‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น

คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด  การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]

You Me We Us นิทรรศการที่เล่าว่าไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนคุณก็คือคน

‘จะดีแค่ไหน ถ้าอยู่ที่ไหนคุณก็ยังเป็นคน’  อาจฟังดูแปลก แต่ความเป็นจริง โลกนี้ยังเต็มไปด้วยคนที่ถูกคนด้วยกันกดขี่ และถูกบังคับให้ไม่เป็นคน เพียงเพราะต่างเพศ ชนชั้น เชื้อชาติ ศาสนา รสนิยม และอุดมการณ์ทางการเมือง แม้ร่างกายมีเลือดเนื้อเหมือนกัน แต่กลับถูกคนด้วยกันตีคุณค่าต่างจนไม่เท่าเทียม และอาจนำไปสู่การทำร้ายและเข่นฆ่า ประเด็นขัดแย้งเรื่องชาติพันธุ์ในสังคมไทยก็เกิดจากสาเหตุคล้ายกัน นั่นอาจเพราะความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมไม่เคยถูกคลี่คลายทำความเข้าใจถ่องแท้ ราวกับว่าการผลักให้คนที่แตกต่างกลายเป็นอื่นจะง่ายกว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกัน เรากำลังพูดถึง You Me We Us นิทรรศการออนไลน์โดย UNDP ประเทศไทย ซึ่งร่วมมือกับเยาวชนกว่า 10 ชาติพันธุ์ และกลุ่มเยาวชนไร้สัญชาติที่มองเห็นช่องโหว่ด้านการรับรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนต่างๆ นิทรรศการนี้จึงหยิบความหลากหลายทางเชื้อชาติในสังคมไทยมาบอกเล่าว่าภายใต้ความต่าง เรามีความเหมือน เพียงแค่ระยะห่างทางสังคมอาจทำให้คนเข้าใจกันน้อยเกินไป You Me We Us จึงเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำพาไปสู่การมองเห็นกันมากขึ้น  บนหน้าเว็บไซต์ของนิทรรศการจะชวนทุกคนไปสำรวจเชื้อชาติของตัวเองและคนรอบข้าง ทดสอบความเข้าใจว่ารู้จักเผ่าพันธุ์ไหนบ้าง เพราะไทยไม่ได้มีแค่ไทย แต่มีคนกว่า 60 ชาติพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ลาวอีสาน กะเหรี่ยง ขมุ ม้ง อาข่า ล้านนา ละว้า มอญ หรือไทใหญ่ ฯลฯ […]

Bangkoknaughtyboo อินฟลูฯ ดิจิทัล ลูกครึ่งคน-คอม คนแรกของไทย ที่จ้างถ่ายแบบได้จริง

“สวัสดีค่ะคุณ Bangkoknaughtyboo แมกกาซีนเราอยากสัมภาษณ์คุณในฐานะ Virtual Influencer คนแรกของไทย พอจะสะดวกไหมคะ” (Typing…)  “สวัสดีค้าบ ขอบคุณที่ติดต่อมาค้าบ ยินดีให้สัมภาษณ์ค้าบ”  ไม่นานแอ็กเคานต์อินสตาแกรม @bangkoknaughtyboo ก็ตอบกลับ  นี่จึงเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้คุยกับ Virtual Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างจาก CGI (Computer-generated imagery) คนแรกของไทย และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ Non-binary ผู้ไม่นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชายตามบรรทัดฐานสังคม ‘คนแรกของโลก’ เดี๋ยวก่อน นึกภาพตามกันออกไหม ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้  แล้วก็แบบนี้! แม้เขาจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ร่างกายบางส่วน ก็ใช้ต้นแบบที่เป็นมนุษย์หลอมรวมด้วยกัน Bangkoknaughtyboo ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ชื่อของเขามาจากเด็กซนๆ ในกรุงเทพฯ แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ตัวตนของเขา ถูกสร้างให้ใช้ชีวิต และมีคาแรกเตอร์เสมือนเป็นคนจริงๆ มีทั้งความรู้สึก ทั้งไลฟ์สไตล์ สามารถเดินไปช้อปปิง เสพข่าวสาร มีความฝัน แถมมีอาชีพไว้สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ (แบงคอคบอกว่าจ้างได้นะ) เขาโลดแล่นในวงการแฟชั่นด้วยการถ่ายแบบใกล้ครบหนึ่งปี เพิ่งเซ็นสัญญากับ Morgan & Preston […]

การเมือง โรคระบาด ความเหลื่อมล้ำ ทำผู้คนอยู่ในภาวะ ‘ไม่กล้ามีความสุข’

นาฬิกาปลุกเสียงคุ้นดังขึ้นยามเช้า บอกสัญญาณวันใหม่ วันก่อนเพิ่งตามข่าวการชุมนุมต่อต้านเผด็จการ เห็นภาพเจ้าหน้าที่ยิงประชาชน คนถูกทำร้าย แกนนำโดนจับ ขนานไปกับสถานการณ์โควิด-19 ผู้คนล้มตายข้างถนน ยอดติดเชื้อพุ่งสูงใกล้แตะสองหมื่น เตียงยังขาด วัคซีนยังพร่อง “นี่กูต้องขับเคลื่อนด้วยการด่าไปอีกนานเท่าไหร่” ฉันพลางคิดในหัวก่อนไถฟีดบนอินสตาแกรมแล้วพบว่าไอดอลเกาหลีที่รักอัปรูปใหม่ สองมือรีบกดแชร์ลงสตอรี่ไอจี และพิมพ์ข้อความ “โดยอง ฉันรักแก ขอบคุณที่ทำให้ยิ้มได้บ้าง แม้ประเทศจะโคตร…” (หยาบนิด เติมเอาเองนะ) ถ้าเป็นก่อนหน้า การหาความสุขใส่ตัวไปพร้อมๆ ขับเคลื่อนสังคม เป็นเรื่องที่ต้องชั่งน้ำหนัก เพราะกลัวคนอื่นมองว่าสถานการณ์แบบนี้ ‘ยังกล้ามีความสุขอีกเหรอ’ จนหลายครั้งเลือกเบนหน้าหนีความสุข ฉันเชื่อว่าไม่ใช่แค่ฉันที่เป็น แต่หลายคนที่กำลังอ่านอยู่ก็น่าจะเป็นเหมือนกัน แต่ที่จริง การเปล่งเสียงเรียกร้องความยุติธรรม และตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม คือเครื่องสะท้อนความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ขณะเดียวกันการเพิ่มพลังใจให้พร้อมต่อการใช้ชีวิต ก็ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่ากัน เพราะถ้าไม่มีพลัง…จะเอาแรงที่ไหนไปสู้ล่ะ  เหมือนที่ ฝ้าย-กันตพร สวนศิลป์พงศ์, น้ำผึ้ง-กิตินัดดา อิทธิวิทย์ และ กัญ-วรกัญ รัตนพันธ์ สามนักจิตวิทยาการปรึกษาจากศูนย์ให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา MASTERPEACE ผู้มีประสบการณ์ดูแลใจคนยุคโควิด-19 และยุครัฐบาลชุดนี้บอกกับฉันไว้ว่า ‘การหาความสุขเล็กๆ ใส่ตัวไปพร้อมๆ กับการใช้เสียงของตัวเองให้เป็นประโยชน์สามารถเดินไปคู่กันได้’ เพราะสถานการณ์ในบ้านเราตอนนี้ส่งผลทำให้คนไม่กล้ามีความสุข เครียด หดหู่มากกว่าที่เคย […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

‘หนังไทยไปไกลกว่านี้ ถ้าไม่ถูกปิดปาก’ คุยกับ หมู ไก่ พี่น้องผู้กำกับบ้านบุญประกอบ

เอหิปัสสิโก (Come And See) เป็นภาพยนตร์สารคดีตีแผ่มุมมองความศรัทธาในสถาบันบางอย่างผ่านคดีพระธัมมชโย วัดพระธรรมกาย ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ ไก่-ณฐพล บุญประกอบ ที่เกือบถูกเซนเซอร์โดยรัฐไทย แต่ตอนนี้กำลังจะได้ลง Netflix วันที่ 1 สิงหาคม 2564  Friend Zone ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน เป็นภาพยนตร์โรแมนติกคอเมดี้ว่าด้วยเรื่องราวความสัมพันธ์ของสองเพื่อนสนิทที่ติดอยู่ในเฟรนด์โซน ลำดับล่าสุดของผู้กำกับ หมู-ชยนพ บุญประกอบ ที่โลดแล่นบนจอภาพยนตร์ถึง 13 ประเทศทั่วเอเชีย ‘ไก่’ คนน้อง ชอบเล่าเรื่องจริงในสังคมผ่านสารคดี เพราะอยากเพิ่มจำนวนสารคดีในประเทศไทยที่มีน้อย (มาก) ด้วยปัจจัยเสี่ยงยาวนับพันข้อ ‘หมู’ คนพี่ ชอบทำหนังคอเมดี้ เพราะอยากเห็นคนไทยหัวเราะออกมาดังๆ และการลุ้นว่าคนดูจะขำมุกที่ใส่ไว้ในเรื่องไหม นั่นแหละคือความท้าทาย ทั้งสองมีมุมมองการกำกับ ลีลา และจุดมุ่งหมายต่างกัน แต่การเป็นคนทำหนังเหมือนกันนี่แหละ คือจุดร่วมที่ทำให้ฉันนัดสองพี่น้องบ้านบุญประกอบมาคุยถึงการเลือกให้คุณค่างานศิลปะของรัฐไทย การปิดปากงานสร้างสรรค์ และการไม่ยอมรับความจริง จนทำให้อุตสาหกรรมหนังไทยติดปัญหา ยังไปได้ช้าพอๆ กับการมีวัคซีนโควิด-19 ดีๆ ในประเทศ วงการหนังไทยแบบไหนที่พวกคุณอยากเห็น หมู : อยากเล่าอะไรก็ได้ เพราะคอนเทนต์ดีๆ […]

หนึ่งวันภารกิจเสียภาษีให้โลกกับ เม้ง-ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ และครอบครัว

เมื่อก่อนเคยคิดว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องไกลตัวเป็นภาพใหญ่ ทั้งเรื่องโลกร้อน ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ขยะใต้มหาสมุทร ฝุ่น PM 2.5 ปัญหาดังกล่าวล้วนใหญ่เกินกว่าที่เราจะคิดแก้ไข คงต้องเรียกหาฮีโร่อย่าง Captain Planet สักคนมาต่อสู้ถึงจะเอาชนะได้ แต่จริงๆ แล้วสิ่งแวดล้อมมันอยู่รอบตัวตั้งแต่ตื่นขึ้นมาสูดหายใจรับเอาอากาศเข้าสู่ร่างกาย อาบน้ำ กินข้าว ไปจนถึงตอนเรานอน การหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมอาจไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการช่วยโลกทั้งใบ แต่อาจจะเริ่มจากโลกใบเล็กๆ ที่คุณแคร์ในชีวิตประจำวัน แต่บางคนก็ยังอาจไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ควรต้องเริ่มต้นอย่างไร ในการรักษาบ้านหลังใหญ่ที่ชื่อว่าโลก เราจึงชวนไปพูดคุยกับ ‘เม้ง’ ประสิทธิ์ วิทยสัมฤทธิ์ นักคิดสร้างสรรค์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม กับภารกิจการเสียภาษีคืนให้โลกด้วยการหันมาดูแลสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน ในฐานะคนธรรมดา และในฐานะพ่อ ที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมเพราะอยากให้โลกของลูกดีขึ้นในอนาคต  สอง สาม ก้าวของ ‘เม้ง’ คนธรรมดาที่หันมาสนใจสิ่งแวดล้อม คนมักจะรู้จักเม้งในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ชูใจ กะ กัลยาณมิตร’ เอเจนซีที่มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อสังคม แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าในอีกมุมหนึ่งเขาคือตัวจริงด้านสิ่งแวดล้อม ที่ชักชวนตัวเองและคนรอบข้างให้เห็นถึงความสำคัญกับธรรมชาติให้มากขึ้น เราจึงเริ่มต้นบทสนทนาด้วยคำถามที่ว่าเม้งเริ่มสนใจสิ่งแวดล้อมได้ยังไง  “คำถามนี้มีคนถามผมหลายครั้ง มันเป็นคำถามที่ตอบยากมากเลยนะ” เม้งหยุดคิดอยู่ครู่ใหญ่ และเล่าเรื่องราวช่วงเรียนมหาลัยให้เราฟังว่า ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมของเขาเกิดในช่วงมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนั้นเม้งเลือกเรียนภูมิสถาปัตยกรรม ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติที่สุดคณะหนึ่ง เพราะต้องไปลงพื้นที่ ต้องเข้าป่า ดูต้นไม้ […]

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

LGBTQ+ หางานยาก? คุยกับ โกโก้ กวินตรา Trans Woman ผู้สมัครงาน 200 ที่แต่ไม่มีใครเรียก

สมัยนี้อย่าเลือกงานมากเลย แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศ?  โดนกาหัวใบสมัครงาน เพราะไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย ตำแหน่งงานที่จะโปรโมตสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เธอไม่ใช่ผู้หญิง อย่ามาแสดงท่าทางตุ้งติ้ง หรือทำตัวเจ้าฮะให้เห็นตอนทำงานล่ะ ถกประเด็นโอกาสเข้าถึงงานของเพศหลากหลายกับ โกโก้-กวินตรา เทียมไสย์ ผู้หญิงข้ามเพศผู้เป็นนักวิจัยนโยบายให้กับองค์กรระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง พร้อมกับสร้างโปรเจกต์ She Can เพื่อฝึกทักษะและเตรียมพร้อมเยาวชนคนข้ามเพศให้เติบโตเป็นผู้นำในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากเธอเรียนจบปริญญาโทด้าน Gender Studies ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS University of London) ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก้าวชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ใครจะคิดว่าเธอเคยเป็นเด็กจบใหม่ที่ร่อนสมัครงานไปมากกว่า 200 ใบแต่กลับไม่มีใครเรียกไปสัมภาษณ์ จะว่าคุณสมบัติที่มีไม่เหมาะสมกับงานทั้งสองร้อยงานเลยก็คงไม่ใช่ เธอจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากเหตุแห่งเพศ เพราะสังคมไทยที่เป็นอยู่ไม่มีทั้งกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ ยังคงเหยียด เลือกปฏิบัติ และมอง LGBTQ+ ไม่เท่ากับคนอื่น ไหนว่าอย่าเลือกงาน แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศได้? เธอพร้อมแล้วที่จะถกประเด็นให้คุณได้รู้ งานเลือกเพศ งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทยปี 2561 จากธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคนที่ไม่ใช่ LGBTQ+ รวม 3,502 […]

“ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง ถ้าสังคมไม่ยอมรับ ประชาธิปไตยก็จอมปลอมต่อไป” อั้ม เนโกะ

บทความนี้มีประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศคือผู้หญิง” 7 ประโยค เทียบไม่ได้กับประโยค “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” ที่พวกเธอทั่วโลกฟังมาตลอด เฉลี่ย 10 – 20 ปี ตั้งแต่จำความ ซึ่งคุณไม่สามารถนับนิ้วได้แน่นอนว่ากี่ครั้ง เพราะคงเกินแสนล้าน  “ทำไมไม่เคารพความเห็นที่แตกต่าง พวกเรามีสิทธิ์ไม่ยอมรับผู้หญิงข้ามเพศเป็นผู้หญิง มันคือเสรีภาพทางความคิด” สังคมชายเป็นใหญ่อ้างแบบนั้น ฮึ ขอสบถแด่เสรีภาพทางความคิดที่กำลังผลิตซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิงข้ามเพศ ตั้งแต่คำพูดที่ทำให้เจ็บปวด ขยายไปสู่การเลือกปฏิบัติในสังคม แผ่กว้างไปถึงการกีดกันทางกฎหมาย ถ้าเป็น ‘ไทย’ เข้าโรงเรียนก็ถูกบังคับสวมชุดไม่ตรงเพศสภาพ โตมาหน่อยถูกทำให้จนด้วยการกาหัวใบสมัครงานทั้งๆ ที่ยังไม่ได้อ่านความสามารถ แทบทุกเดือนต้องจ่ายสวัสดิการทางสุขภาพเองทั้งฮอร์โมนและค่าผ่าตัด ต่างจากฝรั่งเศส มอลตา แคนาดา และหลายประเทศแถบยุโรปที่การรักษาพยาบาลเหล่านี้ ‘ฟรี’ ไปให้สุดสำหรับประเทศนี้ที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงข้ามเพศสักฉบับ ทั้งการเปลี่ยนคำนำหน้า การรับรองเพศสภาพในทะเบียนราษฎร์ หากถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศ ก็ไม่สามารถเอาผิดผู้กระทำความผิดได้  ประโยคที่คุณพูดกันว่า “ผู้หญิงข้ามเพศไม่ใช่ผู้หญิง” แน่นอน คุณมีสิทธิ์คิดได้ในใจ แต่คุณไม่มีสิทธิ์แผ่ขยายความอัปยศนี้จนทำให้ผู้หญิงข้ามเพศเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับความรุนแรงและถูกฆ่าตายมากที่สุดใน ‘โลก’ และมีอายุขัยเฉลี่ยเพียง 35 ปี เพราะความรุนแรงทางเพศ สังคม เศรษฐกิจ และการไม่เข้าถึงการรักษาพยาบาล ที่ทำให้พวกเธอจบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตาย (ข้อมูลจาก […]

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

1 12 13 14 15 16 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.