royal Central School of Speech and Drama ประเทศอังกฤษ และกลับมาทำงานที่นี่ในฐานะนักละครบำบัด และในฐานะคนทำงานเกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ปรีห์กมลคือคนที่เราอยากขอคำปรึกษาเรื่องการกลับมาดูแลกายใจในเมืองสูบพลังที่เรา (จำเป็น) ต้องใช้ชีวิตอยู่ เล่าให้ฟังหน่อยสิว่าหลักของละครบำบัดที่คุณทำอยู่คืออะไร และมันต่างจากการบำบัดแบบอื่นอย่างไร สำหรับเรา […]

เป้าหมายปีใหม่นี้คือ ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ เพื่อปลอบประโลมหัวใจอย่างแท้จริง

หลายคนที่ทำงานอยู่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะใครที่ย้ายจากบ้านในต่างจังหวัดมาปักหลักใช้ชีวิตและฝากความหวังความเจริญไว้กับเมืองใหญ่นี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องทุ่มสุดตัวเสมอมาคือ ‘หน้าที่การงาน’ เพราะนั่นหมายถึงความก้าวหน้าในอาชีพของตัวเอง การมีเงินมากพอที่จะอยู่อย่างสบายและไม่ทำให้ครอบครัวต้องลำบาก และการมีตัวตนอย่างภาคภูมิใจในสังคมที่คนจะล้นเมืองแห่งนี้  ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’ คงเป็นสโลแกนที่ใครๆ ได้ยินบ่อยมากเมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้เราเลยอยากชวนให้ลองมาปรับสมดุลชีวิตเป็น ‘พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน พักผ่อน ทำงาน’ จะได้ไหม เพราะเราเชื่อว่ายิ่งวันเวลาผ่านไป สังคมที่มีแต่การแข่งขันขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เราหลงลืมไปเลยว่าการพักผ่อนนั้นไม่ใช่แค่สิ่งสำคัญ แต่เป็น ‘ที่สุดของความจำเป็น‘ เราเลยอยากชวนทุกคนมาลองสร้างความตั้งใจใหม่จากที่ผ่านมา หลายคนอาจทุ่มให้งานจนหมดตัวแล้ว ปีนี้ลองมาเผื่อพื้นที่อบอุ่นๆ ให้การพักผ่อนเพื่อหัวใจที่ชุ่มชื่นขึ้นบ้างดีกว่า โทรศัพท์ยังชาร์จทุกวันเลย ทำไมไม่ยอมชาร์จแบตฯ ร่างกาย ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนเราหรือเปล่า วันไหนที่รู้สึกตัวเองนิสัยไม่ดี หงุดหงิดอะไรไปทั่ว จะมานึกขึ้นได้ทีหลังว่าวันนั้นนอนน้อย พอๆ กับคนรักสุขภาพทั้งหลายที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าวันนั้นต้องเลือกระหว่างการ ‘นอนให้พอ’ หรือ ‘ไปออกกำลังกาย’ ขอเลือกการนอนมาก่อนเสมอ เพราะร่างกายเราจะแข็งแรงหรือสุขภาพจิตจะดีขึ้นไม่ได้เลย ถ้ารากฐานของเรานั้นสั่นคลอน เมื่อไหร่ที่เหลือบมองโทรศัพท์มือถือแล้วเห็นแบตฯ เหลืออยู่รอมร่อ เราจะรีบหาที่ชาร์จอย่างไม่มีรีรอ ในขณะเดียวกัน หากความเหนื่อยล้าที่สั่งสมมานานในวันนั้นหรือตลอดสัปดาห์นั้น ทำให้พลังการใช้ชีวิตของเราเหือดแห้งเต็มที สิ่งที่จะดูสมเหตุสมผลที่สุดคือการชาร์จพลังของเราให้ไปต่อได้นั่นเอง ไม่ใช่ทู่ซี้ทำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไปอย่างไม่ยอมฟังเสียงร่างกาย การพักผ่อนเพื่อดูแลตัวเองให้ดี คือการว่ายทวนกระแสสังคมทุนนิยมที่บ้าคลั่ง […]

สำรวจเมืองขอนแก่นกับ Isan BCG Expo เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

ในภูมิภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัด ‘ขอนแก่น’ นั้นอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร การเกษตร ศิลปะ ดนตรี และอัตลักษณ์อย่างวัฒนธรรมพื้นบ้าน ฯลฯ  จากความรุ่มรวยเหล่านี้เอง ทำให้เกิด ‘Isan BCG Expo 2022’ หรืองานมหกรรมนวัตกรรมยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอีสานและเป็นครั้งแรกในไทย เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา Isan BCG Expo 2022 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Collaboration : ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ณ Khon Kaen Innovation Centre (KKIC) โดยกระจายการจัดงานไปยังบริเวณโดยรอบครอบคลุมดาวน์ทาวน์ของจังหวัด เช่น ย่านศรีจันทร์ เทศบาลเมืองขอนแก่น และถนนไก่ย่าง งานครั้งนี้ได้มีการนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน BCG (Bio, Circular, Green Economy) ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่ออนาคตของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาชุมชนและรากฐานเศรษฐกิจให้เข้มแข็งขึ้น ด้วยการผสมผสานทุนทางทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วเกิดคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากการได้ไปสำรวจขอนแก่นผ่านแว่นของงาน Isan BCG Expo 2022 […]

‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ | THE PROFESSIONAL

“ดนตรีประกอบสำคัญกับภาพยนตร์ไหมคงฟันธงไม่ได้ แต่เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของภาพยนตร์บนโลกนี้มีดนตรีอยู่ในนั้น”.อย่างที่หลายคนเข้าใจ ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีองค์ประกอบของทั้งภาพและเสียงผสมกัน ร้อยเรียงออกมาเป็นชุดเรื่องเล่าที่ให้ข้อมูล ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้สึกกับผู้ชม ‘เสียงดนตรี’ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตเพราะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องการคนชำนาญเฉพาะด้านมาสร้างสรรค์ .THE PROFESSIONAL ชวนดูเบื้องหลังการทำงานของ ‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ฝากผลงานไว้ทั้งในภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมถึงสำรวจแนวคิดหลังตัวโน้ตของเพลงที่คุณได้ยินผ่านจอภาพยนตร์ที่สำคัญไม่แพ้ภาพเคลื่อนไหว #UrbanCreature #TheProfessional #Score #FilmScoring #MusicComposer #Producer #นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ #ดนตรีประกอบ #เพลงประกอบ #นักทำเพลง

DiStar Fresh Farm โรงงานปลูกผักระบบปิดที่ไม่ง้อฤดูกาลแห่งแรกในไทย

จะดีแค่ไหนถ้าเมืองไทยมีฟาร์มที่สามารถปลูกผักได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ขึ้นกับฤดูกาล ส่วนผลผลิตยังปลอดภัยสูงและมีคุณภาพคงที่ด้วย แนวคิดนี้เกิดขึ้นจริงแล้วที่ DiStar Fresh Farm โรงงานผลิตพืชที่พลิกโฉมการปลูกผักในพื้นที่เปิดโล่งแบบเดิมๆ ให้เป็นการปลูกผักในฟาร์มแนวตั้ง ที่ควบคุมสภาพแวดล้อมได้ แถมยังสะอาดปลอดภัย เพราะไม่ต้องใช้ดินหรือยาฆ่าแมลง สะอาดถึงขั้นที่ว่าสามารถเก็บผักกินกันสดๆ จากต้นโดยไม่ต้องล้างเลย วันนี้ Urban Creature ขอพาทุกคนไปพูดคุยกับ ‘กฤษณะ ธรรมวิมล’ และ ‘สานสิน ศรีภิรมย์รักษ์’ เกษตรกรผู้อยู่เบื้องหลัง DiStar Fresh Farm ถึงแนวทางและปัจจัยสำคัญในการทำฟาร์มผักแนวตั้ง ที่จะช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ภาคเกษตรกรรม และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคปัจจุบันมากขึ้น

1 3 4 5 6 7 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.