PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
The Professional l คุยกับโต้ง บรรจง ผู้กำกับหนังเรื่อง ‘ร่างทรง’ หนังสยองขวัญที่อีก 10 ปี คุณยังต้องพูดถึง
เจ้าเชื่อเรื่องผีบ่’ ในโลกที่หลายๆ คนอาจไม่สัมผัสสิ่งที่เรียกว่า ‘ผี’ ในชีวิตจริง แต่ก็มีหนังที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ผลิตออกสู่สายตาให้เรารับชมไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือต่างประเทศ ผีจะโผล่มาตอนไหน เนื้อเรื่องจะเล่าอย่างไร เป็นสิ่งท้าทายผู้กำกับยุคนี้ที่ต้องทำให้คนดูกลัวด้วยวิธีใหม่ๆ ตลอดเวลา “สิ่งสำคัญที่สุดของคนทำหนังคือ งานมันต้องเดินทางผ่านกาลเวลาได้ ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเรื่องไหน 10 ปีต่อมาใครจะยังพูดถึงอยู่” คำพูดชวนเราให้คิดตามของ ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘ร่างทรง’ ที่เล่าเรื่องราวสยองขวัญ ผ่านความเชื่อเรื่องร่างทรงตามชื่อหนัง สร้างกระแสฮือฮาทั่วเอเชียตั้งแต่หนังปล่อยทีเซอร์ออกมา และกระแสยังแรงต่อเนื่องเมื่อหนังได้เข้าฉายที่ประเทศเกาหลี รวมถึงประเทศไทยเองก็กระแสแรงไม่แพ้กัน หนังเรื่องนี้จะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบไหน และจะเป็นหนังที่อีก 10 ปีคนยังพูดถึงอยู่หรือไม่ มาร่วมพูดคุยกับโต้ง บรรจง ไปพร้อมๆ กับเราในคลิปนี้ได้เลย แล้วคุณล่ะ ‘เชื่อในเรื่องร่างทรงไหม’ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #ร่างทรง #หนังผีไทย #หนัง2021
หิน ณรงค์ แท็กซี่โชห่วย ที่มีของใช้ ของกิน ยันของส่วนตั๊วส่วนตัว หยิบได้เลย ฟรี!
ขึ้นแท็กซี่คันนี้ อย่างต่ำยิ้มออก อย่างมากม่วนหลาย และใช่ค่ะ ดิฉันเอนจอยสุดๆ ตั้งแต่หย่อนตัวลงเบาะ 360 องศาภายในรถ อัดแน่นไปด้วยขนมหลากยี่ห้อ ทั้งคาว หวาน นัว มีไข่ไก่ ปลากระป๋อง เครื่องปรุงครบรส ไปจนถึงของใช้เบสิกอย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ร่ม แปรงสีฟัน แม้กระทั่งโมเดลการ์ตูนหลายร้อยตัวเพิ่มสีสัน เอ๊ะ ผนังรถมียาสามัญประจำบ้านด้วย ดีจัง แต่เดี๋ยวนะ นั่นมันยาคุมฉุกเฉิน ถุงยาง เจลหล่อลื่น และผ้าอนามัยหรือเปล่า?! แทบจะไม่ใช่แท็กซี่อยู่แล้ว แทบจะเป็นร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่อยู่แล้ว ซึ่ง หิน-ณรงค์ สายรัตน์ คนขับแท็กซี่วัย 55 ปี คนนี้ก็ต้องการให้เป็นแบบนั้น เพราะนี่คือ ‘แท็กซี่โชห่วย’ ที่เจ้าตัวทำมา 13 ปี และขอดอกจันรัวๆ ไว้ก่อนเลยว่าทุกอย่างบนรถไม่ขายสักชิ้นเด้อ แจกฟรี “โอ๊ย ถ้าไม่ได้ซื้อของขึ้นรถ นี่ไม่มีแรงขับหรอก มันไม่สนุก (หัวเราะ)” อะไรที่ทำให้น้าหินแจกฟรีแทนขาย และกลายเป็นขวัญใจชาวบางนาที่หิวเมื่อไหร่จะนึกถึง (เล่นมีโจ๊ก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมน้ำร้อนให้กินบนรถเวลาหิวโซ) แถมหยิบของใช้ส่วนตัวต่างๆ […]
จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช
ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]
Meme Girls Thailand เพจทำมีมเมาท์มอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจาก Mean Girls
อย่าคิดว่ามีมมีดีแค่สร้างเสียงหัวเราะ ถ้ายังไม่ได้รู้จัก Meme Girls Thailand เพจทำมีมเม้ามอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจากภาพยนตร์ Mean Girls
ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ
หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]
พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ : “กลัวว่าวันที่มีประชาธิปไตยจริงๆ จะไม่มีเพนกวินอยู่ด้วย”
ไม่ว่า เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ จะเป็นแกนนำอันเป็นที่รักของมวลชนแค่ไหน จะเป็นเด็กก้าวร้าวรุนแรงในสายตาใคร จะเป็นพลเมืองจองหองของรัฐผู้แสนดี หรือจะเป็นผีร้ายหลอกหลอนชนชั้นปกครอง แต่สำหรับน้องสาวอย่าง พ้อย-พลอยวรินทร์ ชิวารักษ์ เพนกวินคือพี่ชายเพียงคนเดียว ที่เธอมี ถึงจะขี้แกล้ง ชอบยียวนกวนตีน แต่เขาโคตรจะห่วงน้องยิ่งกว่าใคร โลกภายนอกเพนกวินคือผู้กล้าที่ออกมาเคลื่อนไหวสั่นคลอนขั้วอำนาจทางการเมืองตั้งแต่เขาเรียนมัธยมฯ ถูกยุดยื้อออกจากห้องประชุมที่มีผู้นำทหารบ้าน้ำลายบนเวที แต่เมื่อก่อนเรื่องการเมืองก็ยังดูจะเป็นเรื่องไกลสายตาพ้อยอยู่ดี และแม้เพนกวินจะเป็นแค่นักศึกษา แต่เมื่อลงสนามรับบทแกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้ประเทศเน่าเฟะนี้ได้มีประชาธิปไตยจริงๆ สักที เขาก็ต้องแลกอุดมการณ์กับการถูกคุกคาม ไม่ใช่แค่คุกคามเพนกวิน แต่อันตรายยังทอดเงาสีดำไปยังครอบครัวชิวารักษ์ ถูกตีตราเป็นครัวเรือนคนชังชาติ และเป็นไอ้พวกตัวน่ารำคาญของผู้กดขี่ จากไกล การเมืองกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวพ้อยขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีอีกแล้วครอบครัวชนชั้นกลางที่เคยใช้ชีวิตสามัญ เพราะวันนี้พวกเขาสะกดคำว่าสงบ ร่วมกับพวกเผด็จการคลั่งอำนาจไม่ได้อีกต่อไป นี่จึงเป็นแรงขับสำคัญให้เด็กสาวที่ไม่เคยออกมาเคลื่อนไหว และไม่ไยดีการเมือง ตัดสินใจออกตามหาความยุติธรรม ด้วยการลุกมาต่อสู้ และทวงคืนความสุขที่แท้จริงให้สังคม เรารู้ว่าพ้อยไม่ได้คาดหวังให้คุณเห็นด้วยกับตัวเธอหรอก แต่ถ้ามองเพนกวินเป็นคนในครอบครัวตัวเอง คุณจะเลือกแสยะยิ้มอย่างสะใจ หรือเสียใจที่วัยรุ่นคนหนึ่งกำลังถูกทำร้าย เพียงเพราะเขาแค่อยากเห็นอนาคตที่ดีของทุกคน ไม่ว่าใครจะคิดยังไงก็ช่าง แต่พ้อยตัดสินใจหนักแน่นแล้วว่าจะออกมายืนเคียงข้างพี่ชาย ผู้ฝันจะได้เห็นประชาธิปไตยเต็มใบ แม้ต้องแลกกับความมอดไหม้ของตัวเองก็ตาม ลำปาง พีทกับพ้อยเป็นสองพี่น้องสายประชาธิปไตย “ตั้งแต่เกิดกวินชื่อพีท แต่นางบอกว่าอุ๊ย นกเพนกวินน่ารักจังเลย ขอเปลี่ยนชื่อเป็นเพนกวินดีกว่า (หัวเราะ) แล้วตอนเด็กๆ เราจะชอบเอาสีมาเขียนกำแพง […]
หนึ่งชีวิตที่ไม่ควรถูกหลงลืม ‘แสนสิริ’ เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง ปลูกอาหารให้ช้างไทย
หยิบอะไรก็ได้ขึ้นมาสักอย่าง ปาลงไปตรงไหนก็ได้ในประเทศไทย คงยากที่จะหล่นไปในพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นที่ทราบกันดีครับว่าตอนนี้ภาคการท่องเที่ยวไทยหยุดชะงักมาเกือบ 2 ปี แถมส่งผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมไล่ตั้งแต่สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ และแม้แต่ปางช้างก็หนีไม่พ้น เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เมื่อประเทศปิดตัวก็ยากที่จะหาเงินมาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องช้าง “หยิบหญ้าเนเปียร์สักหลายกำ ปาลงไปในแปลงเกษตร ที่แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่รกร้างรอการพัฒนา ช้างอีกหลายเชือกที่เชียงใหม่จะได้อิ่มท้อง” ใช่ครับ อาจจะเป็นสุภาษิตที่คุ้นเคยแต่เนื้อหาไม่คุ้นเลย จนต้องขออนุญาตพาเข้าเรื่องครับว่า Urban Creature กำลังจะเล่าเรื่องพันธมิตรที่น่ารักของเราอย่างแสนสิริ ที่ได้แบ่งปันที่ดินรอการพัฒนาจำนวน 70 ไร่ ที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ให้กับสมาคมสหพันธ์ช้างไทยใช้ในการปลูกหญ้าเลี้ยงช้าง โดยใช้ชื่อโครงการว่า Sansiri Backyard for Elephants เพราะมองเห็นร่วมกันแล้วว่าตอนนี้ปางช้างกำลังขาดรายได้ และลำพังอาศัยการบริจาคอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอในระยะยาว จึงปรับเอาพื้นที่รกร้างที่ตอนนี้ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับใคร มาช่วยช้างที่กำลังขาดรายได้ ช้างไทยยามไร้การท่องเที่ยว นอกจากเกาะสวย หาดทรายขาว ธรรมชาติบนดอย และแหล่งแฮงเอาต์ยามค่ำคืน ‘ช้าง’ ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้มาเยี่ยมเยือนประเทศไทย แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ปากท้องของช้างก็ย่อมได้รับผลกระทบตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องอันตรายต่อจำนวนประชากรช้างในไทย ซึ่งต้องบอกว่าก่อนหน้านี้มีสถิติไม่สู้ดีมาอยู่แล้ว เห็นได้จากในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยมีช้างอยู่ราว 12,500 เชือก […]
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ไทยจะรอดโควิดได้ รัฐต้องไว้ใจศักยภาพประชาชน
ถ้าพูดถึง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วัย 55 ปี บทบาทและหน้าที่ไหนของเขาที่อยู่ในความทรงจำคุณ นักการเมือง อาจารย์ วิศวกร หรือบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี ไม่ว่าบทบาทไหน แต่ทุกวันนี้หัวใจของชัชชาติยังคงเต้นเป็นคำว่า “ทำงาน ทำงาน ทำงาน” จนเป็นที่มาของคำตัวเป้งบนเสื้อยืดสกรีนทีมงานตัวเอง และไม่ใช่แค่งานที่ทำเพื่อส่วนตัวหรอก เพราะทุกๆ งานที่ชัชชาติทำมักมีคนอื่นๆ อยู่ในสมการเสมอ 2 ปีผ่านไป แม้ไม่ได้เห็นเขาในสภา แต่บุรุษคนแกร่งไม่ได้หายตัวไปไหน เขายังขยันลงพื้นที่ตามชุมชนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เพราะมนุษย์พลังล้นอย่างชัชชาติได้ก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ขึ้นเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน ยิ่งในภาวะวิกฤติการณ์โควิด-19 ของไทยทวีความสาหัส จนไม่มีทีท่าจะเห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ทีม Better Bangkok ยิ่งทำงานหนัก ขณะที่ปัญหาโควิดอยู่กับไทยมานาน ถ้ามองแง่โอกาส ภาครัฐน่าจะได้พิสูจน์ตัวผ่านการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผลกลับตรงข้าม ถ้าพูดกันตรงๆ หลายคนส่ายหน้าให้กับการบริหารงานในปัจจุบัน ซ้ำร้ายยังทำให้รอยร้าวระหว่างรัฐ เอกชน และประชาชนแตกร้าวเกินกอบกู้ โควิดจึงไม่ใช่แค่เรื่องระบบสาธารณสุข แต่ปัญหาที่ชัชชาติเห็นชัดเจนคือเรื่องความไว้ใจ ไม่สิ ความไม่ไว้ใจที่รัฐไม่คิดจะมอบให้ประชาชนต่างหาก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างไร้แก่น มิหนำซ้ำยังไม่กล้ามอบความไว้เนื้อเชื่อใจให้คนในสังคมร่วมจัดการปัญหา การเปลี่ยนสังคมให้ดีจึงดูเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ถึงอย่างนั้นบทสนทนากับชัชชาติต่อจากนี้ ก็ยังทำให้เรามองเห็นสิ่งที่เรียกว่าความหวัง […]
เรื่องเล่าของโลกที่ย้อมด้วยเฉดสีที่คนอื่นบอกว่าผิดเพี้ยนของคนตาพร่องสี
เราต่างรู้ว่าบนโลกใบนี้มีสีนับล้านสี และการมองเห็นสีก็ล้วนมีความสำคัญกับมนุษย์ในหลายๆ มิติ ตั้งแต่พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผ่านสีสันรอบตัว การแยกแยะอาหารสุก ไม่สุก หรือมีพิษด้วยสีสัน การเดินทางในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการทำงานที่ทั้งหมดล้วนเกี่ยวพันกับสีสันทั้งสิ้น มีงานวิจัยกล่าวว่า เมื่อเราเดินผ่านคนจำนวน 100 คน จะมีถึง 16 คน ที่มีความบกพร่องทางด้านการมองเห็นสีแตกต่างจากคนทั่วไป หรือเป็นอาการ Color Vision Deficiency (CVD) ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่าอาการพร่องสี แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนช่างสังเกตสักแค่ไหน ก็ไม่มีทางรู้เลยว่ามีใครบ้างที่ผิดปกติ เพราะอาการดังกล่าวไม่สามารถระบุได้จากรูปลักษณ์ภายนอกได้เลยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ รวมถึงชายหนุ่มร่างเล็กสวมเสื้อสีแดงสด เจ้าของเพจ Rights for Color Blind People – กลุ่มเพื่อสิทธิคนตาบอดสี ชายที่เราอยากคุยกับเขาในฐานะ คนตาพร่องสีผู้ขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิให้คนตาพร่องสีทั่วประเทศไทยมีชีวิตที่ดีขึ้น เท่าเทียมกับคนทั่วไปมากว่า 10 ปี “ตอนเด็กๆ ผมได้แต่ฟังคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนตาพร่องสีแต่เราก็ไม่ได้สนใจอะไร เราไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าอาการนี้คืออะไร เราก็ใช้ชีวิตอยู่กับมัน ในความคิดของเราสีทุกอย่างก็เป็นปกติ ผมมารู้ว่าตัวเองมีอาการตาพร่องสีตอนที่ไปสอบตำรวจ ในตอนนั้นผมสอบผ่านข้อเขียนด้วยความยากลำบาก แต่ก็ต้องมาสอบตกด้วยเหตุผลเพราะผมไม่สามารถแยกตัวเลขบนแผ่นทดสอบชุดนี้ที่ให้คุณทำได้” นอกจากความสับสนที่เกิดขึ้น กรที่พึ่งรู้ว่าตัวเองตาบอดสีในวัย 35 ปี ทำให้กรตระหนักได้ว่าคงมีคนอีกไม่น้อยที่ประสบปัญหาเหมือนกับเขา ที่ไม่สามารถทำตามความฝันเพียงเพราะมองเห็นสีไม่เหมือนคนปกติทั่วไป […]
เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad
เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]
#หญิงเองก็ลำบาก ฟังเสียงผู้หญิงทั่วโลกที่ต้องการมีชีวิตที่เท่าเทียมและปลอดภัย
ข้อใดต่อไปนี้ คือเหตุการณ์ที่คุณเคยเจอในชีวิตก. เดินห่อไหล่เพราะกลัวโดนมองหน้าอกข. ถ่ายทะเบียนรถให้เพื่อนหรือครอบครัว เผื่อเกิดกรณีฉุกเฉินค. โดนคนแปลกหน้าแซว อย่าง ‘ไปไหนจ๊ะ’ ‘คนสวย’ ‘อยู่แถวไหน’ง. เจียดเงินซื้อข้าวเพราะต้องซื้อผ้าอนามัยจ. ถูกทุกข้อ คำถามข้างต้นเป็นเหตุการณ์ที่ผู้หญิงจำนวนนับไม่ถ้วนต้องพบเจอในแต่ละวัน หรืออาจต้องเผชิญมาทั้งชีวิต ถึงแม้บางคนอาจมองว่าเป็น ‘เรื่องเล็ก’ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งเหล่านี้สร้างความกลัว ความหวาดระแวงในการใช้ชีวิต และความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยในการออกมาส่งเสียงจากการโดนกดทับของสังคม ซึ่งพวกเธอไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ตัวเองมีสิทธิเหนือคนอื่น แต่ต้องการใช้ชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างเท่าเทียม และไม่ให้ลูกหลานต้องเผชิญกับสิ่งที่พวกเธอเคยเจอ Where Is My Name? – ผู้หญิงอัฟกันไร้สิทธิในการมีตัวตนในสังคม ผู้หญิงในประเทศอัฟกานิสถานไม่มีสิทธิ์เปิดเผยชื่อของตัวเอง แม้กระทั่งป้ายหลุมศพก็ไร้ชื่อพวกเธอ เพราะข้อห้ามอันคร่ำครึของชาวอัฟกันที่เมื่อใครพูดชื่อพี่สาว น้องสาว ภรรยา และแม่ในที่สาธารณะ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ จนผู้หญิงต้องใช้นามสมมติเวลาไปพบคนแปลกหน้า รวมถึงการไปพบแพทย์ด้วย อีกทั้งกฎหมายอัฟกานิสถานอนุญาตให้มีชื่อแค่ ‘พ่อ’ ในใบแจ้งเกิดเท่านั้น ทำให้ผู้หญิงอัฟกันกลุ่มหนึ่งลุกขึ้นมาทำแคมเปญออนไลน์ที่ชื่อว่า #WhereIsMyName เพื่อทวงคืนสิทธิในการมีตัวตนของพวกเธอกลับคืนมา #FreePeriods #Saveผ้าอนามัย – ราคาที่ต้องจ่ายเพียงเพราะ ‘มีประจำเดือน’ ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้มีประจำเดือนต้องควักเงินจ่ายทุกเดือนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะราคาไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ ทำให้ต้องใช้ผ้าอนามัยซ้ำๆ หรือใช้วัสดุทดแทน ซึ่งเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขอนามัย หลายประเทศจึงมีการเรียกร้องให้ผ้าอนามัยเป็นรัฐสวัสดิการ […]
เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ
ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]