‘เปลี่ยนจากการโทษเหยื่อเป็นเข้าใจ’ ในช่วงที่ใจอยู่ในโหมดอันตราย แทบเป็นไปไม่ได้ที่เราจะป้องกันตัวเอง

‘หนูดีใจนะที่เขาไม่เข้าใจ โชคดีแล้วที่ไม่ต้องมาเจออะไรแบบนี้’ ผู้เขียนยังจำบทสนทนาครั้งนั้นเมื่อสิบปีมาแล้ว ที่เคยสัมภาษณ์น้องคนหนึ่งที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ดี น้องเล่าให้ฟังถึงความรู้สึกตัวเองอย่างละเอียด และมุมมองของพ่อที่มีต่อเธอ พ่อหาว่าโรคซึมเศร้าไม่มีจริงหรอก เธอแค่ขี้เกียจ สถานการณ์เดียวกันนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่ถูกปั่นหัวปั่นประสาท หลอกลวง และทำร้ายไม่ว่าจะทางร่างกาย คำพูด จิตใจ หรือเซ็กซ์เป็นเวลานาน หากใครไม่ได้เป็นคนคนนั้นผู้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่ค่อยๆ แทรกซึมถึงจุดที่ตัวเองรู้สึกตกต่ำและหวาดกลัวสุดๆ ก็ยากมากที่จะเข้าใจว่าทำไมคนคนนั้นถึงยอมปล่อยให้ตัวเองจมดิ่งจนถึงขั้น ‘ออกมาไม่ได้’ ขนาดนั้น ระบบป้องกันตัวโดยสัญชาตญาณที่ทำให้ไม่กล้ามีปากเสียง หากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ระบบการรับมือกับความเครียดอย่างหนักนั้นจะต่างจากการตัดสินใจทั่วไปในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ยกตัวอย่าง แฟนถามคุณว่าคืนนี้อยากทำอะไร การตัดสินใจก็เป็นเรื่องง่ายเพราะไม่มีเรื่องคอขาดบาดตายมากดดันให้คุณต้องเครียดในการเลือก แต่ถ้าคุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน เช่น คนกำลังจะเข้ามาลวนลามในซอยเปลี่ยว ภายในเสี้ยววินาทีนั้นแทบไม่มีทางเลยที่สมองจะตัดสินใจได้อย่างกระจ่างเฉียบแหลม ทำให้ระบบป้องกันตัวของเราจะปรับเข้าสู่โหมด ‘1) Fight – 2) Flight – 3) Freeze’ ในตอนนั้นเราอาจเลือกต่อสู้ผู้ที่กำลังเข้ามาทำร้าย หรือหนีให้เร็วที่สุด หรือตัวแข็งชา เนื่องจากไม่สามารถประมวลผลตอบโต้อีกฝ่ายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วคนเรามีหลายวิธีป้องกันตัวเมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น พยายามพูดจาดีๆ เป็นมิตร หรือไม่มีปากเสียง ทำตัวให้เป็นปัญหาน้อยที่สุด ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เพราะสมองมีหน้าที่หลักในการทำให้มั่นใจว่าเจ้าของสมองนั้นจะรอดตาย ความยาวนานของเหตุการณ์ที่เลวร้าย ยิ่งทำให้ยากที่จะออกมาได้ นอกจากระบบป้องกันตัวที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือสู้กลับแล้ว อีกปัจจัยที่ทำให้เราออกมาจากความทุกข์ทรมานจากการถูกควบคุมหรือหลอกใช้ได้ยากคือความเคยชิน […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

เมื่อการ Manifest ทำให้เรากดดันกับการ ‘คิดยังไงให้กลายเป็นจริง’

ช่วงนี้หลายคนน่าจะเห็นเทรนด์การมานิเฟสต์หรือการขอให้จักรวาลฟังเสียงของตัวเอง เพื่อดึงดูดสิ่งดีๆ หรือทำให้สิ่งที่ขอเป็นจริงในหลากหลายโซเชียลมีเดีย แม้ฟังเหมือนเป็นการขอพรทั่วๆ ไปที่เราทำกันอยู่แล้ว แต่หากลงลึกในรายละเอียด จะพอเห็นว่าการมานิเฟสต์มีแนวคิดที่ค่อนข้างแตกต่างออกไป โดยผูกกับมายด์เซต แนวคิด ความเชื่อ และความปรารถนาที่แรงกล้าด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายถึงคำว่า มานิเฟสเทชัน (Manifestation) ก่อน คำนี้แปลให้เห็นภาพง่ายๆ คือ ‘การสร้างสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาอยู่ในชีวิตจริง’ แต่ขั้นตอนของการนำสิ่งที่เราคิดให้กลายมาเป็นความจริงในโลกกายหยาบนี้ได้ ในสายโลกจิตวิญญาณเขาบอกว่า ต้องมีความเชื่อว่าเราได้ เราเป็น เราคู่ควรกับสิ่งนั้นก่อน และเมื่อเรารู้สึกถึงประสบการณ์ที่เรามีกับสิ่งนั้น เข้าถึงมันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ผ่านการใช้เวลา ไม่ว่าจะทั้งทางอารมณ์และความรู้สึก ภาพที่ชัดอยู่ในหัวและการกระทำของเราในแต่ละวันจะถือเป็นการเตรียมพร้อมให้สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น กลายเป็นความจริงที่เราจับต้องได้ในชีวิตตอนนี้ ยกตัวอย่าง ถ้าอยากมีแฟนที่มีหน้าที่การงานดี วางตัวภูมิฐาน ฉลาดรอบรู้ การจะมานิเฟสต์ให้ได้สิ่งนี้ เราต้องเชื่อว่านี่คือสิ่งที่เหมาะสมกับเรา เชื่อลึกลงไปในทุกอณูร่างกาย เพราะถ้านั่นคือสเปกผู้ชายหรือผู้หญิงที่เราอยากคบ แต่ในแต่ละวันเรายังนั่งคิดว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นเยอะ มองแต่ข้อเสียของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกดีไม่พอเข้าไป มันก็ยากที่ระบบในร่างกายและจิตใจของเราจะประทับลงไปว่า เรานี่ล่ะคู่ควรกับคนรักแบบนี้ นอกจากนั้นเราต้องดื่มด่ำด้วยใจเป็นสุขกับความคิดที่ว่า เรากำลังคบกับคนแบบนี้อยู่ ในแต่ละวันเราจะทำกิจกรรมอะไรกันบ้าง มันสนุกแค่ไหน การใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันจะเปลี่ยนไปอย่างไร และที่สำคัญ เราต้องเตรียมพร้อมที่จะให้ภาพนี้เป็นจริงขึ้นมาด้วย อย่าลืมตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วผู้หญิงหรือผู้ชายในฝันของคนในฝันของเราคนนี้จะต้องเป็นอย่างไรนะ แล้วในแต่ละวันตอนนี้เราทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้เป็นคนในฝันของเขาคนนั้น เช่น เราออกจากบ้านบ่อยแค่ไหน […]

เดชรัต สุขกำเนิด กับปรัชญาการทำงานในสังคมต่างวัย

ในวันที่ ‘คนรุ่นใหม่’ มีบทบาทในสังคมมากกว่าทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาแล้ว ‘ผู้อาวุโส’ จะอยู่ตรงไหนในสังคมการทำงานและการใช้ชีวิตร่วมกัน สนทนาถึงประเด็นนี้กับ ‘อาจารย์เดชรัต สุขกำเนิด’ ผู้อำนวยการ Think Forward Center แห่งพรรคก้าวไกล ที่ใครๆ ก็เห็นว่าเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยคนรุ่นใหม่ คนสูงวัยหรือผู้อาวุโสควรวางตัวอย่างไร ต้องปรับมายด์เซตแบบไหนให้ไม่เป็นพิษกับเด็กๆ รอบข้าง ตามไปฟังคำแนะนำจากผู้อาวุโสคนหนึ่งที่พยายามไม่ใช้ความอาวุโสไปกดทับใครในบทสัมภาษณ์นี้ ‘Super Seniors’ คือซีรีส์คอนเทนต์จาก Urban Creature ที่ต้องการฉายภาพสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุที่ไทยและหลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ พร้อมกับชวนไปสำรวจโครงสร้าง นโยบาย และมายด์เซตที่เมืองของเราได้เตรียมพร้อมไว้ให้คนกลุ่มนี้

‘Inner Child’ ทำความเข้าใจตัวตนผ่านความเป็นเด็กในตัวเรา กับบาดแผลในวัยเยาว์ที่มาเจอเอาตอนโต

ในช่วงแรกๆ ที่ผู้เขียนเริ่มทำงานเป็นนักจิตบำบัด มีคนไข้อยู่ในช่วงวัยรุ่นตั้งแต่มัธยมฯ จนถึงมหาวิทยาลัยค่อนข้างเยอะ ซึ่งเวลาอยู่ในชั่วโมงบำบัดจะเกิดความรู้สึกที่แปลกมาก เพราะสังเกตว่าใจตัวเองเต้นตึกๆ รู้สึกร้อนผ่าวอยู่หลายครั้ง ทั้งๆ ที่เราก็ไม่ได้กำลังเผชิญเหตุการณ์ที่อีกฝ่ายเขาเจออยู่ เมื่อได้มาคุยกับ Supervisor และค่อยๆ กะเทาะเข้าไปทำความเข้าใจตัวเองเรื่อยๆ ถึงได้รู้ว่า ความรู้สึกหนักๆ ที่เกิดขึ้นเมื่ออยู่ในชั่วโมงบำบัดนั้น มันคือความรู้สึกโดนกระทบแรงๆ (Triggered) ที่ทำให้ตัวเองย้อนกลับไปนึกถึงช่วงวัยรุ่นที่ผ่านเหตุการณ์ยากลำบากต่อจิตใจคนเดียว  ตอนนั้นไม่รู้จะเล่าให้ใครฟัง รู้สึกอาย และเชื่อว่าเรื่องราวของเราควรเก็บมันไว้ในใจ ไม่ให้ใครข้างนอกเห็นว่าเรามีจุดที่อ่อนแอ กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่ผู้เขียนได้ทำหน้าที่เป็นนักจิตบำบัดให้น้องๆ เหล่านั้น ความรู้สึกหนักๆ ก้อนใหญ่ได้เด้งกลับไปที่เจ้าเด็กมะเฟืองในช่วงวัยรุ่น ตอนนั้นเธอไม่รู้จะหันไปพึ่งใคร ทั้งที่ลึกๆ แล้วเธอก็อยากได้คนอย่าง Therapist มาคอยรับฟัง อยู่เป็นเพื่อนโดยไม่ตัดสินอะไร และไม่ทำให้ผู้เขียนต้องรู้สึกแย่กับตัวเองกว่าเดิม เด็กคนนั้นโตมากลายเป็นเธอ เราอยากชวนทุกคนมารู้จักกับคำว่า ‘Inner Child’ ที่แปลง่ายๆ คือ ‘เด็กคนนั้นที่อยู่ในตัวเรา’ เพราะตอนที่เราเป็นเด็ก สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคงหนีไม่พ้นความสนุก ความรัก และความรู้สึกปลอดภัย หากในวัยเด็กของเราเติบโตมาด้วยความรู้สึกขาดหรือโหยหาบางสิ่งที่เราอยากได้ แต่ในตอนนั้นเรามีตรรกะหรือความเข้าใจต่อโลกไม่มากพอที่จะรับมือกับความอัดอั้นในใจ จึงทำให้อธิบายออกมาเป็นคำพูดที่ต้องการไม่ได้ และหากเรามีความทรงจำวัยเด็กบางเหตุการณ์ที่ส่งผลให้จิตใจสั่นคลอน โดยเฉพาะความทรงจำที่เกิดขึ้นในครอบครัว และเราต้องเจอเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นประจำในระยะเวลานาน มันง่ายมากที่เราซึ่งเป็นเด็กในตอนนั้นจะกดบาดแผลที่มองไม่เห็นให้ลึกสุดใจ แต่ขณะเดียวกัน บาดแผลนั้นก็ยังไม่ไปไหน มันแค่แปลงร่างกลายเป็นเราในเวอร์ชันเด็กที่ซุกซ่อนอยู่ในเสี้ยวใดเสี้ยวหนึ่งของจิตสำนึก […]

ฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ลดแค่ริ้วรอย แต่ยังช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

การตัดสินใจเสริมความงามของหลายๆ คนมักเริ่มต้นจากความต้องการที่จะลดริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งมาพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหัตถการอันดับต้นๆ ที่หลายคนรู้จักคือการฉีด ‘โบท็อกซ์’ หรือ ‘Botulinum toxin (BTX)’ สารช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าหายไป แต่โบท็อกซ์ไม่ได้มีประโยชน์ด้านความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกใช้เพื่อรักษาอาการไมเกรนเรื้อรัง ภาวะเหงื่อออกมาก ลดอาการเจ็บปวดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และอาการอื่นๆ ทางการแพทย์ มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การฉีดโบท็อกซ์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ผู้คนสุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย ฉีดโบท็อกซ์เพิ่มสวย ลดเครียด นักวิจัยจาก ‘Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences’ แห่ง ‘University of California San Diego’ พบข้อมูลจาก ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)’ ว่าคนที่ฉีดโบท็อกซ์ในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่หน้าผากมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลงมากกว่า 22 – 72 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยอาการเดียวกันที่ใช้การรักษาคนละรูปแบบ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการผ่านสีหน้าอย่างเช่นการขมวดคิ้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า แน่นอนว่าเมื่อเกิดรอยตำหนิขึ้นมาก็จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล ไม่มั่นใจ […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

จัดสวนขวดและตู้เลี้ยงไม้เยียวยาใจ ‘Curve Studio’ | THE PROFESSIONAL

“พอพื้นที่สีเขียวมันน้อยลง คนก็อยากได้พื้นที่สีเขียวเล็กๆ นี้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ควรจะมีพื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขามีภาพจำดีๆ แล้วอยากจะถ่ายทอดเก็บไว้ดูในวันอื่นของเขาบ้าง” ‘เอิร์ท-พลานนท์ จันทร์เซียน’ จาก ‘Curve Studio’ นักจัดสวนขวดและตู้เลี้ยงต้นไม้ อดีตผู้ไม่ชอบการปลูกต้นไม้เพราะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน แต่การลาออกจากงานที่ต้องทำด้วยความเครียดทำให้เขาได้ลองสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบดูบ้าง เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติจากการจัดสวนในขวดแก้ว กิจกรรมนี้ก็ช่วยปลดล็อกจากความเครียด จนเขาได้พบกับความสร้างสรรค์ การผ่อนคลาย และการเยียวยาจิตใจ THE PROFESSIONAL วันนี้พาทุกคนพักสายตาไปชมสิ่งน่าสนใจสีเขียวๆ ทำความรู้จักกับอาชีพ ‘นักจัดสวนขวด’

‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย

‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

1 2 3 4 5 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.