แชร์ร้านซ่อมของใช้ประจำวันผ่าน ‘วนวน’

“อยากซ่อมเสื้อผ้า ซ่อมของใช้ แต่ไม่รู้ว่าแถวบ้านมีร้านไหนบ้าง” ปัญหาที่คนเมืองหลายคนต้องเจอเมื่อของใช้ในชีวิตประจำวันเสียหรือพัง แม้จะอยากสนับสนุนการใช้ซ้ำและลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น แต่การหาร้านซ่อมใกล้บ้านที่ถูกใจก็ยากเสียเหลือเกิน Urban Creature พาไปรู้จัก ‘วนวน’ แพลตฟอร์มที่อยากชวนทุกคนมาแชร์ร้านซ่อมเด็ดๆ ที่ประทับใจ ให้คะแนน รีวิวการให้บริการ และส่งต่อให้คนที่อยากใช้ของซ้ำๆ วนๆ เพื่อช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม ผ่านการพูดคุยกับ ‘ภูมิ-ภาคภูมิ โกเมศโสภา’ หนึ่งในสมาชิกของ ‘Reviv’ คอมมูนิตี้อาสาที่ส่งเสริมให้คนหันมาซ่อมและใช้สินค้าซ้ำมากขึ้น ปัจจุบัน วนวน อยู่ในช่วงทดลองผ่านทางเว็บไซต์ wonwonbyreviv.com โดยมีร้านซ่อมเสื้อผ้าที่ผู้พัฒนาเลือกมาแนะนำกว่าร้อยร้าน โดยคาดหวังฟีดแบ็กจากคนเมืองเพื่อเปิดให้ทุกคนใช้งานได้เต็มรูปแบบเร็วๆ นี้

‘ให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจบ้าง’ ลองเปลี่ยนจาก ‘ตั้งเป้าในปีหน้า’ เป็น ‘ขอบคุณสำหรับปีนี้’

กะพริบตาไม่กี่ครั้ง เวลาก็ผ่านมาจะหมดเดือนธันวาคมของปีแล้ว ทุกๆ ปี ผู้เขียนกับเพื่อนๆ จะมีกิจกรรมโรแมนติกของเราคือการเขียนข้อตั้งใจหรือความหวังที่อยากให้เป็นจริงในปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ หรือเรียกสั้นๆ แต่ก็ยาวอยู่ดีว่า ‘New Year’s Resolution’ แต่ได้โปรดอย่าลืมว่าชีวิตประจำวันก็กดดันพอแล้ว อย่ากดดันกับการคาดหวังถึงอนาคตเกินไปเลย หากเราไม่ชอบตัวเองในปีนี้ อยากก่นด่า อยากทำโทษตัวเอง แล้วฝากใจไว้ปีหน้าว่าต้องดีกว่าตอนนี้ให้ได้ จนนำความโกรธแค้น ความไม่ได้ดั่งใจของปีนี้ไปนำทาง ก็ยากที่จะไปถึงความรู้สึกดีๆ ที่ฝันไว้ได้ เพราะตัวเราเองแทบไม่คุ้นชินกับความรู้สึกดีๆ ไหนเลย หลายครั้งที่ข้อตั้งใจของเราไม่สำเร็จดังวาดไว้ เพราะระบบในร่างกายเราต้องใช้เวลาปรับตัวเข้ากับ ‘สิ่งใหม่’ นั้น ช่วงแรกๆ แน่นอนว่ายังมีพลังจะทำตามข้อตั้งใจ แต่เมื่อถึงช่วงหมดโปรโมชัน เกิดความท้อ ความกลัว ความเหนื่อย ความขี้เกียจเข้ามาแทรก มันก็ง่ายที่เราจะกลับไปอยู่ในจุดเดิมที่ตัวเองชินมานาน อยู่ในอารมณ์ไหนบ่อย จิตใจเราก็จะชิน เมื่อเราฝากความหวังไว้กับปีหน้า ตั้งตาต้อนรับสิ่งที่ฝันไว้ แต่ไม่เคยซ้อมหรือกระทั่งเตรียมใจปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงดีๆ นี้เลย ก็เป็นการยากที่จะมีสะพานเชื่อมความฝันกับความจริงให้มาเจอกัน เช่น ปีหน้าอยากรวยขึ้นเดือนละหมื่นบาท แต่ปีนี้ไม่ได้วางแผนการเงินเพิ่ม ฝึกตัวเองให้ขยันขึ้น หรืออย่างน้อยรู้สึกเชื่ออย่างสุดใจว่าเราคู่ควรกับเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ไม่แปลกที่มันจะไม่เกิดขึ้นจริง อีกอย่าง เมื่อเราคุ้นเคยกับสิ่งไหน เราก็มักดึงตัวเองกลับไปสู่สิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีหรือแย่ เพราะความคุ้นเคยที่ทำบ่อยๆ ได้กลายเป็นสิ่งที่เรารู้สึกปลอดภัยกับมันไปแล้ว รวมไปถึงนิสัยและอารมณ์ด้วย […]

My Diary of Culture Shock in BKK บันทึกการเดินทางของเด็กต่างจังหวัด เมื่อเข้ามาเยือนเมืองกรุงครั้งแรก

ฉันเป็นนิสิตฝึกงานชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ฉันเป็นคนอีสานโดยกำเนิด เกิดมาไม่เคยเข้ากรุงเทพฯ เลยสักครั้ง เมื่อก่อนฉันคิดว่าการเข้าเมืองกรุงเป็นเรื่องยากมากๆ มันเลยทำให้ฉันไม่กล้าออกไปเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ทว่าด้วยเวลาที่ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงฝึกงานของนิสิตชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา ฉันก็เลยมีความคิดอยากท้าทายตัวเองด้วยการลองก้าวข้าม Comfort Zone หาสิ่งใหม่ๆ ให้ตัวเองเรียนรู้ จนได้มีโอกาสเดินทางมาฝึกงานในกรุงเทพมหานครกับ Urban Creature เพจที่เล่าเรื่องเมืองและอยากทำให้คนรักเมืองมากขึ้น นับจากวันแรกถึงตอนนี้ ฉันเก็บข้าวของแบกกระเป๋าขึ้นเครื่องบิน เหินฟ้ามาสัมผัสรสชาติความเจริญในเมืองกรุงเพื่อฝึกงานได้รวมๆ เกือบจะหนึ่งเดือนแล้ว นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันเห็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงของกรุงเทพฯ กับจังหวัดมหาสารคามที่ฉันอยู่ ซึ่งมีทั้งเรื่องชวนให้ตื่นเต้น แปลกใจ และเข้าใจ ผสมปนๆ กันไป พร้อมกับการพยายามปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ขนส่งสาธารณะ การจราจร อากาศ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ของเมืองแห่งนี้ อากาศแบบใด ก่อนอื่นเลยตอนที่ฉันมาถึงกรุงเทพฯ วันแรก ก้าวขาออกจากสนามบินปุ๊บ ไอร้อนก็ตีแสกหน้าทันที ถึงแม้ว่าจะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วก็เถอะ แต่กรุงเทพฯ ไม่มีท่าทีว่าจะหนาวให้ฉันได้กอดผ้าอุ่นๆ ดูตึกสูงระฟ้ายามค่ำคืนดื่มด่ำความมโน ทั้งๆ ที่ตอนนี้จังหวัดของฉันหรืออีกหลายจังหวัดคงเริ่มหนาวจนผิวแตกเป็นข้าวจี่แล้ว ยิ่งช่วงฤดูหนาวแบบนี้ ถ้าเกิดอยากสูดอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้าเหมือนอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดก็ทำไม่ได้นะ เพราะแค่ออกไปข้างนอกก็เจอฝุ่น PM 2.5 ที่พร้อมจะทำให้เป็นภูมิแพ้ ทั้งอากาศร้อนอบอ้าว ทั้งฝุ่นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ […]

ตาม Mean Lee ศิลปินไทยไปดูงานอาร์ตทั่วเมืองเบอร์ลิน

“ทุกคนดูมีความสุขที่จะมีงานนี้ขึ้นมาทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่ายมากมันยิ่งรู้สึกดีที่คนในประเทศเขาให้ค่ากับสิ่งนี้” เมื่อกลางปี 2022 ที่ผ่านมา ที่เยอรมนีได้จัดงาน Berlin Art Week และ Stuttgarter Comictage ขึ้น ซึ่งเป็น 2 งานเทศกาลศิลปะที่ชวนให้คนได้มา Art Hopping ด้วยการจัดงานที่หลากหลายและเข้าถึงง่าย ทำให้ชาวเมือง ศิลปิน และนักท่องเที่ยว ตื่นเต้นและพร้อมใจกันตบเท้าเข้ามาสร้างสีสันและความคึกคักให้แก่เมืองเบอร์ลิน Mean Lee หรือ ‘มีน-ธันยธรณ์ ลี้ไวโรจน์’ นักวาดภาพประกอบที่มีสีสันฉูดฉาดและข้อความยั่วล้อสังคมซุกซ่อนอยู่ในงาน คือศิลปินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ในการเดินทางไปที่เมืองเบอร์ลินครั้งนี้ และกลับมาแชร์ประสบการณ์ให้ชาว Urban Creature เกิดความหวังในการมีเมืองที่ ‘ทำให้คนเกิดแรงบันดาลใจได้ง่าย’ กับเขาบ้าง

มุมมองการสร้าง ‘City Branding’ ผ่านสายตานักวิจัยจากคณะสถาปัตย์ที่ทำเรื่องนี้มานับไม่ถ้วน

ก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มจับจ่ายใช้สอยมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นขาช้อปชาวจีนหรือนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหนีอากาศหนาวมาพักตากอากาศที่ไทยเป็นเวลานาน พอโควิด-19 ระบาดอย่างหนักจนทำให้สนามบินปิด ชายแดนปิด คนในห้ามออก คนนอกห้ามเข้า เพื่อควบคุมการระบาดของโรค ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่เคยครึกครื้นกลับซบเซา ร้านค้าถูกทิ้งร้าง ถนนคนเดินหลายเส้นเงียบเหงาจนน่าใจหาย ระยะเวลาผ่านไปสักปีกว่าๆ โควิด-19 ถูกประกาศว่าเป็นโรคประจำถิ่น นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การท่องเที่ยวกลับมาคึกคักอีกครั้ง สายการบินเริ่มเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและระหว่างประเทศมากขึ้น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เตรียมพร้อมเปิดรับแขกอีกครา แต่คราวนี้ตลาดการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 แข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อดึงเม็ดเงินมาฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 อาจจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ที่เราไม่เคยรู้จักหรือสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแต่ออกแบบเมืองใหม่ เหลาให้แหลมคมด้วยเครื่องมือชื่อ ‘City Branding’ Urban Creature ชวน ‘อาจารย์อั๋น-ผศ. ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง และ ‘อาจารย์กบ-ผศ.ศรันยา เสี่ยงอารมณ์’ รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คู่หูทำงานวิจัยเกี่ยวกับ City Branding มาพูดคุยกันถึงเครื่องมือนี้อย่างเจาะลึก และการใช้มันออกแบบเมืองให้ดึงดูดคนนอกมาท่องเที่ยว พร้อมกับทำให้คนในรักษาคุณค่าดั้งเดิมของพื้นที่ไว้ได้ อยากให้นิยาม City Branding ในเวอร์ชันของคุณทั้งสองคน อาจารย์อั๋น […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

เรียนขี่ม้าในกรุงเทพฯ กับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ ที่โรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding

คงท้าทายไม่น้อยหากเราขึ้นไปอยู่บนหลังม้าที่กำลังวิ่ง แล้วต้องควบคุมมันให้ตัวเราไม่ร่วงลงมา เพราะต้องใช้ทั้งสมาธิและสัญชาตญาณในการควบคุมสัตว์ชนิดนี้.ในอดีตเราขี่ม้าเพื่อศึกสงคราม ไล่ล่าศัตรู แต่ปัจจุบันการขี่ม้าได้กลายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยเรื่องการออกกำลังกายและผ่อนคลายความเครียด อีกทั้งยังส่งเสริมบุคลิกภาพให้คนที่อยู่บนหลังม้าอีกด้วย “ม้าเป็นสัตว์ที่มีเสน่ห์ เวลาใครเห็นก็อยากมอง เวลามันวิ่งหรือยกหางจะดูน่าสนุก ตื่นเต้น” คอลัมน์ The Professional พาไปสนทนากับ ‘ครูจิ๊บ-ศิระ สีเสม’ เจ้าของโรงเรียนสอนขี่ม้า Rodeo Horse Riding ถึงความน่าสนใจ ความสนุก และความท้าทายของการขี่ม้าที่กลายเป็นกิจกรรมทางเลือกใหม่ในยุคนี้

หมดปัญหาปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ด้วยกายภาพที่ไม่ใช่แค่การนวด กับนักกายภาพบำบัด หมอพีซ เพจมนุษย์ตึง

ในยุคสมัยที่คนส่วนใหญ่ทำงานอยู่กับสมาร์ตโฟนหรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตึง ลุกลามไปยังอาการปวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม ข้อมืออักเสบ หรือปวดร้าวลงขา จะดีกว่าไหมหากเราสามารถแก้อาการเหล่านี้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยไม่ต้องกินยาเข้าไป “กายภาพบำบัดเป็นศาสตร์หนึ่งทางการแพทย์ ที่จะดูแลสุขภาพในแง่ของการส่งเสริม ฟื้นฟู ป้องกัน และดูแลรักษา โดยนักกายภาพบำบัดผู้มีหน้าที่วิเคราะห์ความผิดปกติในด้านการเคลื่อนไหว” คอลัมน์ The Professional พาไปเสาะหาสาเหตุอาการปวดเนื้อตัวกับ ‘หมอพีซ-บุญญาพร เลิศวัฒนกิตติ’ นักกายภาพบำบัดเจ้าของเพจ ‘มนุษย์ตึง’ ผู้อยากแบ่งปันความรู้เหล่านี้ให้กับคนอื่นๆ จนปัจจุบันมีผู้ติดตามเพจมากกว่าห้าแสนคน

แม้แต่ผีก็ยังต้องปรับตัวไปตามยุคสมัย คุยกับพี่แจ็ค The Ghost ถึงวิวัฒน์ของผีในเรื่องเล่าสยองขวัญ

กลางดึกคืนนี้ก็เป็นเหมือนทุกคืน ‘วัชรพล ฝึกใจดี’ หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า ‘พี่แจ็ค’ นั่งอยู่หลังไมค์ อุณหภูมิเย็นต่ำ ห้องทั้งห้องเงียบสงัด เกือบจะใช้คำว่าวังเวงได้ หากไม่มีเสียงสนทนาปลายสายที่โทรติดต่อเข้ามาคุยกับเขา “เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับพี่แจ็ค…” ริมฝีปากเม้ม คิ้วขมวดมุ่น จินตนาการเตลิดเปิดเปิง ความวังเวงอันตรธานไปกลายเป็นความรู้สึกเสียวสันหลัง บ้างเผลออุทานตอนถึงจุดพีกของเรื่องเล่าสยองขวัญ คืนแล้วคืนเล่าของ ‘พี่แจ็ค’ เป็นแบบนั้น ถึงจะลุ้นและตื่นเต้นจนหายใจไม่ทั่วท้อง แต่เขาก็บอกว่ามีความสุขทุกครั้งที่ได้จัดรายการ The Ghost Radio ของพี่แจ็คถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 8 ปีก่อน ถึงจะไม่ใช่รายการวิทยุที่ชวนคนโทรมาเล่าเรื่องผีรายการแรกในไทย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า The Ghost คือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้รายการเรื่องเล่าผีบูมขึ้นมาในบ้านเรา คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ในยุคที่สังคมและเทคโนโลยีเปลี่ยนไป ทำไมรายการเรื่องเล่าผีจึงได้รับความนิยม และมีทีท่าว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ วัดจากช่วงหลายปีมานี้ มีรายการเล่าเรื่องผีเกิดขึ้นมากมาย กลางดึกสงัดที่ว่างเว้นจากการจัดรายการ เราชวนพี่แจ็คมาคุยกันเรื่องความหลงใหลในเรื่องสยอง ผีที่พี่แจ็คกลัวที่สุด และวิวัฒนาการของผีในเรื่องเล่าที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและสังคมเมือง พี่แจ็คเคยเจอผีไหม ชีวิตนี้ไม่เคยเจอผี เป็นคนไม่มีเซนส์เรื่องผีเลย แล้วเชื่อไหมว่าผีมีจริง ผมเชื่อ 50 – 50 ว่าผีมีหรือไม่มีจริง เพราะเราไม่เคยเจอผีเลยไม่รู้ว่าตกลงแล้วผีมีจริงหรือเปล่า และเราก็ฟังเรื่องผีมาเยอะจากคนหลายคน เราเลยอยู่ตรงกลางระหว่างสองฝั่ง และเพราะเราเป็นผู้ดำเนินรายการด้วยแหละ […]

‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ กับอาชีพช่างแกะสลักไม้ที่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา

ในช่วงเวลาที่โลกพัฒนาและหมุนไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเครื่องจักรเข้ามาทดแทนงานฝีมือของมนุษย์ งานแกะสลักไม้เริ่มค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา ‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ ช่างแกะสลักไม้จากร้าน ‘บ้านอินคำ’ คือหนึ่งในผู้หลงเหลืออยู่ในแวดวงอาชีพนี้ “สมัยก่อนงานแกะสลักรุ่งเรืองมาก งานเยอะ ทำแทบไม่ทัน ต้องทำโอทีทุกคืน ช่างแกะรุ่นใหม่ก็เข้ามาฝึก แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผมแทบจะเป็นช่างแกะสลักรุ่นเด็กที่เหลืออยู่” รายการ The Professional พาไปรู้จักกับอาชีพช่างแกะสลักไม้ และความหวังที่จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาอนุรักษ์ศาสตร์นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป

‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

1 2 3 4 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.